φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เมืองโบราณผิงเหยา วันที่ ๑ เดินเรื่อยเปื่อยในเมือง
เขียนเมื่อ 2012/04/21 15:32
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
คำเตือน : หน้านี้โหลดโหดเป็นพิเศษ เนื่องจากมีรูปภาพอยู่ถึง ๑๑๓ รูป

#ศุกร์ 13 เม.ษ. 2012


เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปเที่ยวค้างคืนกับเพื่อนในห้องมา ไปเป็นกลุ่มใหญ่ถึง ๑๔ คน เป็นอะไรที่ประสบการณ์แปลกใหม่มากเพราะเป็นครั้งแรกที่ไปกับเพื่อนที่มีแต่ต่างชาติ

สถานที่เที่ยวที่เราไปกันก็คือเมืองโบราณผิงเหยา (平遥古城) เป็นเมืองโบราณแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในมณฑลซานซี (山西省) อยู่ไม่ไกลจากปักกิ่ง นั่งรถไฟอย่างช้าๆใช้เวลา ๑๒ ชั่วโมงจึงจะถึง

พวกเราไปกันแบบ ๓ คืน ๒ วัน คือวันที่ 12 เมษายนตอนเย็นออกเดินทางและค้างบนรถไฟ คืนวันที่ 13 ค้างที่โรงแรมในเมืองผิงเหยา และวันที่ 14 ก็กลับโดยตอนกลางคืนค้างบนรถไฟอีก เช้าวันที่ 15 ก็กลับถึงปักกิ่งโดยสวัสดิภาพ



รู้จักกับผิงเหยา

ก่อนที่จะพาไปชมบันทึกการท่องเที่ยว ขอพูดถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เที่ยว ผิงเหยามีความสำคัญยังไง ทำไมถึงน่าไปเที่ยว และที่นั่นมีอะไรให้เที่ยวบ้าง

ผิงเหยาเป็นเมืองโบราณอายุเก่าแก่กว่าสองพันปี มีโบราณสถานอยู่มากมาย ที่สำคัญและโดดเด่นที่สุดก็คือกำแพงล้อมรอบเมืองซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตกนานมากแล้ว แต่ซ่อมแซมปรับปรุงขยายในปี 1370 ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์หมิงตอนต้น หลังจากนั้นก็รักษาอยู่อย่างนั้นมาโดยตลอดสมบูรณ์แบบจนถึงปัจจุบัน

ตัวกำแพงเมืองนั้นกั้นระหว่างตัวเมืองโบราณกับภายนอก ภายในมีขนาด ๒.๓ ตารางกิโลเมตร ลักษณะของกำแพงดูแล้วคล้ายเต่าเพราะมีประตูเหนือและใต้อย่างละ ๑ คล้ายหัวกับหาง และตะวันตกกับตะวันออกอย่างละ ๒ คล้ายเป็นขาทั้ง ๔

ตัวกำแพงนี้เราสามารถขึ้นไปเดินเล่นได้ด้วย สามารถเดินไปเรื่อยๆรอบเมืองแล้วกลับมาที่เดิม ใช้เวลาเกินกว่าชั่วโมงในการเดิน

นอกจากนี้เมื่อยุคสองร้อยปีก่อน ผิงเหยาได้กลายเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีนจนถูกเรียกว่าเป็นวอลล์สตรีตแห่งเอเซีย มีร้านค้าที่ทำธุรกรรมการเงินที่สำคัญเรียกว่าเพี่ยวเฮ่า (票号)

ไม่เพียงในตัวเมือง บริเวณใกล้ๆก็มีสถานที่เที่ยวที่น่าไป เช่น วัดซวางหลิน (双林寺) และ วัดเจิ้นกั๋ว (镇国寺) ทั้งคู่เป็นวัดโบราณซึ่งอยู่ในเขตอำเภอผิงเหยา

นอกจากนี้บริเวณไกลออกไปหน่อยก็มีคฤหาสน์ตระกูลเฉียว (乔家大院) และคฤหาสน์ตระกูลหวาง (王家大院) ซึ่งต่างก็เป็นบ้านของตระกูลผู้ร่ำรวยในอดีต ปัจจุบันไม่มีใครอาศัยอยู่ แต่ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไป


สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองผิงเหยานั้นโดยปกติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมสถานที่ซึ่งราคา ๑๕๐ หยวน แต่เราเป็นนักเรียนก็เลยลดครึ่งราคาเหลือ ๗๕ หยวน

บัตรนี้สามารถใช้เข้าชมสถานที่ในเมืองได้แทบทุกแห่ง ยกเว้นที่เดียวคือหอคอยกลางเมือง ซื่อโหลว (市楼) ซึ่งต้องจ่ายต่างหาก นอกจากนี้วัดซวางหลินกับวัดเจิ้นกั๋วซึ่งอยู่นอกตัวเมืองเองก็ไม่นับ

แต่ถ้าจะแค่เข้ามาพักโรงแรมแล้วชมบรรยากาศในตัวเมืองเฉยๆโดยไม่เข้าไปยังสถานที่สำคัญต่างๆเลยก็สามารถไม่จ่ายค่าบัตรนี้ หากเสียดายเงินจริงๆแค่เดินเล่นตามถนนในเมืองโดยไม่ต้องเข้าชมสถานที่สำคัญต่างๆก็ได้ แบบนี้ก็ประหยัดเงินไปได้เยอะ แต่ที่นี่มีสถานที่น่าสนใจเข้าชมอยู่มากมายอย่างน้อยมาแล้วคิดว่าควรเข้าชมให้คุ้ม



ออกเดินทาง

คืนแรกทุกคนนั่งรถไฟตู้นอนกัน ตอนแรกเกือบมาไม่ทันขึ้นรถไฟกันซะแล้ว แต่พอมาขึ้นทันเวลาทุกคนก็โล่งใจ



พวกเรานั่งคุยเล่นทำอะไรกันไปเรื่อยจนถึงเวลาปิดไฟคือประมาณ ๔ ทุ่มครึ่ง



บรรยากาศบนรถไฟก่อนเวลาปิดไฟไม่กี่นาที



หลังจากปิดไฟพวกเราก็ยังนอนคุยกันต่อไม่จบ จนมีผู้โดยสารคนหนึ่งมาเตือนบอกให้เงียบเพราะเขานอนไม่หลับ พวกเราจึงเงียบกัน แล้วก็นอนหลับไป

แล้วเช้าวันต่อมาเราก็มาถึงผิงเหยา



หน้าสถานีรถไฟ



บรรยากาศยามเช้าในตัวเมืองผิงเหยาระหว่างที่เรากำลังเดินเพื่อไปเข้าโรงแรม คนดูจะยังโหรงเหรงร้านค้าก็ยังเปิดน้อยเพราะยังเช้าอยู่





ร้านค้าต่างๆ





หอคอยกลางเมือง ตั้งอยู่เด่นสวย ด้านล่างคร่อมถนนทางเดินอยู่สามารถเดินผ่านได้



พวกเราแวะกินมื้อเช้ากันที่ร้านนี้ก่อนเข้าโรงแรม



พวกนี้เป็นรายการอาหารท้องถิ่นของผิงเหยาทั้งนั้นเลย พวกเราสั่งหลายๆอย่างมาแบ่งกันกินดู



โหยวเมี่ยนเขาเหล่าเหล่า (莜面烤栳栳) ๑๐ หยวน



หวั่นทู (碗秃) ๘ หยวน



สุ่ยเจียนเปา (水煎包) ๑๒ หยวน



โหยวเกา (油糕) ๑๔ หยวน



เตาเซียวเมี่ยน (刀削面) เป็นบะหมี่แบบที่มีชื่อเสียงในมณฑลซานซี เส้นบะหมี่ของเตาเซียวเมี่ยนนั้นได้มาจากการเอามีดเฉือนแป้งที่เป็นก้อนๆออกมา แทนที่จะนวดให้เป็นเส้นยาวๆเหมือนเส้นบะหมี่ทั่วไปที่เรารู้จักกัน



ทานจบไปแล้ว ถ้าถามว่ารสชาติเป็นยังไงละก็ บอกได้เลยว่าทำใจ กลับไปกินที่ปักกิ่งอร่อยกว่าเยอะ

เสร็จแล้วเราก็ตรงมาที่โรงแรม นี่เป็นโรงแรมที่เราพัก บรรยากาศเป็นแบบโบราณด้านในมีสวนด้วย ลักษณะแบบนี้เรียกว่าเป็นซื่อเหอย่วน (四合院)




ห้องที่เราพัก เป็นห้องพักที่นอนได้ ๑๒ คน แบ่งห้องย่อยทีละ ๔ คน พวกเราเหมาห้องนี้กันเลย



แล้วพวกเราก็จัดการเก็บของเข้่าห้องและเตรียมการอะไรให้เรียบร้อย สุดท้ายก็ออกเดินทางไปเดินในเมืองด้วยกันตอนเที่ยง



วัดเฉิงหวง

จุดแรกที่เราไปกันก็คือวัดเฉิงหวง (城隍庙) วัดของเทพประจำเมือง เป้นสถานที่หนึ่งที่ต้องใช้บัตรถึงจะเข้าได้



ด้านในตัววัด








รูปปั้นต่างๆในตัวอาคาร





ขึ้นไปบนตัวอาคารที่มีชั้นสอง



มองลงไปก็เห็นหลังคาตัวเมืองรอบๆ



ภาพบรรยากาสในนรก ที่มียมบาลใช้วิธีต่างๆลงโทษ น่ากลัวมาก บางภาพโหดร้ายมากไม่กล้าเอาภาพมาลง





เดินเสร็จก็กินมื้อเที่ยงกัน แวะร้านใกล้ๆแถวนั้น



อาหารส่วนใหญ่ดูจะยังไม่ค่อยถูกปากอีกเช่นเคย






มีอันนี้ที่พอจะเรียกว่าอร่อย เขาเรียกว่าผิงเหยาหวาง (平遥王) แปลตรงๆว่าราชาแห่งผิงเหยา เป็นของหวานอร่อยดี





วัดขงจื๊อ

เป้าหมายต่อไปคือวัดขงจื๊อ (文庙) วัดขงจื๊อของเมืองผิงหยานี้ขนาดใหญ่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน



บรรยากาศภายใน








ในสวนเห็นดอกบ๊วยกำลังบานสวยอยู่



ภายในตัวอาคารต่างๆในวัด





มีระฆังให้ตี แต่ต้องเสียค่าตีครั้งละ ๑ หยวน พวกเราก็เข้าไปแค่ทำท่าตีเฉยๆ เท่านี้ก็ไม่เสียตัง



อีกส่วนหนึ่งของตัววัดที่ตอนแรกเราเดินเลี้ยวแล้วเกือบพลาดไปไม่ได้มาเข้าชม






เสร็จแล้วเราก็เดินออกมานอกวัด ข้างๆตัววัดนั้นมีกำแพงเก้ามังกร (九龙壁) ตั้งอยู่สวยงาม น่าเสียดายหามุมถ่ายรูปสวยๆยากมาก



เดินต่อไปทางตะวันออกอีกหน่อยก็พบโบสต์คริสต์ตั้งอยู่ด้วย ก็เลยแวะเข้าไปดูนิดหน่อย





เดินมาต่อก็จะสุดทางที่ประตูตะวันออกเฉียงใต้



พวกเราอยากหาทางไปประตูเหนือเพื่อจะได้ขึ้นไปปีนกำแพงกันเล่น เลยเดินเลียบกำแพงไป แต่ก็พบทางตัน ก็เลยเปลี่ยน ไปทางใต้เพื่อไปประตูใต้แทน แต่ก็เจอทางตันอีก ช่างโชคไม่ดี วันนี้ทุกคนจึงยกเลิกความคิดที่จะปีนกำแพง




ระหว่างนั้นก็ไปเจอคนกำลังวาดภาพกำแพงเมือง เราก็แอบไปถ่ายเขา





เที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเมือง

ตอนเย็นๆเราไปเดินเที่ยวตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆตามถนนในเมือง

อันนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เปียวจวี๋จีน (中国镖局博物馆)



เปียวจวี๋คือคล้ายๆกับเป็นสำนักไปรษณีย์ในสมัยก่อน แต่จะมีผู้คอยคุ้มกันซึ่งฝึกการต่อสู้มาอย่างดีเพื่อความปลอดภัย



ภายใน





อักษร อู่ (武) หรือที่คนไทยเรียกว่า บู๊ นั่นเอง หมายถึงอะไรที่เกี่ยวกับการต่อสู้



ภาพวาดนักบู๊สมัยนั้น ฝึกกันโหดน่าดู





ต่อไปเป็นพิพิธภัณฑ์เพี่ยวเฮ่าจีน (中国票号博物馆) เพี่ยวเฮ่านั้นเป็นธุรกิจทางการเงินชนิดหนึ่งในสมัยก่อน



ภายใน








เงินตราสมัยต่างๆ รวมทั้งของต่างประเทศจำนวนมากมายตั้งแสดงอยู่





ต่อไปก็เจอกับพิพิธภัณฑ์หมอน แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่พิพิธภัณฑ์จริงๆหรอก เป็นแค่ร้านขายหมอนธรรมดา เขาคงตั้งชื่อเพื่อให้พ้องกับบริเวณรอบๆซึ่งมีแต่พิพิธภัณฑ์เต็มไปหมด







สุดท้ายที่เข้าไปชมคือพิพิธภัณฑ์เทียนจี๋เสียง (天吉祥博物馆) ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ



ภายใน








เขากำลังทำอะไรกันอยู่น่ะ?



ป้ายนี่น่าสงสัยดี ภาษาจีนเขียนว่า 小心滑落 แปลว่า ระวังลื่นตก แต่ภาษาอังกฤษเขียนว่า No Admittance แปลว่าห้ามเข้า แบบนี้อ่านภาษาจีนไม่ออกแล้วอ่านแต่ภาษาอังกฤษคงจะงงและไม่ได้เข้าไปแน่เลย ที่จริงเขาแค่จะบอกให้ระวังพื้นลื้นเท่านั้นเอง



ไม่ใช่แค่ป้ายนี้หรอกเพื่อนชาวอังกฤษที่ไปด้วยเขาบอกว่าพวกป้ายที่ให้ข้อมูลต่างๆของที่นี่ล้วนแปลเป็นอังกฤษได้แย่มาก เขาอ่านไปหัวเราะไป

แล้วตรงนี้ก็มีเก็บของมีค่าต่างๆมากมาย






ยามค่ำคืนในผิงเหยา

จากนั้นก็แวะทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่งแถวนั้น



มื้อนี้ดูจะอร่อยกว่ามื้อก่อนๆ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่เรียกว่าพอใช้ได้เท่านั้นนะ









เสร็จแล้วก็ได้เวลาเที่ยวกลางคืน เดินชมบรรยากาศในเมืองยามค่ำคืน



บรรยากาศตอนกลางคืนครึกครื้นดีมาก










หอคอยกลางเมืองตอนกลางคืนประดับไฟสวยมาก





เดินสักพักทุกคนก็กลับไปที่ห้องแล้วเริ่มดื่มเหล้ากัน แต่เราไม่ดื่มด้วยก็เลยออกมาเดินเล่นกลางคืนต่อคนเดียว



เราเดินไปทางใต้เรื่อยๆจนเจอกับประตูใต้ ป้อมประตูเมืองทิศใต้ก็ประดับไฟสวยงามเหมือนกัน ที่ตรงนั้นเราได้เจอกับคนขับรถรับจ้างที่คุยเก่ง เขาชวนเราคุยเราก็คุยกับเขา ก็สนุกดี



พอเดินไปเรื่อยๆเริ่มดึกเขา ถนนก็เริ่มเงียบเหงา ร้านค้าก็ทยอยปิด เราก็เดินกลับโรงแรม



ตอนที่กลับไปถึงงานเลี้ยงยังคงดำเนินอยู่ไม่หยุด และก็ดำเนินไปจนถึงตีหนึ่งกว่าๆ เราไม่ได้ดื่มด้วยแต่ก็นั่งคุยไปเรื่อยๆจนถึงเวลานอน






จบแล้วสำหรับวันแรก ที่จริงอยากจะเขียนถึงสองวันในหน้าเดียวเลย แต่ท่าทางจะยาวไป ดังนั้นเลยต้องแบ่งเป็นสองหน้า

ติดตามการเที่ยวผิงเหยาในวันที่สองกันต่อได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20120423




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ซานซี
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน
-- ท่องเที่ยว >> มรดกโลก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文