φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๖: การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
เขียนเมื่อ 2018/09/08 09:58
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 18:01
>> ต่อจาก บทที่ ๕



ในบทนี้จะเป็นการใช้ pytorch เพื่อสร้างเพอร์เซปตรอนสำหรับทำการถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย



การถดถอยโลจิสติกเพื่อจำแนกประเภทข้อมูล ๒ กลุ่ม

ขอยกตัวอย่างเป็นปัญหาปัญหาการแบ่งประเภทข้อมูลสองตัวแปรง่ายๆดังนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

X = np.random.normal(-0.5,0.4,[80,2])
X[:40] += 1
z = np.array([0,1]).repeat(40)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,edgecolor='r',cmap='plasma')
plt.show()



การคำนวณในปัญหาการแบ่งประเภทแบบนี้โดยทั่วไปจะเริ่มจากชั้นคูณเชิงเส้น แล้วตามด้วยซิกมอยด์ แล้วหาค่าเสียหายซึ่งในกรณีนี้ใช้เป็นค่าเอนโทรปีไขว้ (交叉熵, cross entropy) เฉลี่ย
..(6.1)

สมการนี้ต่างจากใน โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้นบทที่ ๔ ตรงที่ w กลายเป็น wT เนื่องจากนิยามของค่าน้ำหนักใน pytorch จะกลับกัน คือเอาค่าขาออกเป็นแนวตั้ง ขาเข้าเป็นแนวนอน

โดยทั่วไปชั้นการคำนวณซิกมอยด์กับเอนโทรปีไขว้จะถูกยุบรวมเป็นชั้นเดียวเพราะสะดวกในการคำนวณ

ใน pytorch เองก็มีเตรียมชั้นสำหรับคำนวณแบบนี้ไว้ คือคลาส torch.nn.BCEWithLogitsLoss หรือจะใช้ฟังก์ชัน torch.nn.functional.binary_cross_entropy_with_logits() ก็ได้

สามารถเขียนโค้ดเพื่อทำการจำแนกกลุ่มข้อมูลได้ดังนี้
import torch

X = torch.Tensor(X)
z = torch.Tensor(z)
lin = torch.nn.Linear(2,1)
opt = torch.optim.Adam(lin.parameters(),lr=0.1)
ha_entropy = torch.nn.BCEWithLogitsLoss() # เตรียมฟังก์ชันคำนวณเอนโทรปี
for i in range(100):
    a = lin(X).flatten()
    J = ha_entropy(a,z)
    J.backward()
    opt.step()
    opt.zero_grad()

lmm = np.linspace(X.min(),X.max(),200)
mx,my = np.meshgrid(lmm,lmm)
mX = torch.Tensor(np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T)
mz = (lin(mX)>0)
mz = mz.data.numpy().reshape(200,200)
plt.xlim(X.min(),X.max())
plt.ylim(X.min(),X.max())
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,edgecolor='r',cmap='plasma')
plt.contourf(mx,my,mz,alpha=0.2,cmap='plasma')
plt.show()



ตรงนี้จะเห็นว่าคล้ายกับตอนที่แก้ปัญหาการถดถอยเชิงเส้นมาก ต่างกันแค่เปลี่ยนฟังก์ชันค่าเสียหายจากค่าผลต่างกำลังสองเฉลี่ยมาเป็นเอนโทรปีไขว้เฉลี่ยเท่านั้น

ข้อควรระวังอย่างหนึ่งก็คือ BCEWithLogitsLoss นี้ต้องใช้กับเทนเซอร์ชนิด float เท่านั้น แม้ว่าจริงๆแล้วค่า z ของเราปกติจะเป็นได้แค่เลข 0 หรือ 1 เท่านั้นจนบางคนอาจคิดว่าใช้ ByteTensor หรือ IntTensor ก็น่าจะได้ก็ตาม แต่จริงๆใช้ไม่ได้

นี่ถือเป็นความไม่สะดวกอย่างหนึ่งของ pytorch ชนิดข้อมูลที่ใช้สำหรับบางฟังก์ชันมักจะถูกกำหนดตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนให้อัตโนมัติ

หากต้องการหาค่าความน่าจะเป็นของคำตอบ pytorch ก็มีฟังก์ชัน torch.sigmoid เตรียมไว้ให้ หรือคลาส torch.nn.Sigmoid() ใช้ได้เลยไม่ต้องสร้างเอง

ลองวาดคอนทัวร์แสดงความน่าจะเป็น
mz = torch.nn.Sigmoid()(lin(mX))
mz = mz.data.numpy().reshape(200,200)
plt.xlim(X.min(),X.max())
plt.ylim(X.min(),X.max())
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,edgecolor='r',cmap='plasma')
plt.contourf(mx,my,mz,200,alpha=0.2,cmap='plasma')
plt.show()





การถดถอยโลจิสติกเพื่อจำแนกประเภทหลายกลุ่ม

ต่อมาพิจารณาปัญหาการจำแนกประเภทที่มากกว่า ๒ กลุ่ม หรือที่เรียกว่าการวิเคราะห์การถดถอยซอฟต์แม็กซ์

การคำนวณในกรณีนี้จะเริ่มจากการคำนวณเชิงเส้นแล้วตามด้วยฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์แล้วคำนวณค่าเสียหายด้วยเอนโทรปีไขว้สำหรับข้อมูลหลายกลุ่ม
..(6.2)

สมการนี้ก็ต่างจากในเนื้อหาโครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้นบทที่ ๖ เล็กน้อยเนื่องจากแกนของ w สลับกัน

lin ในที่นี้เราต้องการจำแนกข้อมูล 2 ตัวแปรเป็น 4 กลุ่ม ดังนั้นต้องมีขนาดขาเข้าเป็น 2 ขนาดขาออกเป็น 4 ส่วนขนาดของค่าน้ำหนัก w จะเป็น (4,2)

pytorch ได้เตรียมคลาสสำหรับคำนวณซอฟต์แม็กซ์พร้อมกับเอนโทรปีไขว้ให้ในทีเดียวคือ torch.nn.CrossEntropyLoss หรือในรูปฟังก์ชันคือ torch.nn.functional.cross_entropy()

ค่าที่ต้องส่งให้ฟังก์ชันนี้ก็คือค่าที่ได้การคำนวณเชิงเส้น (ในสมการคือ a) และค่าคำตอบจริงในรูปของตัวเลขบอกประเภท ไม่ใช่ในรูปของวันฮ็อต ดังนั้นถ้าใช้ฟังก์ชันนี้เราจะไม่ต้องต้องอุตส่าห์แปลงคำตอบให้เป็นวันฮ็อตเอง

โค้ดเขียนได้ดังนี้
X = np.random.normal(0,0.5,[160,2])
X[40:] += 1.5
X[80:,0] -= 3
X[120:] += 1.5
z = np.arange(4).repeat(40)

X = torch.Tensor(X)
z = torch.LongTensor(z)
lin = torch.nn.Linear(2,4)
opt = torch.optim.Adam(lin.parameters(),lr=0.1)
ha_entropy = torch.nn.CrossEntropyLoss()
for i in range(100):
    a = lin(X)
    J = ha_entropy(a,z)
    J.backward()
    opt.step()
    opt.zero_grad()

mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),200),
                    np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),200))
mX = torch.Tensor(np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T)
mz = lin(mX).argmax(1)
mz = mz.data.numpy().reshape(200,200)
plt.xlim(X[:,0].min(),X[:,0].max())
plt.ylim(X[:,1].min(),X[:,1].max())
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,edgecolor='k',cmap='Spectral')
plt.contourf(mx,my,mz,alpha=0.2,cmap='Spectral')
plt.show()




ข้อแตกต่างจากกรณีแบ่ง ๒ กลุ่มคือขนาดของ lin และฟังก์ชันที่ใช้คำนวณเอนโทรปีไขว้

นอกจากนี้ที่ต้องระวังคือ ค่า z ในที่นี้ต้องเป็น LongTensor ซึ่งจะต่างจากกรณีของ BCEWithLogitsLoss



>> อ่านต่อ บทที่ ๗


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文