φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



maya python เบื้องต้น บทที่ ๑๘: การรวมกลุ่ม
เขียนเมื่อ 2016/03/11 01:09
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทที่ผ่านๆมาเราจัดการวัตถุทีละชิ้นแบบไม่ค่อยได้เอามายุ่งเกี่ยวกันสัก เท่าไหร่ แต่ในการใช้งานจริงเรามักจะต้องนำวัตถุหลายๆชิ้นที่สร้างขึ้นมาแล้วนั้นมา ประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการ

การรวมวัตถุหลาย ชิ้นเข้าด้วยกันนั้นอาจทำได้หลายวิธีด้วยกัน วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการนำวัตถุมาจับกลุ่มกันแบบหลวมๆ โดยใช้ฟังก์ชัน group()

วิธีการใช้ฟังก์ชันนี้คือใส่ชื่อของวัตถุที่ต้องการรวมกลุ่มทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน แล้วตั้งชื่อกลุ่มโดยใช้แฟล็ก n (name)

ขอยกตัวอย่างด้วยการสร้างปูเสฉวนมาสักตัว
mc.polyCone(r=5,h=12,n='kradong') # ส่วนกระดอง
mc.rotate(-15,0,0)
mc.move(0,6,-2)
mc.polySphere(r=5,n='lamtua') # ส่วนลำตัว
mc.scale(1,0.3,1)
mc.polySphere(r=0.8,n='tasai') # ส่วนตาซ้าย
mc.move(2,0,4)
mc.polySphere(r=0.8,n='takhwa') # ส่วนตาขวา
mc.move(-2,0,4)
for r in [0,10,20,30,150,160,170,180]:
    mc.polySphere(r=0.7,n='kha1') # ส่วนขาทั้งหมด ๘ ข้าง
    mc.scale(3,1,1)
    mc.move(6,0,0)
    mc.rotate(0,-r,0,p=[0,0,0])



สร้างออกมาแล้ว รูปร่างอาจไม่ค่อยเหมือนเท่าไหร่ เอาเป็นว่าไม่ใช่ปูเสฉวนแต่เป็นจานบินรูปปูเสฉวนก็แล้วกัน

ตอนนี้จะเห็นว่าชิ้นส่วนของตัวจานบินมีทั้งหมด ๑๒ ชิ้น แต่ละส่วนนั้นแยกกันต่างหากไม่ขึ้นต่อกัน ในสภาพนี้หากลองลากคลุมเลือกวัตถุทั้งหมดพร้อมกันแล้วใช้ฟังก์ชันrotate() เพื่อหมุน หรือใช้ scale() เพื่อย่อขยายขนาดก็จะพบว่าแต่ละชิ้นแยกกันเปลี่ยนรูป เช่นลอง
mc.scale(0.3,0.3,0.3,'kradong','lamtua','tasai','takhwa',['kha%d'%i for i in range(1,9)],r=1)

จะเห็นว่าผลก็คือเสียรูปไปเลย ไม่ใช่ปูเสฉวนอีกต่อไป



ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถทำให้วัตถุทั้งหมดเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน เปลี่ยนแปลงไปด้วยกันตลอด จะต้องทำการรวมกลุ่ม โดยใช้ฟังก์ชัน group()
mc.group('kradong','lamtua','tasai','takhwa',['kha%d'%i for i in range(1,9)],n='pusechuan')

แบบนี้ทั้งหมดก็จะถูกรวมอยู่ในกล่มที่ชื่อว่า pusechuan ถ้าเปิด outliner ดูก็จะเห็นว่าส่วนประกอบทั้งหมด ๑๒ ส่วนซ่อนอยู่ภายในโหนด pusechuan

หรือถ้าไม่อยากต้องมาใส่ชื่อทั้งหมดลงไปในฟังก์ชัน อาจลองลบทั้งหมดใหม่แล้วพิมพ์สร้างโดยเก็บค่าชื่อของแต่ละส่วนทั้งหมดไว้ใน ตัวแปรหนึ่ง แบบนี้
g = [] # สร้างลิสต์เก็บชื่อชิ้นส่วน
g += mc.polyCone(r=5,h=12,ch=0,n='kradong') # สร้างกระดองพร้อมเก็บชื่อเข้าลิสต์
mc.rotate(-15,0,0)
mc.move(0,6,-2)
g += mc.polySphere(r=5,ch=0,n='lamtua')
mc.scale(1,0.3,1)
g += mc.polySphere(r=0.8,ch=0,n='tasai')
mc.move(2,0,4)
g += mc.polySphere(r=0.8,ch=0,n='takhwa')
mc.move(-2,0,4)
for r in [0,10,20,30,150,160,170,180]:
    g += mc.polySphere(r=0.7,ch=0,n='kha1')
    mc.scale(3,1,1)
    mc.move(6,0,0)
    mc.rotate(0,-r,0,p=[0,0,0])
mc.group(g,n='pusechuan')

ในที่นี้ใช้ลิสต์ g เพื่อเก็บรวบรวมชื่อของส่วนประกอบแต่ละส่วนไปเรื่อยๆ โดยใช้แฟล็ก ch เพื่อลบประวัติศาสตร์ไม่ให้คืนค่าโหนดที่เก็บรูปทรงจะได้เหลือแค่โหนดหลัก (รายละเอียดดูบทที่ ๘)

จากนั้นบรรทัดสุดท้ายใช้ group() โดยใส่ลิสต์ g เป็นอาร์กิวเมนต์ เท่ากับเป็นการเอาวัตถุทั้งหมดที่มีชื่อใน g มารวมเป็นกลุ่มเดียวกัน

คราวนี้ลองจับมันมาย่อส่วน เลื่อนตำแหน่ง แล้วก็หมุน
mc.scale(0.3,0.3,0.3,'pusechuan')
mc.move(10,10,20,'pusechuan')
mc.rotate(-25,10,0,'pusechuan')



ก็จะพบว่าปูถูกย่อขนาดลงทั้งตัวและเปลี่ยนตำแหน่งและหมุน รูปร่างไม่เปลี่ยนจากเดิม หรือจะจับมันไปหมุนหรือทำอะไรก็ได้ ตราบใดที่เลือกที่ตัวกลุ่ม มันก็จะเกาะกลุ่มกันไปตลอด

ถ้าลองไปดูที่ค่าองค์ประกอบต่างๆของแต่ละส่วนของปูเสฉวนก็จะเห็นว่ามันไม่ได้ถูกเปลี่ยนไป เลย นั่นเพราะค่าทุกอย่างถูกปรับที่ตัวกลุ่ม ดังนั้นจะเห็นว่าค่าต่างๆของตัววัตถุจะขึ้นกับค่าที่เก็บในโหนดของตัววัตถุ เอง กับที่เก็บในโหนดของกลุ่ม



ตรงจุดนี้มีเรื่องน่าคิดอยู่อย่างว่า ถ้าหากทำการแยกกลุ่มออกไปจะเกิดอะไรขึ้น ว่าแล้วก็ลองทำการแยกกลุ่มดู ทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน ungroup()

ลอง
mc.ungroup('pusechuan')

พอทำแบบนี้แล้วไปดูที่แต่ละชิ้นส่วนของตัวปูเสฉวนก็จะเห็นว่าค่าองค์ประกอบ ต่างๆถูกเปลี่ยนแปลงไป โดยที่สัมพันธ์กับค่าที่ถูกปรับที่ตัวกลุ่มไป



นั่นหมายความว่าพอแยกกลุ่มแล้ว ค่าที่เคยปรับที่ตัวกลุ่มจะถูกแปลงกลายเป็นค่าของตัววัตถุแต่ละตัวโดยตรง

แต่ว่าหากตอนที่ทำการแยกกลุ่มได้เพิ่มแฟล็กลงไปอีกตัวหนึ่งในฟังก์ชันนี้ คือ r (relative)

ลองกดย้อนกลับไปที่ช่วงก่อนทำการแยกกลุ่มแล้วทำการแยกใหม่โดยพิมพ์
mc.ungroup('pusechuan',r=1)

แบบนี้จะพบว่าชิ้นส่วนทั้งหมดกลับมาอยู่ในสภาวะก่อนที่จะรวมกลุ่ม ค่าองค์ประกอบต่างๆในแต่ละชิ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มหายไป ดังนั้นจึงกลับมาอยู่สภาวะเดิม



วัตถุที่ถูกตั้งกลุ่มไว้แล้ว หากมีหลายกลุ่มก็ยังสามารถนำมารวมเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นไปอีกได้ แบบนี้แล้วก็จะเกิดเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยซ้อนกัน

เช่น เราอาจสร้างปูเสฉวนแบบนี้ออกมาหลายตัวแล้วเอาหลายตัวนี้มาตั้งเป็นกลุ่มปูเสฉวนขึ้นมา

ขอยกตัวอย่างด้วยการลองสร้างกองทัพยานปูเสฉวนขึ้นมา ในกองหนึ่งมี ๕ ตัว แต่ละตัวประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆของตัวเอง

ถ้าตั้งชื่อเป็น pusechuan1, pusechuan2 แบบนี้ก็น่าเบื่อแย่ ดังนั้นขอตั้งชื่อให้แต่ละตัวโดยใช้ชื่อของหน่วยรบพิเศษกีนิว ตัวละครจากการ์ตูนเรื่องดรากอนบอล

หน่วยรบพิเศษกีนิวมีสมาชิก ๕ คน แต่ละคนมีขนาดร่างกายใหญ่ไม่เท่ากัน สมาชิกทั้งหมดมีชื่อดังนี้
['ginyuu','rikuumu','baata','jiisu','gurudo']

ลองสร้างกองทัพยานปูขึ้นมาโดยใช้แต่ละตัวมีขนาดไม่เท่ากัน ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่างกัน นอกจากนี้ทำให้มีการเคลื่อนไหวด้วย โดยแต่ละตัวมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมกัน พร้อมกันนั้นก็เคลื่อนที่ขึ้นลงไปด้วยโดยมีความเร็วต่างๆกัน ตัวเล็กเคลื่อนที่ไวกว่า

สร้างลิสต์ของลิสต์ที่บรรจุตัวแปร ๕ ตัว [ชื่อ, ขนาด, ตำแหน่งในแกน x, ตำแหน่งในแกน z, ความเร็วในการเคลื่อนที่]
import math
# กำหนดค่าต่างๆของแต่ละตัว
ginyuu = [['ginyuu',1,0,0,1.5],['rikuumu',1.25,18,-8,2],['baata',1.5,-18,-8,2.5],['jiisu',0.75,-10,14,1],['gurudo',0.5,10,14,0.5]]
# เริ่มวนซ้ำเพื่อสร้างปูแต่ละตัว
for pu in ginyuu:
    g = [] # เตรียมลิสต์สำหรับเก็บชื่อชิ้นส่วนตัวปู
    g += mc.polyCone(r=5,h=12,ch=0,n='kradong')
    mc.rotate(-15,0,0)
    mc.move(0,6,-2)
    g += mc.polySphere(r=5,ch=0,n='lamtua')
    mc.scale(1,0.3,1)
    g += mc.polySphere(r=0.8,ch=0,n='tasai')
    mc.move(2,0,4)
    g += mc.polySphere(r=0.8,ch=0,n='takhwa')
    mc.move(-2,0,4)
    for r in [0,10,20,30,150,160,170,180]:
        g += mc.polySphere(r=0.7,ch=0,n='kha1')
        mc.scale(3,1,1)
        mc.move(6,0,0)
        mc.rotate(0,-r,0,p=[0,0,0])
    mc.group(g,n=pu[0]) # นำชิ้นส่วนทั้งหมดมารวมกลุ่ม
    mc.scale(pu[1],pu[1],pu[1],p=[0,0,0]) # ขยายหรือย่อขนาดตามมาตราส่วนของแต่ละตัว
    mc.move(pu[2],0,pu[3]) # ย้ายไปประจำตำแหน่งที่ต่างกัน
    mc.expression(o=pu[0],s='ty=10*sin(time*2*%f/%f)'%(math.pi,pu[4])) # สร้างเอ็กซ์เพรชชันการเคลื่อนที่แต่ละตัว
mc.group([r[0] for r in ginyuu],n='nuairopphiset_ginyuu') # เอาทุกตัวมารวมกลุ่มกัน
mc.expression(o='nuairopphiset_ginyuu',s='tz=time*8') # สร้างเอ็กซืเพรชชันการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของทุกตัว

ผลที่ได้ดูในคลิป



จะเห็นว่ามีการใช้เอ็กซ์เพรชชันอยู่ ๒ ส่วน คือใช้แยกภายในตัวยานปูแต่ละตัวเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ขึ้นลง และอีกส่วนคือใช้กับตัวกลุ่มโดยให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วคงที่

ผลที่ได้ก็คือกองทัพยานปูเสฉวนที่เคลื่อนไปข้างหน้าร่วมกันทั้งกลุ่มพร้อมทั้ง มีการขยับขึ้นลงซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ย่อยของสมาชิกแต่ละตัว

จากตัวอย่างจะเห็นประโยชน์ของการรวมกลุ่ม สามารถนำไปประยุกต์อะไรต่างๆใช้ประโยชน์ได้มากมาย



อ้างอิง
http://help.autodesk.com/cloudhelp/2016/JPN/Maya-Tech-Docs/CommandsPython/group.html
http://help.autodesk.com/cloudhelp/2016/JPN/Maya-Tech-Docs/CommandsPython/ungroup.html
http://help.autodesk.com/cloudhelp/2016/JPN/Maya-Tech-Docs/CommandsPython/pickWalk.html
https://ja.wikipedia.org/wiki/ギニュー特戦隊

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文