φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ความน่าจะเป็นเบื้องต้นสำหรับเขียนโปรแกรม บทที่ ๗: การแจกแจงปัวซง
เขียนเมื่อ 2020/07/25 19:11
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:01

ต่อจาก บทที่ ๖

ในบทนี้จะยกตัวอย่างการแจกแจงอีกแบบที่พบได้บ่อย นั่นคือการแจกแจงปัวซง




โยนลูกเต๋า n ครั้ง จะออกหน้าหนึ่งกี่ครั้ง?

ลองคิดถึงสถานการณ์ที่มีการสุ่มความน่าจะเป็นสม่ำเสมอกันตลอด เช่นกรณีลูกเต๋าซึ่งมีโอกาสออก 6 หน้าเท่ากัน

งั้นถ้าหากเราทอยลูกเต๋า n ครั้ง จะออกหน้าไหนกี่ครั้ง? แน่นอนว่าโอกาสเท่ากันก็ควรจะได้หน้าละ n/6 เป็นธรรมดา

แต่ว่าในการลองจริงๆก็อย่างที่รู้กันว่าการสุ่มมีโอกาสได้จำนวนครั้งเท่าไหร่ก็ได้ โอกาสได้ n/6 ครั้งมีเยอะสุดก็จริง แต่ก็อาจได้จำนวนอื่น ซึ่งมีโอกาสน้อยกว่าลดหลั่นลงไป

หากพิจารณาการแจกแจงของจำนวนครั้งที่จะลูกเต๋าหน้าใดหน้าหนึ่ง การแจกแจงนั้นจะเป็น การแจกแจงปัวซง (泊松分布, Poisson distribution)

ก่อนอื่นเริ่มจากทดลองจริงๆดู สมมุติว่าทอยลูกเต๋าทั้งหมด 60 ลูกแล้วสนแค่ว่าทอยได้ 1 กี่ครั้ง ลองทำแบบนี้่ซ้ำกันสักหมื่นครั้ง ผลที่ได้จะเป็นเท่าไหร่กี่ครั้ง?

ลองเขียนโดยใช้ฟังก์ชัน Counter() ของมอดูล collections เป็นตัวนับดู
import random
from collections import Counter
kk = [] # ลิสต์เก็บจำนวนลูกเต๋าที่ทอยได้ 1 ในแต่ละครั้ง
for i in range(10000):
    k = 0
    # ทอยลูกเต๋า 60 ลูก
    for j in range(60):
        # สุ่มหน้าเต๋า
        natao = random.randint(1,6)
        # ถ้าได้ 1 ก็บวกเพิ่ม
        if(natao==1):
            k += 1
    kk += [k]

ได้
Counter({10: 1388, 9: 1303, 11: 1206, 8: 1170, 12: 1036, 7: 903, 13: 734, 6: 554, 14: 502, 5: 313, 15: 304, 16: 191, 4: 147, 17: 113, 3: 46, 18: 43, 19: 21, 20: 12, 2: 7, 21: 3, 1: 2, 22: 1, 23: 1})

จะเห็นว่าที่เจอเยอะที่สุดก็คือแถวๆ 10 ลูก ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาด ถ้าให้ทายว่าลูกเต๋า 60 ลูกจะออกแต้ม 1 สักกี่หน้าก็ย่อมต้องเป็น 10 โอกาสเป็นไปได้มากสุดอยู่แล้ว

นำมาวาดแผนภูมิแท่งแสดงการแจกแจงจะได้แบบนี้



ผลที่ได้ในลักษณะนี้นี่คือการแจกแจงปัวซง




ที่มาของการแจกแจงปัวซง

ต่อมาลองพยายามหาดูว่าการแจกแจงแบบนี้จะอธิบายเป็นสมการได้อย่างไร

ที่จริงแล้วการแจกแจงปังซงก็คือการแจกแจงทวินามในกรณีที่ทำซ้ำเป็นอนันต์ครั้งนั่นเอง

การแจกแจงทวินามคือการแจกแจงของความน่าจะเป็นที่จะทำสำเร็จ k ครั้งจากการทดลองที่มีความน่าจะเป็น p ทั้งหมด n ครั้ง ซึ่งจะได้การแจกแจงความน่าจะเป็นเป็นดังนี้

...(8.1)

ค่าคาดหมายของการแจกแจงทวินามคือผลคูณระหว่างจำนวนครั้งที่ลองกับความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จ


เมื่อคิดถึงเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกันทั้งหมดจำนวนเยอะมาก n→∞ ความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์ก็จะเป็นค่าเล็กมากเข้าใกล้ 0 ด้วย p→0

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ค่าคาดหมาย E(k) ซึ่งเป็นผลคูณระหว่าง n กับ p จะสามารถเป็นจำนวนที่มีค่าคงตัวได้ ซึ่งจะเป็นค่าที่บอกถึงความถี่ของการที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สำเร็จนั้นขึ้น

แทนค่าคาดหมายนี้ด้วย λ จะได้ว่า

จากนั้นแทนค่า p ในสมการ (8.1) จะได้ว่า


ตรงนี้ถ้าหาก n เป็นจำนวนที่มากเข้าใกล้อนันต์จะได้ว่า


ดังนั้น


และจากนิยามของค่า e


จะได้ว่า


และเมื่อ n เป็นจำนวนมากๆ (n-k)/n ก็จะเข้าใกล้ 1 ดังนั้นจึงได้ว่า


และนี่ก็คือรูปทั่วไปของการแจกแจงปัวซง แสดงความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ที่มีค่าความคาดหมายเป็น λ จะเกิดขึ้นสำเร็จ k ครั้ง

เช่นในกรณีทอยลูกเต๋าถ้าโยน 6 ครั้งจะมีโอกาสได้แต่ละหน้าเท่ากันเป็น 1/6 ดังนั้นหากลองคิดกรณีที่โยน 60 ครั้งแล้ว λ=10

เขียนโปรแกรมให้คำนวณตามสมการนี้แสดงการแจกแจงในกรณีของลูกเต๋าได้ดังนี้
import math
λ = 10 # ค่าคาดหมายของเหตุการณ์
pk = [] # ลิสต์เก็บความน่าจะเป็นที่จะได้ k รอบ
for k in range(30+1):
    pk += [(λ**k)*math.exp(-λ)/math.factorial(k)]
print(pk)

ได้
[4.5399929762484854e-05, 0.00045399929762484856, 0.0022699964881242427, 0.007566654960414142, 0.018916637401035354, 0.03783327480207071, 0.06305545800345118, 0.09007922571921599, 0.11259903214901998, 0.1251100357211333, 0.1251100357211333, 0.11373639611012118, 0.09478033009176766, 0.07290794622443666, 0.05207710444602619, 0.03471806963068413, 0.021698793519177577, 0.012763996187751515, 0.007091108993195286, 0.0037321626279975192, 0.0018660813139987594, 0.0008886101495232189, 0.00040391370432873584, 0.00017561465405597208, 7.317277252332172e-05, 2.9269109009328688e-05, 1.125734961897257e-05, 4.169388747767619e-06, 1.4890674099170067e-06, 5.134715206610368e-07, 1.7115717355367894e-07]

ซึ่งวาดเป็นกราฟได้แบบนี้



ลักษณะการแจกแจงเป็นไปตามการทดลองสุ่มจริงในตัวอย่างที่แล้ว

หากลองวาดกราฟแสดงการแจกแจงที่ค่า λ ต่างกันตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 30 จะได้






ความแปรปรวนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการแจกแจงปัวซง

การแจกแจงปัวซงนั้นนอกจากค่าคาดหมายจะเป็น λ แล้ว ความแปรปรวนก็เท่ากับ λ ด้วย


วิธีพิสูจน์





ตัวอย่างเพิ่มเติม

ตัวอย่างประโยชน์ของการทำความเข้าใจการแจกแจงปัวซงอย่างหนึ่งที่เจอบ่อยก็คือ เช่นวิเคราะห์จำนวนคนเข้าสถานที่ในช่วงเวลาหนึ่ง

สมมุติเหตุการณ์ว่ามีโรงละครแห่งหนึ่งขายตั๋วการแสดงได้ทั้งหมด 450 ใบ ดังนั้นจึงคาดได้ว่าจะมีคนมาดูทั้งหมด 450 คน แต่การแสดงจัดทั้งหมด 9 รอบ แล้วตั๋วที่ซื้ออาจจะใช้เพื่อเข้าดูรอบไหนก็ได้ ดังนั้นบางรอบอาจมีคนเยอะหรือคนน้อยก็ได้ งั้นในกรณีแบบนี้ควรจะเตรียมที่นั่งไว้สักกี่ที่เพื่อจะให้เพียงพอสำหรับแต่ละรอบ

สำหรับกรณีนี้แน่นอนว่าจำนวนคนในเฉลี่ยแต่ละรอบคือ 50 แต่ก็ต้องมีบางรอบที่คนเข้ามามากหรือน้อยกว่านั้น ถ้าเตรียมไว้แค่ 50 ที่ย่อมจะไม่พอ

ถ้าคิดว่าโอกาสที่คนจะเข้ามาดูแต่ละรอบนั้นมากพอๆกันแล้ว การแจกแจงความน่าจะเป็นของจำนวนคนเข้าชมในแต่ละรอบก็จะเป็นการแจกแจงปัวซง

โดย λ เป็นค่าคาดหมาย (หรือก็คือจำนวนโดยเฉลี่ย) ที่น่าจะในแต่ละรอบ กรณีนี้ λ = 450/9 = 50


ลองวาดกราฟแสดงค่าฟังก์ชันการแจกแจงปัวซงดูก็จะออกมาในลักษณะนี้



ซึ่งจากกราฟจะพอเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ 50 แต่พอสูงถึง 70 ก็เริ่มแทบจะเป็นไปไม่ได้แล้ว

ผลรวมของความน่าจะเป็นในแต่ละค่า k ตั้งแต่ 0 ไปจนถึง k จะแสดงถึงค่าความน่าจะเป็นที่จะมีจำนวนคนไม่เกิน k ดังนั้น

อาจลองเขียนโปรแกรมคำนวณฟังก์ชันการแจกแจงปัวซงแล้วใช้เพื่อคำนวณความน่าจะเป็นสะสมของค่าในช่วง 70-80 ดูได้ดังนี้
import math
λ = 50 # ค่าคาดหมายของเหตุการณ์
pk = [] # ลิสต์เก็บความน่าจะเป็นที่จะได้ k รอบ
for k in range(100+1):
    pk += [(λ**k)*math.exp(-λ)/math.factorial(k)]

for k in range(70,80+1):
    print('ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน %d ='%k,1-sum(pk[:k+1]))

ได้
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 70 = 0.0029707355180791373
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 71 = 0.0020102676766792227
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 72 = 0.0013432761201515042
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 73 = 0.000886432588283248
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 74 = 0.0005777545262101169
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 75 = 0.0003719691514946222
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 76 = 0.00023658403655024696
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 77 = 0.0001486716242486974
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 78 = 9.231751379901176e-05
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 79 = 5.6650355286569365e-05
ความน่าจะเป็นที่คนจะเกิน 80 = 3.4358381216237355e-05

จากผลการคำนวณก็จะเห็นได้ว่าโอกาสที่คนจะเกิน 70 คนมีแค่ 0.3% เท่านั้น ดังนั้นเตรียมแค่ 70 ที่ก็อาจจะพอ แต่ถ้าต้องการให้แน่นอนกว่านี้อาจเตรียมมากกว่านี้เพื่อให้ความน่าจะเป็นที่จะคนเกินมาลดลง ต้องการความมั่นใจแค่ไหนก็ดูจากผลที่คำนวณนี้ได้

คราวนี้ลองเขียนโปรแกรมเพื่อจำลองสถานการณ์โดยสุ่มดูสักหมื่นครั้ง
import random
from collections import Counter
kk = []
for i in range(10000):
    k = 0
    # ลูกค้า 900
    for j in range(450):
        # สุ่มว่าจะเข้าชมการแสดงรอบไหน
        h = random.randint(1,9)
        # ถ้าได้ 1 ก็บวกเพิ่ม
        if(h==1):
            k += 1
    kk += [k]
    
print(Counter(kk))

ได้
Counter({49: 616, 48: 606, 50: 596, 51: 593, 52: 577, 53: 543, 47: 522, 46: 487, 55: 472, 54: 468, 45: 453, 44: 426, 43: 373, 56: 359, 57: 346, 42: 318, 58: 270, 59: 239, 41: 216, 60: 197, 40: 189, 39: 157, 61: 152, 38: 112, 62: 110, 63: 98, 37: 85, 64: 75, 36: 66, 65: 57, 35: 40, 66: 35, 67: 27, 34: 27, 33: 15, 68: 14, 70: 13, 32: 13, 69: 10, 71: 8, 72: 6, 73: 2, 29: 2, 30: 2, 80: 2, 31: 2, 75: 2, 26: 1, 74: 1})

ผลการแจกแจงออกมาในลักษณะใกล้เคียงกับกราฟที่ได้จากการคำนวณ





บทถัดไป >> บทที่ ๘



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คณิตศาสตร์ >> ความน่าจะเป็น
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文