φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
เมืองเก่าซิงเฉิง ปราการสำคัญยุคราชวงศ์หมิง
เขียนเมื่อ 2015/08/11 17:27
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 24 พ.ค. 2015
กำแพงล้อมเมือง หรือที่ในภาษาจีนเรียกว่าเฉิงเฉียง (城墙) นั้นถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการป้องกันเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ปัจจุบันนี้เหลือกำแพงแบบนั้นอยู่ไม่มากแล้วเนื่องจากถูกทำลายไปตามกาลเวลาเพราะไม่จำเป็นสำหรับเมืองในยุคปัจจุบันอีกแล้ว ถึงอย่างนั้นมันก็ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ควรอนุรักษ์ไว้อยู่ น่าเสียดายว่าปัจจุบันเหลืออยู่เล็กน้อย
หากพูดถึงเมืองโบราณที่อนุรักษ์กำแพงเมืองเก่าและสิ่งก่อสร้างบ้านเมืองภายในไว้ได้เป็นอย่างดีที่สุดละก็คนทั่วไปน่าจะนึกถึงเมือง
ผิงเหยา (平遥)
ในมณฑลซานซีซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เราเคยไปมาแล้วเล่าไว้ใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20120421
ครั้งนี้จะขอแนะนำเมืองโบราณอีกแห่งซึ่งปัจจุบันถือเป็นแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่มีกำแพงล้อมเมืองที่ยังคงอยู่ในสภาพดี นั่นคือ
เมืองเก่าซิงเฉิง (兴城古城)
ในมณฑลเหลียวหนิง
ซิงเฉิงมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ในสมัยก่อนเมืองนี้มีชื่อว่า
หนิงหย่วน (宁远)
ในสมัยราชวงศ์หมิงได้ใช้ระบบแบ่งเขตหน่วยทหารที่เรียกว่าเว่ย์สั่ว (卫所) หนิงหย่วนจัดอยู่ในเขตการทหารที่เรียกว่านิ่งหย่วนเว่ย์ (宁远卫) มีหน้าบทบาทสำคัญในการป้องกันข้าศึกที่มาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือ
กำแพงเมืองหนิงหย่วนถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1428 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเซวียนเต๋อ (宣德, ปี 1425 - 1435) แห่งราชวงศ์หมิง เป็นกำแพงปิดล้อมเมืองเป็นสี่เหลื่อมที่เกือบจะด้านเท่า ที่ใจกลาง ๔ ทิศเหนือใต้ออกตกมีป้อมประตูอยู่ข้างละอัน โดยที่ป้อมประตูทั้ง ๔ ทำเป็นลักษณะที่เรียกว่าเวิ่งเฉิง (瓮城) คือมีส่วนของกำแพงที่ยื่นออกไปด้านข้างสองฝั่งของประตูมีลักษณะเหมือนปากของด้วงเขี้ยวกางที่หุบลงมาเกือบสนิท
มีบทบาทสำคัญในสงครามระหว่างราชวงศ์หมิงกับทัพแมนจูเพราะอยู่ในตำแหน่งใจกลางของ
โถงทางเดินแห่งเหลียวซี (辽西走廊)
ระหว่าง
จิ่นโจว (锦州)
และ
ซานไห่กวาน (山海关)
ดังที่เคยเล่าถึงไปแล้วก่อนหน้านี้ รายละเอียดอ่านใน
ใน
สงครามที่หนิงหย่วน (宁远之战)
ปี 1626 ทัพแมนจูซึ่งนำโดย
หนูเอ่อร์ฮาชื่อ (努尔哈赤)
ซึ่งเริ่มเปิดสงครามกับทัพราชวงศ์หมิงมาตั้งแต่ปี 1618 และมีชัยยึดหัวเมืองต่าๆงมาได้เรื่อยๆมาโดยตลอดไม่เคยแพ้มาก่อนกลับมาพ้ายแพ้ศึกนี้เนื่องจากการป้องกันของ
หยวนฉงฮว่าน (袁崇焕)
แม่ทัพผู้เก่งกาจ และหลังจากนั้นยังตามมาด้วย
สงครามที่หนิงจิ่น (宁锦之战)
ในปี 1627 ซึ่งหยวนฉงฮว่านก็ป้องกันเมืองหนิงหย่วนได้เป็นอย่างดีอีก ทำให้หนิงหย่วนเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของราชวงศ์หมิงที่ไม่มีวันถูกตีแตกได้ง่ายๆ
แม้ตัวเมืองหนิงหย่วนจะถูกเผาทำลายไปโดย
อู๋ซานกุ้ย (吴三桂)
ในปี 1644 ก่อนถูกยึดครองโดยพวกแมนจู แต่กำแพงก็ยังคงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อเมืองหนิงหย่วนถูกเปลี่ยนเป็น
ซิงเฉิง (兴城)
เมื่อปี 1914 เพื่อไม่ให้ซ้ำกับเมืองอื่น ปัจจุบันซิงเฉิงเป็นเมืองระดับอำเภอที่อยู่ภายในจังหวัด
หูหลุเต่า (葫芦岛)
มณฑลเหลียวหนิง แม้ตัวเมืองจะขยายตัวด้านนอกกำแพงเมืองขึ้นไปเรื่อยๆ แต่กำแพงเมืองก็ยังอนุรักษ์ไว้อย่างดี ช่วงสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคก๊กมินตั๋ง ในปี 1948 กำแพงเมืองถูกทำลายไปส่วนหนึ่ง แต่ก็มีการซ่อมแซมภายหลัง
ด้วยความที่เป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญ อีกทั้งยังถูกอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ทำให้เมืองเก่าซิงเฉิงถือเป็นสถานที่เที่ยวแห่งหนึ่งที่น่ามาเที่ยวชม แม้ว่าอาจจะไม่ได้โดดเด่นโด่งดังมากเท่าผิงเหยาก็ตาม
การเดินทางมาซิงเฉิงนั้นไม่ลำบากเพราะมีรถไฟสามารถนั่งจากปักกิ่งมาได้ง่าย แต่ครั้งนี้เราแวะมาเที่ยวที่นี่โดยเป็นทางผ่านระหว่างเดินทางกลับจากจิ่นโจวสู่ปักกิ่ง
หลังจากที่เมื่อวานเที่ยวทั้งวันแล้วปิดท้ายด้วยเดินเที่ยวตลาดกลางคืนในจิ่นโจวดังที่เล่าไปในตอนก่อนหน้านี้แล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20150809
การเที่ยวภายในจิ่นโจวก็สิ้นสุดลงเท่านี้ ได้เวลาที่จะต้องเก็บข้าวของเพื่อเดินทางกลับ ระหว่างทางแวะเที่ยวเมืองเก่าซิงเฉิงก่อนขึ้นรถไฟจากที่นั่นกลับปักกิ่ง ตามกำหนดการแล้วเราต้องไปขึ้นรถไฟเที่ยว 2590 ซึ่งจะออกจากซิงเฉิงเวลา 15:04 และถึงปักกิ่งเวลา 22:00
เนื่องจากคิดว่าเวลาเหลือเฟือเราเลยไม่ได้รีบมากมายนัก ช่วงเช้านั่งเรื่อยเปื่อยอ่านหนังสือไปเรื่อยๆจนถึงประมาณเกือบสิบโมงจึงออกเดินทาง
เพื่อที่จะเดินทางจากจิ่นโจวไปยังซิงเฉิงนั้นที่จริงแล้วมีรถไฟไปแต่ว่าจังหวะเวลาไม่ค่อยพอดีก็เลยตัดสินใจนั่งรถบัสไป โดยรถบัสที่ไปถึงซิงเฉิงโดยตรงก็มี แต่เราตัดสินใจนั่งไปลงที่เมืองหูหลุเต่าแล้วค่อยต่อรถไปอีกที ที่ทำอย่างนี้เพราะยังไงก็ต้องผ่านเมืองหูหลุเต่าอยู่แล้ว อยากแวะไปดูเพิ่มอีกเมือง
ท่ารถสำหรับไปหูหลุเต่านั้นอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสถานีรถไฟ
อ้อมไปทางด้านข้างสถานีจะเห็นป้ายเขียนว่าไปหูหลุเต่าและซิงเฉิง
ตอนที่เรามาถึงเห็นมีรถออกมาพอดีก็เลยรีบขึ้นไปได้เลย รถที่ออกมีจำนวนเที่ยวเยอะไม่จำเป็นต้องรอนาน
ใช้เวลาชั่วโมงกว่าในที่สุดก็มาถึงสถานีรถไฟหูหลุเต่า
บริเวณรอบๆสถานีรถไฟ
เรามองหาห้องน้ำก่อนเลยก็เลยเดินไปเข้าในโรงแรมนี้
จากนั้นก็มองหารถที่จะไปซิงเฉิง ซึ่งก็จอดอยู่หน้าสถานีรวมกับรถที่ไปที่อื่นๆ เป็นรถตู้เล็กๆแบบนี้ พอเราขึ้นไปไม่นานรถก็ออก
แต่ขับไปสักระยะหนึ่งแค่แป๊บเดียวรถก็กลับหยุด เขาบอกว่าให้ไปขึ้นรถอีกคันนึงแทนเพราะผู้โดยสารน้อยให้ไปรวมกับอีกคัน
แต่พอเข้าไปรถอีกคันแล้วเขาก็ยังไม่ออกสักที ทั้งที่คนก็เกือบเต็มคันแล้ว แล้วเขาก็รออีกสักพักจนคนแน่นจนไม่มีที่นั่งมีบางคนต้องยืน จากนั้นรถจึงเริ่มออก เป็นอะไรที่ทำให้ล่าช้ามากทีเดียว
นอกจากนี้ระหว่างทางเขาก็ยังจอดรับผู้โดยสารอีกเยอะเรื่อยๆเหมือนกับเป็นรถเมล์ชนิดที่วิ่งในเมือง จึงช้ามากไปๆมาๆตั้งแต่ที่เริ่มออกจากสถานีรถไฟหูหลุเต่าจนไปถึงเมืองซิงเฉิงต้องใช้เวลาไปชั่วโมงกว่า นานกว่าการเดินทางจากจิ่นโจวไปหูหลุเต่าเสียอีกทั้งที่ระยะทางใกล้กว่าหลายเท่า
การเสียเวลาไปเยอะทำให้เรามีเวลาเที่ยวที่นี่น้อยลงกว่าที่วางแผนไว้มาก ตอนแรกคิดว่าน่าจะมาถึงสัก 11 โมงครึ่ง แบบนี้จะมีเลาเที่ยว ๓ ชั่วโมงสบายๆ แต่ไปๆมาตอนที่ถึงเวลาก็ล่วงไปจนเกินเที่ยงครึ่งเกือบจะบ่ายโมงไปแล้ว ทำให้มีเวลาเที่ยวไม่ถึง ๒ ชั่วโมง เวลาจำกัดสุดๆ ไม่อาจเดินเที่ยวช้าๆสบายๆได้
เมื่อรถวิ่งเข้าถึงตัวเมืองซิงเฉิงแล้วเราถามคนบนรถว่าลงตรงไหนดีถึงจะไปย่านเมืองเก่าได้ใกล้ที่สุดเขาก็แนะนำให้ไปลงที่หนานกวาน (南关) ซึ่งหมายถึงด่านทางตอนใต้ เป็นถนนที่อยู่ทางใต้ของย่านเมืองเก่าซิงเฉิง
จุดที่ลงรถมานั้นคือถนนซิงไห่หนาน (兴海南街) ซึ่งเป็นย่านใจกลางเมืองที่ดูแล้วเจริญดี
เลี้ยวตรงนี้เป็นถนนที่จะไปยังย่านเมืองเก่า
เดินมาไม่นานก็ถึงด้านหน้าทางเข้าเมืองเก่า ป้อมประตูทางใต้นี้มีชื่อว่าหยานฮุยเหมิน (延辉门)
แผนที่ จุดสีแดงในนี้คือสถานที่ที่มีลักษณะเด่นที่ควรแวะไป ได้แก่ประตูทั้ง ๔ ทิศ แล้วก็พวกอาคารเก่าต่างๆที่สำคัญ
เดินผ่านประตูเข้ามาได้เลย
เมื่อเข้ามาแล้วเลี้ยวก็จะเห็นทางซ้ายมีทางขึ้นไปยังด้านบนกำแพงเมือง และข้างๆนั้นเป็นร้านที่สามารถซื้อบัตรสำหรับปีนกำแพงได้ และก็มีบัตรแบบเหมาสำหรับผ่านประตูที่เที่ยวทั้งหมดในนี้
สถานที่ที่ต้องใช้บัตรผ่านเพื่อเข้าไปนั้นมีทั้งหมด ๖ แห่ง รวมป้อมประตูด้วย ราคารวมทั้งหมดเป็น ๑๔๐ หยวน แต่ถ้าซื้อบัตรแบบเหมารวม (联票, เหลียนเพี่ยว) ก็จะราคาแค่ ๑๐๐ หยวน ลดลงมาได้พอสมควร เราตัดสินใจซื้อบัตรเหมา และเนื่องจากที่นี่ก็มีส่วนลดสำหรับนักเรียนนักศึกษาทำให้เราได้ลดครึ่งราคาเหลือ ๕๐ หยวน ประหยัดไปได้เยอะ
สถานที่ทั้ง ๖ ได้แก่
- กำแพงเมือง (城墙) ๒๐ หยวน
- บ้านตระกูลโจว (周家住宅, โจวเจียจู้ไจ๋) ๑๐ หยวน
- วัดขงจื๊อ (文庙, เหวินเมี่ยว) ๓๕ หยวน
- ตำหนักนายพล (将军府, เจียงจวินฝู่) ๑๐ หยวน
- ตำหนักผู้ว่า (督师府, ตูซือฝู่) ๔๐ หยวน
- หอระฆังและกลอง (钟鼓楼, จงกู่โหลว) ๒๐ หยวน
เมื่อซื้อบัตรแล้วกำลังจะไปขึ้นกำแพงคนที่เฝ้ากำแพงเขาก็แนะนำว่าให้ไปชมบ้านตระกูลโจว ซึ่งเป็นสถานที่หนึ่งในนี้ที่ต้องใช้บัตรก่อนแล้วค่อยมาปีนกำแพงดีกว่า เพราะที่นั่นอยู่ใกล้ตรงนี้ดินอีกนิดเดียวก็ถึง ถ้าหากขึ้นไปปีนกำแพงแล้วก็จะไปลงที่อื่น คงไม่ได้กลับมาแถวนี้แล้ว
บ้านตระกูลโจวนั้นเคยเป็นที่พักของโจวหย่งจี๋ (周永吉) ซึ่งเป็นนักธุรกิจและเกษตรกร สร้างขึ้นในปี 1934 และย้ายออกไปในปี 1947 ลักษณะบ้านเป็นซื่อเหอย่วนที่มีเอกลักษณ์ตามแบบของมณฑลเหลียวหนิงฝั่งตะวันตก
เราทำตามที่เขาแนะนำ เดินไปที่บ้านตระกูลโจวก่อน
ภายในก็ไม่มีอะไรมาก ไม่ได้ใหญ่โตอะไรเดินแป๊บเดียวก็เสร็จแล้ว
ต่อมาก็ย้อนกลับมาเพื่อปีนกำแพงค่าขึ้นปีนกำแพงอย่างเดียวนั้นเป็น ๒๕ หยวน แต่ตอนนี้เราใช้บัตรเหมารวมแล้วก็ไม่ต้องจ่ายแล้ว
ขึ้นมาด้านบน นี่เป็นหอด้านบนประตู
มองไปตามทางเดินบนกำแพง ตรงนี้เป็นทางตะวันตก ดูแล้วไม่มีอะไร
ส่วนบนกำแพงที่ยื่นออกไปด้านนอกตามลักษณะของเวิ่งเฉิง
มองดูบ้านเมืองด้านนอกกำแพงทางใต้
ส่วนทางนี้เป็นด้านในกำแพง สภาพดูสวยกว่าด้านนอก
หุ่นทหารยามเฝ้าป้อม
เราเดินตามกำแพงรอบเมืองไปทางตะวันออก เพราะตะวันออกมีที่ให้เข้าชมเยอะกว่าตะวันตก
ปืนใหญ่ที่ใช้บนนี้คือปืนใหญ่ที่เรียกว่าปืนใหญ่หงอี๋ (红夷大炮) หรือปืนใหญ่หงอี (红衣大炮) เป็นปืนใหญ่ที่นำเข้าจากชาติตะวันตกในช่วยปลายยุคราชวงศ์หมิง มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ป้องกันเมืองเป็นอย่างมาก ในปี 1626 แม่ทัพหยวนฉงฮว่านสั่งนำเข้าปืนใหญ่ชนิดนี้มาติดตั้งที่นี่เป็นจำนวนมากเพื่อรับศึกทัพแมนจู และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ป้องกันเมืองเอาไว้ได้
สภาพบ้านเมืองภายในกำแพงที่มองเห็นจากบนกำแพง
ส่วนอันนี้เป็นด้านนอกกำแพง
หอมุมตะวันออกเฉียงใต้
เดินต่อไปตามทางตะวันออก ระหว่างอยู่บนนั้นก็เห็นสถานที่ที่สามารถเข้าชมได้อีก ๒ แห่งคือวัดขงจื๊อกับตำหนักนายพลแต่เรายังไม่เข้าไปตอนนี้
เดินต่อไปจนเริ่มเห็นหอป้อมประตูทิศตะวันออก ชื่อชุนเหอเหมิน (春和门)
มองลงไปด้านนอกประตูตะวันออก
เดินผ่านป้อมประตูแล้วก็เดินไปตามทางตามกำแพงฝั่งตะวันออกต่อไป
บ้านเมืองด้านนอกกำแพงระหว่างทาง
เดินไปเรื่อยๆก็มาถึงป้อมประตูทิศเหนือ ชื่อเวย์หย่วนเหมิน (威远门)
มองออกไปด้านนอกกำแพงทิศเหนือ
เราตัดสินใจเดินลงตรงนี้ เท่ากับว่าเดินบนกำแพงไปครึ่งหนึ่งพอดี เท่านี้ก็เพียงพอแล้วเพราะอีกครึ่งก็เหมือนกัน
เส้นทางข้างหน้า
เบื้องหน้านี้คือหอระฆังและกลอง เป็นเป้าหมายต่อไปที่จะต้องเข้าไปชม
แต่ว่าก่อนจะถึงตรงนั้นทางตะวันตกมีป้ายชี้ไปยังวัดเฉิงหวง (城隍庙) ซึ่งเป็นวัดเล็กๆแห่งหนึ่งซึ่งสามารถเข้าชมได้แม้ว่าจะไม่ใช่หนึ่งในจุดสำคัญที่ต้องใช้บัตรผ่านเพื่อเข้าชม เราตัดสินใจแวะไปชมวัดนี้ก่อน
ระหว่างทางเส้นทางดูค่อนข้างร้างๆ
หน้าวัด
เข้ามาด้านใน ดูแล้วไม่มีอะไรมาก เล็กนิดเดียว เราเดินดูแบบผ่านๆแล้วก็รีบออกไปเพื่อไปยังเป้าหมายหลักที่สำคัญกว่า
เมื่อออกมาจากวัดเฉิงหวงก็เดินออกมาอีกทางเพื่อไปออกยังถนนฝั่งตะวันตก ระหว่างทางแถวนี้ดูเงียบเหงามาก
ออกมาโผล่ถนนฝั่งตะวันตก
มองไปทางตะวันออกก็เห็นหอระฆังและกลองอีกครั้ง
ได้เวลาขึ้นไปชมด้านบน
อาคารด้านบนนั้นเป็นที่จัดแสดงของเก่าจำนวนหนึ่ง
ชั้น ๒
จากด้านบนมองลงไปยังทิศใต้
มองไปยังทิศตะวันตก
ทิศเหนือ
และนี่คือทิศตะวันออก ซึ่งเรากำลังจะมุ่งหน้าไปทางนี้ต่อไป
ลงจากหอระฆังและกลองแล้วเดินไปทางตะวันออก
แล้วก็มาถึงตำหนักผู้ว่า ที่นี่เป็นสำนักงานใหญ่ของหน่วยทหารสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในสมัยราชวงศ์หมิง อาคารนี้เดิมสร้างขึ้นในปี 1622 แต่ในปี 1644 อู๋ซานกุ้ยได้ตัดสินใจทิ้งเมืองหนิงหย่วนเพื่อไปตั้งรับที่ซานไห่กวาน เขาได้เผาเมืองทิ้งและอาคารนี้เองก็ได้ถูกเผาเสียหายด้วย
อาคารที่เห็นในปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 2002 โดยสร้างให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ พื้นที่ทั้งหมด ๔๘๐๐ ตร.ม. ประกอบไปด้วยอาคารต่างๆมากมายภายใน
บรรยากาศภายใน
นี่เป็นอาคารที่ระลึกถึงหยวนฉงฮว่าน วีรบุรุษคนสำคัญของที่นี่
ภายในมีรูปปั้นเขา
อาคารข้างๆกันนั้นเล่าถึงประวัติของหยวนฉงฮว่าน
ภาพแกะสลักบนกำแพงที่เกี่ยวข้องกัน
ข้อความบนหินนี้เขียนโดยหยวนฉงฮว่าน
ตรงนี้คือเรือนจำ
ภายในอาคารเรือนจำแบ่งเป็นห้องต่างๆ
แต่ละห้องจัดแสดงนักโทษที่อยู่ในสภาพต่างๆ
ส่วนอาคารข้างๆกันนั้นจัดแสดงอาวุธของราชวงศ์หมิงและชิง
ด้านหน้ามีปืนใหญ่
ถัดมามีอาคารที่จัดแสดงเสื้อผ้าในยุคราชวงศ์หมิง
และเสื้อผ้าในยุคราชวงศ์ชิง
ส่วนอาคารตรงนี้เป็นสถานที่ที่สมัยก่อนใช้เป็นที่จัดประชุมหารือการศึกและกิจต่างๆ มีหุ่นจำลองแสดงให้เห็นด้วย
ส่วนอาคารนี้จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของที่นี่
ภายในไล่เรียงเหตุการณ์ต่างๆแล้วก็พูดถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย
ถัดมาเป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับบุคคลสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับที่นี่
ส่วนอาคารนี้จัดแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมการพิมพ์
หลังจากชมด้านในเสร็จก็ออกมาแล้วเดินในเมืองต่อ
เป้าหมายต่อไปก็คือวัดขงจื๊อ ไม่นานก็เดินมาถึง วัดขงจื๊อของซิงเฉิงนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1430 ถือเป็นวัดขงจื๊อที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคตะวันตกเฉียงเหนือจีน
ภายใน
วัดนี้สวยและใหญ่พอสมควร และมีจัดแสดงอะไรต่างๆหลายอย่าง แต่เนื่องจากเรามีเวลาเหลือน้อยมากแล้วจึงไม่อาจดูอย่างละเอียดได้เหมือนอย่างที่ชมตำหนักผู้ว่า ก็เลยขอลงรูปเฉยๆก็แล้วกัน
ต่อมาเป็นสถานที่เที่ยวแห่งสุดท้ายในนี้ อยู่ข้างๆวัดขงจื๊อนี้เอง คือตำหนักนายพล
ตำหนักนายพลถูกสร้างขึ้นปี 1926 เพื่อเป็นที่อาศัยของนายพลเก้าหรู่เหลียน (郜汝廉) เขาพักอยู่ที่นั่นจนถึงปี 1947 อาคารเป็นซื่อเหอย่วนที่มีสวนจีนอยู่ภายในตกแต่งสวยงาม ในปี 2003 ได้เปิดเป็นสถานที่เที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
ภายในเป็นสวนสวยๆ
อาคารต่างๆภายใน
ภายในอาคารก็มีห้องต่างๆที่ตกแต่งอย่างสวยงาม
ส่วนห้องนี้จัดแสดงชีวประวัติของเก้าหรู่เหลียน
ชมในนี้เสร็จอย่างรวดเร็ว ไม่มีอะไรแล้วที่เหลือตอนนี้คือต้องรีบวิ่งเพื่อไปให้ถึงสถานีรถไฟให้เร็วที่สุด ระหว่างทางผ่านถนนแนวกลางฝั่งใต้ ผ่านซุ้มประตูเก่าอยู่สองอัน
แล้วก็เดินออกจากกำแพงเมืองเก่านี้โดยผ่านทางประตูทิศตะวันตก
ประตูตะวันตกนี้มีชื่อหย่งหนิงเหมิน (永宁门) นี่เป็นภาพสุดท้ายของกำแพงเมืองเก่าที่เราถ่ายก่อนเดินจากไป
ออกจากประตูเมืองฝั่งตะวันออกก็เดินต่อไปเรื่อยๆไปยังสถานีรถไฟซึ่งอยู่ไม่ได้ไกลมากนัก
ถึงแล้ว
ด้านหน้าของสถานีนั้นมีรูปปั้นของหยวนฉงฮว่านอยู่ตั้งเด่นเป็นสง่า
เข้าไปในสถานี
บรรยากาศภายในสถานี
รถไฟมาช้ากว่าเวลา 15:04 ที่เขียนบนบัตรอยู่เล็กน้อย ไม่นานเขาก็เรียกให้ไปขึ้นรถไฟ
ชานชลา
รถไฟมาแล้ว
ขณะที่ขึ้นไปนั้นก็พบว่ารถไฟคนโล่งมากจนน่าแปลกใจเลยทีเดียว
จากนั้นพอผ่านเมือง
สุยจง (绥中)
ซึ่งเป็นเมืองระดับอำเภออีกเมืองในจังหวัดหูหลุเต่าก็พบว่าคนยิ่งลดลงไปอีก
ระหว่างทางคนมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาบ้างแต่ก็ไม่ถึงกับเต็ม ค่อนข้างนั่งสบายไปตลอดทาง ตั้งแต่นั่งรถไฟมาครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่คนโล่งที่สุด ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร
เวลาผ่านไปตะวันก็เริ่มคล้อยต่ำเปลี่ยนเป็นสีแดง แล้วก็ลับขอบฟ้าไป
เมื่อรถไฟผ่านมาถึงเมืองเทียนจินก็เงียบเหงาสุดๆ
ในที่สุดก็กลับมาถึงปักกิ่งแล้ว ตามเวลา 22:00 เรารีบขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อกลับไปโดยสวัสดิภาพ
การท่องเที่ยวจิ่นโจวและซิงเฉิงตลอด ๓ วันสิ้นสุดลงแล้ว เป็นการเดินทางเที่ยวที่รู้สึกประทับใจและคุ้มค่ามากครั้งหนึ่งคงจะไม่ลืมไปอีกนาน
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เหลียวหนิง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
ซากุระโนะบาบะ โจวไซเอง ย่านร้านค้าชิโมโตริ ซากุระมาจิคุมาโมโตะ
ชมปราสาทคุมาโมโตะที่ยังเต็มไปด้วยรอยแผลจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
おすすめの記事
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文