φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



สะพานหลูโกว สะพานมาร์โก โปโล
เขียนเมื่อ 2016/12/17 19:51
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 30 มี.ค. 2012

ก่อนหน้านี้ได้แนะนำสะพานโบราณที่มีชื่อเสียงของปักกิ่งไปแห่งหนึ่งคือสะพานปาหลี่ (八里桥, ปาหลี่เฉียว) ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150505

คราวนี้ขอเขียนถึงสะพานอีกแห่งซึ่งจริงๆแล้วเคยไปเที่ยวเมื่อนานมาแล้วนั่นคือสะพานหลูโกว (卢沟桥, หลูโกวเฉียว) หรือที่มักรู้จักกันในหมู่ชาวต่างชาติว่าสะพานมาร์โก โปโล (Ponte di Marco Polo) ซึ่งมีที่มาจากชื่อของมาร์โก โปโล (1254-1324) นักเดินทางชาวอิตาลีซึ่งมาเยือนปักกิ่งในยุคราชวงศ์หยวนและได้ผ่านสะพานนี้แล้วได้บรรยายชื่นชมถึงจนชาวโลกได้รู้จัก

หลูโกวเฉียวตั้งอยู่ในเขตเฟิงไถ (丰台) ทางตะวันตกของปักกิ่ง เป็นสะพานเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1189 ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์จิน (金朝, ปี 1115-1234) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง (永定河)

เคยเขียนแนะนำถึงสะพานนี้ไปแล้วเล็กน้อยในตอนที่เขียนถึงพิพิธภัณฑ์กำแพงเมืองเหลียวจิน (辽金城垣博物馆) https://phyblas.hinaboshi.com/20150501

ที่นี่ยังมีชื่อเสียงอีกเรื่องหนึ่งในฐานะสมรภูมิรบในสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น โดยเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ที่เป็นชนวนเริ่มสงคราม เรียกว่าเหตุการณ์ที่สะพานหลูโกว (卢沟桥事变, หลูโกวเฉียวซื่อเปี้ยน) หรือบางทีก็เรียกว่าเหตุการณ์ 7 กรกฎาคม (七七事变, ชีชีซื่อเปี้ยน) เพราะเกิดขึ้นในวันที่ 7 ก.ค. ปี 1937

ดังนั้นที่นี่จึงมีการสร้างหอที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น (中国人民抗日战争纪念馆) ซึ่งได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยตั้งอยู่ภายในป้อมหว่านผิงเฉิง (宛平城) ซึ่งเป็นป้อมที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของสะพาน

หว่านผิงเฉิงสร้างขึ้นในปี 1640 ปลายยุคราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368-1644) เป็นเมืองเล็กๆที่ปิดล้อมด้วยกำแพง ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ดี เอาไว้รับมือศัตรูที่บุกมาจากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำทางตะวันตก ในเหตุการณ์ที่หลูโกวเฉียวก็ได้เป็นสมรภูมิในการรบไปด้วย

นอกจากหอที่ระลึกแล้ว ข้างๆหว่านผิงเฉิงยังมีการสร้างสวนรูปแกะสลักที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น (中国人民抗日战争纪念雕塑园) ซึ่งเปิดตั้งแต่ปี 2000




นี่เป็นบันทึกที่เก่ามากตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปพอสมควรแล้ว เช่นเรื่องการเดินทางไป สมัยนั้นต้องนั่งรถเมล์ไปเท่านั้นแต่ว่าตอนนี้มีการสร้างรถไฟฟ้าไปถึงแล้ว

สถานีที่อยู่ใกล้ที่สุดคือสถานีต้าหว่าเหยา (大瓦窑站) อยู่บนสาย 14 ซึ่งเปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา เป็นสถานีตัดกับที่สวนจัดแสดงสวน (园博园) ซึ่งได้เคยไปมาแล้ว ได้เล่าถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20130918

ตอนนั้นเมื่อครั้งที่มาเรานั่งรถไฟฟ้ามาลงสถานีไช่ซื่อโข่ว (菜市口站) ซึ่งยังอยู่ห่างไปไกลอีกมาก จากนั้นจึงนั่งรถเมล์ต่ออีกระยะ แต่ปัจจุบันคงไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนั้นแล้ว

ย่านชุมชนด้านนอกกำแพงป้อมหว่านผิงเฉิง เราได้แวะหาอะไรกินกันแถวนี้ก่อนค่อยเข้าไป



ทางเข้าหว่านผิงเฉิงจากทางฝั่งตะวันออก



ขณะนั้นเป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้เริ่มบาน เหลืองๆนี่คือดอกอิ๋งชุนฮวา (迎春花) ซึ่งมักจะบานเป็นดอกแรกต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ



ทางเข้าสู่เมืองด้านในป้อม




ในนี้เป็นถนนคนเดิน บรรยากาศโบราณ



เดินสักพักก็ถึงหอที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น



รับบัตรเข้าชมตรงนี้แล้วเดินเข้าไปได้เลย ไม่มีค่าใช้จ่าย



อาคารจัดแสดง



ภายในจัดแสดงอะไรต่างๆมากมาย บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสงครามปี 1937 ครั้งนั้น






ชมในหอที่ระลึกเสร็จแล้วก็เดินต่อมาสักพักก็เจอทางออกฝั่งตะวันตกของป้อม



หันกลับมามองทางเข้าป้อมจากทางตะวันตก





เมื่อออกมาก็จะเจอทางเข้าสู่เขตสะพาน



การเข้าชมต้องซื้อตั๋วเข้าชมถึงจะเข้าไปในบริเวณได้




บริเวณภายใน





ตรงนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ



ภายในมีจัดแสดงข้อมูลและของที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้ใหญ่เท่าไหร่






เดินเข้ามาเรื่อยๆในที่สุดก็ถึงสะพานหลูโกวซึ่งเป็นเป้าหมายจริงๆ



สามารถเดินเล่นชมความสวยงามของสะพานได้อย่างใกล้ชิด




จุดเด่นของสะพานนี้ที่ไม่อาจมองข้ามได้เลยก็คือรูปปั้นสิงโตที่วางเรียงรายอยู่



แต่ละตัวไม่เหมือนกันเลย ต่างกันออกไปหมด ไม่ได้ถอดแบบกันออกมา





เดินสุดทางสะพานก็เป็นทางที่ออกไปยังอีกฝั่งของสะพาน ฝั่งตะวันตก



ตรงนี้เป็นจุดตรวจตั๋วสำหรับคนที่เข้าจากฝั่งนั้น ถ้าเดินออกจากตรงนี้ไปก็กลับเข้ามาไม่ได้แล้วดังนั้นจึงสุดแค่นี้



เดินกลับ







เที่ยวบริเวณสะพานเสร็จแค่นี้ จากนั้นเดินย้อนกลับมา คราวนี้ไปทางขวาของกำแพงเมืองหว่านผิงเฉิง




ในบริเวณนี้มีแท่งที่เรียกว่าสือกู่ (石鼓) เป็นผลงานออกแบบโดยไช่เสวียซื่อ (蔡学仕) นักเขียนพู่กันชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งเกิดที่เถ่งไฮ่ (澄海, เฉิงไห่) เมืองซัวเถา เขาลงทุนซื้อก้อนหินมาด้วยตัวเองแล้วรวบรวมสมัครนักเขียนพู่กันจากทั้งประเทศจีนมาร่วมกันเขียนข้อความในแท่งหินแต่ละก้อน



เดิมทีสือกู่หมายถึงหินรูปกลองที่สลักข้อความอักษรโบราณ เนื่องจากหน้าตาของหินที่พบข้อความสลักมีลักษณะคล้ายกลองก็เลยถูกเรียกว่า "สือกู่" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "กลองหิน" เรียกอักษรที่พบว่าสือกู่เหวิน (石鼓文) เชื่อว่าเขียนขึ้นในช่วงยุคจ้านกั๋ว (战国, 476-221 ปีก่อน ค.ศ.) ก่อนหน้านั้นคนเคยเชื่อว่าสือกู่เหวินเป็นอักษรเก่าแก่ที่สุดที่พบในจีน จนกระทั่งมาเจออักษรที่เก่ากว่า เช่นเ เจี๋ยกู่เหวินซึ่งเก่าถึงยุคราชวงศ์ซาง (17-11 ศตวรรษก่อน ค.ศ.) รายละเอียดอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120915

ส่วนสือกู่ที่ไช่เสวียซื่อสร้างขึ้นนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสือกู่เหวิน แค่ทำรูปร่างให้เหมือน ส่วนอักษรที่เขียนก็เป็นอักษรจีนปัจจุบันเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เขียนด้วยอักษรจีนโบราณหลากหลายรูปแบบและที่เขียนด้วยภาษาต่างประเทศด้วย ข้อความเขียนบรรยายถึงเหตุการณ์ที่สะพานหลูโกวครั้งนั้น

ตรงนี้เป็นสวนรูปแกะสลักที่ระลึกสงครามประชาชนจีนต้านญี่ปุ่น



ภายในก็ประกอบไปด้วยสือกู่มากมายเหมือนกัน




แล้วก็มีพวกรูปแกะสลักประดับอยู่อย่างสวยงาม






เห็นพวกเด็กๆที่ใส่ชุดนักเรียนมากันเป็นหมู่คณะ น่าจะมาทัศนศึกษากัน เพราะที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง




สำหรับคนที่ชอบประวัติศาสตร์แล้วที่นี่ก็ถือเป็นสถานที่ที่ไม่น่าพลาด ควรจะมาเที่ยวชมดู แม้จะไกลจากตัวเมืองสักหน่อยแต่สมัยนี้มีรถไฟฟ้ามาถึงได้แล้วยิ่งมาง่าย ใครมาเที่ยวปักกิ่งลองแวะมาได้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文