φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๔: อนุพันธ์และกฎลูกโซ่ของอาเรย์
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:23
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:11
>> ต่อจาก บทที่ ๓



ในบทที่แล้วได้แนะนำวิธีการใช้ฟังก์ชันกระตุ้นฟังก์ชันกระตุ้นและการเคลื่อนลงตามความชันไป

เพื่อความง่ายในการเข้าใจจึงได้เขียนแยกพิจารณาข้อมูลทีละตัวแล้วค่อยนำมารวมกัน

แต่ในทางปฏิบัติแล้วที่จริงจะนิยมคำนวณในรูปแบบของอาเรย์มากกว่า ยิ่งหากไปต่อเรื่อยๆการคำนวณจะยิ่งซับซ้อน การอธิบายตัวแปรต่างๆในรูปของอาเรย์จะเหมาะสมกว่า

อีกทั้งในไพธอนการคำนวณแบบอาเรย์จะเร็วกว่าการวนซ้ำด้วย for มากเพื่อคำนวณทีละตัวมาก

เพียงแต่ว่ามีความยากในการทำความเข้าใจอยู่ บทนี้จะมาไล่ทำความเข้าใจไปช้าๆทีละขั้น

เริ่มแรก ในบทที่แล้วเราพิจารณาอนุพันธ์ของค่าเสียหายเทียบกับน้ำหนักทีละตัว คือ ∂J/∂wj แบบนี้

แต่คราวนี้จะพิจารณาในรูปของอาเรย์ คือ
..(4.1)

โดย m คือจำนวนตัวแปรต้น

ย้ำอีกรอบว่าสัญลักษณ์ลูกษรบนหัวใช้แสดงว่าเป็นอาเรย์หนึ่งมิติในแนวตั้ง (ก็คือเวกเตอร์) ถ้าหากใช้อักษรตัวหนาจะเป็นอาเรย์สองมิติ ส่วนตัวเอียงคือค่าเลขตัวเดียว

จะเห็นว่าอนุพันธ์ของปริมาณเลขตัวเดียว (สเกลาร์) เทียบกับอาเรย์ ผลที่ได้ก็จะเป็นการหาอนุพันธ์เทียบกับทุกตัวในอาเรย์ จะได้อาเรย์ขนาดเท่ากับอาเรย์นั้น

แล้วกฎลูกโซ่ก็ใช้ได้เหมือนกัน
..(4.2)

ในที่นี้ h เองก็เป็นอาเรย์
..(4.3)

ค่า J คำนวณจาก h แต่ละค่าได้โดย
..(4.4)

ดังนั้นได้ว่า
..(4.5)

a เองก็เป็นอาเรย์เช่นเดียวกับ h
..(4.6)

และเนื่องจาก a และ h เป็นปริมาณที่มีจำนวนตัวแปรเท่ากัน จึงนำทั้งอาเรย์มาคำนวณกันได้โดยตรง
..(4.7)

และจาก (4.5) และ (4.7) จะได้ว่า
..(4.8)

ต่อมาพิจารณาอนุพันธ์ของ a เทียบกับ w

a คำนวณจาก w และ b โดย
..(4.9)

อนึ่ง ในที่นี้เครื่องหมายด็อตจะหมายถึงการเอาอาเรย์มาคูณกันแบบเมทริกซ์ ในไพธอนใช้คำสั่ง np.dot() ในขณะที่ถ้าเอาตัวแปรมาต่อกันเฉยๆจะเป็นการเอาสมาชิกทั้งหมดมาคูณกันธรรมดา

ตรงนี้จะยากกว่าหน่อย เพราะ a กับ w เป็นอาเรย์หนึ่งมิติเหมือนกันก็จริง แต่ว่าความหมายของมิติต่างกัน a เป็นมิติของข้อมูลและตัว มีขนาดเป็น n ส่วน w เป็นมิติของแต่ละตัวแปรต้น มีขนาดเป็น m

ดังนั้นการหาอนุพันธ์ของ a เทียบกับ w จึงต้องเป็นการแจกแจงเกิดเป็นอาเรย์สองมิติแบบนี้
..(4.10)

ในที่นี้ a กระจายในแนวตั้ง w กระจายในแนวนอน ส่วนถ้าถามว่าอันไหนจะกลายเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนนั้น ที่จริงอาจไม่ได้มีหลักตายตัวแต่แค่พิจารณาความสะดวกในการคำนวณเป็นหลัก

แล้วก็จะพบว่ามันมีค่าเท่ากับอาเรย์ x พอดี
..(4.11)

ส่วนอนุพันธ์เทียบ b นั้น เนื่องจาก b เป็นเลขตัวเดียวในขณะที่ a เป็นอาเรย์ จึงเป็นการหาอนุพันธ์ของ a แต่ละตัวเทียบกับ b ซึ่งจะเห็นว่าทุกตัวได้ 1 หมด ดังนั้นจะได้เป็น
..(4.12)

สุดท้ายก็แทนลงในสมการ (4.2) แต่ว่าตรงนี้จะมีปัญหานิดหน่อยก็คือ ขนาดของอาเรย์ไม่เท่ากัน คือ ∂J/∂ai เป็นอาเรย์หนึ่งมิติขนาด n ส่วน ∂ai/∂wj เป็นอาเรย์สองมิติขนาด n×m แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือ ∂J/∂wj นั้นจะต้องมีขนาดเป็น m

เมื่อพิจารณาตรงนี้เราจึงรู้ได้ว่าเขียนในรูปคูณกันเฉยๆตามสมการ (4.2) นั้นไม่ถูกต้องนัก จริงๆแล้วควรจะอยู่ในรูปของการคูณเมทริกซ์ แบบนี้
..(4.13)

ที่รู้ว่าเป็นแบบนี้เพราะความสัมพันธ์ของขนาดเมทริกซ์เวลาคูณกันเป็น [m×n][n×1] = [m×1]

ก็คือขนาดมิติหลังของตัวแรกกับมิติแรกของตัวหลังจะต้องเท่ากัน และผลที่ได้จะเป็นอาเรย์ขนาดเท่ากับมิติแรกของตัวแรกและมิติหลังของตัวหลัง

ต่อมา ในทำนองเดียวกันก็สามารถพิจารณาหาอนุพันธ์ของค่าเสียหายเทียบกับ b ได้เป็น
..(4.14)

สุดท้ายก็นำค่าอนุพันธ์มาใช้ปรับค่า
..(4.15)



เขียนโปรแกรม

สร้างข้อมูลกลุ่มแบบนี้ขึ้นมาใช้เป็นตัวอย่าง
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

np.random.seed(7)
X = np.random.normal(0,0.5,[40,2])
X[:20] += 1.5
z = np.zeros(40)
z[20:] += 1

plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],100,c=z,edgecolor='k',alpha=0.6,cmap='coolwarm')
plt.show()


เราอาจเขียนโปรแกรมให้เรียนรู้ในลักษณะเดียวกับบทที่แล้วแต่เปลี่ยนมาใช้การคำนวณทั้งอาเรย์ได้เป็นแบบนี้
def sigmoid(x):
    return 1/(1+np.exp(-x))

def ha_entropy(z,h):
    return -(z*np.log(h)+(1-z)*np.log(1-h)).mean()
    w = np.array([0,0.])

b = 0
eta = 0.1
entropy = []
khanaen = []
for o in range(1000):
    a = np.dot(X,w) + b
    h = sigmoid(a)
    ga = (h-z)/len(z)
    gw = np.dot(X.T,ga)
    gb = ga.sum()
    w -= eta*gw
    b -= eta*gb
    entropy.append(ha_entropy(z,h)) # เอนโทรปี
    khanaen.append(((a>=0)==z).mean()) # คะแนน (สัดส่วนที่ทายถูก)

lins = np.linspace(-0.5,1.5,200)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),200),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mh = np.dot(mX,w) + b
mz = (mh>=0).astype(int).reshape(200,-1)
plt.axes(aspect=1,xlim=(X[:,0].min(),X[:,0].max()),ylim=(X[:,1].min(),X[:,1].max()))
plt.contourf(mx,my,mz,cmap='coolwarm',alpha=0.2)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],100,c=z,edgecolor='k',alpha=0.6,cmap='coolwarm')
plt.show()
ผลการจำแนก



ดูแล้วเรียบง่ายกว่าเดิม ไม่ต้องมีวังวน for ซ้อนด้านในแล้ว แค่ใช้ dot กับ sum ในการคำนวณกับอาเรย์ได้เลย

ค่าเอนโทรปีและความสัดส่วนจะนวนที่ทายถูกในแต่ละรอบก็ได้ถูกบันทึกไว้ ลองนำมาวาดกราฟดูความเปลี่ยนแปลงได้
plt.subplot(211,xticks=[])
plt.plot(entropy,'C4')
plt.ylabel(u'เอนโทรปี',family='Tahoma',size=14)
plt.subplot(212)
plt.plot(khanaen,'C4')
plt.ylabel(u'คะแนน',family='Tahoma',size=14)
plt.xlabel(u'จำนวนรอบ',family='Tahoma',size=14)
plt.show()


ลองแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ดังนี้



พอเส้นแบ่งพาดผ่านตรงกลาง คะแนนก็จะเป็น 1.0 แต่ความเปลี่ยนแปลงก็ยังมีต่อไปโดยเอนโทรปีจะยังคงลดลงได้อีก และเส้นก็ถูกปรับให้แบ่งอยู่ใกล้ตรงกลางมากขึ้นเรื่อยๆด้วย



เขียนเป็นคลาส

เพื่อความเป็นระเบียบต่อจากนี้ไปจะเขียนแบบจำลองการเรียนรู้ในรูปแบบของคลาส
class ThotthoiLogistic:
    def __init__(self,eta):
        self.eta = eta
    
    def rianru(self,X,z,n_thamsam):
        self.w = np.zeros(X.shape[1])
        self.b = 0
        self.entropy = []
        self.khanaen = []
        for i in range(n_thamsam):
            a = self.ha_a(X)
            h = sigmoid(a)
            J = ha_entropy(z,h)
            ga = (h-z)/len(z)
            self.w -= self.eta*np.dot(ga,X)
            self.b -= self.eta*ga.sum()
            self.entropy.append(J)
            khanaen = ((a>=0)==z).mean()
            self.khanaen.append(khanaen)
    
    def thamnai(self,X):
        return (self.ha_a(X)>=0).astype(int)
    
    def ha_a(self,X):
        return np.dot(X,self.w) + self.b

วิธีการใช้ก็คือ
- สร้างออบเจ็กต์ของคลาส
- ป้อนข้อมูลให้เรียนรู้โดยใช้เมธอด .rianru()
- เมื่อเรียนรู้เสร็จก็นำมาใช้ทำนายผลได้ด้วยเมธอด .thamnai()



ขอทดสอบการใช้โดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่สร้างขึ้นเองโดยใช้โค้ดในนี้ >> https://phyblas.hinaboshi.com/20180811

ข้อมูลสามารถโหลดได้จาก >> https://phyblas.hinaboshi.com/triamhai/ruprang-raisi-25x25x1000x5.rar

ข้อมูลนี้เป็นรูปร่างต่างๆ ๕ ชนิด จำนวนรูปละ 1000 รวมทั้งหมดเป็น 5000 ขนาด 25×25

ถ้าใครต้องการสร้างข้อมูลขึ้นเองก็ทำได้โดยใช้ฟังก์ชันจากในนั้น
sangrup(n=5000,d=25,misi=0)

อาจลองปรับขนาดหรือจำนวนแล้วลองใหม่ด้วยตัวเองดูได้ ใช้ข้อมูลต่างกันอาจเห็นผลอะไรต่างๆกันไป

ข้อมูลนี้มีรูปอยู่ ๕ ชนิด แต่เพอร์เซปตรอนที่เราสร้างในบทนี้มีไว้ใช้แค่แบ่งข้อมูล ๒ ชนิด ดังนั้นเราจะใช้แค่ ๒ ชนิดแรก รวมแล้ว 2000 รูป

ชนิดแรกคือวงกลม อยู่ในโฟลเดอร์ 0 ส่วนชนิดต่อมาคือสามเหลี่ยม อยู่ในโฟลเดอร์ 1 เราสามารถใช้ glob เพื่อทำการดึงชื่อไฟล์มาแล้วไล่เปิดด้วย plt.imread()

ตัวอย่างรูป



รูปมีขนาด 25×25 ดังนั้นประกอบขึ้นจาก 625 จุด ทั้ง 625 จุดนี้คือตัวแปรต้นที่จะนำมาใช้วิเคราะห์

แต่ภาพที่อ่านขึ้นมาเสร็จจะอยู่ในรูปของอาเรย์ขนาด (จำนวนรูป,25,25) ต้องปรับให้เป็น (จำนวนรูป,625) เพราะเราจะป้อนทุกจุดในฐานะข้อมูลตัวแปรนึง ไม่ได้สนตำแหน่งของจุด

นอกจากนี้ เราจะใช้แค่ชนิดละ 900 รูปในการเรียนรู้ และเก็บอีก 100 เอาไว้ใช้ทดสอบ
from glob import glob
d = 25
X1 = np.array([plt.imread(x) for x in glob('ruprang-raisi-25x25x1000x5/0/*.png')]).reshape(-1,625)
X2 = np.array([plt.imread(x) for x in glob('ruprang-raisi-25x25x1000x5/1/*.png')]).reshape(-1,625)
X = np.vstack([X1[:900],X2[:900]]) # คัดเฉพาะ 900 รูปแรกของแต่ละแบบ นำมารวมกัน
z = np.arange(2).repeat(900) # คำตอบ เลข 0 และ 1
tl = ThotthoiLogistic(eta=0.01) # สร้างออบเจ็กต์ของคลาสการถดถอยโลจิสติก
tl.rianru(X,z,n_thamsam=1000) # ทำการเรียนรู้
plt.subplot(211,xticks=[])
plt.plot(tl.entropy,'m')
plt.ylabel(u'เอนโทรปี',family='Tahoma')
plt.subplot(212)
plt.plot(tl.khanaen,'m')
plt.ylabel(u'คะแนน',family='Tahoma')
plt.xlabel(u'จำนวนรอบ',family='Tahoma')
plt.show()

# นำข้อมูล 100 ตัวที่เหลือมาลองทำนายผล แล้วเทียบกับคำตอบจริง
Xo = np.vstack([X1[900:],X2[900:]])
zo = np.arange(2).repeat(100)
print((tl.thamnai(Xo)==zo).mean()) # ได้ 0.92



จะเห็นว่าแค่วิธีการง่ายๆเพอร์เซปตรอนชั้นเดียวแค่นี้ก็สามารถวิเคราะห์รูปภาพและจำแนกได้แม่นยำกว่า 90% แล้ว และการที่สามารถทายได้แม่นแม้แต่ข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในการฝึกด้วยก็แสดงให้เห็นว่าใช้ได้ดีจริง



โดยสรุปแล้ว การเข้าใจหลักการคำนวณของอาเรย์และเมทริกซ์นั้นอาจมีความซับซ้อนแต่ก็ค่อนข้างจำเป็นสำหรับการเข้าใจการคำนวณภายในโครงข่ายประสาทเทียม



>> อ่านต่อ บทที่ ๕


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文