φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๑: การสร้างโครงข่ายโดยการนิยามขณะวิ่ง
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:30
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:09
>> ต่อจาก บทที่ ๑๐



ในบทที่แล้วแสดงการนำชั้นมาประกอบกันเพื่อสร้างโครงข่ายประสาทเทียม

จะเห็นว่าหลังจากที่ทำการคำนวณไปข้างหน้าเสร็จก็ต้องมาเขียนขั้นตอนในการแพร่ย้อนกลับอีก

แต่ว่าจริงๆแล้วปกติเคลื่อนไปข้างหน้ายังไงก็ควรจะแพร่ย้อนกลับอย่างนั้น ตายตัวอยู่แล้ว ดังนั้นควรจะสามารถทำให้ในขณะที่ทำการคำนวณไปข้างหน้านั้นเส้นทางคำนวณการจะถูกบันทึกไปด้วย แล้วพอคำนวณไปถึงสุดท้ายก็แค่ออกคำสั่งแพร่ย้อนกลับ ก็จะเกิดการแพร่ย้อนกลับตามเส้นทางที่เดินมาจนถึงตรงนั้น

วิธีการแบบนี้เรียกว่า การนิยามขณะวิ่ง (define by run) คือเส้นทางการคำนวณได้ถูกนิยามขึ้นทันทีในขณะวิ่งคำนวณไปข้างหน้านั้นเอง

หลักการนี้ถูกนำมาใช้จริงในเฟรมเวิร์กโครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับความนิยมอย่าง pytorch และ chainer เราสามารถเรียนรู้จากตรงนั้นได้

เพียงแต่ว่าของจริงที่ใช้ในนั้นจะซับซ้อนกว่าที่แนะนำในนี้มาก ในที่นี้เป็นแค่การนำแนวคิดพื้นฐานมาใช้ แต่ตัดส่วนที่ซับซ้อนออกไป



หลักการคือ สร้างคลาสของตัวแปร (Tuaprae) และคลาสของชั้น (Chan) ขึ้นมาดังนี้
class Tuaprae(object):
    def __init__(self,kha,thima=None):
        self.kha = kha # ค่า
        self.thima = thima # ออบเจ็กต์ Chan ที่สร้างตัวแปรนี้ขึ้นมา
    
    def phraeyon(self,g=1):
        if(self.thima is None):
            return
        g = self.thima.yon(g)
        for tpt in self.thima.tuapraeton:
            tpt.phraeyon(g)

class Chan:
    def __init__(self):
        'รอนิยามในคลาสย่อย'
    
    def __call__(self,*tuaprae):
        self.tuapraeton = [] # เก็บออบเจ็กต์ Tuaprae ที่ป้อนเข้ามา
        kha_tuapraeton = []
        for tp in tuaprae:
            if(type(tp)==Tuaprae):
                self.tuapraeton.append(tp)
                kha_tuapraeton.append(tp.kha)
            else:
                kha_tuapraeton.append(tp)
        kha_tuapraetam = self.pai(*kha_tuapraeton) # คำนวนไปข้างหน้า
        tuapraetam = Tuaprae(kha_tuapraetam,thima=self) # สร้างออบเจ็กต์ของตัวแปรตามที่คำนวณได้
        return tuapraetam
    
    def pai(self):
        'รอนิยามในคลาสย่อย'
    def yon(self):
        'รอนิยามในคลาสย่อย'

ส่วนคลาสของชั้นฟังก์ชันกระตุ้นและฟังก์ชันค่าเสียหายที่เคยแนะนำในบทที่แล้วก็นิยามแบบเดิมแต่ตั้งให้เป็นคลาสย่อยของคลาส Chan เพื่อให้มีเมธอด __call__ ติดมาด้วย
import numpy as np
  
class Sigmoid(Chan):
    def pai(self,a):
        self.h = 1/(1+np.exp(-a))
        return self.h
    
    def yon(self,g):
        return g*(1.-self.h)*self.h

class Relu(Chan):
    def pai(self,x):
        self.krong = (x>0)
        return np.where(self.krong,x,0)
    
    def yon(self,g):
        return np.where(self.krong,g,0)

class Softmax_entropy(Chan):
    def pai(self,a,Z):
        self.Z = Z
        exp_a = np.exp(a.T-a.max(1))
        self.h = (exp_a/exp_a.sum(0)).T
        return -(np.log(self.h[Z]+1e-10)).mean()
    
    def yon(self,g):
        return g*(self.h-self.Z)/len(self.h)

ออบเจ็กต์ของคลาส Chan เวลาถูกเรียกใช้จะคำนวณไปข้างหน้าตามที่นิยามในเมธอด .pai() ในคลาสย่อย จากนั้นก็สร้างออบเจ็กต์ของคลาส Tuaprae ขึ้นมา ซึ่งจะบรรจุค่า (.kha) ที่ได้ และบันทึกไว้ด้วยว่าที่มา (.thima) ของมันมาจากชั้นไหน

ค่าตัวแปรต้นที่ป้อนให้ตอนเรียกใช้ชั้นจะเป็นค่าตัวเลขธรรมดาหรือออบเจ็กต์ของคลาส Tuaprae ก็ได้ กรณีที่ค่าที่รับมาเป็น Tuaprae จะถูกบันทึกไว้ใน .tuapraeton

แบบนี้เมื่อทำการคำนวณไปข้างหน้าเรื่อยๆตัวแปรตามที่ได้ก็จะบันทึกออบเจ็กต์ชั้นที่สร้างมันมา แล้วตัวออบเจ็กต์ชันเองก็บันทึกออบเจ็กต์ตัวแปรต้นไว้ แบบนี้ต่อไปเป็นทอดๆ

Tuaprae มีเมธอด .phraeyon() สำหรับทำการเริ่มแพร่ย้อนเมื่อคำนวณจนถึงสุดแล้ว เมื่อเริ่มเมธอดนี้จะเกิดการแพร่ย้อนแล้วคำนวณอนุพันธ์ในทุกตัวแปรและชั้นที่เป็นทางผ่านไปเรื่อยๆจนถึงต้นทาง

นอกจากนี้สำหรับชั้นที่มีพารามิเตอร์อย่าง Affin ก็ปรับให้ง่ายต่อการใช้งานขึ้น โดยสร้างคลาสใหม่ชื่อ Param สำหรับเป็นพารามิเตอร์ แล้วให้เก็บทั้งค่าตัวพารามิเตอร์และอนุพันธ์ของมันไปด้วย นอกจากนี้ก็รวมพารามิเตอร์ทั้งหมดไว้เป็นลิสต์ เก็บไว้ที่ .param
class Param:
    def __init__(self,kha):
        self.kha = kha # ค่า
        self.g = 0 # อนุพันธ์

class Affin(Chan):
    def __init__(self,m0,m1,sigma=0.1):
        self.m = m0,m1
        self.param = [Param(np.random.normal(0,sigma,self.m)),
                      Param(np.zeros(m1))]
    
    def pai(self,X):
        self.X = X
        return np.dot(X,self.param[0].kha) + self.param[1].kha
    
    def yon(self,g):
        self.param[0].g += np.dot(self.X.T,g)
        self.param[1].g += g.sum(0)
        return np.dot(g,self.param[0].kha.T)
นอกจากนี้ ค่าน้ำหนัก (พารามิเตอร์ตัวแรก) ตั้งต้นในที่นี้กำหนดให้สร้างขึ้นง่ายๆโดยสร้างตามขนาดขาเข้า m0 และขนาดขาออก m1 โดยค่าตั้งต้นแจกแจงแบบปกติความกว้างเป็น sigma ค่าเหล่านี้ป้อนเข้ามาตอนสร้างออบเจ็กต์

ส่วนค่าไบแอส (พารามิเตอร์ตัวหลัง) ในที่นี้ให้เป็น 0 โดยมีขนาดเท่ากับค่าขาออก m1

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดค่าพารามิเตอร์ตั้งต้นจะพูดถึงอีกทีในบทที่ ๑๓



ต่อมาลองดูตัวอย่างการนำมาใช้เพื่อสร้างคลาสของโครงข่ายประสาทเทียม
class PrasatMLP:
    def __init__(self,m,s=1,eta=0.1,kratun='relu'):
        self.m = m
        self.eta = eta
        self.chan = []
        for i in range(len(m)-1):
            self.chan.append(Affin(m[i],m[i+1],s))
            if(i<len(m)-2):
                if(kratun=='relu'):
                    self.chan.append(Relu())
                else:
                    self.chan.append(Sigmoid())
        self.chan.append(Softmax_entropy())
    
    def rianru(self,X,z,n_thamsam):
        Z = ha_1h(z,self.m[-1])
        self.entropy = []
        for i in range(n_thamsam):
            entropy = self.ha_entropy(X,Z)
            entropy.phraeyon()
            self.prap_para()
            self.entropy.append(entropy.kha)
    
    def ha_entropy(self,X,Z):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        return self.chan[-1](X,Z)
    
    def prap_para(self):
        for c in self.chan:
            if(not hasattr(c,'param')):
                continue
            for p in c.param:
                p.kha -= self.eta*p.g
                p.g = 0
    
    def thamnai(self,X):
        for c in self.chan[:-1]:
            X = c(X)
        return X.kha.argmax(1)

ในที่นี้ได้ลองสร้างในแบบที่แบ่งการคำนวณแต่ละส่วนแยกใส่เป็นเมธอดเพื่อให้เข้าใจง่าย

ภายในขั้นตอนวนซ้ำจะเริ่มจาก .ha_entropy() คือคำนวณไปข้างหน้าจนถึงหาเอนโทรปีออกมาเสร็จ

จากนั้นได้ค่า entropy ซึ่งเป็นออบเจ็กต์ของคลาส Tuaprae แล้วก็ใช้เมธอด .praeyon() เพื่อเริ่มการแพร่ย้อนกลับ แล้วก็จะได้ค่าอนุพันธ์ชันของพารามิเตอร์แต่ละตัวเก็บไว้

สุดท้ายก็ใช้เมธอด .prap_para() ทำการค้นว่าชั้นไหนมีพารามิเตอร์แล้วทำการปรับ แล้วพอปรับเสร็จก็ล้างค่าอนุพันธ์ให้เป็น 0 ไปด้วย

ส่วนจำนวนชั้น และจำนวนเซลล์ในแต่ละชั้นก็กำหนดโดยค่า m ตอนเริ่มสร้าง

ลองพิจารณาจำแนกกลุ่มข้อมูลชุดนี้
np.random.seed(1)
r = np.tile(np.sqrt(np.linspace(0.5,25,200)),4)
t = np.random.normal(np.sqrt(r*5),0.3)
z = np.arange(4).repeat(200)
t += z*np.pi/2
X = np.array([r*np.cos(t),r*np.sin(t)]).T

plt.scatter(X[:,0],X[:,1],50,c=z,edgecolor='k',cmap='coolwarm')
plt.show()



เริ่มจากลองใช้โครงข่าย ๒ ชั้น
prasat = PrasatMLP(m=[2,50,4],eta=0.1,kratun='relu')
prasat.rianru(X,z,n_thamsam=5000)

mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),200),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mz = prasat.thamnai(mX).reshape(200,-1)
plt.axes(aspect=1,xlim=(X[:,0].min(),X[:,0].max()),ylim=(X[:,1].min(),X[:,1].max()))
plt.contourf(mx,my,mz,cmap='coolwarm',alpha=0.2)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],50,c=z,edgecolor='k',cmap='coolwarm')
plt.show()



หากต้องการเปลี่ยนโครงสร้างก็แค่แก้ตรงบรรทัดที่สร้างออบเจ็กต์ ส่วนที่เหลือเหมือนเดิม เช่นต้องการลอง ๔ ชั้นก็แก้เป็นแบบนี้
prasat = PrasatMLP(m=[2,50,50,50,4],eta=0.01,kratun='relu')



เทียบกันแล้วอาจเห็นได้ว่าแบบ ๔ ชั้นดูมีแนวโน้มที่จะแบ่งพื้นที่ออกมาซับซ้อนกว่า แต่แบบนี้ทำให้มีโอกาสเกิดการเรียนรู้เกินได้ง่าย จึงไม่ใช่ว่าชั้นเยอะแล้วจะดีเสมอไป

อาจลองปรับเปลี่ยนชั้นและจำนวนเซลล์ในแต่ละชั้น รวมถึงฟังก์ชันกระตุ้นและอัตราการเรียนรู้แล้วเทียบผลดูได้



สำหรับนิยามคลาสต่างๆที่ถูกสร้างในบทนี้จะถูกนำไปใช้ในบทต่อๆไปด้วย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เพื่อให้หยิบมาใช้ได้สะดวกจึงได้รวบรวมคลาสต่างๆเอาไว้ในไฟล์ >> unagi.py

ในนี้รวมถึงสิ่งที่จะกล่าวถึงในบทถัดๆไปด้วย



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๒


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文