φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๙: การสร้างชั้นคำนวณไปข้างหน้าและแพร่ย้อนกลับ
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:28
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
>> ต่อจาก บทที่ ๘



โครงข่ายประสาทเทียมที่ดูแล้วลึกล้ำ ล้วนประกอบขึ้นมาจากชิ้นส่วนที่แบ่งเป็นชั้นต่างๆ

แต่ละชั้นมีการคำนวณไปข้างหน้าตามลำดับแล้วสุดท้ายก็คำนวณแพร่ย้อนกลับเพื่อหาอนุพันธ์

ในบทนี้จะมาลองสร้างโครงสร้างแบบนั้น



ชั้นของตัวดำเนินการพื้นฐาน

ก่อนอื่นพิจารณาการคำนวณของตัวดำเนินการง่ายๆ เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งหาอนุพันธ์ได้ดังนี้
..(9.1)

ลองสร้างคลาสของชั้นต่างๆที่มีเมธอดการคำนวณไปข้างหน้าและย้อนกลับ ดังนี้
class Buak:
    def pai(self,x,y): # ไปข้างหน้า
        return x+y
    def yon(self,g): # ย้อนกลับ
        return g, g

class Lop:
    def pai(self,x,y):
        return x-y
    def yon(self,g):
        return g, -g

class Khun:
    def pai(self,x,y):
        self.x = x
        self.y = y
        return x*y
    def yon(self,g):
        return g*self.y, g*self.x

class Han:
    def pai(self,x,y):
        self.x = x
        self.y = y
        return x/y
    def yon(self,g):
        return g/self.y, -g*self.x/self.y**2

เวลาที่คำนวณไปข้างหน้าเพื่อคำนวณค่าจะใช้เมธอด .pai() ส่วนเวลาคำนวณย้อนกลับเพื่อหาอนุพันธ์ .yon()

เวลาคำนวณไปข้างหน้าก็คือรับเอาตัวแปรมาดำเนินการ คือบวกลบคูณหารกัน โดยระหว่างนั้นจะมีการเก็บค่าที่จะต้องใช้ตอนหาอนุพันธ์ตอนคำนวณแพร่ย้อนกลับไว้ด้วย

ส่วนเวลาคำนวณย้อนกลับจะรับค่าอนุพันธ์ที่สะสมจากชั้นก่อนแล้วคูณเพิ่มค่าในชั้นนั้นเข้าไปตามกฎลูกโซ่

ยกตัวอย่างเช่นสมการคำนวณง่ายๆแบบนี้
..(9.2)

หากเขียนกราฟคำนวณจะได้



จากสมการตัวอย่าง ให้ a=1,b=2,c=3,d=4 ถ้าใช้ชั้นต่างๆเหล่านี้คำนวณจะทำได้ดังนี้
lop = Lop()
khun = Khun()
han = Han()
a = 1
b = 2
c = 3
d = 4
e = lop.pai(a,b)
f = khun.pai(c,d)
x = han.pai(f,e)
print('e=%d, f=%d, x=%d'%(e,f,x))

gf,ge = han.yon(1)
gc,gd = khun.yon(gf)
ga,gb = lop.yon(ge)
print('ga=%d, gb=%d, gc=%d\ngd=%d, ge=%d, gf=%d'%(ga,gb,gc,gd,gf,ge))

ได้
e=-1, f=12, x=-12
ga=-12, gb=12, gc=-4
gd=-3, ge=-1, gf=-12

g ในที่นี้แทนอนุพันธ์ของ x เทียบกับตัวแปรตัวนั้น

ลองคำนวณด้วยตัวเองเทียบคำตอบดูได้

เช่นเดียวกัน ชั้นของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิธึมก็อาจเขียนได้ดังนี้
import numpy as np

class Exp:
    def pai(self,x):
        self.expx = np.exp(x)
        return self.expx
    def yon(self,g):
        return g*self.expx

class Ln:
    def pai(self,x):
        self.x = x
        return np.log(x)
    def yon(self,g):
        return g/self.x



ชั้นของฟังก์ชันกระตุ้น

ชั้นของฟังก์ชันซิกมอยด์และ ReLU อาจสร้างได้ดังนี้
class Sigmoid:
    def pai(self,x):
        self.h = 1/(1+np.exp(-x))
        return self.h
    def yon(self,g):
        return g*(1.-self.h)*self.h

class Relu:
    def pai(self,x):
        self.krong = (x>0)
        return np.where(self.krong,x,0)
    def yon(self,g):
        return np.where(self.krong,g,0)


สำหรับ ReLU นั้นอาจเข้าใจยากเล็กน้อย หลักการก็คือต้องสร้างตัวกรองบันทึกไว้ว่าตอนที่คำนวณไปข้างหน้านั้นมีค่าไหนบ้างที่เป็นบวก จากนั้นตอนแพร่ย้อนก็กรองให้ค่าอนุพันธ์แพร่ไปต่อได้เฉพาะส่วนนั้น ที่เหลือเป็น 0



ชั้นที่มีพารามิเตอร์

ฟังก์ชันที่แนะนำมาก่อนหน้านี้เป็นฟังก์ชันที่ไม่มีพารามิเตอร์ที่ปรับค่าได้ จะคำนวณกี่ทีก็ให้ผลเหมือนเดิมตลอด

แต่สำหรับในโครงข่ายประสาทเทียมแล้ว ชั้นที่สำคัญที่สุดก็คือชั้นผลคูณเชิงเส้น ซึ่งเป็นชั้นที่มีพารามิเตอร์ค่าน้ำหนัก w และไบแอส b

สำหรับชั้นที่มีพารามิเตอร์นั้น ระหว่างคำนวณย้อนกลับเราจะให้เก็บค่าอนุพันธ์เอาไว้ จากนั้นตอนหลังจึงจะใช้ค่านี้เพื่อกำหนดว่าจะปรับค่ายังไง

ยกตัวอย่างฟังก์ชันง่ายๆสำหรับตัวแปรเดี่ยวที่แค่คูณ w ตัวเดียวแล้วบวก b จะสร้างได้แบบนี้
class KhunW_BuakB:
    def __init__(self,w,b):
        self.w = w
        self.b = b
        self.gw = 0
        self.gb = 0
    def pai(self,x):
        self.x = x
        return self.w*x+self.b
    def yon(self,g):
        self.gw += g*self.x
        self.gb += g
        return g*self.w


ค่าอนุพันธ์จะเป็น 0 ตอนเริ่ม แล้วพอมีการแพร่ย้อนกลับจึงบวกเพิ่ม ถ้าใช้เสร็จแล้วควรจะต้องล้างให้กลับมาเป็น 0 อีกก่อนการคำนวณครั้งต่อไป ไม่เช่นนั้นของเก่าจะถูกบวกเพิ่มสะสมไป

ที่ต้องให้เริ่มจาก 0 แล้วบวกเพิ่มแทนที่จะให้แทนเป็นค่านั้นเลยก็เพราะถ้าการคำนวณมีการแตกสายไปอนุพันธ์อาจต้องคำนวณแยกสายแล้วบวกกัน

ตัวอย่างการใช้
f1 = KhunW_BuakB(2,1)
f2 = KhunW_BuakB(3,4)
x = 3
y = f1.pai(x)
print(y) # 3*2+1 = 7
z = f2.pai(y)
print(z) # 7*3+4 = 25
gy = f2.yon(1)
print(gy) # 1*3 = 3
print(f2.gw,f2.gb) # 1*7 = 7, 1
gx = f1.yon(gy)
print(gx) # 3*2 = 6
print(f1.gw,f1.gb) # 3*3 = 9, 3


ต่อมาจะนิยามชั้นที่ใช้ในโครงข่ายประสาทเทียมจริงๆ คือเป็นชั้นที่มีการคูณแบบเมทริกซ์

โดยทั่วไปแล้วชั้นคำนวณเชิงเส้นแบบนี้มีชื่อเรียกว่า affine layer ดังนั้นในที่นี้ก็จะขอใช้ชื่อคลาสว่า Affin

คำนี้มาจากภาษาละตินว่า affinis มีความหมายว่า "เกี่ยวพันเชื่อมต่อกัน" ในภาษาไทยมีการแปลคำว่า affine เป็น "สัมพรรค"

นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกว่าชั้น Linear ถ้าเป็นใน pytorch หรือ chainer ก็ใช้ชื่อนี้ ส่วนใน keras จะใช้ชื่อว่า Dense

อาจนิยามชั้นขึ้นมาได้ดังนี้
class Affin:
    def __init__(self,w,b):
        self.w = w
        self.b = b
        self.gw = 0
        self.gb = 0
    def pai(self,X):
        self.X = X
        return np.dot(X,self.w) + self.b
    def yon(self,g):
        self.gw += np.dot(self.X.T,g)
        self.gb += g.sum(0)
        return np.dot(g,self.w.T)

นำหนัก w และ b จะกำหนดตอนสร้างออบเจ็กต์ โดยขนาดต้องสัมพันธ์กับการคำนวณที่ต้องการ w เป็นอาเรย์สองมิติ ขนาดเท่ากับ (ขนาดค่าป้อนเข้า,ขนาดค่าขาออก) ส่วน b เป็นอาเรย์หนึ่งมิติ ขนาดเท่ากับค่าขาออก

ตัวอย่างการใช้
af = Affin(np.random.randint(0,9,[3,4]),np.random.randint(0,9,4))
x = np.random.randint(0,9,[2,3])
print(x)
print(af.w)
print(af.b)
a = af.pai(x)
print(a)
gx = af.yon(np.ones([2,4]))
print(gx)
print(af.gw)
print(af.gb)
ได้
[[3 1 3]
 [1 3 3]]
[[8 0 8 8]
 [0 7 0 8]
 [8 1 6 5]]
[7 3 5 2]
[[55 13 47 49]
 [39 27 31 49]]
[[ 24.  15.  20.]
 [ 24.  15.  20.]]
[[ 4.  4.  4.  4.]
 [ 4.  4.  4.  4.]
 [ 6.  6.  6.  6.]]
[ 2.  2.  2.  2.]

สำหรับการนำมาใช้งานจริงเพื่อสร้างโครงข่ายประสาทเทียมจะอยู่ในบทต่อไป



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๐


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文