ต่อจาก
บทที่ ๔๖บทนี้จะว่าด้วยเรื่องของการแสดงเวลา
ศัพท์ที่ใช้บอกระยะเวลาและจุดเวลาในภาษามองโกล การบอกจุดเวลามักจะใช้คำเดียวกันกับการบอกระยะเวลา ยกเว้นปีกับเดือนจะใช้ต่างกัน
อาจแบ่งได้ดังนี้
|
ระยะเวลา |
จุดเวลา |
ปี |
жил |
он |
เดือน |
сар |
วัน |
хоног |
өдөр |
ชั่วโมง |
цаг |
นาที |
минут |
วินาที |
секунд |
การบอกระยะเวลาตัวอย่างการบอกระยะเวลา
5 жил = 5 ปี |
хагас жил = ครึ่งปี |
4 сар = 4 เดือน |
38 хоног = 38 วัน |
24 цаг = 24 ชั่วโมง |
22 минут = 22 นาที |
6 секунд = 6 วินาที |
ถ้าเป็น 1 อาจจะละตัวเลข 1 ได้
жилийн дотор = ภายในหนึ่งปี |
сарын дараа = หนึ่งเดือนหลังจากนี้ |
цагийн өмнө = หนึ่งชั่วโมงก่อนหน้านี้ |
แต่ละหน่วยเวลาถ้าจะใช้ร่วมกันก็เอามาต่อกันได้เลย
2 жил 6 сар = 2 ปี 6 เดือน |
4 цаг 26 минут = 4 ชั่วโมง 26 นาที |
อาจใช้กับคำสรรพนามแสดงคำถาม เวลาจะถามระยะเวลา
хэдэн жил = กี่ปี |
хэдэн минут = กี่นาที |
กริยาที่ใช้กับระยะเวลาก็เช่น
ผ่านเวลาไป |
өнгөрөх |
เร็วไป |
түрүүлэх |
ช้าไป |
хоцрох |
เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้
Түүнээс хойш 20 жил өнгөрчээ. = ตั้งแต่นั้นผ่านมา 20 ปี |
Миний цаг 5 минут түрүүлж байна. หรือ Миний цаг 5 минутаар түрүүлж байна. = นาฬิกาของฉันเร็วไป 5 นาที |
การบอกวันที่การบอกว่าปีอะไรนั้นจะใช้ он ต่างจากระยะเวลาเป็นปีที่จะใช้ жил เช่น
1272 он = ปี 1272 |
2022 он = ปี 2022 |
ส่วนการบอกว่าเดือนอะไรนั้นใช้คำว่า сар เช่นเดียวกับการบอกว่ากี่เดือน อาจพูดในรูปการบอกลำดับ (
บทที่ ๔๖) เป็น เดือนที่...
เช่นเดือนมีนาคม = เดือน 3 = เดือนที่ 3 อาจใช้
ส่วนวันที่นั้นจะใช้คำว่า өдөр แต่ในส่วนของค่าตัวเลขจะเรียกต่างไปจากเวลานับจำนวนวันหรือตอนเป็นตัวเลขโดดธรรมดา
|
เลขโดด |
วันที่ |
1 |
нэг |
нэгний өдөр |
2 |
хоёр |
хоёрны өдөр |
3 |
гурав |
гуравны өдөр |
4 |
дөрөв |
дөрөвний өдөр |
5 |
тав |
тавны өдөр |
6 |
зургаа |
зургааны өдөр |
7 |
долоо |
долооны өдөр |
8 |
найм |
наймны өдөр |
9 |
ес |
есний өдөр |
10 |
арав |
аравны өдөр |
20 |
хорь |
хорины өдөр |
30 |
гуч |
гучны өдөр |
เช่น
долооны өдөр = 7-ний өдөр = วันที่ 7
хорин нэгний өдөр = 21-ний өдөр = วันที่ 21
หรืออาจจะเขียนเป็นรูปที่เติม н ต่อท้าย ซึ่งจะเหมือนรูปเขียนเวลาไปวางหน้าคำนามก็ได้ แต่ว่าเลข 1 และ 2 ก็เปลี่ยนไปด้วย
|
เรียกว่า |
เขียนย่อ |
วันที่ 1 |
нэгэн |
1-н |
วันที่ 2 |
хоёрон |
2-н |
วันที่ 3 |
гурван |
3-н |
วันที่ 4 |
дөрвөн |
4-н |
วันที่ 5 |
таван |
5-н |
วันที่ 6 |
зургаан |
6-н |
วันที่ 7 |
долоон |
7-н |
วันที่ 8 |
найман |
8-н |
วันที่ 9 |
есөн |
9-н |
วันที่ 10 |
арван |
10-н |
วันที่ 20 |
хорин |
20-н |
วันที่ 30 |
гучин |
30-н |
เมื่อจะบอกวันเดือนปีก็เขียนต่อกัน โดยเรียงจากปีแล้วตามด้วยเดือนแล้วก็วัน โดยที่ส่วนปีจะลงท้ายด้วย
оны และเดือนจะลงท้ายด้วย
сарын
1945 оны 8 сарын 9-н = วันที่ 9 สิงหาคม ปี 1945 |
1974 оны 5 сарын 2-ны өдөр = วันที่ 2 พฤษภาคม 1974 |
ส่วนการถามวันเดือนปีใช้คำดังนี้
хэдэн он = ปีอะไร |
хэддүгээр сар = хэдэн сар = เดือนอะไร |
хэдний өдөр = хэдэн = วันอะไร |
การบอกเวลาในนาฬิกา
การบอกเวลาเป็นชั่วโมง, นาที, วินาที ใช้
цаг,
минут,
секунд
20 цаг = 20:00 = 2 ทุ่ม |
31 минут = 31 นาที |
2 секунд = 2 วินาที |
การบอกเวลาก็เขียนต่อกันไปได้เลย
17 цаг 55 минут = 17:55 = 5 โมง 55 นาที |
แต่ว่านาทีอาจจะละได้
3 цаг 45 = 3:45 = ตี 3 45 |
เมื่อจะถามเวลา
хэдэн цаг = กี่โมง |
хэдэн минут = กี่นาที |
เวลาครึ่งชั่วโมงอาจใช้
хагас เช่น
10 цаг хагас = 10 โมงครึ่ง |
หรืออาจพูดแค่
กริยาที่บอกว่าเป็นเวลาเท่าไหร่แล้วอาจใช้
болно
10 цаг 40 минут боллоо. = 10 โมง 40 นาทีแล้ว |
одоо 2 хагас болж байна. = ตอนนี้ตี 2 ครึ่ง |
หากจะบอกว่าเวลาเลยไปหรือเร็วไปเท่าไหร่ก็อาจใช้คำว่า
өнгөрөх (ผันเป็น өнгөрч) หรือ
дутуу (= ไม่พอ) เช่น
1 цагаас 10 минут өнгөрч байна. = เลยตี 1 มา 10 นาทีแล้ว |
1 цагт 10 минут дутуу байна. = อีก 10 นาทีจะตี 1 |
อ่านต่อ
บทที่ ๔๘