φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



เดินทางไปเที่ยวที่มัตสึชิมะท่ามกลางหิมะ เริ่มต้นโดยนั่งรถไฟตามสายเซนเซกิลงที่สถานีมัตสึชิมะไคงัง
เขียนเมื่อ 2024/02/23 19:45
แก้ไขล่าสุด 2024/02/25 10:46
# ศุกร์ 23 ก.พ. 2023

ช่วงพุธ-พฤหัส 21-22 ในจังหวัดมิยางิมีหิมะตกอีกแล้ว และวันที่ 23 เป็นวันหยุดเนื่องจากเป็นวันเกิดจักรพรรดิ (天皇誕生日てんのうたんじょうび)  ก็เลยออกไปเที่ยวสักหน่อย ถือเป็นจังหวะดีที่จะได้ถ่ายทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยหิมะก่อนที่จะละลายไป อุณหภูมิก็กำลังดี ไม่หนาวเกินไป และก็ไม่ได้อุ่นจนหิมะละลาย

เป้าหมายการเที่ยวคราวนี้ก็คือมัตสึชิมะ (松島まつしま) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะสามทิวทัศน์แห่งญี่ปุ่น (日本三景にほんさんけい) ร่วมกับ อามาโนฮาชิดาเตะ (天橋立あまのはしだて) ที่จังหวัดเกียวโต และ มิยาจิมะ (宮島) จังหวัดฮิโรชิมะ ซึ่งเราก็ได้เคยไปมา เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20130507

นอกจากนี้ที่นี่ยังถูกกล่าวขานร่วมกับคิซากาตะ (象潟きさかた) ในจังหวัดอากิตะด้วย โดยกล่าวว่า "มัตสึชิมะแห่งตะวันออก คิซากาตะแห่งตะวันตก" (ひがし松島まつしま 西にし象潟きさかた)

เกี่ยวกับคิซากาตะ เคยไปเที่ยวมาแล้วเล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230807

มัตสึชิมะเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะและชายฝั่งภายในอ่าวมัตสึชิมะ (松島湾まつしまわん) บนชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดมิยางิ ซึ่งโดยหลักแล้วตั้งอยู่ในบริเวณเมืองมัตสึชิมะ (松島町まちしままち) และนอกจากนั้นแล้วก็ยังกินพื้นที่ในเมืองข้างๆได้แก่เมืองฮิงาชิมัตสึชิมะ (東松島市ひがしまつしまし), เมืองริฟุ (利府町りふちょう) และเมืองชิโองามะ (塩竈市しおがまし) ด้วย มีจำนวนเกาะประมาณ ๒๖๐ เกาะ

ตำแหน่งเมืองมัตสึชิมะในจังหวัดมิยางิ แสดงเป็นสีเหลืองเข้มตรงกลาง อยู่ริมชายฝั่ง




ด้วยความที่มีเกาะน้อยใหญ่รูปร่างแปลกๆมากมายดูสวยงาม และชื่อเสียงเรียงนามที่ว่าเป็นหนึ่งในสามทิวทัศน์แห่งญี่ปุ่นนั้นก็ไม่ใช่อยู่ๆตั้งขึนมาง่ายๆ แต่มีที่มาตั้งแต่ปี 1643 ช่วงต้นยุคเอโดะแล้ว ชื่อเสียงและความโดดเด่นของทิวทัศน์ทั้ง ๓ ที่นี้มีมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันนี้มัตสึชิมะก็ยังคงดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมายจากทั้งในและนอกประเทศ อาจเรียกได้ว่าพอพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดมิยางิแล้วคนก็จะนึกถึงมัตสึชิมะเป็นที่แรก มีชื่อเสียงยิ่งกว่าเมืองเซนได หรือทิวเขาซาโอว (เคยไปมาแล้วเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230717)

ในจังหวัดมิยางิหากพูดถึงภูเขาก็ต้องซาโอว หากพูดถึงทะเลก็ต้องมัตสึชิมะ ทั้งคู่มีความโดดเด่นทางธรรมชาติต่างกันไป

แน่นอนว่ามัตสึชิมะนั้นเป็นมากกว่าแค่สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพราะการที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีตทำให้มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ บุคคลยิ่งใหญ่ในอดีตจำนวนมากเคยมาที่มัตสึชิมะ และได้มีโบราณสถานไว้ ซึ่งก็กลายเป็นสถานที่เที่ยว

ดังนั้นแล้วในบริเวณเมืองมัตสึชิมะจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่เต็มไปหมด หากจะเที่ยวทั้งหมดคงต้องใช้เวลาทั้งวัน

ธรรมชาติของมัตสึชิมะนั้นประกอบไปด้วยต้นสนเป็นหลัก ทำให้ไม่ว่าจะเที่ยวฤดูไหนก็ไม่เปลี่ยนแปลง ปกคลุมไปด้วยต้นสนเขียวขจีตลอดปี ไม่มีเปลี่ยนสีหรือร่วงโรย จึงเป็นสีเดิมตลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อหิมะตกลงมาและทับถม ก็จะทำให้มัตสึชิมะถูกย้อมด้วยสีขาวโพลนได้

และนี่คือเป้าหมายการเที่ยวครั้งนี้ เราต้องการมาชมมัตสึชิมะที่ถูกย้อมสีขาวด้วยหิมะ



การเที่ยวชมหมู่เกาะต่างๆในมัตสึชิมะนั้นโดยทั่วไปทำได้โดยนั่งเรือ จุดขึนเรือหลักๆแล้วอยู่ที่ริมชายฝั่งใกล้กับสถานีมัตสึชิมะไคงัง (松島海岸駅まつしまかいがんえき) ซึ่งเป็นสถานีหลักของย่านท่องเที่ยวของเมืองมัตสึชิมะ

สถานนี้อยู่บนสายเซนเซกิ (仙石線せんせきせん) ซึ่งเป็นสายที่เชื่อมระหว่างเมืองเซนไดกับเมืองอิชิโนมากิ (石巻市いしのまきし) ซึ่งเป็นเมืองทางชายฝั่งตะวันออกที่อยู่ไกลออกไปกว่ามัตสึชิมะ ระหว่างทางก็ผ่านชายฝั่งมัตสึชิมะด้วย

สายเซนเซกินั้นมีต้นทางอยู่ที่สถานีอาโอบะโดริ (あおば通駅どおりえき) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสถานีเซนได ครั้งนี้เราก็เริ่มขึ้นจากสถานีนี้

การเดินทางไปถึงสถานีมัตสึชิมะไคงังนั้นใช้เวลาประมาณ ๔๐ นาที ครั้งนี้เรานั่งรอบเวลา 8:54 และไปถึงเวลา 9:37 โดยขบวนนี้มีปลายทางอยู่ที่สถานีทากางิมาจิ (高城町駅たかぎまちえき) ซึ่งอยู่ในเมืองมัตสึชิมะและอยู่เลยจากสถานีมัตสึชิมะไคงังที่เป็นเป้าหมายไปอีก ๑ สถานี



ตอนเช้าออกจากหอพักมา เดินทางมายังสถานีอาโอบะโดริ รอบๆยังปกคลุมไปด้วยหิมะ ในเมืองมีการกวาดหิมะตามทางเดิน แต่ก็ยังหลงเหลืออยู่มาก



ทางเข้าสถานี ตัวสถานีนี้ตั้งอยู่ใต้ดิน



แตะบัตรเข้าไป การเดินทางบนเส้นทางสายนี้สามารถใช้ Suica ได้ทั้งหมด



ลงไปยังชานชลา



หน้าจอแสดงเวลาและปลายทางของรถไฟที่เราจะขึ้น เวลา 8:54 ปลายทางคือสถานีทากางิมาจิ ตอนที่ไปถึงนั้นรถไฟมารออยู่ก่อนเวลาแล้ว เพราะว่าสถานีนีเป็นต้นทาง ก็เข้าไปนั่งรถเวลารถไฟออกได้เลย



จากนั้นรถไฟก็ออก แล้วก็มาจอดที่สถานีเซนไดซึ่งเป็นสถานีหลักของเมืองซึ่งเราก็แวะมาแทบทุกครั้งที่นั่งรถไฟ ครั้งนี้ก็เลยไม่ได้ถ่ายรูปตอนผ่านไว้

จากนั้นต่อมารถไฟจึงมาจอดที่สถานีถดไปคือสถานีทซึตสึจิงาโอกะ (榴ケ岡駅つつじがおかえき)



และถัดมาจึงเป็นสถานีมิยางิโนะฮาระ (宮城野原駅みやぎのはらえき)



ตามด้วยสถานีริกุเซงฮาราโนมาจิ (陸前原ノ町駅りくぜんはらのまちえき)



ที่ผ่านมารถไฟอยู่ใต้ดินมาตลอด แต่จากนี้ไปจึงเริ่มโผล่มาอยู่ด้านบน แล้วก็จอดที่สถานีต่อไปคือสถานีนิงาตาเกะ (苦竹駅にがたけえき)




หออยู่เหนือพื้นดินแล้วก็เห็นทิวทัศน์ในเมืองที่ปกคลุมไปด้วยหิมะสวยงาม



สถานีต่อไปคือสถานีโคซึรุชินเดง (小鶴新田駅こづるしんでんえき)



ทิวทัศน์ระหว่างทาง



ต่อมาคือสถานีฟุกุดะมาจิ (福田町駅ふくだまちえき)



แล้วก็สถานีริกุเซงทากาซาโงะ (陸前高砂駅りくぜんたかさごえき)



ตามด้วยสถานีนากาโนะซากาเอะ (中野栄駅なかのさかええき) ซึ่งที่นี่เราเคยมาแล้วครั้นนึงเมื่อครั้งที่นั่งเรือไปฮกไกโด เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230904



หลังจากนั้นรถไฟก็ออกจากเมืองเซนได เข้าสู่เขตเมืองทางาโจว (多賀城市たがじょうし) มาจอดที่สถานีทางาโจว (多賀城駅たがじょうえき)



ที่จริงเมื่อก่อนเราก็เคยได้นั่งรถไฟสายนี้แล้วมาแวะสถานีนี้ทีนึง เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20220917

ต่อมาคือสถานีเกบะ (下馬駅げばえき) เป็นอีกสถานีในเมืองทางาโจว




จากนั้นก็เข้าสู่เขตเมืองชิโองามะ มาจอดที่สถานีนิชิชิโองามะ (西塩釜駅にししおがまえき)



แล้วก็ตามด้วยสถานีฮนชิโองามะ (本塩釜駅ほんしおがまえき) ซึ่งเป็นสถานีหลักใจกลางเมืองชิโองามะ



ทิวทัศน์ริมทะเลในเมืองชิโองามะ



จากนั้นก็เป็นสถานีฮิงาชิชิโองามะ (東塩釜駅ひがししおがまえき) ซึ่งเป็นสถานีปลายทางของรถไฟหลายขบวนที่วิ่งบนสายเซนเซกินี้ แต่ว่าขบวนที่เรานั่งนี้วิ่งเลยจากนี้ไปอีก



จากตรงนี้ไปทางรถไฟก็ยังอยู่ใกล้เลียบริมชายฝั่ง เห็นทิวทัศน์ริมทะเลสวยงาม




ต่อมารถไฟก็มาจอดที่สถานีริกุเซงฮามาดะ (陸前浜田駅りくぜんはまだえき) ในเมืองริฟุ



และรถไฟก็เข้าสู่เขตเมืองมัตสึชิมะ แล้วในที่สุดก็มาจอดที่สถานีมัตสึชิมะไคงังอันเป็นเป้าหมาย ผู้คนมากมายแทบจะทั้งขบวนต่างลงที่สถานีนี้กันตามคาด ส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากคนญี่ปุ่นแล้วก็ยังมีคนต่างชาติอยู่ด้วย




สำหรับบันทึกการเดินทางมาถึงก็จบลงเท่านี้ ในตอนหน้าจะเริ่มเล่าเรื่องการเที่ยวในมัตสึชิมะต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20240224



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> หิมะ
-- ท่องเที่ยว >> ทะเล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文