φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๔: การสร้างชั้นคำนวณ
เขียนเมื่อ 2018/09/08 09:56
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 15:14
>> ต่อจาก บทที่ ๓



ภายในมอดูล pytorch มีมอดูลย่อยชื่อ torch.nn ซึ่งบรรจุคลาสและฟังก์ชันต่างๆสำหรับใช้ในโครงข่ายประสาทเทียม (nn ย่อมาจาก neural network นั่นเอง)

ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในการประกอบโครงข่ายประสาทเทียมก็คือ ชั้นของฟังก์ชันคำนวณต่างๆ

เช่น ชั้นสำหรับคำนวณเชิงเส้น ชั้นแบบนี้เรียกว่า affine layer แต่ใน pytorch ใช้ชื่อว่า Linear (ส่วนใน keras เรียกว่า Dense)

ชั้นคำนวณพวกนี้จะมีเทนเซอร์ที่ใช้เป็นพารามิเตอร์อยู่ภายในตัว

ชั้น Linear จะมีพารามิเตอร์ค่าน้ำหนักอยู่ที่แอตทริบิวต์ .weight และค่าไบแอสที่ .bias

ค่าที่ต้องกำหนดขณะสร้างคือ (จำนวนตัวแปรขาเข้า, จำนวนตัวแปรขาออก)

น้ำหนักจะเป็นเทนเซอร์สองมิติที่มีขนาดเป็น (ขาออก, ขาเข้า) ส่วนไบแอสจะเป็นเทนเซอร์หนึ่งมิติ ขนาดเท่ากับจำนวนตัวแปรขาออก

ลองสร้างชั้นขึ้นมาแล้วดูพารามิเตอร์ภายใน
import torch
lin = torch.nn.Linear(2,3)
print(lin)
print(lin.weight)
print(type(lin.weight))
print(lin.bias)
print(type(lin.bias))

ได้
Linear(in_features=2, out_features=3, bias=True)
Parameter containing:
tensor([[-0.1785, -0.5299],
        [ 0.2429, -0.5276],
        [-0.5432,  0.4851]], requires_grad=True)
<class 'torch.nn.parameter.Parameter'>
Parameter containing:
tensor([-0.0320, -0.2327,  0.3440], requires_grad=True)
<class 'torch.nn.parameter.Parameter'>

จะเห็นว่าพารามิเตอร์ก็คือเทนเซอร์ตัวนึงที่ requires_grad=True หมายความว่าเป็นเทนเซอร์ที่ขณะที่คำนวณจะมีการบันทึกค่าความชัน

นอกจากนี้หากใช้เมธอด .parameters() จะคืนพารามิเตอร์ทั้งหมดออกมาในรูปของเจเนอเรเตอร์ ถ้านำมาแปลงเป็นลิสต์ก็จะแสดงค่าทั้งหมดได้
lin = torch.nn.Linear(4,3)
print(lin.parameters())
print(list(lin.parameters()))

ได้

[Parameter containing:
tensor([[-0.3537, -0.0335, -0.0530,  0.1352],
        [-0.4223, -0.1825,  0.1712, -0.1660],
        [ 0.0511,  0.1635,  0.2365,  0.0601]], requires_grad=True), Parameter containing:
tensor([-0.4955, -0.1421, -0.2290], requires_grad=True)]


คำสั่งนี้มีประโยชน์เวลาใช้กับออปทิไมเซอร์ ซึ่งจะกล่าวถึงในบทถัดไป

ค่าของพารามิเตอร์เหล่านี้ได้มาจากการสุ่มเอา ซึ่งโดยมาตรฐานแล้วใน pytorch จะสุ่มพารามิเตอร์ตั้งต้นให้กระจายสม่ำเสมอในขอบเขต
..(4.1)

เพียงแต่ว่าเราสามารถป้อนค่าเป็นจำนวนที่ต้องการแทนได้ทันทีถ้าต้องการ

เช่น ถ้าต้องการให้สุ่มแจกแจงแบบปกติก็ใช้ .normal_(μ,σ) ถ้าต้องการให้สุ่มแจกแจงแบบสม่ำเสมอก็ใช้ .uniform_(ต่ำสุด,สูงสุด)
lin = torch.nn.Linear(6,2,bias=0)
lin.weight.data.normal_(0,1)
print(lin.weight)
lin.weight.data.uniform_(-1,1)
print(lin.weight)

ได้
Parameter containing:
tensor([[ 0.8902, -0.9486, -0.8325,  0.1343,  0.7567,  1.6959],
        [ 1.7581,  0.9200, -0.0738, -0.3420,  0.0989, -0.9752]],
       requires_grad=True)
Parameter containing:
tensor([[ 0.3098, -0.3378, -0.4107,  0.2809, -0.8449, -0.0014],
        [-0.8877, -0.9887, -0.3420,  0.3834,  0.0017,  0.9727]],
       requires_grad=True)

สำหรับไบแอสนั้นในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องใช้ จะกำหนดให้ไม่มีก็ได้ โดยกำหนด bias=0 ตอนสร้าง
lin = torch.nn.Linear(3,4,bias=0)
print(lin) # ได้ Linear(in_features=3, out_features=4, bias=False)
print(lin.bias) # ได้ None

เวลาที่ป้อนเทนเซอร์ผ่านชั้นนี้จะเกิดการคำนวณโดยคูณเมทริกซ์เข้ากับน้ำหนักและบวกด้วยไบแอส
..(4.2)

ตัวอย่างเช่น
..(4.3)
X = torch.Tensor([[3,1],[2,5],[0,2]])
lin = torch.nn.Linear(2,3)
lin.weight.data = torch.Tensor([[1,2],[3,4],[5,6]])
lin.bias.data = torch.Tensor([7,8,9])
print(lin(X))

ได้
tensor([[12., 21., 30.],
        [19., 34., 49.],
        [11., 16., 21.]], grad_fn=<AddmmBackward0>)



การถดถอยเชิงเส้น

ลองทำการแก้ปัญหาการถดถอยเชิงเส้นแบบเดียวกับในบทที่แล้ว แต่คราวนี้ใช้ Linear
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

# ข้อมูลตัวอย่าง
x = np.random.uniform(-1,1,75)
z = -x*0.4 + np.random.normal(1,0.1,75)

lin = torch.nn.Linear(1,1) # ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามต่างก็มีแค่ 1
x = torch.Tensor(x) # แปลงเป็นเทนเซอร์
X = x[:,None] # แม้จะมีตัวแปรแค่ตัวเดียวก็ต้องทำเป็นเทนเซอร์สองมิติ
z = torch.Tensor(z) # แปลงเป็นเทนเซอร์
eta = 0.5 # อัตราการเรียนรู้
ha_mse = torch.nn.MSELoss() # เตรียมฟังก์ชันหาค่าเสียหาย
n_thamsam = 50
for i in range(n_thamsam):
    h = lin(X).flatten() # คำนวณเชิงเส้น
    J = ha_mse(h,z) # คำนวณค่าเสียหาย
    J.backward() # แพร่ย้อนกลับ
    lin.weight.data -= eta*lin.weight.grad # ปรับพารามิเตอร์
    lin.bias.data -= eta*lin.bias.grad
    lin.weight.grad = None # ล้างค่าอนุพันธ์
    lin.bias.grad = None

mx = np.linspace(-1.1,1.1,200)
mz = lin(torch.Tensor(mx)[:,None]).data.numpy().flatten()
plt.scatter(x,z,color='y',edgecolor='m')
plt.plot(mx,mz,'b')
plt.show()



ต่อมาลองดูตัวอย่างกรณีตัวแปรต้นสองตัว
X = np.random.uniform(-1,1,[150,2])
x,y = X.T
z = x*0.6-y*0.4 + np.random.normal(1,0.1,150)

lin = torch.nn.Linear(2,1)
X = torch.Tensor(X)
z = torch.Tensor(z)
eta = 0.1
ha_mse = torch.nn.MSELoss()
n_thamsam = 200
for i in range(n_thamsam):
    h = lin(X).flatten()
    J = ha_mse(h,z)
    J.backward()
    lin.weight.data -= eta*lin.weight.grad
    lin.bias.data -= eta*lin.bias.grad
    lin.weight.grad = None
    lin.bias.grad = None

from mpl_toolkits.mplot3d import Axes3D

mx,my = np.meshgrid(np.linspace(-1,1,11),np.linspace(-1,1,11))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mX = torch.Tensor(mX)
mz = lin(mX).data.numpy().reshape(11,11)
plt.figure(figsize=[6,6])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.scatter(x,y,z,c=z,edgecolor='k',cmap='jet')
ax.plot_surface(mx,my,mz,rstride=1,cstride=1,alpha=0.2,edgecolor='k')
plt.show()



การใช้ชั้นคำนวณแบบนี้ทำให้การคำนวณสะดวกขึ้น แต่ก็ยังคงต้องมาคอยเขียนคำสั่งปรับพารามิเตอร์แล้วก็ล้างค่าอนุพันธ์กันเอาเองอยู่

แต่ว่า pytorch ได้เตรียมอุปกรณ์ที่สะดวกที่ทำให้ขั้นตอนตรงนี้ง่ายขึ้นไปอีก คือการใช้ออปทิไมเซอร์ ซึ่งจะพูดถึงในบทต่อไป



>> อ่านต่อ บทที่ ๕


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文