φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
ป้อมปืนใหญ่ต้ากู สมรภูมิแห่งสงครามฝิ่นครั้งที่สอง
เขียนเมื่อ 2015/10/20 13:25
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 18 มิ.ย. 2015
หลังจากที่ไปเที่ยวในตัวเมืองเทียนจินมาหลายที่ตั้งแต่เช้าแล้วก็ไปเที่ยว
หลวีจู่ถาง (吕祖堂)
ซึ่งเป็นหออนุสรณ์กบฏนักมวย
https://phyblas.hinaboshi.com/20151010
คราวนี้เราได้ออกเดินทางมาไกลถึงนอกเมือง ไปยัง
เขตใหม่ปินไห่ (滨海新区)
ซึ่งอยู่ที่ชายฝั่งตะวันออกของเทียนจิน เพื่อที่จะมาชมสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่ง นั่นคือ
ป้อมปืนใหญ่ต้ากู (大沽口炮台)
วันนี้เที่ยวสถานที่ในเทียนจินทั้งหมด ๕ แห่ง แต่ว่า ๔ แห่งก่อนหน้านี้อยู่ใกล้ๆกันในตัวเมืองและกินเวลาไม่มากนัก ในขณะที่มีแค่ป้อมปืนใหญ่ต้ากูโข่วนี้เท่านั้นที่อยู่ห่างไกลออกไปนอกตัวเมืองทำให้แค่เดินทางก็กินเวลาเป็นชั่วโมงแล้ว รวมเวลาเดินทางแล้วมากกว่า ๔ แห่งที่เหลือรวมกันเสียอีก ถึงอย่างนั้นก็เป็นที่ที่น่าสนใจและคุ้มค่าที่จะมาแวะเวียนชม
๓ ใน ๔ ของสถานที่ที่ไปชมมาตั้งแต่เช้านั้นล้วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตที่ความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีน
- บ้านเก่าของจางเสวียเหลียง (张学良故居) เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ซีอาน (西安事变) ปี 1936
- หออนุสรณ์ยุทธการผิงจิน (平津战役纪念馆) เกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่สอง (第二次国共內战) ปี 1945 - 1949
- หลวีจู่ถาง (吕祖堂) เกี่ยวข้องกับกบฏนักมวยอี๋เหอถวาน (义和团) ปี 1900
ส่วนป้อมปืนใหญ่ต้ากูนี้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในสมัยที่เก่ากว่านั้นไปอีกหน่อย คือเป็นสมรภูมิรบสำคัญในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง (第二次鸦片战争) ในปี 1856 - 1860 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน
เกี่ยวกับสงครามฝิ่นนั้นเราเคยมีโอกาสได้เขียนถึงไปแล้วส่วนหนึ่งตอนที่ไปเที่ยว
พิพิธภัณฑ์ศุลกากรจีน (中国海关博物馆)
ในปักกิ่ง
https://phyblas.hinaboshi.com/20150531
นอกจากนี้ยังได้ไปชม
พิพิธภัณฑ์สงครามฝิ่น (鸦片战争博物馆)
ที่
ป้อมปืนใหญ่หู่เหมิน (虎门炮台)
ในเมืองตงกว่านมาด้วย
https://phyblas.hinaboshi.com/20120626
การต่อสู้ที่ต้ากู (大沽口之战)
เป็นชื่อเรียกรวมๆของสงครามสามครั้งที่เกิดขึ้นที่ป้อมปืนใหญ่ต้ากู ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันและเป็นส่วนหนึ่งของสงครามฝิ่นครั้งที่สอง
สงครามฝิ่นครั้งที่สองเริ่มต้นในปี 1856 โดยทัพอังกฤษได้บุกทะลวงป้อมปืนใหญ่หู่เหมิน และเข้าไปโจมตียึดกว่างโจว จากนั้นทัพอังกฤษจึงบุกขึ้นเหนือต่อมาจนถึงเทียนจินและเกิดการปะทะกันที่ป้อมปืนใหญ่ต้ากู จึงเกิดเป็นการต่อสู้ที่ต้ากูครั้งที่หนึ่ง
สงครามครั้งที่หนึ่งนี้เริ่มขึ้นในปี 1858 โดยกองเรือรวมสองชาติอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมีกำลังรวมสองพันกว่าคนพยายามจะบุกทะลวงป้อมต้ากู ปืนใหญ่สามารถทำให้ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสบาดเจ็บล้มตายไปได้เป็นร้อยคนแต่สุดท้ายก็ทานไว้ไม่อยู่ ข้าศึกษามารถบุกเข้ามาถึงเมืองเทียนจินได้ จากนั้นจึงถูกบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาเทียนจิน (天津条约) ซึ่งเป็นสัญญาที่เสียเปรียบซึ่งทำให้จีนต้องเปิดสถานีการค้าเพิ่มขึ้นอีกหลายเมืองเพื่อทำการค้ากับชาติตะวันตก
แต่หลังจากที่ทัพอังกฤษและฝรั่งเศสล่าถอยออกไปแล้วทางฝั่งจีนกลับเกิดการต่อต้านไม่ยินยอมทำตามสนธิสัญญาอยากขอแก้เงื่อนไข ทางฝ่ายอังกฤษฝรั่งเศสจึงส่งทัพมาที่เทียนจินอีกครั้ง ทางจีนเสนอให้อีกฝ่ายส่งแค่คณะทูตมาเจรจาที่ตัวเมืองแต่ก็ถูกปฏิเสธสงครามจึงเปิดฉากขึ้นอีกที่ป้อมปืนใหญ่ต้ากูในปี 1859 เป็นสงครามที่ต้ากูครั้งที่สอง
ทางฝ่ายจีนนั้นหลังความพ่ายแพ้ในศึกครั้งแรกก็ได้มีการปรับปรุงบูรณะป้อมปืนใหญ่ต้ากูขึ้นใหม่และเสริมกำลังให้แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม พอทัพอังกฤษฝรั่งเศสพยายามบุกโจมตีก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้อย่างไม่คาดคิดจนต้องถอยไปตั้งหลักที่หางโจว นี่นับเป็นหนึ่งในชัยชนะของฝ่ายจีนที่มีต่อชาติตะวันตกซึ่งมีอยู่จำนวนน้อยครั้งมาก
แต่ไม่นานหลังจากนั้น ปี 1860 ทัพอังกฤษและฝรั่งเศษก็ได้ส่งทัพใหญ่มาอีกเพื่อจะเอาคืน ในที่สุดป้อมปืนใหญ่ต้ากูก็ทานไว้ไม่อยู่ถูกตีแตกอีกครั้ง ศึกครั้งนี้เรียกว่าการต่อสู้ที่ต้ากูครั้งที่สาม ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย หลังความพ่ายแพ้ครั้งนี้ข้าศึกได้บุกต่อไปจนถึงปักกิ่ง แล้วเผาทำลายหยวนหมิงหยวนจนราบก่อนที่จะทำสนธิสัญญาปักกิ่งซึ่งทำให้จีนต้องยกแผ่นดินเกาลูนให้อังกฤษและยังต้องเพิ่มเมืองเทียนจินเป็นสถานีการค้าอีกแห่ง
จากที่เล่ามาก็จะเห็นว่าที่นี่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญอยู่ไม่น้อย จึงควรค่าแก่การลองเดินทางไกลเพื่อมาชมสักหน่อย
จากสถานีรถไฟเทียนจินไปจนถึงสถานีถางกูใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที พอมาถึงก็พบว่าแถวนี้มีตึกสูงวางเรียงรายอยู่เต็ม ส่วนใหญ่แล้วเพิ่งสร้างและเห็นที่กำลังก่อสร้างอีกมากมาย เพราะแถวนี้เป็นย่านเมืองใหม่ที่เขากำลังพัฒนาอยู่
จากสถานีนี้ไปต้องขึ้นรถเมล์เพื่อจะไปยังที่หมาย
ทิวทัศน์ระหว่างทาง ดูแล้วเป็นย่านเมืองที่ทันสมัย ทิวทัศน์ริมแม่น้ำก็ดูสวยงาม พอคิดดูว่าภาพที่เห็นนี้แต่ละอย่างเพิ่งถูกสร้างขึ้นมาในเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นก็แสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่เร็วมากของเทียนจิน
ระหว่างทางผ่านโลกมหาสมุทรขั้วโลกไห่ชางเทียนจิน (天津海昌极地海洋世界) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ดูแล้วก็มีขนาดใหญ่พอสมควร ตอนหาข้อมูลที่เที่ยวก็เจอที่เขียนถึงที่นี่เหมือนกันแต่ว่าไม่นานก่อนหน้านั้นก็เพิ่งแวะหอจัดแสดงโลกใต้น้ำไท่ผิงหยาง (太平阳海底世界展览馆) ไป มันน่าจะคล้ายๆกัน
https://phyblas.hinaboshi.com/20150614
จากสถานีถางกูมาจนถึงป้ายเหอเหม่ย์ย่วน (和美苑) ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ลงตรงนี้
จากนั้นยังต้องเดินต่อไปอีก ใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที เส้นทางระหว่างตรงนี้ดูเปลี่ยวๆอยู่
ในที่สุดก็ถึง
ค่าเข้าชม ๓๐ หยวน สำหรับนักเรียนลดเหลือ ๑๕ หยวน
แผนที่ในบริเวณ ที่นี่ประกอบไปด้วยอาคารรูปร่างประหลาดซึ่งเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์จัดแสดงหลัก และบริเวณรอบๆซึ่งประกอบไปด้วยซากของจริง
เราเริ่มจากชมส่วนของพิพิธภัณฑ์ก่อน
ห้องแรกเริ่มจากจัดแสดงประวัติศาสตร์การป้องกันทางทะเลตั้งแต่ยุคจีนโบราณ
ซากหอยที่พบได้ที่ชายฝั่งแถวนี้
มีพูดถึงเจิ้งเหอ นักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ของจีน เขาออกเดินเรือในยุคก่อนที่ชาวตะวันตกจะออกล่าอานานิคมเสียอีก
แล้วก็เข้าสู้ยุคที่ชาวตะวันตกออกเดินทะเล โดยเริ่มจากผู้บุกเบิกชาวโปรตุเกสอย่างวัชกู ดา กามา (Vasco Da Gama) บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias)
แบบจำลองเรือเดินสมุทร ตั้งเด่นอยู่กลางห้อง
ตรงนี้เล่าถึงประวัติการสร้างป้อมปืนใหญ่ต้ากู ว่าที่นี่เริ่มเจริญขึ้นมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์หยวน (元朝, ปี 1271 - 1368) ซึ่งปักกิ่งเริ่มถูกใช้เป็นเมืองหลวง กลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของจีน ทำให้ต้ากูเติบโตในฐานะเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญของปักกิ่ง ส่วนข้างล่างเป็นปืนใหญ่โบราณซึ่งขุดเจอแถวบริเวณนี้
ตรงนี้เล่าถึงโจรสลัดญี่ปุ่น วอโค่ว (倭寇) ซึ่งเคยอาละวาดแถวทะเลจีนตะวันออกในช่วงยุคราชวงศ์หมิง
ชาวตะวันตกสองคนในรูปนี้คือชาวอังกฤษที่แวะมาขึ้นท่าบริเวณต้ากูในช่วงต้นยุคราชวงศ์ชิง รูปด้านบนคือจักรพรรดิยงเจิ้ง (雍正, ปี 1722 - 1735)
ภาพการขึ้นฝั่งที่ต้ากูของจอร์จ มาคาร์ตนีย์ (George Macartney) นักการทูตจากอังกฤษ (คนทางขวาในรูปบน) พร้อมด้วยคณะ
เนื่องจากเห็นว่าบริเวณนี้มีนักเดินเรือชาวต่างชาติเดินทางมาขึ้นฝั่งเป็นจำนวนมากจึงเห็นว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่จำเป็นต้องมีการป้องกัน จึงมีการสั่งให้สร้างป้อมปืนใหญ่บริเวณนี้โดยจักรพรรดิเจียชิ่ง (嘉庆, ปี 1796 - 1820)
เดินถัดเข้ามาตรงส่วนนี้เริ่มอธิบายถึงสงครามฝิ่น เริ่มตั้งแต่ครั้งที่หนึ่ง ชาวอังกฤษได้นำฝิ่นมาขายและแพร่ระบาดอยู่ในจีนตั้งแต่ก่อนเริ่มสงครามแล้ว โดยต้ากูก็เป็นท่าขนส่งทางทะเลที่สำคัญซึ่งมีการลักลอบขายฝิ่น
แบบจำลองนี้แสดงถึงการเข้าตรวจและยึดฝิ่นที่ต้ากูในปี 1838 โดยรัฐบาลจีน
สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับป้อมปืนใหญ่ต้ากูมากนักในนี้จึงไม่ได้เขียนถึงมาก
ต่อมาตรงนี้เริ่มกล่าวถึงสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มเกี่ยวข้องกับที่นี่อย่างเต็มที่
จอตรงนี้เล่าถึงสงครามที่ป้อมต้ากูครั้งที่สอง ซึ่งเป็นครั้งเดียวในสามครั้งที่จีนเป็นฝ่ายชนะ เรานั่งพักตรงนี้เพื่อหยุดดูสักพัก
รูปปั้นทหารกล้าสองคนที่สละชีวิตในสงครามที่ต้ากู สื่อหรงชุน (史荣椿) กับ หลงหรู่หยวน (龙汝元)
ป้ายหลุมศพของชาวอังกฤษที่ถูกขุดพบในบริเวณนี้ในปี 2003
ซากปืนใหญ่ที่ใช้โดยฝ่ายจีน ถูกขุดพบในบริเวณนี้ปี 2008
ตรงนี้เข้าสู่ส่วนของสงครามที่ต้ากูครั้งที่สามในปี 1860 ซึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสบุกมาล้างอายจากที่พ่ายแพ้ในสงครามครั้งที่สอง และครั้งนี้เป็นศึกครั้งสุดท้ายซึ่งปิดฉากสงครามฝิ่นโดยสมบูรณ์
แผนที่สมรภูมิรบบริเวณต้ากู
หุ่นจำลองการตั้งรับที่ป้อมปืนใหญ่สือโถวเฟิ่ง (石头缝炮台)
ไม่ว่าจะพยายามต่อสู้ยังไงก็ตาม ผลลงเอยคราวนี้ก็คือความพ่ายแพ้อย่างน่าหดหู่ และจบลงด้วยการเผาพระราชวังฤดูร้อนหยวนหมิงหยวนในเดือนตุลาคม 1860
แต่การพ่ายแพ้ครั้งนี้นำความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่จีน มันทำให้เกิดความเคลื่อนไหวโดยเรียนรู้เทคโนโลยีจากตะวันตกเพื่อทำให้ตัวเองแข็งแกร่งขึ้น เช่นการสั่งซื้ออาวุธจากชาติตะวันตกมา
อย่างไรก็ตามจีนก็ยังไม่อาจเจริญก้าวหน้าไปได้เร็วนัก ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของชาติตะวันตกอยู่เรื่อยมา จนสิ้นศตวรรษที่ 19 มีต่างชาติเข้ามาสร้างอิทธิพลและหากินในจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ในปี 1900 เริ่มเกิดความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านชาวต่างชาติ นั่นก็คือขบวนการอี้เหอถวาน (义和团) หรือกบฏนักมวย ซึ่งกล่าวถึงไปในตอนที่แล้ว กองกำลังพันธมิตร ๘ ชาติได้แก่ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เยอรมัน, อิตาลี และ ออสเตรีย ได้ร่วมกันบุกเข้าปักกิ่งเพื่อปราบกบฏ ป้อมปืนใหญ่ต้ากูก็กลายเป็นสมรภูมิรบอีกครั้งเพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ต้องผ่านเพื่อเข้าไปยังปักกิ่ง ศึกครั้งนี้จบลงอย่างรวดเร็ว
ตรงนี้จัดแสดงแบบจำลองอาวุธและเครื่องใช้ต่างๆที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง
ชุดของทหารปืนใหญ่จีน
ปืนเล็กของทหารจีน
จบส่วนพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์แต่เพียงเท่านี้
ก่อนถึงทางออกมีห้องขายของที่ระลึก เช่นพวกแบบจำลองต่างๆ
พอชมพิพิธภัณฑ์เสร็จที่เหลือก็คือไปชมสถานที่จริง ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรมากมายนัก
ตรงนี้เป็นส่วนที่จัดแสดงซากปืนใหญ่เก่าที่ขุดได้ในบริเวณนี้
มีซากเครื่องบินเก่า
นี่เป็นของเก่าจำนวนหนึ่งที่ยึดได้ที่ด่านศุลกากรเทียนจิน
ส่วนหลักที่สำคัญจริงๆอยู่ด้านบน ต้องเดินขึ้นเนินไป
เนินแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของซากป้อมปืนใหญ่ต้ากูซึ่งหลงเหลือไว้
บนนี้มีซากปืนใหญ่วางอยู่ประจำตามช่อง
ทิวทัศน์ที่มองจากตรงนี้ไปรอบๆก็สวยดี
มองกลับไปทางโน้นเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์
หลังจากยืนชมทิวทัศน์สบายๆอยู่บนป้อมปืนใหญ่สักพักตอนนี้ก็ได้เวลากลับ เดินกลับไปทางเดิมและขึ้นรถเมล์เพื่อกลับไปยังสถานีถางกู
กลับมาถึงสถานีถางกูตอนห้าโมงเย็น จากนั้นก็รีบขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อตรงดิ่งไปยังสถานีเทียนจินเพื่อไปนั่งรถไฟกลับ
รถไฟที่จองเอาไว้เป็นรอบ C2084 ออกเวลา 18:24 ขณะที่ไปถึงนั้นก็ใกล้เวลาแล้ว
พอเข้าไปนั่งรออยู่ได้แค่แป๊บเดียว เมื่อถึงก่อนเวลารถไฟออกประมาณ ๑๐ นาทีเขาก็ประกาศเรียกให้เข้าไปขึ้นรถ ได้เวลากลับปักกิ่งแล้ว
การเที่ยววันนี้จบลงแล้ว ได้เที่ยวสถานที่สำคัญในเทียนจินทั้งหมด ๕ แห่ง เป็นการเที่ยวที่คุ้มอีกหนึ่งวัน
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เทียนจิน
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文