φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
รื่อถาน แท่นบูชาสุริยะ
เขียนเมื่อ 2015/04/25 09:26
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 12 เม.ย. 2015
ในปักกิ่งมีแท่นบูชาที่เอาไว้บูชาสิ่งต่างๆอยู่หลายแห่งซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644)
วันก่อนได้ไปเที่ยวชม
เยวี่ยถาน (月坛)
แท่นบูชาจันทรามาแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20150417
คราวนี้จึงได้ลองไปเยี่ยมชม
รื่อถาน (日坛)
แท่นบูชาสุริยะ
เนื่องจากครั้งก่อนที่ไปเที่ยวเยวี่ยถานนั้นบังเอิญเป็นวันจันทร์พอดี ครั้งนี้จะไปรื่อถานก็เลยเลือกไปวันอาทิตย์ จะได้ดูลงตัวพอดี วันจันทร์ไปบูชาพระจันทร์ พอวันอาทิตย์ก็ไปบูชาพระอาทิตย์
ทั้งสองที่ตั้งอยู่นอกถนนวงแหวนที่สองเหมือนกัน โดยตำแหน่งของรื่อถานนั้นอยู่ตรงกันข้ามกับเยวี่ยถาน ในขณะที่เยวี่ยถานอยู่ทางตะวันตก รื่อถานตั้งอยู่ทางตะวันออก ตำแหน่งของทั้งสองที่นี้ไม่ได้สมมาตรกันพอดีแต่ก็ใกล้เคียง รื่อถานอยู่ค่อนมาทางใต้กว่าเล็กน้อยและมีขนาดใหญ่กว่าพอสมควร
สำหรับเราซึ่งอาศัยอยู่ทางซีกตะวันตกของเมือง การเดินทางไปรื่อถานนั้นค่อนข้างลำบากกว่าเยวี่ยถาน อีกทั้งการคมนาคมแถวรื่อถานก็ไม่ค่อยสะดวก ไม่มีรถไฟฟ้าที่ใกล้มากนัก รถเมล์ก็น้อย การจะไปจึงต้องนั่งรถไฟฟ้าไปลงสถานีที่ใกล้ที่สุดแล้วเดินต่อไปอีกพอสมควร
รถไฟฟ้ามีสองสถานีที่อยู่ใกล้กับรื่อถาน คือ
สถานีเฉาหยางเหมิน (朝阳门站)
กับ
สถานีเจี้ยนกั๋วเหมิน (建国门站)
ถ้าเป็นเฉาหยางเหมินจะใกล้กับประตูทางเหนือ ส่วนเจี้ยนกั๋วเหมินจะใกล้กับประตูทางใต้
ครั้งนี้เราเลือกไปลงสถานีเฉาหยางเหมินเพื่อจะเข้าทางประตูเหนือก่อน แล้วตอนออกค่อยออกทางประตูใต้
นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีเฉาหยางเหมิน จากนั้นออกตรงทางที่เชื่อมกับอาคาร
เฉาหยางเหมิน SOHO (朝阳门SOHO)
ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและห้างร้าน พูดถึง SOHO แล้วคนไทยตอนนี้อาจจะนึกถึงห้างโซโหในกรุงเทพฯ แต่สำหรับคำว่า SOHO ในจีนแล้ว คือบริษัทจัดสถานที่สำหรับสำนักงาน มีอาคารใหญ่ๆหลายแห่งในปักกิ่งที่ใช้ชื่อว่า SOHO
อนึ่ง สำหรับนักดาราศาสตร์แล้วถ้าพูดถึง SOHO แล้วแน่นอนว่าที่จะนึกถึงอย่างแรกก็คือยานอวกาศ SOHO ที่ถูกส่งออกไปเมื่อปี 1995 เพื่อทำการสำรวจดวงอาทิตย์
เดินผ่านห้างชั้นใต้ดินของเฉาหยางเหมิน SOHO แล้วออกมาด้านนอก ภาพนี้ไม่รู้ทำไมรู้สึกว่าถ่ายออกมาได้ดูสวยลงตัวมาก
ข้างๆนั้นเป็นอาคารที่มีรูปร่างสวยแปลกตาชื่อ
อิ๋นเหอ SOHO (银河SOHO)
นี่ก็เป็นอาคารสำนักงานในสังก้ด SOHO เช่นกัน
เดินข้ามสะพานลอยซึ่งข้ามถนนใหญ่เพื่อไปฝั่งตะวันออกของถนน ถนนนี้คือถนนวงแหวนที่สองของปักกิ่ง จากตรงนี้มองกลับไปเห็นอาคารอิ๋นเหอ SOHO สวยจริงๆ
มองหันไปทางทิศเหนือ ฟ้ากำลังสวยดี
หลังข้ามถนนมาก็มัวแต่ดูชมตึกอิ๋นเหอ SOHO ทำให้เราเผลอเดินลงมาทางใต้เรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่เส้นทางที่ถูกต้องนักถ้าจะไปที่ประตูเหนือของรื่อถาน แต่ในเมื่อเดินมาทางนี้แล้วก็เลยเดินต่อไป
เมื่อมาทางนี้แล้วจึงต้องเลี้ยวไปผ่าน
ถนนหยาเป่า (雅宝路)
ซึ่งที่นี่เป็นสถานที่ที่น่าสนใจน่ายกมาพูดถึงเหมือนกัน ที่นี่เป็นย่านคนรัสเซีย จะเห็นได้ว่าแถวนี้ป้ายอะไรต่างๆเต็มไปด้วยภาษารัสเซียเต็มไปหมด
แต่เราจะไม่พูดถึงที่นี่มากในตอนนี้เพราะที่นี่เมื่อก่อนเคยมาเดินเที่ยวเล่นแล้ว เพียงแต่ไม่เคยได้เล่า หากมีเวลาจะหยิบมาเล่าย้อนหลัง
เดินเข้าไปในถนนหยาเป่า ที่ปลายถนนรู้สึกได้ว่ามีละอองน้ำพัดใส่ ตอนแรกคิดว่าฝนตกแต่มองไปแล้วไม่ใช่ ที่จริงคือลมแรงมากจนพัดน้ำจากน้ำพุที่อยู่ข้างๆกระเด็นมาโดน วันนี้ลมแรงจริงๆ ทำให้หนาวพอสมควร
สุดทางถนนหยาเป่าก็จะเห็นสวนสาธารณะรื่อถานอยู่ตรงหน้า
เข้าทางประตูตะวันตก ที่นี่ต่างจากเยวี่ยถานตรงที่ไม่เก็บตังค์ค่าเข้าภายใน เดินเข้าไปได้เลย
เข้ามาด้านใน
สิ่งที่เห็นก่อนก็คือประตูทางผ่านไปสู่แท่นบูชา ซึ่งขณะนั้นกำลังปิดซ่อมอยู่ ประตูนี้คือประตูตะวันตก มีชื่อว่าซีเทียนเหมิน (西天门) มีความสำคัญเพราะหันหน้าไปทางใจกลางเมือง เป็นประตูที่จักรพรรดิต้องผ่านเมื่อเข้าไปทำพิธี
เมื่อปิดอยู่จึงเดินผ่านไม่ได้ก็ต้องอ้อมไปทางอื่น
ตรงนี้มีอาคารเล็กๆที่เรียกว่าพิพิธภัณฑ์รื่อถาน (日坛博物馆) ตั้งอยู่
อย่างไรก็ตาม มันเล็กมากจนไม่น่าเรียกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ได้เลย ด้านในมีห้องจัดแสดงอยู่แค่ ๒ ห้องเล็กๆ แสดงพวกของเก่าๆ
ถัดมาใกล้ๆกันนั้นมีสุสานของ
หม่าจวิ้น (马骏)
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขาถูกฆ่าตายเมื่อปี 1928
รูปปั้นหน้าสุสาน
มีคนมาวางดอกไม้ไว้ให้
ที่ฝังศพ
เดินผ่านสุสานมาทางด้านหลังเจออาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับชีวประวัติและผลงานเกี่ยวกับหม่าจวิ้น
อย่างไรก็ตามอาคารปิดอยู่ พอลองมองเข้าไปผ่านประตูกระจกก็เจอป้ายที่เขียนว่าปิดหนึ่งสัปดาห์ ทำให้อดเข้าไปดู
ลองส่องเข้าไปก็พอเห็นข้างในอยู่
จากนั้นเดินต่อไปผ่านสวนบริเวณใกล้ประตูเหนือ
แล้วก็เจอประตูเหนือของสวนสาธารณะ ถ้าตอนแรกไม่เดินมาผิดทางเราควรจะได้มาเข้าจากทางประตูนี้มากกว่า
ที่อยู่ตรงข้ามกับประตูเหนือของสวนสาธารณะนั้นก็คือประตูทางผ่านเข้าสู่แท่นบูชาจากทางฝั่งเหนือ
ผ่านประตูเข้ามาเจอสวนด้านใน
ตรงนี้เป็นภัตตาคาร
นี่คืออาคารที่เอาไว้เก็บพวกอุปกรณ์บูชาและพวกเครื่องดนตรี
ส่วนตรงนี้คือส่วนของครัวศักดิ์สิทธิ์ (神厨) และคลังศักดิ์สิทธิ์ (神库) เอาไว้เก็บพวกของไหว้บูชา
นี่เป็นประตูเข้าสู่บริเวณแท่นบุชา แต่ว่าปิดอยู่ไม่สามารถเข้าไปได้ ถึงอย่างนั้นก็สามารถมองเข้าไปเห็นแท่นบูชาที่อยู่ด้านในได้
ลองอ้อมวนไปดูประตูอื่นๆ ระหว่างทางก็ผ่านสนามออกกำลังกาย
เห็นฝรั่งคนหนึ่งกำลังระบำดาบอยู่
แล้วก็อ้อมกลับมาถึงทางประตูทิศตะวันตกซึ่งด้านหน้าประตูกำลังก่อสร้างอยู่ ส่วนที่ก่อสร้างอยู่คือทางเดินที่ต่อเนื่องมาจากประตูทางผ่านทางตะวันตกซึ่งเราได้เห็นไปแล้วตอนที่เข้ามาทีแรก
ประตูทิศตะวันตกนี้เป็นประตูหลักซึ่งใหญ่ที่สุด แม้ว่าจะไม่เปิดให้เข้าแต่ก็สามารถมองลอดเข้าไปเห็นแท่นบูชาที่อยู่ด้านใน จะเห็นว่าในนั้นก็ไม่มีอะไรมาก ถึงจะเข้าไปไม่ได้แค่ดูจากข้างนอกก็พอ
ทางส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของที่นี่มีเนินเล็กๆ
ยอดเนินมีศาลา
จากตรงนี้มองไปเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองรอบๆ
นี่เป็นตึกแฝด LG ที่สถานกงศุลไทยตั้งอยู่
มองไปทางนี้เป็นทางตะวันตก คือทางถนนหยาเป่า จะเห็นตึกที่มีภาษารัสเซีย
วันนี้ลมแรงมาก แต่ก็ยังเห็นลุงคนหนึ่งกำลังเล่นว่าว
ถัดจากเนินก็เป็นสวนหินและบึง
มีถ้ำด้วย ต้องลอดเพื่อเดินผ่านไป
ระหว่างลอดถ้ำคนที่เดินอยู่ข้างหน้าเขาหยุดเดินเลยขวางทาง ดูเหมือนเขาจะมากันเป็นครอบครัวมาเดินเล่นที่นี่ ระหว่างรอเขาเดินต่อไปก็หยุดถ่ายภาพจากในถ้ำสักหน่อย
บรรยากาศตรงนี้สวยจริงๆ
ออกจากถ้ำมาอีกด้านของบึงก็เจออาคารที่ลอยอยู่บนน้ำออกแบบมาเหมือนเป็นเรือที่จอดเทียบฝั่ง
จากนั้นเดินไปเดินมาก็มาโผล่ประตูใต้ของสวนสาธารณะซึ่งเราต้องการออกจากตรงนี้ แต่มองย้อนกลับไปก็ยังเห็นส่วนที่ยังไม่ได้ดู นั่นคือกำแพงที่มีภาพวาดพิธีบูชาดวงอาทิตย์
ก็เลยเข้าไปใกล้ๆไปดูสักหน่อย
ส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของที่นี่ก็เป็นบึงอีกแห่ง แล้วก็มีสวนเด็กเล่น ไม่มีอะไรมาก
เมื่อเดินจบไม่มีอะไรแล้วก็เดินออกทางประตูใต้
เมื่อออกทางนี้ก็จะมาโผล่
ถนนกวางหัว (光华路)
ซึ่งเป็นถนนย่านสถานทูต เดินถัดไปทางตะวันตกจะเจอสถานทูตประเทศต่างๆเต็มไปหมด ถึงตรงนี้เราเก็บกล้องแล้วพยายามไม่ทำตัวน่าสงสัยเพราะเต็มไปด้วยยามเฝ้า
เดินผ่านถนนสายนี้ไปทางตะวันตกเรื่อยๆจากนั้นก็เลี้ยวซ้ายไปทางใต้ก็จะเจอป้ายที่ชี้ทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าเจี้ยนกั๋วเหมิน จากตรงนี้สามารถกลับโดยขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีนี้ได้
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文