φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



การใช้ collections.Counter ใน python
เขียนเมื่อ 2020/04/13 22:04
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 10:35



มอดูล collections ของไพธอนประกอบไปด้วยออบเจ็กต์จิปาถะที่อาจสะดวกที่จะใช้ในงานบางอย่าง เช่น collections.OrderedDict ที่ได้เขียนไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20190706

ในบทความนี้จะแนะนำออบเจ็กต์อีกตัวที่อาจมีโอกาสได้ใช้บ่อย คือ collections.Counter



Counter เป็นออบเจ็กต์ที่ใช้งานสะดวกในเวลาที่เราต้องการจะนับจำนวนของอะไรบางอย่างว่ามีอะไรอยู่เท่าไหร่

เช่นมีลิสต์ที่มีตัวเลขอยู่จำนวนหนึ่ง ต้องการจะนับดูว่ามีตัวเลขอะไรอยู่เท่าไหร่ ถ้าใช้ดิกชันนารีทั่วไปอาจเขียนได้แบบนี้
lislek = [12,10,11,12,14,11,11,13,11,10,13,12]
naplek = {}
for lek in lislek:
    if(lek in naplek):
        naplek[lek] += 1
    else:
        naplek[lek] = 1

print(naplek) # ได้ {12: 3, 10: 2, 11: 4, 14: 1, 13: 2}

แต่ถ้าใช้ Counter ก็จะทำได้โดยง่าย โดยแค่ใส่ลิสต์นั้นลงไปก็จะทำการนับให้เลย
from collections import Counter

lislek = [22,20,21,22,24,21,21,23,21,20,23,22]
naplek = Counter(lislek)
print(naplek) # ได้ Counter({21: 4, 22: 3, 20: 2, 23: 2, 24: 1})

ผลที่ได้จะได้เป็นออบเจ็กต์ Counter ที่เรียงลำดับตามจำนวนจากมากไปน้อยให้เลย

ออบเจ็กต์ Counter นี้โดยพื้นฐานแล้วมีส่วนคล้ายกับออบเจ็กต์ชนิดดิกชันนารี คือสามารถดูค่าได้โดยใส่คีย์ เพียงแต่ถ้าใส่คีย์ที่ไม่มีจะได้ค่า 0 และมีเมธอด .values() .keys() .items() และสามารถแปลงเป็นดิกชันนารีได้โดยง่าย
print(naplek[22]) # ได้ 3
print(naplek[26]) # ได้ 0
print(naplek.keys()) # ได้ dict_keys([22, 20, 21, 24, 23])
print(naplek.values()) # ได้ dict_values([3, 2, 4, 1, 2])
print(naplek.items()) # ได้ dict_items([(22, 3), (20, 2), (21, 4), (24, 1), (23, 2)])
print(dict(naplek)) # ได้ {22: 3, 20: 2, 21: 4, 24: 1, 23: 2}

ตั้งแต่ไพธอน 3.6 เป็นต้นไปดิกชันนารีจะเรียงอย่างมีลำดับ ดังนั้น Counter เมื่อแปลงเป็นดิกชันนารีแล้วลำดับในที่นี้จะเรียงตามลำดับก่อนหลังที่เริ่มเจอตัวแรก เหมือนอย่างในตัวอย่างแรกที่วนไล่ด้วย for สร้างดิกชันนารีขึ้นมาเอง

Counter นอกจากจะใช้กับลิสต์แล้วก็ยังใช้กับสายอักขระได้ด้วย โดยถ้าป้อนสายอักขระลงไปมันก็จะช่วยนับจำนวนให้ว่ามีอักษรตัวไหนอยู่กี่ตัว
napakson = Counter('จอดรถตรงตรอกยอมทนอดนอนอดกรนรอยลภมรดมดอกหอมบนขอนตรงคลองมอญ')
print(napakson) # ได้ Counter({'อ': 12, 'ร': 7, 'น': 6, 'ด': 5, 'ม': 5, 'ต': 3, 'ง': 3, 'ก': 3, 'ย': 2, 'ล': 2, 'จ': 1, 'ถ': 1, 'ท': 1, 'ภ': 1, 'ห': 1, 'บ': 1, 'ข': 1, 'ค': 1, 'ญ': 1})

Counter ที่สร้างมาแล้วสามารถเพิ่มข้อมูลลงไปได้ เช่นโดยใช้ +=

เช่นอาจลองสร้าง Counter ว่างเปล่าแล้วค่อยๆใส่สมาชิกเพิ่มเข้าไป โดยไล่นับเพิ่มไปเรื่อยๆเช่น
lislek = [2,1,4,5,2,6,2,6,3,2,4,1,2,2,3,2,1,4,2,4]
naplek = Counter()
for lek in lislek:
    naplek[lek] += 1

print(naplek)

หรืออาจใช้เมธอด .update() เพื่อทำการเพิ่มข้อมูลใส่เข้าไปเรื่อยๆเช่น
napakson = Counter()
napakson.update('กนกพล')
print(napakson) # ได้ Counter({'ก': 2, 'น': 1, 'พ': 1, 'ล': 1})
napakson.update('คนตลก')
print(napakson) # ได้ Counter({'ก': 3, 'น': 2, 'ล': 2, 'พ': 1, 'ค': 1, 'ต': 1})
napakson.update('ตกคลอง')
print(napakson) # ได้ Counter({'ก': 4, 'ล': 3, 'น': 2, 'ค': 2, 'ต': 2, 'พ': 1, 'อ': 1, 'ง': 1})

นอกจากนี้ยังสามารถสร้างโดยแทนเลขจำนวนข้อมูลเข้าไป เช่นเดียวกับเวลาสร้างดิกชันนารีก็ได้
nap = Counter(a=7,b=2)
print(nap) # ได้ Counter({'a': 7, 'b': 2})

หรือจะสร้างโดยแปลงจากดิกชันนารีก็ได้
dic = {11: 2, 13: 4}
nap = Counter(dic)
print(nap) # ได้ Counter({13: 4, 11: 2})

กรณีที่สร้างด้วยวิธีนี้ ค่าอาจจะไม่ใช่ตัวเลขก็ได้ ไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดอะไร แต่ถ้าตัวที่ไม่ใช่ตัวเลขถูกใส่ข้อมูลเพิ่มเช่นใช้เมธอด .update() ในสภาพแบบนั้นก็จะเกิดข้อผิดพลาด
nap = Counter({"ก": "ข", "ค": "ง"})
print(nap) # ได้ Counter({'ค': 'ง', 'ก': 'ข'})
nap.update("ก") # ได้ TypeError: can only concatenate str (not "int") to str

ถ้าใช้เมธอด .most_common() จะได้ลิสต์ของแต่ละคู่โดยเรียงจากมากไปน้อยตามจำนวนลำดับที่กำหนด แต่ถ้าไม่ได้ใส่เลขลำดับจะแสดงทั้งหมด
nap = Counter('สมพรสวดวนจนอรชรสองคนฉงนฉงวยงวยงงคอตกยอมนอนลงบนบก')
print(nap.most_common(3)) # ได้ [('น', 7), ('ง', 7), ('อ', 5)]
print(nap.most_common()) # ได้ [('น', 7), ('ง', 7), ('อ', 5), ('ว', 4), ('ส', 3), ('ร', 3), ('ย', 3), ('ม', 2), ('ค', 2), ('ฉ', 2), ('ก', 2), ('บ', 2), ('พ', 1), ('ด', 1), ('จ', 1), ('ช', 1), ('ต', 1), ('ล', 1)]

ถ้าใช้เมธอด .elements() จะได้อิเทอเรเตอร์ที่ไล่สมาชิกที่มีในนั้นทีละตัว
nap = Counter('ดวงกมลชงนมผงรอชมภมรบนดอน')
print(nap) # ได้ Counter({'ม': 4, 'ง': 3, 'น': 3, 'ด': 2, 'ช': 2, 'ร': 2, 'อ': 2, 'ว': 1, 'ก': 1, 'ล': 1, 'ผ': 1, 'ภ': 1, 'บ': 1})
el = nap.elements()
print(el) # ได้ <itertools.chain object at 0x10bbfae50>
print(list(el)) # ได้ ['ด', 'ด', 'ว', 'ง', 'ง', 'ง', 'ก', 'ม', 'ม', 'ม', 'ม', 'ล', 'ช', 'ช', 'น', 'น', 'น', 'ผ', 'ร', 'ร', 'อ', 'อ', 'ภ', 'บ']

กรณีที่สร้างโดยกำหนดจำนวนเข้าไปโดยตรงก็จะออกมาเรียงตามลำดับที่ใส่โดยตัวเดียวกันอยู่ติดกัน
nap = Counter(na=3,ka=4,ma=2)
print(list(nap.elements())) # ได้ ['na', 'na', 'na', 'ka', 'ka', 'ka', 'ka', 'ma', 'ma']

Counter สามารถนำมาบวกลบกันได้ โดยการบวกจะเป็นการเอาสมาชิกที่มีมารวมกัน
a = Counter('ปลวกจกหนอนลงคอ')
b = Counter('คงลอยคอลอยวน')
print(a) # ได้ Counter({'ล': 2, 'ก': 2, 'น': 2, 'อ': 2, 'ป': 1, 'ว': 1, 'จ': 1, 'ห': 1, 'ง': 1, 'ค': 1})
print(b) # ได้ Counter({'อ': 3, 'ค': 2, 'ล': 2, 'ย': 2, 'ง': 1, 'ว': 1, 'น': 1})
print(a+b) # ได้ Counter({'อ': 5, 'ล': 4, 'น': 3, 'ค': 3, 'ว': 2, 'ก': 2, 'ง': 2, 'ย': 2, 'ป': 1, 'จ': 1, 'ห': 1})

ส่วนการลบจะเอามาหักลบกัน เพียงแต่ถ้าติดลบหรือเป็น 0 จะหายไปเลย ไม่แสดง
a = Counter('พลพรรคครบสองคน')
b = Counter('ลงคอรอครอบครอง')
print(a) # ได้ Counter({'ร': 3, 'ค': 3, 'พ': 2, 'ล': 1, 'บ': 1, 'ส': 1, 'อ': 1, 'ง': 1, 'น': 1})
print(b) # ได้ Counter({'อ': 4, 'ค': 3, 'ร': 3, 'ง': 2, 'ล': 1, 'บ': 1})
print(a-b) # ได้ Counter({'พ': 2, 'ส': 1, 'น': 1})
print(b-a) # ได้ Counter({'อ': 3, 'ง': 1})

นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติแปลกๆเช่นถ้ามีจำนวนทั้งบวกและลบอยู่ในนี้ หากเจอเครื่องหมายบวกจะกำจัดตัวที่เป็นลบ หากเจอเครื่องหมายลบจะเหลือแต่ตัวที่เป็นลบ และค่าจะกลายเป็นบวก
nap = Counter(ha=3,na=-2,ya=-4)
print(+nap) # ได้ Counter({'ha': 3})
print(-nap) # ได้ Counter({'ya': 4, 'na': 2})

สามารถใช้ตัวดำเนินการ & และ | ซึ่งจะให้ผลคล้ายกับการอินเตอร์เซ็กและยูเนียนกันของเซ็ต
a = Counter('สองสมรยอมลงคลองลอยคอ')
b = Counter('รอชวนภมรดมดอมดอกขจร')
print(a) # ได้ Counter({'อ': 5, 'ง': 3, 'ล': 3, 'ส': 2, 'ม': 2, 'ย': 2, 'ค': 2, 'ร': 1})
print(b) # ได้ Counter({'ร': 3, 'อ': 3, 'ม': 3, 'ด': 3, 'ช': 1, 'ว': 1, 'น': 1, 'ภ': 1, 'ก': 1, 'ข': 1, 'จ': 1})
print(a|b) # ได้ Counter({'อ': 5, 'ง': 3, 'ม': 3, 'ร': 3, 'ล': 3, 'ด': 3, 'ส': 2, 'ย': 2, 'ค': 2, 'ช': 1, 'ว': 1, 'น': 1, 'ภ': 1, 'ก': 1, 'ข': 1, 'จ': 1})
print(b&a) # ได้ Counter({'อ': 3, 'ม': 2, 'ร': 1})

เมธอด .subtract() จะให้ผลคล้ายกับการเอามาลบกัน แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลง Counter ตัวทางซ้าย (ตัวที่ใช้เมธอด) แทนที่จะคืนค่า และจำนวนที่เป็น 0 และติดลบจะยังคงเหลืออยู่
a = Counter('ฝนตกตลอด')
b = Counter('ตกตรงตรอก')
print(a) # ได้ Counter({'ต': 2, 'ฝ': 1, 'น': 1, 'ก': 1, 'ล': 1, 'อ': 1, 'ด': 1})
print(b) # ได้ Counter({'ต': 3, 'ก': 2, 'ร': 2, 'ง': 1, 'อ': 1})
a.subtract(b)
print(a) # ได้ Counter({'ฝ': 1, 'น': 1, 'ล': 1, 'ด': 1, 'อ': 0, 'ต': -1, 'ก': -1, 'ง': -1, 'ร': -2})
a.subtract(b)
print(a) # ได้ Counter({'ฝ': 1, 'น': 1, 'ล': 1, 'ด': 1, 'อ': -1, 'ง': -2, 'ก': -3, 'ต': -4, 'ร': -4})



สุดท้ายขอยกตัวอย่างการนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่นนับจำนวนเฉพาะที่เป็นองค์ประกอบในตัวเลข
def yaek(n):
    nap = Counter()
    i = 2
    while(i*2<=n):
        if(n%i==0):
            nap[i] += 1
            n = n//i
        elif(i==2):
            i += 1
        else:
            i += 2
    if(n!=1):
        nap[n] += 1
    return nap

print(yaek(104)) # ได้ Counter({2: 3, 13: 1})
print(yaek(150)) # ได้ Counter({5: 2, 2: 1, 3: 1})
print(yaek(508)) # ได้ Counter({2: 2, 127: 1})
print(yaek(4500)) # ได้ Counter({5: 3, 2: 2, 3: 2})
print(yaek(16129)) # ได้ Counter({127: 2})
print(yaek(19600)) # ได้ Counter({2: 4, 5: 2, 7: 2})
print(yaek(51000)) # ได้ Counter({2: 3, 5: 3, 3: 1, 17: 1})




อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文