φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
โบราณสถานหลิวหลีเหอ พิพิธภัณฑ์โบราณสถานกรุงยานยุคราชวงศ์โจวตะวันตก
เขียนเมื่อ 2015/06/22 20:17
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 11 มิ.ย. 2015
ปักกิ่งเป็นเมืองเก่าแก่โบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเต็มไปด้วยซากโบราณสถานมากมาย มีการขุดพบหลักฐานตั้งแต่เก่าแก่ไปถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคใกล้เคียงปัจจุบัน
หากพูดถึงประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดของปักกิ่งที่มีบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์แล้วละก็ หลักฐานการสร้างเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในบริเวณปักกิ่งนั้นอาจย้อนไปไกลได้ถึงราวๆ 3000 ปี
ประมาณ 1000 ปีก่อน ค.ศ. โจวอู่หวาง (周武王) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ( 周朝, 1046- 256 ปีก่อน ค.ศ.) ได้โค่นล้มราชวงศ์ซาง ( 商朝, 17 - 11 ศตวรรษก่อน ค.ศ.) แล้วเข้าครอบครองแผ่นดินจีน
เขาได้ส่งญาติมาทำการปกครองบริเวณที่เป็นปักกิ่งในปัจจุบัน โดยที่บริเวณที่เป็นตัวเมืองปักกิ่งในปัจจุบันนั้นตั้งเมืองหลวงของแคว้นหนึ่งชื่อ
แคว้นจี้ (蓟国, จี้กั๋ว)
ส่วนบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ห่างออกไปอีกประมาณ ๔๐ กว่ากิโลเมตรตั้งเป็นเมืองหลวงของอีกแคว้นชื่อว่า
แคว้นยาน (燕国, ยานกั๋ว)
*อนึ่ง อักษร 燕 ซึ่งแปลว่านกนางเอ่นนั้นอ่านได้ ๒ เสียงคือ "ยาน" กับ "ย่าน" สำหรับในชื่อแคว้นนี้อ่านว่า "ยาน"
อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อถึงยุคจ้านกั๋วซึ่งแต่ละแคว้นเริ่มแตกแยกตั้งตัวปกครองตัวเอง ในตอนนั้นแคว้นยานได้ตีแคว้นจี้จนแตกและย้ายเมืองหลวงมายังเมืองหลวงของแคว้นจี้ซึ่งเป็นบริเวณตัวเมืองปักกิ่งในปัจจุบันแทน
ปัจจุบันซากโบราณของเมืองหลวงแคว้นจี้ได้ถูกขุดพบเล็กน้อยเป็นบางส่วนในบริเวณตะวันตกของเมืองปักกิ่งปัจจุบัน ในขณะที่ซากโบราณของเมืองหลวงแคว้นยานเดิมนั้นกลับมีการขุดพบเป็นจำนวนมาก กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างดี
ซากโบราณสถานของเมืองยานถูกค้นพบในปี 1962 ในตำบล
หลิวหลีเหอ (琉璃河)
ในเขต
ฝางซาน (房山)
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง โดยในขณะที่ชาวบ้านพยายามขุดหลุมเพื่อทำที่เก็บกักตุนผักในฤดูหนาวก็ได้ไปเจอเครื่องสำริดเข้า ทำให้เริ่มต้นมีการสำรวจทางโบราณคดีในบริเวณนั้นขึ้นมา
การขุดค้นในบริเวณนั้นทำให้มีการค้นพบซากต่างๆที่แสดงถึงการตั้งเมืองในสมัยนั้น เช่นกำแพงเมือง ซากคูล้อมเมือง ท่อส่งน้ำ ทำให้สามารถคาดการณ์ขอบเขตเมืองในสมัยนั้นได้ มองเห็นได้ว่าบริเวณไหนเคยเป็นส่วนพระราชวัง สถานที่ทำพิธี โรงงานผีมือ ย่านที่อยู่อาศัย รวมทั้งที่ฝังศพด้วย มีการขุดพบเครื่องหยก เครื่องเขิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด อีกทั้งแผ่นกระดูกสัตว์ที่มีเขียนข้อความจารึก ซึ่งช่วยยืนยันว่าที่นี่เป็นที่ตั้งของเมืองสมัยโบราณตามที่มีอยู่ในบันทึกของราชวงศ์โจว
ปัจจุบันเรียกบริเวณนั้นโดยรวมๆว่า
โบราณสถานหลิวหลีเหอ (琉璃河遗址)
มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ขึ้นชื่อว่า
พิพิธภัณฑ์โบราณสถานกรุงยานยุคราชวงศ์โจวตะวันตก (西周燕都遗址博物馆)
ขึ้นภายในบริเวณนี้ โดยได้สร้างทับขึ้นบนซากสุสานโบราณส่วนหนึ่งที่มีการขุดพบ และเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้ไม่เสียตังค์
ครั้งนี้เรามีโอกาสได้แวะเวียนมาชมสถานที่นี้จนได้ในที่สุด หลังจากที่ตอนแรกลังเลว่าควรจะมาดีหรือเปล่าเพราะมันอยู่ค่อนข้างไกลจากตัวเมืองและเดินทางค่อนข้างลำบาก แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจว่าจะมาเพราะประวัติศาสตร์ของที่นี่น่าสนใจและมีคุณค่ามากมาย
การเดินทางมาถึงที่นี่สามารถนั่งรถไฟฟ้า
สายฝางซาน (房山线)
มาลงที่
สถานีเหลียงเซียงหนานกวาน (良乡南关站)
ซึ่งเป็นสถานีก่อนปลายทาง จากนั้นต่อรถเมล์มาได้ ซึ่งมีหลายสายที่สามารถมาถึงได้ทำให้ไม่ยาก อย่างไรก็ตามเมื่อไปถึงแล้วก็ยังจำเป็นต้องเดินอีกราวๆกิโลครึ่งกว่าจะถึง
เขตฝางซานเป็นบริเวณที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ก่อนหน้านี้เราก็ได้มาเที่ยว
โจวโข่วเตี้ยน (周口店)
ซึ่งเป็นที่ขุดพบซากมนุษย์ปักกิ่งมาแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20150326
การเดินทางมาถึงที่นี่ก็ต้องนั่งรถไฟฟ้าสายฝางซานมาไกลแล้วต่อรถเมล์เช่นกัน ดังนั้นนี่เป็นครั้งที่ ๒ แล้วที่เราเดินทางมาเที่ยวถึงเขตฝางซาน หากเทียบกับโจวโข่วเตี้ยนแล้วซากโบราณสถานหลิวหลีเหอนี้ไม่ได้เก่าแก่เท่า ไม่ได้มีชื่อเสียงเท่า ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ถึงอย่างนั้นก็ยังถือว่าเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดในยุคประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกจริงในบริเวณปักกิ่ง ดังนั้นก็มีความสำคัญมากเช่นกัน
ระหว่างทางขณะที่รถไฟฟ้าผ่าน
สถานีต้าเป่าไถ (大葆台站)
ก่อนจะถึง
สถานีเต้าเถียน (稻田站)
ก็พบทิวทัศน์ที่สวยงามมาก เมฆคิวมูลัสสวยๆเต็มฟ้า
ที่จริงมันก็เป็นลางว่าฝนอาจพร้อมตกในช่วงบ่าย พยากรณ์อากาศเองก็บอกไว้ว่าอาจมีฝนตกจริงๆ แต่เท่าที่ลองมองดูแล้วหากฝนจะตกตอนบ่ายค่อนข้างแน่นอนละก็บนฟ้าตอนนี้ควรจะมีเมฆอัลโตคิวมูลัสซึ่งเป็นเมฆก้อนฝอยๆเรียงเป็นแถวอยู่บนฟ้า ซึ่งนั่นเป็นตัวบ่งชี้แสดงถึงความกดอากาศต่ำ แต่เท่าที่สังเกตแล้วไม่มีเมฆแบบนั้นอยู่เลย มีแต่คิวมูลัสเป็นหลัก ดังนั้นโอกาสที่ฝนจะตกก็ไม่ได้มีมากขนาดนั้น
ลงรถไฟฟ้าที่สถานีเหลียงเซียงหนานกวาน พอลงมาถึงก็เจอป้ายรถเมล์ที่มีสาย 房39 ซึ่งเป็นสายหนึ่งสามารถไปยังที่หมายได้ เราลองดูลาดเลาสักพักหนึ่งที่ป้ายตรงนั้นก็เจอคนขับรถรับจ้างมาถามว่าจะไปไหน พอบอกไปเขาก็บอกว่าจะพาไปได้ คิด ๕๐ หยวน ถ้าเหมาไปกลับก็คิดเป็น ๑๐๐ หยวน เรายืนยันว่ายังไงก็จะรอรถเมล์ เขาจึงบอกยอมลดราคา ไปๆมาๆเหลือ ๗๐ หยวนเราก็ยังปฏิเสธต่อไป เขาบอกว่า 房39 นั้นมีน้อยมาก ชั่วโมงละคัน รอไปก็เสียเวลาแย่
อย่างไรก็ตามเรื่องจริงก็คือหากรอที่ป้ายนี้มีแค่สาย 房39 สายเดียวที่ไปก็จริง แต่ถ้าเดินไกลออกไปทางตะวันตกไปยังป้ายถัดไปละก็จะสามารถไปถึงจุดที่มีรถเมล์ไปได้หลายสาย ซึ่งคนขับรถเขาไม่ยอมบอกถึงความเป็นจริงตรงนี้ด้วย เราเองก็ตั้งใจจะไม่พูดถึงเพราะจะดูว่าเขาจะจริงใจแค่ไหน แต่สุดท้ายก็พยายามแต่จะตื๊อด้วยวิธีต่างๆเพื่อให้เรายอมจ้างรถเขา นั่นเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง
สุดท้ายเราก็ตัดสินใจเดินไปทางตะวันตกเพื่อไปยังป้ายที่สามารถรอได้หลายสาย คนขับรถเขาก็ไม่ได้ตามมาตื๊อต่อ เพราะคงจะมองออกว่าเรารู้อยู่แล้วว่าควรทำยังไง
มาถึงป้ายตรงนี้ซึ่งนอกจากสาย 房39 แล้วก็ยังมีสาย 房27 และสาย 835 ที่สามารถไปได้ด้วย
เรารอแค่ไม่ถึง ๕ นาทีสาย 房27 ก็มา แค่ยอมเดินมาไกลสักหน่อยแค่นี้ก็สามารถรอรถได้อย่างสบายๆแล้ว
จะเห็นว่าการหาข้อมูลมาดีมีประโยชน์แค่ไหน ทำให้ไม่โดนคนขับรถรับจ้างหลอกเอาได้ง่ายๆ ต้องจำไว้ว่าในจีนอาชีพคนขับรถรับจ้างโดยส่วนใหญ่แล้วไว้ใจไม่ได้แทบทั้งสิ้น ถ้ามีหนทางละก็ควรใช้บริการสาธารณะอย่างรถเมล์มากกว่า
ระหว่างทางขณะที่ใกล้ถึงที่หมายเราก็พบสิ่งก่อสร้างรูปร่างสวยงามหลังหนึ่ง มองดูก็รู้ทันทีว่าเป็นมัสยิด เราพยายามรีบหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายแต่ว่าจังหวะไม่ค่อยดีนัก ไม่สามารถถ่ายเต็มๆได้ ได้ภาพชัดสุดแค่นี้ แต่ก็คิดไว้ว่าเดี๋ยวเที่ยวชมตรงนี้เสร็จอาจย้อนมาชมมัสยิดนี้เพราะอยู่ไม่ไกลกัน จากการค้นในแผนที่ก็รู้ว่าที่นี่ชื่อ
มัสยิดโต้วเตี้ยน (窦店清真寺)
แล้วรถเมล์ก็มาส่งถึงป้ายรถเมล์หน้าทางเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์ ใช้เวลาแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้นในการมาถึง ไม่ได้ไกลมาก
จากตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่ามีคนขับรถรับจ้างรอหาลูกค้าอยู่ ถ้าไม่อยากเดินก็สามารถจ้างรถเพื่อไปถึงบริเวณพิพิธภัณฑ์ได้ เพราะมันก็ไกลจริงๆ
อย่างไรก็ตามเราตัดสินใจเดินไปเองเพราะมันก็ยังอยู่ในระยะที่เดินได้อยู่ แม้จะเหนื่อยสักหน่อย อีกอย่างระหว่างทางทิวทัศน์สวยเหมือนกัน
กลางทางเป็นท้องทุ่งท้องนาบรรยากาศดีอยู่
เดินไปเรื่อยๆระหว่างทางเจอฝูงวัวที่เขาเลี้ยงผ่านขวางทางอย่างกับขบวนรถไฟเลย
ที่หมายอยู่ตรงหน้าแล้ว
ทางเข้า
ตรงนี้มีคนเฝ้าอยู่ ให้ยื่นพาสปอร์ตให้เขาดู แล้วก็ฝากกระเป๋าไว้ตรงนี้ด้วยไม่สามารถนำเข้าไปได้
แผนที่ในบริเวณ
เข้าไปภายในอาคารจัดแสดง ส่วนจัดแสดงทั้งหมดอยู่ภายในนี้เอง
นี่คือตารางที่บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวจนมาถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าผ่านการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองและชื่อเรียกมานับครั้งไม่ถ้วน
แผนที่แสดงการกระจายตำแหน่งของซากโบราณสถานยุคราชวงศ์ซางและโจวภายในบริเวณปักกิ่ง
ในนี้มีข้อมูลต่างๆมากมายที่อธิบายถึงประวัติศาสตร์และการค้นพบซากเมืองที่นี่พร้อมภาพประกอบ
จุดเริ่มต้นของแคว้นยานเริ่มจากที่โจวอู่หวางได้สั่งให้ญาติของเขาที่ชื่อเจากงซื่อ (召公奭) ไปปกครองบริเวณนี้ อย่างไรก็ตามเจากงซื่อไม่ได้ไปเองแต่ส่งลูกชายที่ชื่อเค่อ (克) ไปเป็นผู้ครองแคว้นแทน
แผนที่แสดงตำแหน่งขอบเขตของเมืองตามที่จินตนาการกันเอาไว้โดยดูจากซากกำแพงที่พบ
เมือง
หลินจือ (临淄)
ของ
แคว้นฉี (齐国, ฉีกั๋ว)
ซึ่งอยู่ร่วมสมัยเดียวกับแคว้นยาน เขาวิเคราะห์ดูว่าหากเทียบขนาดกันแล้วเมืองเก่าของแคว้นยานดูจะมีขนาดเล็กกว่ามาก ทำให้สงสัยกันว่าซากกำแพงเมืองที่พบนั้นจริงๆแล้วอาจเป็นแค่กำแพงวังก็เป็นได้
ซากกำแพงเมืองที่พบ สภาพที่เห็นตอนนี้แทบจะเหลือเป็นเพียงเนินดิน กำแพงเมืองที่สร้างในยุคราชวงศ์ซางและโจวนั้นโดยทั่วไปแล้วกว้าง ๘ - ๒๑ เมตร
เศษของซากกำแพงที่ทำจากดินอัด
ภาพคลองระบายน้ำที่พบ
ซากท่อระบายน้ำ
ชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผา
แบบเครื่องปั้นดินเผาลายสัตว์เทพเทาเที่ย (饕餮)
ภาชนะสามขาดินเผาที่เรียกว่าลี่ (鬲)
ไหดินเผา
กระดูกสัตว์สำหรับทำนาย เช่นเดียวกับที่ขุดพบที่เมือง
อานหยาง (安阳)
ซึ่งเคยได้ไปชมมาแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20120915
ทางนี้เป็นส่วนที่จัดแสดงภาชนะโบราณ ในจีนโบราณมีการใช้ภาชนะหลากหลายชนิดมาก แต่ละชนิดก็มีชื่อเรียกเฉพาะต่างกันออกไปแบ่งค่อนข้างยิบย่อย เช่น เหลย์ (罍) จุน (尊) โหย่ว (卣) เจวี๋ย (爵) จื้อ (觯) ติ่ง (鼎) หย่าน (甗) เหอ (盉)
ภาพนี้ ทางซ้ายคือจุน ทางขวาคือโหย่ว
ทางซ้ายคือเจวี๋ย ทางขวาคือจื้อ
ติ่ง
หย่าน
เหลย์
มีการพบเหลย์และเหอที่มีชื่อ "เค่อ" (克) ซึ่งเป็นผู้ครองแคว้นยาน (燕侯, ยานโหว) คนแรกสลักอยู่ด้วย นี่เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าซากเมืองที่ขุดพบนี้เป็นเมืองเก่าของแคว้นยานจริงๆตามที่มีอยู่ในบันทึก
นี่คือภาชนะเครื่องเขินที่เรียกว่า โต้ว (豆) มีทั้งรูปแบบวงกลมและสีเหลี่ยม
ภาชนะเครื่องเขินอีกชนิด เรียกว่า กู (觚)
ตรงนี้คือพวกเครื่องหยก เสือหยก นกหยก ปลาหยก
เครื่องหยกอาจทำเป็นรูปแบบต่างๆมากมาย เช่น ฉง (琮) ปี้ (璧) เจวี๋ย (玦) หวง (璜) นอกจากนี้ยังมีเครื่องหยกที่ทำเป็นรูปจักจั่นหรือหนอนไหม ซึ่งเอาไว้ยัดปากคนตายด้วยความเชื่อว่าจะทำให้กลับมาเกิดใหม่
จากนั้นเดินเข้ามาห้องในสุดซึ่งเป็นส่วนที่น่าจะสำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่สร้างทับส่วนที่มีการขุดพบซากโบราณจริงๆ โดยเขาได้หลงเหลือหลุมขุดเอาไว้ อีกทั้งยังวางของที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้นไว้ส่วนหนึ่งด้วย
นี่คือหลุมขุดจริงๆของสุสานหมายเลข ๕๓ หลุมฝังศพของผู้นำคนหนึ่งของราชวงศ์ซาง มีชื่อว่าโยว (攸) มีศพของเด็ก ๒ คนถูกฝังทั้งเป็นไปพร้อมกับเขาด้วย อายุ ๙ และ ๑๓ ปี
ข้างๆกันนั้นเป็นหลุมฝังศพม้าซึ่งถูกฝังตาม มีม้า ๖ ตัว รถม้า ๑ คัน แล้วก็บริวารที่ถูกฝังทั้งเป็นอีก ๑ คน เป็นเด็กสูง ๑.๕ เมตร
อีกอันเป็นสุสานหมายเลข ๕๒ ซึ่งเป็นหลุมฝังศพของผู้นำราชวงศ์ซางคนหนึ่งชื่อว่าฟู่ (复)
จุดที่น่าสนใจของหลุมศพนี้คือศพของฟู่หายไปแล้ว เหลือไว้แต่ศพของบริวารที่ถูกฝังทั้งเป็นตามเขาไปซึ่งอยู่ในตำแหน่งปลายเท้าเขา สาเหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะทั้งสองศพถูกฝังอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน ศพของบริวารนั้นอยู่สูงกว่าพอสมควรซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีแร่ธาตุเข้ามาเสริมในโครงกระดูกของเขาอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่ย่อยสลายไป
หลุมศพของม้าที่ถูกฝังตาม เป็นม้า ๔ ตัว รถม้า ๑ คัน
นอกจากนี้ก็ยังมีรูปของหลุมขุดพบแหล่งอื่นๆตั้งแสดงอยู่ให้เห็นด้วย อย่างรูปนี้คือหลุมขุดหมายเลข ๑๑๙๓
แล้วก็ยังมีจัดแสดงของที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่างในห้องนี้ด้วย
เดินกลับมาที่ห้องโถงกลางจะเห็นว่าด้านบนชั้นสองมีส่วนจัดแสดงอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามตอนนี้มันปิดอยู่จึงอดขึ้นไปชม ทำให้เราชมภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จบลงเท่านี้
ขณะที่เดินออกมาท้องฟ้าก็ยังคงสวยสดใสเต็มไปด้วยเมฆคิวมูลัส
ก่อนจะออกไปเราลองถามคนที่นั่นดูว่ามีอะไรให้ดูอีกมั้ยนอกจากส่วนจัดแสดงภายในอาคาร เขาก็บอกว่ามีซากกำแพงเมืองเก่าอยู่ แต่ว่าเป็นซากที่แทบมองไม่เห็นอะไรแล้ว ไม่มีอะไรน่าดู เขาชี้ทางไปทางฝั่งเหนือของบริเวณพิพิธภัณฑ์เราก็ลองเดินไป
พอเดินไปด้านข้างอ้อมออกไปนิดเดียวก็เจอป้ายที่เขียนว่าซากกำแพงกรุงยาน (燕都城墙遗址)
เราเข้าใจว่าป้ายนี้หมายถึงว่าซากกำแพงอยู่ข้างหน้าต้องเดินต่อไปจึงจะถึง ก็เลยลองเดินต่อไปก็ไม่เจออะไรเลย นอกจากไร่สวนและฟ้าสวยๆ
ไร่นี้อยู่ตรงด้านข้างของพิพิธภัณฑ์นี้เอง
สุดท้ายเดินไปสักระยะหนึ่งก็ยังไม่เจออะไรเลย ก็เลยตัดสินใจกลับเข้าไปในพิพิธภัณฑ์เพื่อถามพนักงานอีกที
เขาก็บอกว่าไอ้ตรงป้ายนั่นแหละคือซากกำแพง ถ้าไม่เห็นอะไรก็แสดงว่าสภาพในตอนนี้มันเหลืออยู่แค่นี้จริงๆ สรุปแล้วก็คือไม่มีอะไรเหลือให้ดู ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะผ่านมาตั้งหลายพันปีแล้ว
เมื่อไม่มีอะไรให้ดูแล้วเราก็เดินออกมาจากพิพิธภัณฑ์อีกที เป้าหมายต่อไปอยู่ที่มัสยิดโต้วเตี้ยนซึ่งนั่งรถผ่านมาเมื่อครู่
https://phyblas.hinaboshi.com/20150624
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
พิพิธภัณฑ์
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文