φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปีนเขาซาโอวสูง ๑๘๔๐ เมตร ชมทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟท่ามกลางหมอกหนา
เขียนเมื่อ 2023/07/17 23:15
แก้ไขล่าสุด 2024/02/10 13:49
# จันทร์ 17 ก.ค. 2023

วันนี้เป็นวันแห่งทะเล อุมิโนะฮิ (うみ) ซึ่งเป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่น เรามีโอกาสได้ไปเที่ยวปีนเขา เป้าหมายคราวนี้คือที่สันเขาซาโอว (蔵王連峰ざおうれんぽう) ซึ่งเป็นเขาภูเขาที่ตั้งอยู่ในบริเวณระหว่างจังหวัดมิยางิและจังหวัดยามางาตะ มียอดเขาหลายยอดบนทิวเขานี้ที่สูงกว่า ๑๗๐๐ เมตร ส่วนที่สูงที่สุดนั้นสูง ๑๘๔๐ เมตร

จุดเด่นที่สุดของซาโอวนั้นก็คือทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟที่เรียกว่า โอกามะ (御釜おかま) เป็นภูมิประเทศที่โดดเด่นสวยงามมากทีเดียว ได้ไปเห็นแล้วประทับใจมาก แต่น่าแปลกใจว่าสถานที่นี้ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากอย่างที่คิด แม้แต่คนญี่ปุ่นเองถ้าไม่ใช่คนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแถวนี้ก็อาจไม่รู้จัก

สำหรับการเที่ยวที่ซาโอวนั้น สามารถเดินทางด้วยรถไปจนถึงยอดเขาคัตตะดาเกะ (刈田岳かっただけ) สูง ๑๗๕๘ เมตรซึ่งเป็นจุดที่สามารถชมโอกามะได้ ถ้าเป็นวันเสาร์อาทิตย์มีรถเมล์มาถึง ต่อให้ไม่ขับรถเองก็มาเที่ยวได้ แถมจากตรงนั้นก็เดินต่อไปยังยอดเขาคุมาโนะดาเกะ (熊野岳くまのだけ) ซึ่งเป็นยอดสูงสุด ๑๘๔๐ ได้ไม่ยาก ปีนต่อไปแค่นิดหน่อยเท่านั้น

ดังนั้นแล้วที่นี่สามารถเที่ยวได้ไม่ยาก แม้จะไม่ใช่คนที่ชอบการปีนเขา ถ้าหากแค่อยากชมทะเลสาบโอกามะละก็ไม่จำเป็นต้องปีนเขาก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มเพื่อนที่มาด้วยกันอยากปีนเขา จึงได้เลือกที่จะไม่นั่งรถไปถึงยอดเขาโดยตรง แต่นั่งรถไปถึงแค่ระหว่างทางแล้วจึงปีนเขาต่อไปอีกที แต่ก็ไม่ใช่เขาที่ปีนยากอะไร เส้นทางได้ถูกทำไว้อย่างดี ระดับความยากในการปีนถือว่าต่ำทีเดียว เหมาะกับมือใหม่หัดปีนเขา

จุดเริ่มต้นการปีนเขาที่เลือกไปครั้งนี้คือที่ปากทางขึ้นเขาไดโกกุเตง (大黒天だいこくてん) ซึ่งอยู่ห่างจากยอดเขาไปทางตะวันออกเล็กน้อย โดยเพื่อนขับรถไปจอดตรงที่จอดรถที่นั่น

เส้นทางปีนเขาก็ตามในเว็บนี้เลย https://yamap.com/model-courses/25424

เที่ยวนี้ไปทั้งหมด ๕ คน โดยเช่ารถไป นั่ง ๔ คน แล้วมีคนนึงเอารถจักรยานยนต์มาเอง ก็ขับตามกันมา



การเดินทางไปยังซาโอวนั้นสามารถไปจากทางจังหวัดมิยางิหรือจังหวัดยามางาตะก็ได้เพราะตั้งอยู่ระหว่าง ๒ จังหวัด แต่ว่ายอดเขาคัตตะดาเกะและโอกะมะล้วนอยู่ฝั่งมิยางิ ในขณะที่ยอดเขาคุมาโนะดาเกะอยู่ฝั่งยามางาตะ นอกจากนี้แล้วพวกลานสกีก็อยู่ฝั่งนั้นเป็นหลักด้วย

พวกเราอยู่เมืองเซนได ดังนั้นจึงเดินทางจากฝั่งมิยางิ โดยหลังจากออกเดินทางจากเซนได พวกเราก็เดินทางมาทางตะวันตกเฉียงใต้ จนมาถึงเมืองซาโอว (蔵王町ざおうまち) ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งชื่อตามเขาซาโอว และตั้งอยู่ใกล้จุดเริ่มต้นปีนเขาที่เราจะไปมากที่สุด

ตำแหน่งเมืองซาโอวในจังหวัดมิยางิ แสดงเป็นสีเหลืองเข้มทางด้านล่างซ้าย



ระหว่างทางผ่านบริเวณย่านใจกลางเมืองซาโอว นี่คือที่ว่าการเมืองซาโอว (蔵王町役場ざおうまちやくば) ซึ่งระหว่างทางรถผ่านแล้วถ่ายมาได้พอดี



หลังจากนั้นเราก็มาผ่านย่านโทงัตตะอนเซง (遠刈田温泉とおがったおんせん) ซึ่งเป็นย่านอนเซงในบริเวณตีนเขาซาโอว ตรงนี้เป็นศูนย์แนะนำการท่องเที่ยวซาโอว และด้านหลังเป็นที่แช่นอนเซง คามิโนะยุ (かみ)



เรามาจอดรถแวะพักเข้าร้านสะดวกซื้อ



ซึ่งที่นี่ก็มี 7-11 อยู่



หลังจากแวะเสร็จก็กลับมาขึ้นรถต่อ แล้วจึงเดินทางต่อมาจนถึงปากทางขึ้นเขาไดโกกุเตง มาจอดรถตรงที่จอดรถที่นี่



ปากทางขึ้นเขาอยู่ทางโน้นเอง




แล้วเราเดินทางปีนเขาจึงเริ่มต้นขึ้นที่ตรงนี้



ช่วงเริ่มต้นนั้นเป็นขั้นบันไดที่ถูกทำได้อย่างดี แค่เดินขึ้นไปตามทางเรื่อยๆ



บ้างก็เป็นทางราบ



ตรงนี้มีแผนที่ให้ดู ส่วนด้านขวาของแผนที่นั้นเป็นป้ายเตือนให้ระวังหมี โดยจากในแผนที่นี้เราเริ่มเดินทางจากจุด P ด้านล่าง ไปตามเส้นสีแดงเรื่อยๆ ถ้าปีนไปเรื่อยๆก็จะเริ่มเห็นทะเลสาบโอกามะที่อยู่ทางขวาได้



ทางขึ้นบันไดยังคงต่อไปเรื่อยๆ ปีนกันเหนื่อยอยู่



ทิวทัศน์ที่เห็นระหว่างทาง ดูสวยงามทีเดียว แต่ก็พบว่ามีเมฆเยอะ




ยิ่งปีนขึ้นไปยิ่งเริ่มรู้สึกว่าหมอกหนา




หลังจากปีนมาจนสูงพอสมควร ในที่สุดก็เริ่มเห็นทะเลสาบโอกามะแล้ว แต่หมอกหนาจึงทำให้เห็นไม่ชัด ตอนแรกแทบไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าใช่โอกามะจริงหรือเปล่า มาแน่ใจตอนกลับมาดูภาพที่ถ่ายไปแล้ว



เส้นทางขึ้นบันไดก็ยังคงต่อไปเรื่อยๆไปอีกสักพัก




จนในที่สุดก็มาถึงยอดเขาได้สำเร็จ



โดยที่ตรงยอดเขานี้มีศาลเจ้าคัตตะมิเนะ (刈田嶺神社かったみねじんじゃ) ตั้งอยู่




บริเวณส่วนยอดที่ศาลเจ้านี้ตั้งอยู่เป็นรอยต่อระหว่างเมืองซาโอวกับอีกเมืองคือเมืองชิจิกาชุกุ (七ヶ宿町しちかしゅくまち) ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของจังหวัดมิยางิ และตัวศาลเจ้านี้อยู่ค่อนไปทางส่วนของเมืองชิจิกาชุกุ

แผนที่เมืองชิจิกาชุกุ เป็นสีเหลืองเข้มทางซ้ายสุดด้านล่าง แต่ที่เราอยู่ตอนนี้คือส่วนปลายเหนือสุดของพื้นที่นี้



ลองเดินเข้าไปดูในศาลเจ้า



ตัวอาคารศาลเจ้าก็มีอยู่แค่นี้






ป้ายเขียนแนะนำเกี่ยวกับศาลเจ้าและบริเวณนี้



หลังจากั้นเดินต่อมาอีกหน่อย



ก็เจอจุดชมทิวทัศน์



ตรงนี้มีแผ่นป้ายซึ่งมีภาพทิวทัศน์ที่ควรจะเห็นได้จากตรงนี้ ควรเห็นทะเลสาบสวยๆแบบนี้ แต่ว่าตอนนี้หมอกหนาทำให้มองไม่เห็นอะไรแบบนี้เลย ยืนอยู่ตรงนี้ไปก็ไม่มีความหมาย



ตรงข้างๆจุดชมทิวทัศน์นั้นเป็นเรสต์เฮาส์ยอดเขาซาโอว (蔵王山頂ざおうさんちょうレストハウス)




ข้างๆนั้นเป็นลานจอดรถ ซึ่งมีรถเมล์ด้วย หมายความว่าตรงนี้คือจุดที่สามารถนั่งรถเพื่อขึ้นมาถึงได้สำหรับคนที่ไม่อยากปีนขึ้นมาเอง



ภายในอาคารเป็นที่นั่งพัก



พื้นตรงนี้เป็นแผนที่บริเวณแถวนี้



บริเวณที่เราอยู่คือตรงนี้ ด้านล่างทะเลสาบกลมๆ



เดินลึกเข้าไปเป็นร้านขายของ



ในร้านนี้มีพวกของฝากและของที่ระลึกต่างๆ






และตรงนี้เป็นร้านขายพวกของกินเล่น




เราลองซื้อกิวตังทสึกุเนะ (牛タンつくね) ราคา ๓๐๐ เยน



จากตรงนี้ไปยังจะเดินต่อไปเพื่อไปยังยอดเขาคุมาโนะซึ่งสูงที่สุดอยู่ ตอนแรกก็เกิดลังเลว่าควรจะเดินต่อไปหรือว่าจะย้อนกลับดี เพราะหมอกหนาแบบนี้อาจได้แต่เดินแบบไม่เห็นอะไรไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจเดินต่อ เพราะไหนๆก็มาแล้ว ให้กลับโดยที่ยังไม่ได้เห็นอะไรเลยออกจะน่าเสียดาย

จากนั้นเราจึงเดินต่อไปทางเหนือ ระหว่างทางก็เต็มไปด้วยหมอก




ตรงนี้มีทางแยกไปยังจุดขึ้นเก้าอี้ลอย ซาโอวคัตตะลิฟต์ (蔵王刈田ざおうかったリフト) เป็นอีกทางที่สามารถขึ้นมายังบนเขานี้ได้ เหมาะสำหรับคนที่เดินทางมาจากทางฝั่งจังหวัดยามางาตะ



แถวนี้นอกจากจะมีป้ายเตือนให้ระวังหมีแล้วก็ยังเตือนให้ระวังภูเขาไฟด้วย เพราะอยู่ใกล้ปากปล่องภูเขาไฟ



เดินฝ่าหมอกต่อไป



ในที่สุดก็เห็นจุดที่อยู่ใกล้โอกามะมากพอที่จะมองเห็นได้แม้ว่าหมอกจะหนาก็ตาม แม้จะเห็นไม่ชัดแต่ก็ยังดูตระการตา



ลองดูไปเรื่อยๆก็มีบางช่วงที่หมอกจางลงบ้าง



บางจังหวะก็เห็นแสงอาทิตย์ส่องผ่านลงมา



จากมุมนี้มองเห็นได้ชัดกว่าโดยไม่มีหน้าผาบัง



หลังจากนั้นเราก็ยังเดินฝ่าหมอกต่อไปเพื่อมุ่งสู่ยอดเขา




แม้จะมองไม่ค่อยเห็นอะไร แต่ก็ยังปีนขึ้นไปเรื่อยๆ




ระหว่างทางก็มีพวกป้ายบอกทางประปราย พอเห็นป้ายนี้เราจึงรู้ว่าตอนนี้ข้ามมาอยู่ในเขตของจังหวัดยามางาตะแล้ว



ในที่สุดก็มาถึงส่วนยอดเขาคุมาโนะดาเกะสูง ๑๘๔๐ เมตร ที่นี่มีศาลเจ้าซาโอวซัง (蔵王山神社ざおうさんじんじゃ) ตั้งอยู่ แต่กว่าจะมองเห็นก็ต้องเข้ามาใกล้พอสมควรเพราะหมอกหนามาก ตอนแรกเห็นแค่เพียงลางๆเท่านั้น



ตรงนี้มีแผ่นป้ายอยู่ แต่ทั้งหมอกหนาและตัวหนังสือเองก็เลือนรางมากจึงมองไม่ออกว่าเขียนอะไร



ในบริเวณศาลเจ้าถูกล้อมไปด้วยหิน



ภายในก็มีแค่ศาลา



แล้วก็อาคารที่ถูกสร้างอย่างแน่นหนาสำหรับใช้หลบภัย



เท่านี้ก็เท่ากับบรรลุเป้าหมาย เดินทางถึงปลายทางคือยอดเขาสูงสุดแล้ว แม้ว่าจากยอดเขาจะมองไม่เห็นอะไรเลยเพราะหมอกหนามากก็ตาม

จากนั้นก็ได้เวลาเดินย้อนกลับ ซึ่งระหว่างทางนั้นฟ้ากลับเริ่มจะสดใสขึ้นมา จนเริ่มมองเห็นทางข้างหน้ามากขึ้น



ในที่สุดเมื่อมองไปยังโอกามะก็ได้เห็นทิวทัศน์ที่สวยงามกว่าตอนขามา จากตรงนี้เราเลยได้เก็บภาพสวยๆมามากมายตลอดทางที่เดินผ่าน







ตรงนี้มีใครเอาหินมากองอยู่ ไม่รู้ว่าใช้ทำอะไร แต่ก็ดูสวยดี



เริ่มมองเห็นอาคารเรสต์เฮาส์แล้ว ถ้าหมอกยังหนาเหมือนตอนขามาก็คงไม่สามมารถเห็นได้จากระยะขนาดนี้




หลังจากนั้นเราก็ลองมาที่จุดชมทิวทัศน์ข้างเรสต์เฮาส์ซึ่งตอนแรกมาแล้วไม่เห็นอะไร แต่คราวนี้มาแล้วได้เห็นทิวทัศน์สวยงามอย่างที่ควรจะป็นในที่สุด ถ้าไม่มีหมอกบดบังเราจะเห็นโอกามะและทิวทัศน์โดยรอบได้สวยงามอย่างนี้เอง



จากตรงนี้เดินลงไปใกล้ได้อีกหน่อย




ภาพนี้น่าจะสวยงามที่สุดสำหรับเที่ยวนี้ ทิวทัศน์สวยงามที่ได้เห็นวันนี้คงจะตราตรึงใจไปอีกนาน



หลังจากนั้นก็เดินย้อนต่อมา ผ่านศาลเจ้าคัตตะมิเนะซึ่งเป็นส่วนยอดเขาคัตตะดาเก คราวนี้ได้เห็นบริเวณรอบศาลเจ้าชัดเจนสวยงาม



แล้วก็เดินลงเพื่อย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น





แล้วก็กลับมาจนถึงที่จอดรถ การปีนเขาวันนี้ก็เป็นอันจบลงเท่านี้

แต่หลังจากนั้นแล้วเรื่องเที่ยวก็ยังมีต่ออีกหน่อย โดยจะไปแวะย่านโทงัตตะอนเซงและฟาร์มนมแถวนั้น https://phyblas.hinaboshi.com/20230721




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> ยามางาตะ
-- ท่องเที่ยว >> ภูเขา
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า
-- ท่องเที่ยว >> ทะเลสาบ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文