φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



วิวัฒนาการของตัวอักษรจากอักษรฟินิเชียและอักษรพราหมีมาเป็นอักษรต่างๆ
เขียนเมื่อ 2022/02/02 19:06
แก้ไขล่าสุด 2022/07/18 16:14
หน้านี้เป็นเนื้อหาเสริมจากบทความเรื่อง ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี

ในหน้านี้จะลงแผนผังสรุปวิวัฒนาการของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งวาดโดยใช้ matplotlib

ที่จริงภาพเหล่านี้ได้ลงไว้ใน facebook ด้วย แต่ก็เอามาลงในนี้อีกทีพร้อมลงรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละภาพ



อย่างที่รู้กันว่าอักษรไทยมีทั้งหมด ๔๔ ตัวในปัจจุบัน แต่ละอักษรก็มีที่มาต่างกันไป แต่โดยรวมแล้ว ๓๕ ตัวมีที่มาจากอักษรพราหมี และในจำนวนนั้น ๒๑ ตัวยังมีรากเชื่อมโยงไปได้ถึงอักษรฟินิเชีย ซึ่งอักษรนี้กเป็นรากของอักษรอื่นๆอีกมากมายที่ใช้ทั่วไปในประเทศต่างๆในโลกนี้ เช่น อักษรกรีก, อักษรโรมัน, อักษรซิริลลิก, อักษรอาหรับ, อักษรฮีบรู, ฯลฯ

ในที่นี้จะแสดงวิวัฒนาการของอักษรตระกูลพราหมีไปสู่อักษรชนิดต่างๆที่ใช้ในภาษาต่างๆในประเทศทางแถบนี้ ที่จริงมีเยอะกว่านี้มาก แต่ในภาพนี้แสดงอักษรเพียง ๑๖ ชนิด โดยเลือกเฉพาะที่สำคัญบางส่วนมา

อักษร ๒๑ ตัวที่มีรากจากอักษรฟินิเชียก็จะวาดโยงถึงอักษรฟินิเชียด้วย ส่วนตัวที่เหลือจะเริ่มรากแค่ตั้งแต่อักษรพราหมี



เริ่มจากอักษรตัวแรก นั่นก็คือ



อักษร มีที่มาที่สืบรากลงไปได้ถึงอักษรฟินิเชีย 𐤊 โดยอักษรฟินิเชียตัวนี้ยังเป็นรากของอักษรกรีก Κ κ (แคปปา) ที่เป็นรากของอักษร K k ในอักษรโรมัน ดังนั้นก็ถือได้ว่าอักษร กับ k มีรากที่มาเดียวกันนั่นเอง เสียงอ่านก็เหมือนกัน คือเป็นเสียง /k/





สำหรับอักษร นั้นมีที่มาจากอักษร 𐤒 ในอักษรฟินิเชีย โดยอักษรนี้ยังเป็นรากของอักษรโรมัน Q q อีกด้วย แต่ว่าเสียงอ่านจะต่างกัน โดยในอักษรตระกูลพราหมีได้นำมาใช้อ่าน /kʰ/ (คือเสียง "ค") แต่เดิมในอักษรฟินิเชียใช้เป็นเสียงหยุดลิ้นไก่ไม่ก้อง /q/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย



สำหรับ นั้นมีที่มาจากอักษรฟินิเชีย 𐤂 ซึ่งเป็นรากของอักษรกรีก Γ γ (แกมมา) ซึ่งเป็นรากของอักษรโรมันตัว G g โดยเสียงเดิมนั้นอ่านเป็นเสียง /g/ ก็คือเหมือนเสียง g ในภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย พอมาเป็นในภาษาไทยเสียงก็กลายเป็น /kʰ/  ซึ่งไปซ้ำกับ อีกที เพียงแต่ว่าเป็นอักษรต่ำ



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤇 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Η η (เอตา) และอักษรโรมัน H h ด้วย แต่เสียงอ่านต่างออกไป โดยเดิมทีนั้นออกเสียง /ħ/ แต่พอมาเป็นอักษรพราหมี 𑀖 ก็กลายเป็นเสียง /gʰ/ ซึ่งก็ไม่มีในภาษาไทย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀗 ซึ่งอักษรตัวนี้ไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย แต่เดิมทีเสียงเสียง /ŋ/ (ตรงกับ "ง" ในภาษาไทย) นี้ไม่มีในอักษรฟินิเชียและภาษาทางยุโรปส่วนใหญ่ด้วย แต่มีในภาษาทางอินเดียซึ่งไทยก็รับมาตามนั้น



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤑 ซึ่งไม่ได้มีรากเชื่อมโยงไปถึงอักษรโรมัน แต่มีความเชื่อมโยงกับอักษรซิริลลิก Ц ц ซึ่งออกเสียงเป็น /t͡s/ ที่ไม่มีในภาษาไทย แต่ก็ยังใกล้เคียงกันเสียง จ /t͡ɕ/ ในภาษาไทย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀙 ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤆 โดย ซึ่งเป็นรากของอักษรกรีก Ζ ζ และอักษรโรมัน Z z เดิมทีออกเสียง /z/ เหมือนกับ z ในภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาไทยไม่มีเสียงนี้ ออกเสียงเป็น ช /t͡ɕʰ/ แทน



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀛 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀝 ซึ่งก็ไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย

ในที่นี้อักษรลาว นั้นถ้าว่ากันให้ถูกต้องจริงๆแล้วมีรากมาจากตัว 𑀬 ซึ่งเป็นรากของตัว แต่ถูกใช้แทนเสียง ญ /ɲ/ ในภาษาลาว เสียงนี้ปัจจุบันในภาษาไทยไม่มีแล้ว ออกเสียงเป็น ย /j/ แทน



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀝 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย รวมถึงอักษรตัวอื่นในวรรคฏะ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ นั้นทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอักษรฟินิเชียเลย เพราะเป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาฟินิเชียเดิมรวมถึงภาษาทางยุโรป และจริงๆก็ไม่มีในภาษาไทยด้วย ดังนั้นอักษรกลุ่มนี้ทั้งหมด และมีในหลายภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรกลุ่มนี้ หรืออาจใช้เพียงแค่ในคำศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตและบาลีเท่านั้น



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀞 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀟 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀠 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀡 ซึ่งก็ไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤕 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Τ τ (เทา) และอักษรโรมัน T t ด้วย เสียงอ่านก็ตามนั้นเลยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤈 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Θ θ (เธตา) เสียงอ่านก็ต่างไปจากอักษรฟินิเชียเดิม แต่เสียง /tʰ/ นั้นสืบทอดมาตั้งแต่อักษรพราหมี 𑀣 และตรงกับเสียง Θ θ ในภาษากรีกโบราณด้วย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀤 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษณฟินิเชีย เดิมทีอักษร 𑀤 นั้นอ่านเป็นเสียง /d/ (ตรงกับ "ด" ในภาษาไทย)



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤃 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Δ δ (เดลตา) และอักษรโรมัน D d แต่เสียงอ่านต่างไปจากเดิม โดยเดิมทีออกเสียง /d/



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤍 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ν ν (นิว) และอักษรโรมัน N n โดยที่ยังออกเสียงเหมือนกันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤐 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Π π (ไพ) และอักษรโรมัน P p และเสียงอ่านก็ยังคงออกเหมือนเดิมไม่ได้ต่างออกไป



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀨 ซึ่งไม่ได้มีรากโยงไปถึงอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤁 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Β β (เบตา) และอักษรโรมัน B b แต่เสียงอ่านเดิมทีเป็นเสียงซึ่งต่างจากในภาษาไทย คือเป็นเสียง /b/ (ตรงกับ "บ" ในภาษาไทย)



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀪 ซึ่งไม่ได้มีรากโยงไปถึงอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤌 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Μ μ (มิว) และอักษรโรมัน M m อีกด้วย โดยที่เสียงอ่านก็คงเดิมตามนั้นไม่ได้เปลี่ยนไป



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤉 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ι ι (อิโอตา) และเป็นรากของอักษรโรมัน I i และ J j อีกด้วย โดยที่เสียงอ่านก็คือ /j/ เหมือนกันไม่ได้เปลี่ยนจากเดิม



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤓 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ρρ (โร) และเป็นรากของอักษรโรมัน R r อีกด้วย โดยยังออกเสียงใกล้เคียงจากเดิม



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤋 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Λ λ (แลมบ์ดา) และเป็นรากของอักษรโรมัน L l โดยที่เสียงอ่านก็คือ /l/ ไม่ได้ต่างไปจากเดิม



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤅 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Υυ (อิปซิลอน) และเป็นรากของอักษรโรมันอีกหลายตัวด้วย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤔 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Σ σ ς (ซิกมา) และอักษรโรมัน S s ด้วย เดิมทีออกเสียง /ʃ/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤎 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ξ ξ (คไซ)



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀲 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤄 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ε ε (เอปซิลอน) และอักษรโรมัน E e ด้วย อย่างไรก็ตาม เดิมทีเสียงอ่านเป็นเสียง /h/ ซึ่งตรงนี้ในภาษาไทยยังคงเดิมแต่ในทางสายอักษรกรีกตัวนี้กลายเป็นสระไป



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤀 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Α α (อัลฟา) และอักษรโรมัน A a ด้วย โดยเสียงอ่านก็เหมือนเดิมคือเป็นเสียง /ʔ/ แต่ว่าในฝั่งอักษรกรีก ตัวนี้จะถูกใช้เป็นสระ




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประวัติศาสตร์
-- ภาษาศาสตร์ >> ตัวอักษร
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาลาว
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาเขมร

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文