#ศุกร์ 25 ม.ค. 2013หลังจากที่ไปชมสวนที่ระลึกสันติภาพและโดมระเบิดปรมาณูเสร็จ https://phyblas.hinaboshi.com/20130519เป้าหมายต่อไปก็คือปราสาทฮิโรชิมะ (広島城)ปราสาทฮิโรชิมะถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1589 โดยโมวริ เทรุโมโตะ (毛利輝元) โดยสร้างเลียนแบบจากจุรากุได (聚楽第) ในเกียวโตซึ่งเป็นปราสาทของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ซึ่งถูกทำลายในเวลาต่อมาเดิมทีศูนย์กลางการปกครองของแถบนั้นตั้งอยู่ที่ปราสาทโยชิดะโคริยามะ (吉田郡山城) ซึ่งตั้งอยู่บนเขาในเขตเมืองอากิตากาตะ (安芸高田市) ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปจากตัวเมืองฮิโรชิมะปัจจุบันมากแต่ต่อมาตระกูลโมวริต้องการย้ายศูนย์การกลางปกครองไปยังบริเวณฮิโรชิมะปัจจุบันซึ่งทำเลดีตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ จึงได้ย้ายมาและสร้างปราสาทฮิโรชิมะขึ้นที่นี่ปราสาทฮิโรชิมะคงอยู่เรื่อยมาจนถึงปี 1871 เข้าสู่ยุคเมย์จิหอหลักของตัวปราสาทได้ถูกใช้เป็นที่ว่าการจังหวัดฮิโรชิมะชั่วคราวหลังจากนั้นในปี 1894 ช่วงที่เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (日清戦争, นิชชินเซนโซว) ฐานบัญชาการทหารได้ย้ายมาตั้งที่ฮิโรชิมะ เรียกว่าศูนย์บัญชาการหลวงฮิโรชิมะ (広島大本営, ฮิโรชิมะไดฮนเอย์)หอหลักของปราสาทได้ถูกตั้งให้เป็นสมบัติของชาติ (国宝) ในปี 1931ต่อมาในปี 1945 เมืองฮิโรชิมะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู ปราสาทฮิโรชิมะซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางการระเบิดเพียงประมาณ ๙๐๐ เมตรได้ถูกทำลายทั้งหมดสภาพบริเวณปราสาทก่อนและหลังโดนระเบิดปรมาณู ในปี 1958 ได้มีการสร้างหอหลักของปราสาทขึ้นมาใหม่ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กให้เหมือนกับของเดิม พร้อมทั้งยังย้ายศาลเจ้าโกโกกุ (護国神社, โกโกกุจินจะ) มาสร้างใหม่ที่นี่ โดยศาลเจ้าแห่งนี้เดิมทีอยู่ใกล้ศูนย์กลางระเบิดมากกว่า ถูกทำลายไปเกือบหมดเหลือแค่เสาโทริอิ นอกจากส่วนเสาโทริอิแล้วส่วนที่เหลือเป็นการสร้างใหม่ทั้งหมดในจังหวัดฮิโรชิมะยังมีปราสาทอีกแห่งที่ถูกทำลายไปในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยถูกทำลายไปหลังจากปราสาทฮิโรชิมะเพียง ๒ วัน นั่นคือปราสาทฟุกุยามะ (福山城) ในเมืองฟุกุยามะ (福山市) ซึ่งได้เล่าถึงไปแล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20130324ปราสาทฮิโรชิมะมีอีกชื่อหนึ่งว่าปราสาทปลาคาร์ป (鯉城, ริโจว) แต่ไม่ใช่เพราะว่าบริเวรนี้มีปลาคาร์ปหรือเพราะปราสาทหน้าตาเหมือนปลาคาร์ป แต่เชื่อกันว่าเป็นเพราะบริเวณย่านแถบที่ตั้งปราสาทนี้ถูกเรียกว่าโคย (己斐, โคย) ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่าปลาคาร์ป (鯉, โคย) ก็เลยถูกเรียกแบบนั้นก่อนจะแวะไปเที่ยวปราสาทต้องหาอะไรกินก่อน เพราะเที่ยงแล้ว เรากลับมาแถวฮนโดริ (本通) เพื่อหาอะไรทาน ที่ต้องอุตส่าห์กลับมาตรงนี้เพราะเพื่อนบอกว่าตอนเดินออกจากเรียวกังเมื่อเช้าเดินผ่านแล้วสังเกตเห็นร้านน่าสนใจเราทานข้าวปลาซาบะนึ่งมิโสะ ราคา ๕๙๐ เยน ที่ฮนโดรินี้นอกจากจะมีโถงทางเดินบนดินแล้ว ยังมีย่านร้านค้าซึ่งอยู่ใต้ดิน ที่นี่เป็นเมืองใต้ดินที่มีชื่อเรียกว่า คามิยะโจวชาเรโอ (紙屋町シャレオ) เมืองใต้ดินนี้กินบริเวณกว้างตั้งแต่บริเวณสถานีฮนโดริ (本通駅) จนถึงสถานีคามิยะโจวฮิงาชิ (紙屋町東駅) และสถานีคามิยะโจวนิชิ (紙屋町西駅) และยังเชื่อมไปถึงสถานีรถไฟใต้ดินเคนโจวมาเอะ (県庁前駅) รถไฟใต้ดินในเมืองฮิโรชิมะมีอยู่แค่ช่วงสั้นๆและไม่เด่นมากเท่ารถราง ถึงจะเรียกว่ารถไฟใต้ดิน แต่ที่จริงคือรถไฟสายหนึ่งที่มีส่วนหนึ่งอยู่ใต้ดินเท่านั้น รถไฟสายนี้เรียกว่าสายอาสึโตรามุ (アストラム) ซึ่งชื่อมาจากคำว่า อาสึ (明日) ที่แปลว่าวันพรุ่งนี้ กับทรัม (tram) ที่แปลว่ารถรางรถไฟสายนี้เริ่มจากสถานีฮนโดริไปสุดที่สถานีโควอิกิโควเองมาเอะ (広域公園前駅) ตลอดสายยาว ๑๘.๔ กิโลเมตร แต่ส่วนที่อยู่ใต้ดินนั้นยาวแค่ ๑.๙ กิโลเมตร คือตั้งแต่สถานีฮนโดริจนถึงสถานีฮากุชิมะ (白島駅)แต่เราไม่มีโอกาสได้ลองนั่งดู เพราะไม่สำคัญเท่าไหร่ เส้นทางมันไม่ได้ผ่านสถานที่เที่ยวสำคัญอะไร แม้ว่าปราสาทฮิโรชิมะตั้งอยู่บนเส้นทางนี้คือระหว่างสถานีเคนโจวมาเอะกับสถานีโจวโฮกุ (城北駅) แต่ก็อยู่ใกล้แค่นิดเดียว ไม่จำเป็นจะต้องนั่งรถไฟเราเดินอยู่ในเส้นทางใต้ดินคามิยะโจวชาเรโอจากบริเวณสถานีฮนโดริ จนมาโผล่ด้านบนอีกทีที่สถานีเคนโจวมาเอะ เมื่อออกมาแล้วเดินแค่อีกหน่อยก็จะเห็นตัวปราสาทอยู่ด้านหน้านี้ เราเลี้ยวขวาเพื่อจะไปเข้าประตูด้านตะวันออก ริมคลองฝั่งตะวันออกมีรูปปั้นของอิเกดะ ฮายาโตะ (池田勇人) อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นช่วงปี 1960-1964 ผู้เป็นชาวจังหวัดฮิโรชิมะ ทางเข้า ข้ามคูไปก็ถึง ข้างในก็เป็นสวนธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรเท่าไหร่ ที่จริงมีศาลเจ้าโกโกกุอยู่ด้วย เมื่อคืนตอนที่มาเดินตอนกลางคืนก็เดินผ่านอยู่ แต่ว่ามืดเลยไม่ได้ถ่ายอะไร พอครั้งนี้มาตอนกลางวันก็ไม่ได้แวะไปดูอีกรอบ แต่มุ่งตรงสู่ปราสาทเลย แต่ก็ไม่มีอะไรมาก เป็นศาลเจ้าเล็กๆ แล้วก็ถึงตัวปราสาท ตอนที่มาถึงเห็นมีคนกำลังมาถ่ายรูปกันอยู่พอดี ชายหญิงแต่งชุดญี่ปุ่นสวยทั้งคู่ เข้าใจว่ามาถ่ายรูปแต่งงาน ภาพปราสาทที่เราได้ในระยะใกล้ในครั้งนี้ก็เลยเป็นภาพที่มีสองคนนี้ประดับอยู่ด้วย เราแอบถ่ายเขาไปด้วย (แต่เขาคงเห็นแล้วล่ะ) ก็สวยไปอีกแบบ จากด้านหน้าปราสาทมองออกไปยังคูที่ล้อมรอบ หลังจากได้มาเห็นปราสาทในระยะใกล้แล้ว ก็ได้เวลาเดินออกไป ปราสาทนี้เป็นปราสาทแห่งแรกที่เราตัดสินใจไม่เข้าไปชมด้านใน เนื่องจากค่าเข้าค่อนข้างแพง คือ ๓๖๐ เยน เทียบกับปราสาทอื่นแล้วถือว่าแพงกว่า และเราก็เข้ามาแล้วหลายปราสาท ดังนั้นไม่ได้เข้าที่นี่สักแห่งก็ไม่เป็นไรเมื่อเดินออกมาเราก็เริ่มเดินอ้อมไปยังฝั่งเหนือของปราสาทเพื่อเก็บภาพปราสาทจากด้านนอกภาพจากมุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอยู่ไกลจากตัวยอดปราสาท จากมุมตะวันตกเฉียงเหนือ มองจากฝั่งตะวันตก ในคูเห็นเป็ดกำลังว่ายน้ำอยู่มากมาย ภาพยอดปราสาทภาพสุดท้าย ถ่ายจากมุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้มีทางเข้าบริเวณปราสาทอยู่ เป็นคนละจุดกับที่เข้าตอนแรก แต่เมื่อคืนตอนที่มาเดินก็เข้าจากตรงนี้ ทางเข้าตรงนี้จะต้องผ่านป้อมนิโนะมารุ (二の丸) ซึ่งเป็นป้อมที่ลอยอยู่กลางน้ำ แยกต่างหากกับส่วนกลางของปราสาท การเที่ยวปราสาทก็จบแค่นี้ เป้าหมายต่อไปของเราก็คือจะไปเที่ยวมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะ (広島大学) ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้วิทยาเขตหลักไม่ได้อยู่ในตัวเมืองฮิโรชิมะ แต่อยู่ในเมืองฮิงาชิฮิโรชิมะ (東広島市) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของฮิโรชิมะอีกที ถ้าจะไปต้องนั่งรถไปไกลเป็นชั่วโมงแผนที่จังหวัดฮิโรชิมะ สีชมพูเข้มคือเมืองฮิงาชิฮิโรชิมะ สีม่วงคือเมืองฮิโรชิมะ มหาวิทยาลัยฮิโรชิมะก่อตั้งเมื่อปี 1949 โดยในตอนแรกวิทยาเขตหลักก็อยู่ภายในตัวเมืองฮิโรชิมะ แต่วิทยาเขตใหม่ที่เมืองฮิงาชิฮิโรชิมะถูกสร้างภายหลังและค่อยๆมีการย้ายส่วนต่างๆของมหาวิทยาลัยไปตั้งแต่ช่วงปี 1982 - 1995ตอนแรกสงสัยว่าที่มหาวิทยาลัยไปตั้งอยู่ซะไกลนี่เพราะจะหนีระเบิดปรมาณูหรือเปล่า แต่พอดูปีที่ย้ายแล้ว ยังไงก็ไม่เกี่ยว และอีกอย่างมหาวิทยาลัยนี้ก่อตั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองซะอีกปัจจุบันมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะมี ๓ วิทยาเขต คือวิทยาเขตฮิงาชิฮิโรชิมะ (東広島) วิทยาเขตคาสึมิ (霞) วิทยาเขตฮิงาชิเซนดะ (東千田)บริเวณที่ตั้งของวิทยาเขตฮิงาชิฮิโรชิมะนั้นเมื่อก่อนเป็นชุมชนเกษตรกรรมไร่องุ่น ล้อมรอบไปด้วยป่าเขา เนื่องจากตั้งอยู่ห่างไกลเมือง ทำให้มหาวิทยาลัยฮิโรชิมะวิทยาเขตฮิงาชิฮิโรชิมะนี้ขยายใหญ่ได้มาก ปัจจุบันขนาด ๒.๕ ตร.กม. ถือว่าใหญ่เป็นอันดับสองของญี่ปุ่นรองจากมหาวิทยาลัยทสึกุบะ (筑波大学) วิทยาเขตทสึกุบะการไปมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะนั้นมีรถที่ไปส่งโดยตรงถึงที่อยู่ ต้องไปขึ้นที่ศูนย์รถบัสฮิโรชิมะ (広島バスセンター) ตั้งอยู่ตรงสี่แยกคามิยะโจวซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองใต้ดินชาเรโอ มีทางทะลุจากใต้ดินด้วยศูนย์รถบัสใช้ตึกเดียวกับห้าง SOGO เดินเข้าไปข้างในก็เป็นห้างเป็นหลัก แต่จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นศูนย์รถบัส บริเวณขายตั๋วของศูนย์รถบัส ความจริงรถบัสกลางคืนที่เราจะใช้นั่งกลับเกียวโตคืนนี้จะขึ้นจากตรงนี้ก็ได้ แต่ตอนที่จองเราเลือกที่จะไปขึ้นที่สถานีรถไฟ เพราะคิดสะดวกกว่า แต่ไปๆมาๆดูเหมือนจะกลายเป็นว่าที่นี่สะดวกกว่าเพราะอยู่ใกล้โรงแรม แต่ก็เปลี่ยนไม่ทันแล้ว แล้วก็พบเรื่องผิดพลาดขึ้น คือพอเราจะซื้อตั๋วรถไปมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะก็พบว่ารถเที่ยวล่าสุดเพิ่งจะออกไป ต้องรออีกชั่วโมงกว่าสำหรับรอบถัดไปเพราะรถที่จะไปนั้นมีไม่บ่อย เป็นสิ่งที่ไม่น่าพลาดเลย ที่จริงเราควรจะหาข้อมูลเรื่องตารางเวลารถมาให้ดีก่อน แต่เราไม่ได้ทำเพราะแผนที่จะไปเที่ยวมหาวิทยาลัยนี้เพิ่งผุดขึ้นมาตอนหลัง ไม่ได้วางแผนให้รอบคอบนักที่จริงมีอีกวิธีคือไปนั่งรถไฟไปยังสถานีไซโจว (西条駅) ซึ่งอยู่ในเมืองฮิงาชิฮิโรชิมะ แต่ว่าไปถึงแล้วก็ต้องต่อรถเมล์ไปอีก และตอนนั้นก็ไม่ได้หาข้อมูลเรื่องตารางเดินรถเอาไว้เลย ก็เลยไม่เอาดีกว่าถ้าต้องรออีกตั้งชั่วโมงกว่าก็ไม่ไหวเพราะว่าตอนนั้นก็บ่ายโมงแล้ว ถ้าต้องรอรถเที่ยวบ่ายขนาดนั้นเพื่อไปละก็ ไปถึงก็เย็นมาก จะมีเวลาทำอะไรไม่เท่าไหร่ และค่ารถก็แพงมากด้วย กลัวว่าจะเที่ยวไม่คุ้ม สุดท้ายก็เลยตัดสินใจไม่ไปเมื่อตัดสินใจไม่ไปก็เท่ากับว่าต้องมาเรื่อยเปื่อยในเมืองต่อ เราก็รีบเปิดหาข้อมูลว่าจะไปเที่ยวที่ไหนต่อดี ที่จริงที่เที่ยวหลักๆของเมืองฮิโรชิมะก็มีอยู่แค่สองที่คือสวนที่ระลึกสันติภาพกับปราสาทฮิโรชิมะซึ่งก็ไปมาหมดแล้ว ถ้าจะมีที่ไหนให้ไปอีกก็อาจไม่สำคัญมาก แต่จะลองไปดูก็ไม่เสียหาย
เท่าที่รู้เห็นมีอีกที่ซึ่งคนนิยมไปกันก็คือสวนชุกเกย์เอง (縮景園) ซึ่งเป็นสวนเล็กๆกลางเมืองซึ่งย่อส่วนมากจากทะเลสาบซีหู (西湖) ในหางโจว (杭州) ประเทศจีน
เห็นเขาว่าสวยอยู่เหมือนกัน แต่เนื่องจากว่าเราไปตอนหน้าหนาวเลยคิดว่าถ้าไปอาจไม่ได้เห็นอะไรสวยมากมาย เพราะไม่มีดอกไม้อะไรเลย และยังต้องเสียค่าเข้าซึ่งแพงไม่น้อย จึงตัดสินใจไม่ไป
สุดท้ายแล้วที่ที่เราตัดสินใจไปก็คือมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะวิทยาเขตฮิงาชิเซนดะซึ่งเป็นวิทยาเขตเล็กๆที่อยู่ภายในตัวเมืองฮิโรชิมะ เนื่องจากพลาดที่จะได้ไปวิทยาเขตหลักแล้ว ก็ขอแค่ได้ไปดูวิทยาเขตย่อยก็ยังดี
วิทยาเขตนี้มีความสำคัญตรงที่เมื่อก่อนนี้เป็นวิทยาเขตหลัก แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปยังวิทยาเขตฮิงาชิฮิโรชิมะเกือบหมดแล้วเหลือเพียงส่วนเล็กๆ อาคารต่างๆของคณะที่ถูกย้ายก็รื้อถอนไปหมดแล้วพื้นที่เก่าส่วนหนึ่งก็ถูกทำเป็นสวนสาธารณะฮิงาชิเซนดะ (東千田公園)
แม้ว่าสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ของวิทยาเขตนี้จะถูกรื้อถอนออกไปหมด แต่มีอาคารหลังหนึ่งที่ถูกอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี นั่นคืออาคารหนึ่งคณะวิทยาศาสตร์เก่า (旧理学部1号館)
อาคารนี้เป็นอาคารเดียวในบริเวณนี้ที่เหลือรอดจากระเบิดปรมาณู ซึ่งในสมัยที่เกิดระเบิดขึ้นนั้นอาคารนี้เป็นของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ฮิโรชิมะ (広島文理科大学)
ตำแหน่งอาคารนี้อยู่ห่างจากศูนย์กลางการระเบิดไป ๑๔๒๐ เมตร ตอนที่ระเบิดนั้นภายในอาคารถูกเผาทำลายจนหมด แต่ตัวตึกกลับยังคงยืนหยัดอยู่ได้ สุดท้ายก็ไม่ได้รื้อถอนทิ้งและนำกลับมาใช้งานได้ต่อ
หลังจากนั้นในปี 1949 มหาวิทยาลัยฮิโรชิมะได้ก่อตั้งขึ้น และอาคารนี้ก็ถูกใช้เป็นอาคารคณะวิทยาศาสตร์ และก็ใช้ต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งช่วงที่มหาวิทยาลัยฮิโรชิมะเริ่มย้ายไปอยู่ที่วิทยาเขตฮิงาชิฮิโรชิมะ อาคารนี้เป็นอาคารเดียวที่ถูกอนุรักษ์ไว้เนื่องจากเป็นอาคารเก่าที่เหลือรอดจากระเบิดปรมาณู
ปัจจุบันอาคารนี้ถูกตั้งทิ้งไว้เฉยๆไม่มีการใช้งาน และมีรั้วล้อมไม่ให้เข้าไป กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ให้คนที่ผ่านมาได้มาชม
เราเดินทางไปด้วยรถรางเช่นเคย
แล้วก็เดินทางด้วยรถสาย 7 มาไม่ไกลนัก ถึงสถานีนิซเซกิเบียวอิงมาเอะ (日赤病院前駅)
ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลสภากาชาดและระเบิดปรมาณูฮิโรชิมะ (広島赤十字・原爆病院, ฮิโรชิมะเซกิจูจิเกมบากุเบียวอิง) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในเครือของสภากาชาดญี่ปุ่น (日本赤十字社) เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางสำหรับรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดปรมาณู
ความจริงแล้วสถานีนี้เคยมีชื่อว่าสถานีมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะ (広間大学駅) แต่เนื่องจากวิทยาเขตถูกย้ายไปแล้ว ที่นี่เป็นแค่วิทยาเขตย่อยไป เพื่อไม่ให้สับสนเลยเปลี่ยนชื่อใหม่โดยใช้ชื่อโรงพยาบาลเป็นชื่อสถานีแทน
สวนสาธารณะฮิงาชิเซนดะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงพยาบาลนี้เอง
ทันทีที่เดินเข้ามา อาคารที่อยู่ตรงหน้านี้ก็คืออาคารหนึ่งคณะวิทยาศาสตร์เก่านั่นเอง
เข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นว่ามีรั้วล้อมอยู่เช่นเดียวกับโดมระเบิดปรมาณู ไม่สามารถเข้าไปได้
มองไปอีกด้านเป็นทุ่งโล่งว่างเปล่า
เดินเข้าไปถ่ายตัวอาคารจากทางฝั่งทุ่งโล่ง
จากตรงนี้มองเห็นตัวอาคารของมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะส่วนที่ยังเหลืออยู่ด้วย แต่มีรั้วกั้นอยู่ ต้องไปเข้าจากอีกทาง
เราเดินออกจากบริเวณสวนสาธารณะไปแล้วเดินต่อไปอีกหน่อยก็เจอทางเข้ามหาวิทยาลัยฮิโรชิมะวิทยาเขตฮิงาชิเซนดะ
แต่ก็ไม่ได้เข้าไปเดินดูข้างใน เพราะเล็กนิดเดียวไม่ได้มีอะไร ส่วนสำคัญก็ได้ดูไปแล้ว ดังนั้นการเที่ยวชมมหาวิทยาลัยฮิโรชิมะก็จบลงเท่านี้ เราเดินกลับไปยังสถานีรถรางเพื่อเดินทางไปเที่ยวยังที่ต่อไปต่อ