φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสวีเดน
เขียนเมื่อ 2014/06/23 22:17
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:21
#พฤหัส 8 พ.ค. 2014

หลังจากที่ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์วอซามาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140621

รายการเที่ยวต่อไปนี้จะเป็นการไปเที่ยวแบบลุยเดี่ยวอีกแล้ว เพราะว่าคนอื่นจะไปเดินเที่ยวแถวๆศาลาว่าการเมืองและย่านเมืองเก่า แต่เรามีสถานที่ที่อยากไปมากกว่าอยู่ และก็ค่อนข้างจะเป็นสถานที่ที่สนใจเป็นการส่วนตัว

ก่อนที่จะมาเที่ยวสวีเดนครั้งนี้มีโอกาสได้อ่านบทความของหนุ่มแทจ็อนเรื่อง "แบบจำลองระบบสุริยะแห่งสวีเดน" รายละเอียดอ่านได้ในบทความนี้
http://daejeonastronomy.wordpress.com/2013/10/15/the-astronomical-place-01-sweden-solar-system

ดังนั้นเป้าหมายของเราตอนนี้ก็คือไปตามล่าหาสถานที่เหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่พวกดาวเคราะห์วงในก็อยู่ภายในสตอกโฮล์มนี่เอง เป้าหมายที่เราจะไปวันนี้ได้แก่ โลก ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดวงอาทิตย์ เรียงตามลำดับระยะห่างจากโลก

เป้าหมายแรกคือลูกโลกนั้นตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสวีเดน (Naturhistoriska riksmuseet)

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับธรรมชาติในสวีเดน ขนาดไม่ได้ใหญ่มากมีอยู่ไม่กี่ห้อง นอกจากนี้ยังมีโรงฉายหนังสามมิติแบบครึ่งทรงกลม เรียกว่า cosmonova ไว้สำหรับให้บรรยากาศเหมือนกับเราไปอยู่ในสถานที่จริงๆแล้วรอบๆตัวเรารอบทิศคือสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังยืนอยู่จริงๆ

รายละเอียดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดูได้ใน http://www.nrm.se/english.16_en.html

ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณของมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม (Stockholms universitet) การเดินทางสามารถไปได้โดยนั่งรถไฟฟ้า ลงที่ป้ายอูนิเวอร์ซีเตเต็ต (Universitetet) ซึ่งอยู่ในสาย T14 ห่างจากสถานีใจกลางไป ๗ สถานี

ภายในสถานีนี้ตรงผนังเต็มไปด้วยภาพวาดบนฝาผนังตกแต่งอยู่




ที่ทางออกของสถานีจะเห็นเขียนชี้บอกว่าพพิพิธภัณฑ์อยู่จากตรงนี้ไปทางซ้าย ๓๐๐ เมตร แต่ถ้าตรงไปก็เข้าใจกลางมหาวิทยาลัย



บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยระหว่างทางเดินไปยังพิพิธภัณฑ์





แค่เป๊บเดียวก็เดินมาถึงด้านหน้าพิพิธภัณฑ์



เวลาตอนนั้นคือห้าโมงเย็น แต่พิพิธภัณฑ์ปิดตอนหกโมงจึงยังมีเวลาในการชม



ด้านในชั้นที่มีการจัดแสดงจะอยู่ที่ชั้นสอง



นี่เป็นห้องสำหรับจัดแสดงแบบชั่วคราว ซึ่งมีของตั้งแสดงเปลี่ยนหัวข้อไปตามช่วงเวลา สำหรับช่วงนี้เป็นจัดแสดงเกี่ยวกับนกนักล่า






ห้องข้างๆกันนั้นจัดแสดงเกี่ยวกับมนุษยชาติ



ข้างในจัดแสดงเรื่องของมนุษย์และเปรียบเทียบกับสัตว์ที่เกี่ยวข้อง



มีอธิบายเกี่ยวกับระบบต่างๆ อย่างอันนี้ระบบผิวหนัง



ส่วนอันนี้ระบบโครงสร้างแข็ง



ผนังตรงนี้มีเขียนคำที่หมายถึงสีต่างๆไว้ซึ่งต่างจากสีของตัวอักษรนั้น ลองทดสอบดูว่าเราไวต่อสีในความหมายของคำหรือว่าสีที่ระบายมากกว่า



จากนั้นฝั่งตรงข้ามจะเป็นส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตในน้ำ



มีจัดแสดงสัตว์น้ำมากมาย






แล้วก็เรือด้วย



และตรงนี้เป็นส่วนที่พูดถึงเกี่ยวกับน้ำในระบบสุริยะ



จะเห็นว่ามีลูกโลกตั้งอยู่ ตอนแรกก็คิดว่าเป็นลูกโลกอันที่เราตามหาอยู่ แต่มองดูแล้วไม่ใช่ หน้าตาต่างจากในรูปที่ได้มา



เข้ามาอีกจะเจอส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆตามธรรมชาติในสวีเดน









ส่วนจัดแสดงชั้นสองก็หมดเท่านี้ ที่จริงยังมีส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับสมบัติจากภายในใต้พื้นโลกด้วยแต่ว่าตอนนี้ไม่ได้เปิดอยู่

จากนั้นกลับลงมายังชั้นหนึ่ง ตรงนี้มีส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลก




แบบจำลองนี้แสดงถึงผลของดวงอาทิตย์ต่อสภาพอากาศของโลก



ตรงนี้จะเห็นว่ามีลูกโลกอีกอัน แต่ก็ยังไม่ใช่อันที่หาอยู่ มันเล็กเกินไป



และตรงนี้ก็เห็นลูกโลกอีกอัน แต่ก็ไม่ใช่ลูกโลกที่ตามหาอยู่อยู่ดี อันนี้ดูจะใหญ่เกินไป และหยาบมากด้วย



สุดท้ายเรามาที่ห้องขายตั๋วเข้าชมหนังสามมิติคอสโมโนวา เราเข้าไปถามคนขายตั๋วตรงนี้ว่าลูกโลกที่ตามหาอยู่นั้นอยู่ที่ไหน เพราะเท่าที่อ่านข้อมูลมามันน่าจะอยู่หน้าห้องคอสโมโนวา พอถามก็ได้ความว่ามันอยู่ในห้องที่ต้องเดินเข้าไปด้านในถึงจะเจอ แต่ตอนนี้ห้องปิดอยู่ แต่ไม่เป็นไรเขาเอากุญแจเปิดให้เข้าไปดูโดยเฉพาะได้ รู้สึกได้ว่าคนสวีเดนช่างมีน้ำใจดีจริงๆ



ทางเข้าห้องฉายหนังสามมิติคอสโมโนวา



เข้าไปด้านในก่อนถึงห้องฉายก็จะเจอลูกโลกที่เป็นเป้าหมายของเราตั้งอยู่ ลูกโลกนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๕ ซม. และอยู่ห่างจากอาคารอีริคสันซึ่งเป็นแบบจำลองดวงอาทิตย์ไป ๗.๙ กม.



สามารถหมุนได้ด้วย เราก็ไปหันหน้าประเทศไทยมาด้านนี้ให้เห็นชัดสักหน่อย



ข้างๆมีป้ายที่เขียนอธิบายบอกเรื่องแบบจำลองระบบสุริยะแห่งสวีเดนด้วย



นอกจากจะมีลูกโลกแล้ว พอออกมาก็ยังจะเห็นดวงจันทร์ด้วย มันถูกติดอยู่บนเสาหน้าประตูทางเข้าห้องคอสโมโนวา มีขนาด ๑๘ ซม.



ดูเสร็จแล้วก็ได้เวลารีบเดินกลับไปยังสถานีรถไฟเพื่อไปยังที่ต่อไป เป้าหมายต่อไปคือไปหาดาวอังคาร ดาวพุธ และดวงอาทิตย์ ติดตามกันต่อไปได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20140625



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ต่างแดน >> ยุโรป >> สวีเดน
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文