φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] การทำมินิแบตช์ในการเรียนรู้ของเครื่อง
เขียนเมื่อ 2016/12/28 01:39
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 15:19
จากที่ก่อนหน้านี้ได้เขียนถึงการปรับปรุงแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกและการถดถอยซอฟต์แม็กซ์ไป https://phyblas.hinaboshi.com/20161207

ต่อจากนั้นยังมีอีกส่วนที่สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมต่อให้ดียิ่งขึ้นได้อีก นั่นก็คือการทำมินิแบตช์ (minibatch)

เดิมทีเวลาที่ให้โปรแกรมเรียนรู้จากข้อมูลเราจะใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ใส่เข้าไปมาหาค่าเสียหาย (เอนโทรปี หรือความคลาดเคลื่อนกำลังสอง) พร้อมกันทีเดียวทั้งหมด

แต่การใช้ข้อมูลทั้งหมดพร้อมกันทีเดียวแบบนั้นมีข้อเสียอยู่ หนึ่งคือหากข้อมูลมีจำนวนมหาศาลจะใช้เวลาในการคำนวณนานมาก

และอีกอย่างก็คือทำแบบนี้มีโอกาสที่จะได้คำตอบเป็นค่าที่มีค่าความเสียหายเป็นค่ำต่ำสุดสัมพัทธ์ แทนที่จะเป็นค่าต่ำสุดสมบูรณ์

กล่าวคือคำตอบที่ได้นั้นอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่เป็นคำตอบที่พอจะใช้ได้ที่โปรแกรมหาเจอก่อนแล้วพอใจที่จะหยุดอยู่แค่ตรงนั้นโดยไม่ค้นหาคำตอบที่อาจจะดีกว่านี้ต่อ

การแก้ปัญหานี้ ทำได้โดยการปรับปรุงโปรแกรมตรงส่วนที่ทำการเรียนรู้จากข้อมูล โดยแทนที่จะใช้ข้อมูลทั้งหมดทีเดียวก็ให้คำนวณค่าเสียหายจากข้อมูลแค่บางส่วนที่สุ่มขึ้นมาจากข้อมูลทั้งหมด แล้วเรียนรู้จากตรงนั้นแล้วปรับค่าน้ำหนักและไบแอสไปทีหนึ่ง จากนั้นก็สุ่มข้อมูลชุดต่อไปแล้วทำการเรียนรู้ใหม่ จนใช้ข้อมูลทั้งหมดที่มี จึงจะนับเป็นการเรียนรู้หนึ่งรอบ

นั่นคือในการเรียนรู้หนึ่งรอบแทนที่จะเอาข้อมูลทั้งหมดมาเรียนรู้เพื่อปรับค่าน้ำหนักและไบแอสครั้งเดียว ก็ให้ค่อยๆเรียนรู้ปรับค่าไปทีละนิดด้วยข้อมูลคนละชุดที่สุ่มมา

ข้อมูลแต่ละชุดจะมีค่าเสียหายที่คำนวณได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นในการคำนวณแต่ละครั้งโอกาสที่ค่าน้ำหนักจะลู่เข้าสู่ค่าที่ได้ค่าเสียหายเป็นแค่ค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ก็จะลดลง



กรณีที่ทำมินิแบตช์ ค่าเสียหายที่จะคำนวณควรจะใช้เป็นค่าเฉลี่ย แทนที่จะใช้ค่าผลรวม

กล่าวคือ หากค่าเสียหายเป็นเอนโทรปี ก็ต้องเอาเอนโทรปีมาหารจำนวนข้อมูลที่ใช้ในแต่ละครั้งเป็นเอนโทรปีเฉลี่ย

หากใช้เป็นความคลาดเคลื่อนกำลังสองก็ต้องเอาผลรวมความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (和方差, SSE) มาหารจำนวนข้อมูล กลายเป็นค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (均方差, MSE, mean squared errror)
MSE = SSE ÷ จำนวนข้อมูล

หากใช้ค่าเป็นผลรวมโดยไม่หารจำนวนก็จะทำให้ยิ่งข้อมูลมีจำนวนมากก็ยิ่งเรียนรู้เร็วแม้ว่าค่าอัตราการเรียนรู้จะเท่ากัน แต่ถ้าใช้ค่าเฉลี่ยไม่ว่าจะมีข้อมูลมากแค่ไหนก็เรียนรู้ในอัตราที่เท่ากัน

ในที่นี้จะลองเขียนโค้ดใหม่โดยแก้จากแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกและซอฟต์แม็กซ์ที่ใช้เอนโทรปีใน https://phyblas.hinaboshi.com/20161207

โดยจะแก้ให้ใช้ค่าเอนโทรปีเฉลี่ยเป็นค่าเสียดายแทนเอนโทรปีรวม และแก้ให้สามารถทำมินิแบตช์ได้

ในการสุ่มให้ข้อมูลออกมาตามลำดับในแต่ละรอบนั้นสามารถใช้ฟังก์ชัน np.random.permutation รายละเอียดของฟังก์ชันนี้อ่านได้ใน >> numpy เบื้องต้นบทที่ ๑๕

เริ่มจากลองทำกับแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกสำหรับแบ่งกลุ่มสองกลุ่ม
import numpy as np
def sigmoid(x):
    return 1/(1+np.exp(-x))

class ThotthoiLogistic:
    def __init__(self,eta):
        self.eta = eta

    def rianru(self,X,z,n_thamsam,n_batch=0):
        n = len(z) # จำนวนข้อมูลทั้งหมด
        # ถ้าไม่ได้กำหนดจำนวนแบตช์ หรือจำนวนแบตช์มากกว่าจำนวนข้อมูล
        if(n_batch==0 or n<n_batch):
            n_batch = n # ให้ทำด้วยจำนวนทั้งหมด (คือไม่ทำมินิแบตช์)
        X_std = X.std()
        X_std[X_std==0] = 1
        X_mean = X.mean()
        X = (X-X_mean)/X_std # ทำให้เป็นมาตรฐาน
        self.w = np.zeros(X.shape[1]+1)
        self.entropy = []
        self.thuktong = []
        for j in range(n_thamsam):
            # สุ่มเลขลำดับการเลือก
            lueak = np.random.permutation(n)
            for i in range(0,n,n_batch):
                # เลือก X และ z บางส่วนตามลำดับ
                Xn = X[lueak[i:i+n_batch]]
                zn = z[lueak[i:i+n_batch]]
                # ปรับค่าน้ำหนัก
                phi = self.ha_sigmoid(Xn)
                eee = (zn-phi)/len(zn)*self.eta
                self.w[1:] += np.dot(eee,Xn)
                self.w[0] += eee.sum()
            # คำนวณและบันทึกผลในแต่ละรอบ
            thukmai = self.thamnai(X)==z
            self.thuktong += [thukmai.sum()]
            self.entropy += [self.ha_entropy(X,z)]

        self.w[1:] /= X_std
        self.w[0] -= (self.w[1:]*X_mean).sum()

    def thamnai(self,X):
        return np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0]>0

    def ha_sigmoid(self,X):
        return sigmoid(np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0])

    def ha_entropy(self,X,z):
        phi = self.ha_sigmoid(X)
        return -(z*np.log(phi+1e-7)+(1-z)*np.log(1-phi+1e-7)).mean()

การทำมินิแบตช์นั้นจะทำให้โค้ดดูซับซ้อนขึ้นไปอีก โดยจะต้องมีการเพิ่มวังวน for เข้ามาอีกชั้น

for ด้านนอกเป็นการวนซ้ำเพื่อการเรียนรู้ในแต่ละรอบตามจำนวนครั้ง n_thamsam

ส่วน for ด้านในเป็นการวนซ้ำเพื่อทำมินิแบตช์ให้ใช้ข้อมูลทีละชุดที่สุ่มมาเป็นจำนวนเท่ากับ n_batch จากข้อมูลทั้งหมด n ตัว พอวนทำซ้ำจนจบข้อมูลทั้งหมดจะถูกใช้ทั้งหมด

len(zn) คือจำนวนข้อมูลที่ถูกใช้ในแต่ละรอบ ซึ่งจะเท่ากับ n_batch ยกเว้นตลอดยกเว้นรอบสุดท้ายจะเป็นจำนวนเศษที่เหลืออยู่

อีกส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงคือเมธอด ha_entropy แทนที่จะใช้ sum ต่อท้ายก็เปลี่ยนเป็น mean แทน



ได้คลาสของแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกมาแล้ว จากนั้นลองนำคลาสมาใช้ดู โดยตัวอย่างคราวนี้ขอยก datasets.make_blobs มาใช้ สร้างข้อมูลตัวอย่างมา 10000 แต่ใช้จำนวนแบตช์แค่ 150
import matplotlib.pyplot as plt
from sklearn import datasets
X,z = datasets.make_blobs(n_samples=10000,n_features=2,centers=2,cluster_std=2,random_state=2)
eta = 0.1
n_thamsam = 100
n_batch = 150
tl = ThotthoiLogistic(eta)
tl.rianru(X,z,n_thamsam,n_batch)

plt.subplot(211)
plt.title(u'เอนโทรปี',fontname='Tahoma')
plt.plot(tl.entropy)
plt.tick_params(labelbottom='off')
plt.subplot(212)
plt.title(u'จำนวนที่ถูก',fontname='Tahoma')
plt.plot(tl.thuktong)

plt.figure(figsize=[6,6])
x_sen = np.array([X[:,0].min(),X[:,0].max()])
y_sen = -(tl.w[0]+tl.w[1]*x_sen)/tl.w[2]
thukmai = tl.thamnai(X)==z
plt.axes(aspect=1,xlim=[X[:,0].min(),X[:,0].max()],ylim=[X[:,1].min(),X[:,1].max()])
plt.plot(x_sen,y_sen,lw=3,zorder=0)
plt.scatter(X[thukmai,0],X[thukmai,1],c=z[thukmai],s=10,edgecolor='k',lw=0.5,cmap='winter')
plt.scatter(X[~thukmai,0],X[~thukmai,1],c=z[~thukmai],s=10,edgecolor='r',cmap='winter')
plt.show()

ผลที่ได้ก็ทำได้ดีเช่นเดียวกับตอนที่ไม่ใช้มินิแบตช์






จากนั้นลองทำแบบเดียวกันกับแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกแบบมัลติโนเมียล (การถดถอยซอฟต์แม็กซ์) ซึ่งใช้แบ่งข้อมูลเป็นหลายกลุ่ม
import numpy as np
def softmax(x):
    exp_x = np.exp(x.T-x.max(1))
    return (exp_x/exp_x.sum(0)).T

class ThotthoiSoftmax:
    def __init__(self,eta):
        self.eta = eta

    def rianru(self,X,z,n_thamsam,n_batch=0):
        n = len(z)
        if(n_batch==0 or n<n_batch):
            n_batch = n
        self.kiklum = int(z.max()+1)
        X_std = X.std(0)
        X_std[X_std==0] = 1
        X_mean = X.mean(0)
        X = (X-X_mean)/X_std
        z_1h = z[:,None]==range(self.kiklum)
        self.w = np.zeros([X.shape[1]+1,self.kiklum])
        self.entropy = []
        self.thuktong = []
        for j in range(n_thamsam):
            lueak = np.random.permutation(n)
            for i in range(0,n,n_batch):
                Xn = X[lueak[i:i+n_batch]]
                zn = z_1h[lueak[i:i+n_batch]]
                phi = self.ha_softmax(Xn)
                eee = (zn-phi)/len(zn)*self.eta
                self.w[1:] += np.dot(eee.T,Xn).T
                self.w[0] += eee.sum(0)
            thukmai = self.thamnai(X)==z
            self.thuktong += [thukmai.sum()]
            self.entropy += [self.ha_entropy(X,z_1h)]

        self.w[1:] /= X_std[:,None]
        self.w[0] -= (self.w[1:]*X_mean[:,None]).sum(0)

    def thamnai(self,X):
        return (np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0]).argmax(1)

    def ha_softmax(self,X):
        return softmax(np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0])

    def ha_entropy(self,X,z_1h):
        return -(z_1h*np.log(self.ha_softmax(X)+1e-7)).mean()

ตัวอย่างก็ลองใช้ datasets.make_blobs เช่นกัน
X,z = datasets.make_blobs(n_samples=10000,n_features=2,centers=5,cluster_std=0.8,random_state=1)
eta = 0.1
n_thamsam = 100
n_batch = 150
ts = ThotthoiSoftmax(eta)
ts.rianru(X,z,n_thamsam,n_batch)

ax = plt.subplot(211)
ax.set_title(u'เอนโทรปี',fontname='Tahoma')
plt.plot(ts.entropy)
plt.tick_params(labelbottom='off')
ax = plt.subplot(212)
ax.set_title(u'จำนวนที่ถูก',fontname='Tahoma')
plt.plot(ts.thuktong)

plt.figure(figsize=[6,6])
ax = plt.axes(xlim=[X[:,0].min(),X[:,0].max()],ylim=[X[:,1].min(),X[:,1].max()],aspect=1)

nmesh = 200
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),nmesh),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),nmesh))
mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
mz = ts.thamnai(mX)
si = ['#770077','#777700','#007777','#007700','#000077']
c = [si[i] for i in mz]
ax.scatter(mX[:,0],mX[:,1],c=c,s=1,marker='s',alpha=0.3,lw=0)
ax.contour(mx,my,mz.reshape(nmesh,nmesh),
           ts.kiklum,colors='k',lw=2,zorder=0)
thukmai = ts.thamnai(X)==z
c = np.array([si[i] for i in z])
ax.scatter(X[thukmai,0],X[thukmai,1],c=c[thukmai],s=10,edgecolor='k',lw=0.5)
ax.scatter(X[~thukmai,0],X[~thukmai,1],c=c[~thukmai],s=10,edgecolor='r')
plt.show()




อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文