φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลวีจู่ถาง หออนุสรณ์กบฏนักมวย
เขียนเมื่อ 2015/10/10 09:30
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 18 มิ.ย. 2015

หลังจากที่ตอนที่แล้วแวะไปชมหออนุสรณ์ยุทธการผิงจินมาเสร็จ https://phyblas.hinaboshi.com/20151008

แล้วก็นั่งรถเมล์มายังเป้าหมายต่อไป คือหลวีจู่ถาง (吕祖堂)

ที่นี่เป็นอาคารเก่าแก่ที่เดิมสร้างในปี 1433 ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์หมิง ถูกใช้เป็นศาลเจ้าสำหรับไหว้หลวี่ต้งปิน (吕洞宾) นักเล่นแร่แปรธาตุซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์ถัง

ต่อมาในปี 1900 ขบวนการอี๋เหอถวานได้มาใช้ที่นี่เป็นที่ประชุมเพื่อเคลื่อนไหวในเทียนจิน

ขบวนการอี้เหอถวน (义和团运动) หรือที่มักถุกเรียกว่าเป็นกบฏนักมวย เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านชาติตะวันตก โดยเข้าทำร้ายชาวต่างชาติหรือคนที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยส่วนมากผู้ร่วมขบวนการจะใช้กังฟูเป็นอาวุธ แทนที่จะใช้อาวุธที่ทันสมัย ดังนั้นจึงถูกเรียกว่าเป็นกบฏนักมวย

แต่สุดท้ายกบฏนักมวยก็ถูกปราบลงด้วยกองกำลังพันธมืตรแปดประเทศที่ยกทัพบุกมาพร้อมกัน กบฏนักมวยจึงถึงกาลอวสาน

แม้กบฏนักมวยจะจบสิ้นลงในเวลาที่ค่อนข้างสั้น แต่ก็ได้กลายมาเป็นแบบอย่างให้กับนักปฏิวัติในยุคต่อมา

หลังจากนั้นเวลาผ่านไปนาน ในปี 1985 หลวีจู่ถางนี้ก็ได้ถูกทำเป็นหออนุสรณ์อี้เหอถวานเทียนจิน (天津义和团纪念馆) ซึ่งจัดแสดงประวัตศาสตร์เกี่ยวกับอี้เหอถวาน

ที่นี่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีรถไฟฟ้าไปถึงจึงต้องอาศัยรถเมล์เป็นหลัก แต่ก็ไม่ยากเพราะมีหลายสายที่ผ่านไปถึงได้

พอมาลงที่ป้ายหลวีจู่ถางก็ถึงเลย ที่เห็นอยู่นี้คือรั้วของหลวีจู่ถาง แต่ว่าทางเข้าอยู่อีกทาง ต้องเดินไปอีกมุม



ที่หัวมุมมีรถขายผลไม้



เดินเลียบริมกำแพงมาทางนี้



แล้วก็มาถึงทางเข้า



เข้ามาถึงเป็นลานกว้างโล่งๆ



ในนี้มีรูปปั้นและมีข้อความของโจวเอินไหล (周恩来) อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเขียนบอกว่าขบวนการอี้เหอถวานเป็นการแสดงออกเพื่อต่อต้านจักรวรรดินิยม เป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญที่สร้างชัยชนะให้กับจีนในยุคห้าสิบปีต่อมา



ส่วนทางขวาคือทางเข้าบริเวณอาคารซึ่งจัดแสดงอะไรต่างๆ



ความจริงแล้วที่นี่มีเวลาพักเที่ยงด้วย ซึ่งบังเอิญเราไปตอนช่วงที่เขาเพิ่งเริ่มเข้าสู่ช่วงพักเที่ยง ยังดีที่มีพนักงานเฝ้าอยู่ตลอด เราพยายามคุยกับคนเฝ้าว่าขอเข้าไปดูแป๊บเดียวเอง ไหนๆก็มาแล้วไม่อยากเสียเที่ยว จะให้ต้องรอเฉยๆอยู่นานเกือบชั่วโมงก็ไม่ไหวเพราะยังมีเป้าหมายอื่นที่ต้องไปอีก สุดท้ายเขาก็ใจดียอมให้เข้าชมได้

ถึงอย่างนั้นก็ตาม ด้วยความเกรงใจก็เลยไม่กล้าอยู่นาน ไม่ได้เก็บรายละเอียดอะไรเลย เข้าไปถ่ายๆรูปแล้วก็รีบออกมา ดังนั้นก็ขอลงแค่รูปที่ถ่ายจากด้านในนี้















ภายในหมดแค่นี้ ถือว่าค่อนข้างเล็กและไม่มีอะไรมาก เสร็จเราก็รีบขอบคุณพนักงานใจดีที่อุตส่าห์ยอมให้เข้ามาชม แล้วก็เดินจากไป





เป้าหมายต่อไปที่จะไปต่อจากนี้อยู่ไกล ต้องนั่งรถไฟฟ้าไป จากตำแหน่งที่เราอยู่ตรงนี้เพื่อที่จะไปยังสถานีรถไฟฟ้าจำเป็นต้องนั่งรถเมล์ไปลง เรานั่งสาย 837 ไปลงที่ป้ายหนานเหมิน (南门) ซึ่งตรงนั้นเป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้าสถานีกู่โหลว (鼓楼)

กู่โหลวก็คือหอกลอง เป็นสถานที่เที่ยวแห่งหนึ่งของเทียนจิน เคยเล่าถึงไปแล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20111214


เมื่อสมัยที่เรามาครั้งที่แล้วนั้นรถไฟฟ้าสาย 2 ยังไม่ได้ถูกสร้างจนเสร็จ ดังนั้นจึงไม่สะดวกในการเดินทางมา แต่ว่าตอนนี้สร้างเสร็จแล้ว


สถานีรถไฟฟ้านั้นตั้งอยู่ทางใต้ของหอกลอง ถ้าจะไปหอกลองก็ยังต้องเดินไปอีกระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากเราเคยเที่ยวไปแล้ว เป้าหมายครั้งนี้แค่มาเพื่อต่อรถเท่านั้น จึงไม่ได้เดินเข้าไปในบริเวณหอกลอง ได้แต่มองอยู่ห่างๆ



แล้วก็เข้าไปในสถานีรถไฟฟ้า



จากตรงนี้นั่งสาย 2 เดินทางกลับไปยังสถานีรถไฟเทียนจินเพื่อจะไปขึ้นสาย 9 เพื่อเดินทางระยะไกลไปยังเป้าหมายต่อไปซึ่งเป็นแห่งสุดท้ายในการเที่ยววันนี้และใช้เวลานานที่สุด https://phyblas.hinaboshi.com/20151020





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> เทียนจิน
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文