φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เมืองโบราณผิงเหยา วันที่ ๒ ปีนกำแพงเมือง ชมวัดซวางหลิน เดินเล่นในคฤหาสน์ตระกูลเฉียว
เขียนเมื่อ 2012/04/23 15:32
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
คำเตือน : หน้านี้โหลดโหดเป็นพิเศษ เนื่องจากมีภาพถ่ายอยู่ถึง ๑๐๕ รูป

#เสาร์ 14 เม.ษ. 2012


เล่าต่อจาก
https://phyblas.hinaboshi.com/20120421

หลังจากจบวันแรกไปก็ตื่นเช้ามาเริ่มต้นวันที่สอง



กำแพงเมืองผิงเหยา

ตื่นมาเราก็มุ่งไปยังประตูใต้เพื่อไปปีนกำแพงเมืองกันแต่เช้า




เรายื่นบัตรแล้วก็เดินขึ้นมาบนตัวกำแพง




เมื่อขึ้นมาบนกำแพงเมืองแล้วมองลงไปบริเวณรอบๆ






มองออกไปด้านนอกกำแพงเมือง เห็นนักท่องเที่ยวที่แห่แหนกันมาแต่เช้า



เราเริ่มต้นเดินออกไปทางตะวันออก



ถ่ายภาพทิวทัศน์เมืองสวยๆได้มากมาย






หันกลับไปมองจุดเริ่มต้นเป็นครั้งคราว



ระหว่างทางก็มีป้อมอยู่ประปราย




ตัวเมืองด้านนอกกำแพง




เดินถึงแถวๆฝั่งตะวันออกแล้ว ตรงนี้ดูจะไม่สวยเท่าทางฝั่งใต้ที่เดินผ่านมาแล้ว








แล้วเราก็เดินไปจนถึงป้อมประตูทางฝั่งเหนือ ซึ่งเป็นทางที่จะลงไปได้ เราก็หยุดเพียงเท่านี้เพื่อจะลงไป เดินแค่ครึ่งรอบก็พอแล้ว ใช้เวลาไป ๓๕ นาที



ได้เวลาลงจากกำแพง



ถนนเมืองบริเวณประตูเหนือก็สวยงามเหมือนกัน ตรงนี้ยังไม่เคยเดินมาก่อน



ตรงนี้มีวัดเอ้อร์หลาง (二郎庙) ก็เป็นวัดอีกแห่ง แต่ไม่ได้เด่นมาก เราไม่ได้แวะเข้าไป





ศาลาว่าการอำเภอผิงเหยา

ต่อไปเราแวะไปยังศาลาว่าการอำเภอผิงเหยา (平遥县衙)



ภายใน





ในบริเวณมีสวนสวยๆอยู่ด้วย




ดอกไม้กำลังบานสวย




อันนี้ถ้าทายไม่ผิดน่าจะเป็นดอกซิ่ง (杏) หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าอันซึ



ดอกกานพลู (丁香)




บริเวณเรือนจำ



ภายในห้องขัง



พอดีตอนจังหวะที่ไปเขามีจัดการแสดงอะไรอยู่ด้วย เป็นการแสดงสั้นๆ เราก็ได้มีโอกาสชมด้วย






วัดซวางหลิน

เสร็จแล้วเราก็ได้เดินทางไปเที่ยวสถานที่ที่อยู่นอกเมืองบ้างล่ะ นั่นคือวัดซวางหลิน (双林寺) การไปนั้นต้องนั่งรถสามล้อไฟฟ้าไป และที่นั่นต้องเสียค่าผ่านประตู ๒๕ หยวน แต่ใช้บัตรนักเรียนก็ลดครึ่งราคา



ระหว่างทางนั้นเส้นทางผ่านตัวเมือง เลียบทางรถไฟ และทางเดินก่อนถึงตัววัดนั้นเป้นถนนสวนๆที่สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้



หน้าตัววัด



รูปสลักพระโพธิสัตว์หลายแขน เป็นผลงานที่โดดเด่นมากของที่นี่



ภายในบริเวณวัด








ภายในอาคารต่างๆของวัดมีผลงานรูปสลักต่างๆมากมาย





รวมทั้งพระโพธิสัตว์หลายแขน



สุดทางแค่นี้ ตัววัดเล็กแค่นิดเดียวเท่านั้นเอง



จากตรงนี้เป็นกำแพงรอบวัด ซึ่งเราสามารถขึ้นไปปีนเล่นชมวัดจากมุมสูงได้




มองภายในตัววัดจากบนกำแพง



มองออกไปด้านนอกทิวทัศน์ก็สวย



ดอกไม้ที่บานสวยในวัดเราก็ถ่าย่ภาพติดมาด้วยเช่นเคย



ก็จบแค่นี้กับการเดินชมวัดซวางหลิน ที่จริงยังมีวัดเจิ้นกั๋ว (镇国寺) อีกแห่ง แต่อยู่ไกลออกไปอีกและความน่าสนใจก็น้อยกว่าเลยไม่ได้แวะไป



คฤหาสน์ตระกูลเฉียว

เมื่อเสร็จแล้วเราก็นั่งรถกลับตัวเมือง จากนั้นก็เดินทางออกไปยังที่ต่อไปอีกสถานที่ซึ่งน่าสนใจที่อยู่ไกลออกไป นั่นคือคฤหาสน์ตระกูลเฉียว (乔家大院)

ที่จริงนอกจากคฤหาสน์ตระกูลเฉียวแล้วยังมีคฤหาสน์ตระกูลหวาง (王家大院) อีกซึ่งมีชื่อเสียงพอๆกัน ซึ่งได้ยินว่าขนาดใหญ่กว่า แต่อยู่ไกลกว่า และค่าเข้าชมก็แพงกว่า ดังนั้นเราจึงไม่ได้ไป

คฤหาสน์ตระกูลเฉียวนี้ดังเนื่องจากเคยมีคนนำเรื่องราวของบ้านนี้มาทำเป็นทั้งภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาแล้ว

ครั้งนี้พวกเราเหมารถกันไปเลย มี ๑๔ คนก็นั่งรถตู้คันละ ๗ คน เต็มสองคัน



ก่อนอื่นต้องซื้อบัตรผ่านประตู ราคาแพงถึง ๗๒ หยวน แต่ก็ใช้บัตรนักเรียนลดครึ่งราคาได้อีกเช่นเคย เหลือ ๓๖ หยวน



ระหว่างทางเดินไปยังคฤหาสน์ตระกูลเฉียวนั้นเป็นร้านขายของเต็มไปหมด



เดินลึกเข้ามาเรื่อยๆจึงจะถึงทางเข้าตัวคฤหาสน์



ภายในบริเวณบ้าน มีบริเวณต่างๆมากมาย











ภายในตัวอาคารก็มีของต่างๆจัดแสดง










ศิลปะงานกระดาษตัด



ในบริเวณคฤหาสน์มีสวนขนาดใหญ่อยู่ด้วย





ช่วงนี้จังหวะกำลังดีดอกไม้บานสวย





พอออกมาจากทางออกแล้วก็เจอกับร้านขายของที่ระลึกอีกเป็นแถวยาว เรากำลังหิวก็เลยซื้อขนมกิน และก็ซื้อขนมถั่วตัดกลับไปด้วย





รื่อเซิงชาง

หลังจากกลับจากคฤหาสน์ตระกูลเฉียวแล้วเรายังพอมีเวลานิดหน่อยที่จะเดินเที่ยวบางจุดในเมืองที่ยังไม่ได้เดินไปก่อนกลับ

เราได้แวะไปชมร้านรื่อเซิงชาง (日升昌) เป็นเพี่ยวเฮ่าร้านแรก ก่อตั้งในปี 1823 เป็นร้านที่ใหญ่ที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด นอกจากนั้นก็ยังมีร้านอื่นที่เปิดตามแต่ไม่ดังเท่า

ร้านนี้ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เราได้เข้าชมกันว่ากิจการเพี่ยวเฮ่าสมัยก่อนนั้นเป็นยังไง








หลังเดินเสร็จพวกเราก็ยังพอมีเวลานิดหน่อยก่อนถึงเวลาขึ้นรถไฟ จึงมาเล่นบิลเลียดกัน




และแล้วพวกเราก็เดินทางกลับกัน แต่มีเพื่อนกลุ่มหนึ่งที่เขายังไม่กลับไปพร้อมกัน เขาจะไปเที่ยวเมืองต้าถง (大同) กันต่อก่อนกลับ ส่วนพวกเรากลุ่มใหญ่ตรงกลับปักกิ่งเลย สองคนนี้คือคนที่ไม่ได้กลับพร้อมกับเรา พวกเราจะรออยู่ที่โรงแรมละขึ้นรถไฟเที่ยวหลังจากนี้



ภาพสุดท้ายก่อนลาเมืองผิงเหยา เป็นภาพตัวเมืองด้านนอกระหว่างทางกลับไปสถานีรถไฟ ที่เห็นไกลลิบตรงกลางคือป้อมประตูเมืองเก่าที่เราเพิ่งจากออกมา



แล้วรถไฟก็มา เราก็ได้เวลาจากลาผิงเหยา






แล้วก็จบลงเท่านี้ เล่าไปเล่ามายาวมากเลย กะว่าจะเขียนให้สั้นแล้วแท้ๆ ที่จริงเยอะที่รูปมากกว่า เพราะถ่ายรูปมารวมแล้วเจ็ดร้อยกว่ารูป แต่โดยรวมแล้วเอามาลงในนี้แค่สองร้อยกว่ารูป แค่นี้ก็เยอะมากแล้ว

ที่จริงมีส่วนสถานที่เที่ยวในตัวเมืองผิงเหยาที่ยังไม่ได้เที่ยวอีกหลายแห่งเช่นชิงซวีกวาน (清虚观), บ้านเก่าของเหลย์ลวี่ไท่ (雷履泰故居) แต่ไม่มีเวลา แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะจุดสำคัญหลักๆก็ได้เข้าไปหมดแล้ว ถือว่าคุ้มค่า



ครั้งหน้าหวังว่าจะได้มีโอกาสเที่ยวในลักษณะแบบนี้อีก สนุกมากจริงๆ



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ซานซี
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> มรดกโลก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文