φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๐: การประกอบโครงข่ายขึ้นจากชั้นต่างๆ
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:29
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:09
>> ต่อจาก บทที่ ๙



ในบทที่แล้วได้อธิบายวิธีการสร้างชั้นต่างๆสำหรับประกอบในโครงข่ายประสาทเทียม ส่วนในบทนี้จะลองนำมาใช้

ขอยกตัวอย่างด้วยการสร้างคลาสเพอร์เซปตรอนสองชั้นสำหรับจำแนกประเภทหลายกลุ่มแบบเดียวกับที่ทำในบทที่ ๘ แค่เปลี่ยนมาใช้วิธีการประกอบขึ้นโดยเอาชั้นมาต่อกัน

จะเริ่มจากสร้างคลาสของชั้นต่างๆขึ้น จากนั้นก็สร้างคลาสของโครงข่ายประสาทเทียม ๒ ชั้นซึ่งใช้ชั้นต่างๆนั้นข้างใน
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

class Affin:
    def __init__(self,m0,m1,sigma):
        self.m = m0,m1
        self.w = np.random.normal(0,sigma,self.m)
        self.b = np.zeros(m1)
        self.gw = 0
        self.gb = 0
    
    def pai(self,X):
        self.X = X
        return np.dot(X,self.w) + self.b
    
    def yon(self,g):
        self.gw += np.dot(self.X.T,g)
        self.gb += g.sum(0)
        return np.dot(g,self.w.T)

class Sigmoid:
    def pai(self,a):
        self.h = 1/(1+np.exp(-a))
        return self.h
    
    def yon(self,g):
        return g*(1-self.h)*self.h

class Softmax_entropy:
    def pai(self,a,Z):
        self.Z = Z
        exp_a = np.exp(a.T-a.max(1))
        self.h = (exp_a/exp_a.sum(0)).T
        return -(np.log(self.h[Z]+1e-10)).mean()
    
    def yon(self,g):
        return g*(self.h-self.Z)/len(self.h)

def ha_1h(z,n):
    return z[:,None]==range(n)



class Prasat2chan:
    def __init__(self,m,eta):
        self.m = m
        self.eta = eta
    
    def rianru(self,X,z,n_thamsam):
        self.kiklum = int(z.max()+1)
        Z = ha_1h(z,self.kiklum) # แปลเป็นวันฮ็อต
        # ชั้นทั้งหมดของโครงข่ายประสาท
        self.chan = [Affin(X.shape[1],self.m,1),
                     Sigmoid(),
                     Affin(self.m,self.kiklum,1),
                     Softmax_entropy()]
        self.khanaen = []
        self.entropy = []
        for o in range(n_thamsam):
            # คำนวณไปข้างหน้า
            a = X
            for c in self.chan[:-1]:
                a = c.pai(a)
            # คำนวณค่าเสียหายจากชั้นสุดท้าย
            entropy = self.chan[-1].pai(a,Z)
            self.entropy.append(entropy)
            khanaen = (a.argmax(1)==z).mean() # คำนวณคะแนน
            self.khanaen.append(khanaen)
            # แพร่ย้อนกลับ
            g = 1
            for c in reversed(self.chan):
                g = c.yon(g)
            # ปรับพารามิเตอร์จากค่าอนุพันธ์ที่เก็บไว้หลังแพร่ย้อน
            for i in [0,2]:
                self.chan[i].w -= self.eta*self.chan[i].gw
                self.chan[i].b -= self.eta*self.chan[i].gb
                self.chan[i].gw = 0
                self.chan[i].gb = 0
    
    def thamnai(self,X):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c.pai(X)
        return X.argmax(1)

ชั้น Affin ในที่นี้นิยามต่างจากที่แนะนำในบทที่แล้วโดยแค่ป้อนขนาดขาเข้า (m0) ขาออก (m1) กับความกว้างการแจกแจงค่า (sigma) แล้วให้ไปสร้างค่า w และ b ตามที่กำหนด แบบนี้สะดวกในการใช้งานมากกว่า

ส่วนชั้น Softmax_entropy นี้คือซอฟต์แม็กซ์แล้วต่อด้วยเอนโทรปีไขว้ ที่เอามาเชื่อมกันโดยไม่แยกเพราะอนุพันธ์ของสองชั้นนี้ต่อกันคำนวณง่ายกว่าแยกทีละชั้น ดังนั้นยุบรวมกันแบบนี้คำนวณเร็วขึ้น ไม่มีประโยชน์ที่จะแยกเป็นชั้น

ตอนคำนวณไปข้างหน้า ที่ไม่ได้รวมชั้น Softmax_entropy ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายไว้ใน for ด้วยก็เพราะชั้นนี้ต้องใส่ค่าป้อนเข้า ๒ ตัว คือมี z ด้วย อีกทั้งผลจากชั้น Affin สุดท้ายยังต้องนำไปใช้ทำนายคำตอบเพื่อคำนวณคะแนนด้วย

ส่วนตอนแพร่ย้อนกลับก็ให้ไล่ย้อนจากชั้นสุดท้ายมาจนถึงชั้นแรก ระหว่างนั้นค่าอนุพันธ์ก็จะถูกคำนวณและเก็บไว้ในตัวชั้นแต่ละชั้น สุดท้ายก็เอาค่านั้นมาใช้เพื่อปรับพารามิเตอร์ เพียงแต่ว่าชั้นที่จะปรับมีแค่ชั้น Affin เท่านั้น



ต่อไปเป็นตัวอย่างการนำคลาสที่สร้างขึ้นนี้มาใช้ ขอยกตัวอย่างเป็นข้อมูลลักษณะแบบนี้
np.random.seed(7)
r = np.tile(np.sqrt(np.linspace(0.5,25,200)),3)
t = np.random.normal(r,0.4)
z = np.arange(3).repeat(200)
t += z*np.pi/3*2
X = np.array([r*np.cos(t),r*np.sin(t)]).T
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],50,c=z,edgecolor='k',cmap='winter')
plt.show()



สร้างโครงข่ายประสาทเพื่อจำแนกกลุ่มแล้วแสดงเขตการแบ่ง พร้อมทั้งแสดงความคืบหน้าในการเรียนรู้ด้วย
prasat = Prasat2chan(m=47,eta=0.5)
prasat.rianru(X,z,n_thamsam=2000)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),200),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mz = prasat.thamnai(mX).reshape(200,-1)
plt.axes(aspect=1,xlim=(X[:,0].min(),X[:,0].max()),ylim=(X[:,1].min(),X[:,1].max()))
plt.contourf(mx,my,mz,cmap='winter',alpha=0.2)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],50,c=z,edgecolor='k',cmap='winter')
plt.figure()
plt.subplot(211,xticks=[])
plt.plot(prasat.entropy,'#8899dd')
plt.ylabel(u'เอนโทรปี',family='Tahoma')
plt.subplot(212)
plt.plot(prasat.khanaen,'#8899dd')
plt.ylabel(u'คะแนน',family='Tahoma')
plt.xlabel(u'จำนวนรอบ',family='Tahoma')
plt.show()





จะเห็นว่าเมื่อแบ่งเป็นชั้นๆแล้วคำนวณแบบนี้ทำให้การเขียนดูสะดวกขึ้นมาก แบบนี้จะสร้างเป็น ๓ ชั้นหรือกี่ชั้นก็แค่ต่อชั้นเพิ่มเข้าไป

แต่ว่ายังมีวิธีที่จะสามารถทำให้สะดวกขึ้นได้มากกว่านี้อีก ซึ่งจะแนะนำต่อในบทต่อไป



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๑


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文