φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] นำต้นไม้ตัดสินใจหลายต้นมารวมกันเป็นป่าสุ่ม
เขียนเมื่อ 2017/11/11 00:05
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 15:04
ก่อนหน้านี้ได้แนะนำต้นไม้ตัดสินใจ (决策树, decision tree) ไปแล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20171105

ต้นไม้ตัดสินใจนั้นไวต่อการสุ่มกลุ่มข้อมูล ดังนั้นหากแค่เปลี่ยนชุดข้อมูลเพียงเล็กน้อยผลการแบ่งที่ได้ก็อาจแตกต่างไปจากเดิมมากเลยก็เป็นได้

ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดการเรียนรู้เกิน (过学习, over-learning) ได้ง่าย คือเวลาที่ให้ต้นไม้เรียนรู้แล้วแตกกิ่งย่อยจนกว่าจะแบ่งข้อมูลที่ให้ไปจนทายได้ถูกหมด พอนำไปใช้กับข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ก็อาจจะทายไม่ถูกเลยก็ได้

จึงมีคนคิดวิธีการที่สร้างต้นไม้ตัดสินใจหลายๆต้นโดยใช้ข้อมูลที่ต่างกัน แล้วนำผลจากหลายต้นนั้นมารวมกัน วิธีนี้ถูกเรียกว่า ป่าสุ่ม (随机森林, random forest)

นั่นเพราะถ้าต้นไม้มาอยู่รวมกันหลายๆต้นมันก็จะกลายเป็นป่าขึ้นมา และเป็นป่าของต้นไม้ที่เกิดจากการสุ่ม ก็เลยเรียกว่าเป็นป่าสุ่ม



หลักการของป่าสุ่มก็คือสุ่มข้อมูลจากกลุ่มข้อมูลที่จะใช้ในการเรียนรู้ขึ้นมาหลายๆรอบ โดยทั่วไปแล้วจะใช้การสุ่มแบบบู๊ตสแตร็ป (bootstrap)

บู๊ตสแตร็ปคือการสุ่มแบบที่สามารถเลือกซ้ำได้ เช่น หากเราทำการสุ่มหยิบสลากที่มีเลข 0-19 อยู่มาทั้งหมด 20 ครั้ง โดยแต่ละครั้งหยิบคืนกลับที่เดิม อาจเขียนในไพธอนได้โดยใช้คำสั่ง random.choice ใน numpy ดังนี้
import numpy as np
print(np.random.choice(20,20))

ได้
[ 0 14  0  0 16 12  3  5  9  5 15 13 18  6  5  1  5  6  2 13]

จะเห็นว่าในแต่ละรอบอาจมีบางตัวถูกหยิบซ้ำ แล้วบางตัวก็ไม่ถูกเลือกเลย ดังนั้นในแต่ละรอบเราจะได้ตัวอย่างไม่ซ้ำกันมาใช้ป้อนให้กับต้นไม้

จากนั้นเราก็เอาข้อมูลที่สุ่มได้นี้มาสร้างต้นไม้ต้นหนึ่ง เสร็จแล้วก็สุ่มแบบเดิมอีกครั้ง สร้างต้นไม้อีกต้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ

จะลองสร้างทั้งหมดกี่ต้นก็ได้ สุดท้ายแล้วก็เอาผลการทายของทุกต้นมาเทียบกัน ทำการโหวตว่าผลการทายอันไหนถูกโหวตมากที่สุด ก็เลือกคำตอบนั้นมาเป็นคำตอบสุดท้าย

เช่น ยกตัวอย่าง ลองพยายามที่จะแบ่งข้อมูลชุดนี้ ซึ่งมีอยู่ ๕ กลุ่ม



โค้ดเป็นดังนี้
import matplotlib.pyplot as plt
np.random.seed(20)
X = np.random.uniform(-1,1,[1000,2])
z = ((np.abs(X[:,0])+np.abs(X[:,1]))//0.4).astype(int)
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,edgecolor='k',cmap='plasma')
plt.show()

เราจะลองวนซ้ำทั้งหมด 10 รอบ ระหว่างนั้นก็เก็บผลลัพธ์ในแต่ละรอบที่แปลงเป็นแบบ one-hot ไปด้วย แล้วสุดท้ายก็นำมาสรุปเป็นผลโหวต หาผลสรุปรวม
from sklearn.tree import DecisionTreeClassifier as Ditri
from sklearn.model_selection import train_test_split
X_fuek,X_truat,z_fuek,z_truat = train_test_split(X,z,test_size=0.2) # แยกข้อมูลส่วนหนึ่งไว้ตรวตสอบ
zzz = 0 # เตรียมไว้สำหรับรวมผลของแต่ละรอบ
for i in range(10):
    s = np.random.choice(800,800) # สุ่ม บูตสแตร็ป
    dt = Ditri() # ใช้ต้นไม้ตัดสินใจของ sklearn
    dt.fit(X_fuek[s],z_fuek[s]) # เรียนรู้ด้วยข้อมูลที่สุ่มได้ในแต่ละรอบ
    zz = dt.predict(X_truat) # ทำนายผลของแต่ละรอบ
    zz_1h = zz[:,None]==np.arange(10) # ทำผลเป็น one-hot
    zzz += zz_1h # เก็บรวมผลของแต่ละรอบ
    print(u'รอบที่ %d คะแนน %.3f'%(i+1,(zz==z_truat).mean()))
# นำผลการทำนายในแต่ละรอบมาสรุปรวมเป็นผลแล้วหาความแม่น
print('---\nผลรวมได้ %.3f'%(zzz.argmax(1)==z_truat).mean())

ได้
รอบที่ 1 คะแนน 0.810
รอบที่ 2 คะแนน 0.845
รอบที่ 3 คะแนน 0.845
รอบที่ 4 คะแนน 0.870
รอบที่ 5 คะแนน 0.855
รอบที่ 6 คะแนน 0.835
รอบที่ 7 คะแนน 0.840
รอบที่ 8 คะแนน 0.885
รอบที่ 9 คะแนน 0.845
รอบที่ 10 คะแนน 0.890
---
ผลรวมได้ 0.935

จะเห็นว่าแม้แต่ละรอบจะทายถูกได้ไม่ถึง 0.9 เลย แต่พอนำมาโหวตรวมกันกลับได้สูงกว่า 0.9

อีกทั้งหากเราลองดูคำตอบของการใช้ต้นไม้ตัดสินใจต้นเดียวจากข้อมูลทั้งหมด ก็พบว่าไม่สูงเท่านั้น
dt = Ditri()
dt.fit(X_fuek,z_fuek)
zz = dt.predict(X_truat)
print((zz==z_truat).mean()) # ได้ 0.89

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสุ่มข้อมูลเพื่อสร้างต้นไม้หลายต้นแล้วโหวต ได้ผลดีกว่าการนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างต้นไม้ทีเดียว

อนึ่ง ถ้าหากลองดูรูปเทียบหน้าตาการแบ่งแล้วจะเห็นเป็นแบบนี้

นี่คือการแบ่งของต้นไม้ตัดสินใจต้นเดียว



ส่วนนี่คือป่าสุ่มซึ่งได้จากต้นไม้ ๑๐ ต้น



จะเห็นว่าหน้าตาออกมาดูดีกว่าหน่อย เส้นแบ่งดูมีความละเอียดมากขึ้น

โดยทั่วไปแล้วยิ่งเพิ่มจำนวนต้นไม้ในป่ามากก็จะยิ่งดี แต่เวลาที่ใช้คำนวณก็จะเพิ่มสูงขึ้นตาม

การนำเอาตัวทำนายหลายตัวมารวมกันแล้วคิดผลร่วมกันแบบนี้ถูกเรียกรวมๆว่าวิธีการอ็องซ็องบล์ (ensemble) นอกจากป่าสุ่มแล้วยังมีวิธีการอ็องซ็องบล์อยู่อีกหลายแบบ



จากนั้นก็ขอสรุปรวมเป็นคลาสไว้แบบนี้ โดยในที่นี้จะใช้คลาสของต้นไม้ตัดสินใจที่สร้างไว้คราวก่อนมาเป็นส่วนประกอบด้วย แทนที่จะใช้ของ sklearn จะได้เป็นการสร้างเองทั้งหมด แต่ที่จริงจะใช้ต้นไม้ตัดสินใจของ sklearn ก็ทำได้คล้ายๆกัน
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

def gini(p):
    return 1-(p**2).sum()

class Chuttaek:
    def __init__(self,X,z,chan):
        self.chan = chan
        self.n = len(z)
        self.king = []
        if(len(np.unique(z))==1):
            self.z = z[0]
        elif(chan==0):
            self.z = np.bincount(z).argmax()
        else:
            self.gn = 1
            for j in range(X.shape[1]):
                x = X[:,j]
                xas = x.argsort()
                x_riang = x[xas]
                z_riang = z[xas]
                x_kan = (x_riang[1:]+x_riang[:-1])/2
                x_kan = x_kan[z_riang[1:]!=z_riang[:-1]]
                for khabaeng in x_kan:
                    baeng = khabaeng>x
                    z_sai = z[baeng]
                    z_khwa = z[~baeng]
                    n_sai = float(len(z_sai))
                    n_khwa = float(len(z_khwa))
                    gn = (gini(np.bincount(z_sai)/n_sai)*n_sai+gini(np.bincount(z_khwa)/n_khwa)*n_khwa)/self.n
                    if(self.gn>gn):
                        self.gn = gn
                        self.j = j
                        self.khabaeng = khabaeng
            o = (self.khabaeng>X[:,self.j])
            self.king = [Chuttaek(X[o],z[o],chan-1),Chuttaek(X[~o],z[~o],chan-1)]

    def __call__(self,X):
        if(self.king==[]):
            return self.z
        else:
            o = self.khabaeng>X[:,self.j]
            return np.where(o,self.king[0](X),self.king[1](X))

class TonmaiTatsinchai:
    def __init__(self,luek):
        self.luek = luek

    def rianru(self,X,z):
        self.rak = Chuttaek(X,z,self.luek)

    def thamnai(self,X):
        return self.rak(X)

class Pasum:
    def __init__(self,luek,n_tonmai=10):
        self.luek = luek
        self.n_tonmai = n_tonmai

    def rianru(self,X,z):
        n = len(z)
        self.kiklum = z.max()+1
        self.tonmai = []
        for i in range(self.n_tonmai):
            tt = TonmaiTatsinchai(self.luek)
            s = np.random.choice(n,n)
            tt.rianru(X[s],z[s])
            self.tonmai.append(tt)

    def _thamnai(self,X):
        phon = 0
        for tt in self.tonmai:
            phon += tt.thamnai(X)[:,None]==np.arange(self.kiklum)
        return phon

    def thamnai(self,X):
        return self._thamnai(X).argmax(1)

    def thamnai_laiat(self,X):
        return self._thamnai(X)/self.n_tonmai

พอเขียนแบบนี้แล้วก็นำมาใช้ได้สะดวก

ในที่นี้เมธอด thamnai จะทำการทำนายคำตอบจากผลโหวต ส่วน thamnai_laiat จะทำนายความน่าจะเป็นของแต่ละคำตอบโดยดูจากจำนวนต้นไม้ที่ทาย

ตัวอย่างการลองนำมาใช้งานดู
np.random.seed(2)
X = np.random.uniform(-1,1,[1000,2])
z = (np.sqrt(X[:,0]**2+X[:,1]**2)//0.282).astype(int)
pasum = Pasum(100)
pasum.rianru(X,z)
nmesh = 200
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),nmesh),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),nmesh))
mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
mz = pasum.thamnai(mX).reshape(nmesh,nmesh)
plt.axes(aspect=1,xlim=[mx.min(),mx.max()],ylim=[my.min(),my.max()])
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],alpha=0.6,c=z,edgecolor='k',cmap='rainbow')
plt.contourf(mx,my,mz,alpha=0.4,cmap='rainbow',zorder=0)
plt.show()



พอสร้างเป็นคลาสแบบนี้แล้วก็จัดการอะไรได้ง่าย ภายในตัวป่าสุ่มจะประกอบไปด้วยต้นไม้ตัดสินใจอยู่ข้างใน ในที่นี้เก็บตัวออบเจ็กต์ต้นไม้ตัดสินใจเอาไว้ในลิสต์ซึ่งเป็นแอตทริบิวต์ชื่อ .tonmai สามารถลองไล่ล้วงดูองค์ประกอบด้านในได้
print(len(pasum.tonmai)) # ได้ 10
print(pasum.tonmai[0]) # ได้ <__main__.TonmaiTatsinchai object at 0x1166a97b8>
print(pasum.tonmai[0].rak) # ได้ <__main__.Chuttaek object at 0x1166a9c18>
print(pasum.tonmai[0].rak.king) # ได้ [<__main__.Chuttaek object at 0x1166a99e8>, <__main__.Chuttaek object at 0x1165acc18>]


ต่อไปลองใช้การทำนายละเอียดเพื่อดูความเป็นไปได้ของการจำแนกสองกลุ่ม โดยสุ่มสร้างต้นไม้สักร้อยต้น
np.random.seed(11)
X = np.random.uniform(-1,1,[1000,2])
z = (np.sqrt(X[:,0]**2+X[:,1]**2)//0.707).astype(int)
pasum = Pasum(100,n_tonmai=100)
pasum.rianru(X,z)
nmesh = 200
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(-1,1,nmesh),np.linspace(-1,1,nmesh))
mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
mz = pasum.thamnai_laiat(mX)[:,1].reshape(nmesh,nmesh)
plt.axes(aspect=1,xlim=[mx.min(),mx.max()],ylim=[my.min(),my.max()])
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,alpha=0.9,edgecolor='k',cmap='Spectral')
plt.contourf(mx,my,mz,100,cmap='Spectral',zorder=0)
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.show()


ส่วนไหนที่ต้นไม้ทุกต้นทายว่าเป็นกลุ่ม 0 เหมือนกันก็จะเป็นสีม่วง แต่ถ้าทายเป็นกลุ่ม 1 เหมือนกันหมดก็จะเป็นสีแดง ส่วนตรงรอยต่อที่มีบางต้นทายเป็น 0 บ้าง 1 บ้างก็จะเป็นสีระหว่างนั้น สัดส่วนแสดงตามแถบสีทางด้านขวา



เรื่องของป่าสุ่มนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการร่วมแรงร่วมใจจะก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ได้ รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราขอบาย

จะเห็นว่าแม้ต้นไม้ต้นเดียวอาจจะไร้พลัง แต่พอรวมกันเป็นป่าก็จะดูมีคุณค่าขึ้นมา ดังนั้นเราควรจะมาช่วยกันปลูกป่าเพื่อโลกที่สดใสของพวกเรา

จากวันนี้สักหมื่นปี ต้นไม้ที่ท่านปลูก ต้องสวยต้องงดงาม และยิ่งใหญ่~



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文