φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



หออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่น ที่ระลึกชัยชนะแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เขียนเมื่อ 2015/07/24 21:57
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 23 พ.ค. 2015

ในตอนที่แล้วเราได้แนะนำเกี่ยวกับเมืองจิ่นโจวไปคร่าวๆแล้ว และพูดถึงประวัติศาสตร์ของจิ่นโจวรวมถึงความสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณมา https://phyblas.hinaboshi.com/20150722

ในตอนนี้จะเริ่มแนะนำถึงสถานที่เที่ยวภายในเมืองจิ่นโจวโดยเริ่มจากที่แรกคือหออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役纪念馆) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ยุทธการเหลียวเสิ่นซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก มีส่วนในการก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญทางการเมืองของจีน

ก่อนอื่นขอกล่าวนำถึงประวัติศาสตร์ของสงครามครั้งนี้ก่อน



เมื่อสมัยก่อนที่จีนจะกลายมาเป็นอย่างทุกวันนี้ต้องผ่านการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆมามากมาย เดิมทีจีนปกครองด้วยระบบกษัตริย์ แต่พอปี 1911 กษัตริย์ราชวงศ์ชิงก็ถูกโค่นล้มลง ประเทศเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐจีนซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย

แต่เหตุการณ์ภายในประเทศก็ยังไม่เรียบร้อยเพราะเกิดการต่อสู้ภายในเพื่อแย่งชิงอำนาจตลอดเวลา ปี 1927 พรรคก๊กมินตั๋ง (国民党) ได้เข้ามากุมอำนาจในการปกครองจีนโดยสมบูรณ์ แต่การเมืองก็ยังคงไม่สงบเพราะพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ (共产党) เริ่มแตกแยกกันทำให้จีนเข้าสู่ยุคสงครามกลางเมืองตั้งแต่ช่วงนั้นมา

เมื่อสงครามกลางเมืองเริ่มต้นพรรคคอมมิวนิสต์มีกำลังน้อยกว่าและค่อนข้างเสียเปรียบมาก มักจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อยู่ตลอดเวลาแต่ยังรอดมาได้และค่อยๆแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ความขัดแย้งนี้มีหยุดพักไปในช่วงที่ญี่ปุ่นมาบุกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองปี 1937 ถึง 1945 เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ไปแล้วสงครามกลางเมืองระหว่างสองพรรคจึงดำเนินต่อไป

ในช่วงระหว่างทำสงครามกับญี่ปุ่นนั้นกองทัพทหารของพรรคคอมมิวนิสต์ได้สร้างผลงานไว้มากกว่าฝ่ายก๊กมินตั๋ง จนได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังยึดอาวุธยุทโธปกรณ์จากทางญี่ปุ่นมาได้ด้วย พอถึงปี 1945 จึงมีกำลังเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังถือว่ามีกำลังน้อยกว่าฝ่ายก๊กมินตั๋งอยู่

อย่างไรก็ตามเวลายิ่งผ่านไปรูปการณ์ก็เริ่มจะพลิกกลับขึ้นมาเรื่อยๆ ในช่วงท้ายของสงครามช่วงปี 1948 - 1949 มีศึก ๓ ครั้งใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญซึ่งถูกเรียกว่า สามยุทธการใหญ่ (三大战役, ซานต้าจ้านอี้) ซึ่งได้แก่ยุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役), ยุทธการหวยไห่ (淮海战役) และยุทธการผิงจิน (平津战役) หลังจบการรบ ๓ ครั้งนี้ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งพินาศย่อยยับและสูญเสียอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนเกือบหมดสิ้น

การต่อสู้ระหว่างทั้งสองฝ่ายเห็นผลแพ้ชนะในปี 1949 จบลงด้วยชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งก็หนีไปตั้งตัวที่ไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ได้เข้าสู่ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่น้นมาจนถึงปัจจุบัน



ในยุทธการทั้ง ๓ ครั้งนั้นครั้งที่เป็นครั้งแรกและเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญก็คือยุทธการเหลียวเสิ่น ซึ่งเป็นศึกที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน โดยเป็นการปะทะกันระหว่างกองทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นำโดยหลินเปียว (林彪) และ หลัวหรงหวน (罗荣桓) และ หน่วยบัญชาการใหญ่ปราบคอมมิวนิสต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นำโดยเว่ย์ลี่หวง (卫立煌)

ช่วงต้นปี 1948 ก่อนเริ่มสงครามนี้กองทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์ได้เริ่มยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกได้แล้วจากการชนะในยุทธการฤดูหนาวปี 1947 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (东北1947年冬季战役) และการรบ ๔ ครั้งในยุทธการซื่อผิง (四平战役) ทำให้นี่เป็นภาคเดียงของจีนในตอนนั้นที่พรรคคอมมิวนิสต์มีกำลังเหนือกว่า

อย่างไรก็ตามทางก๊กมินตั๋งก็ยังครอบครองเมืองใหญ่ๆที่สำคัญอย่างเสิ่นหยาง, จิ่นโจว และฉางชุน การจะยึดให้ได้นั้นก็ยังถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย

ในเดือนกันยายน 1948 ยุทธการเหลียวเสิ่นได้เริ่มเปิดฉากขึ้นโดยกองทัพปลดแอกได้เริ่มเปิดศึกโจมตีเมืองจิ่นโจวซึ่งขณะนั้นอยู่ในความดูแลของฟ่านฮ่านเจี๋ย (范汉杰) รองผู้บัญชาการของหน่วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกนี้เรียกว่ายุทธการจิ่นโจว (锦州战役)

ในขณะที่ศึกกำลังเดินอยู่นั้นเจียงไคเชก (蒋介石, เจี่ยงเจี้ยสือ) ผู้นำก๊กมินตั๋งได้บินมายังเสิ่นหยางเพื่อบัญชาการรบด้วยตัวเอง เขาได้สั่งให้เลี่ยวเย่าเซียง (廖耀湘) ผู้นำหมู่ทัพที่ ๙ ของก๊กมินตั๋ง นำทัพจากเสิ่นหยางไปช่วยรบทางจิ่นโจวแต่ก็ถูกสกัดไว้โดยการซุ่มโจมตีทำให้ไม่สามารถเข้ามาเสริมกำลังที่จิ่นโจวได้ และในที่สุดในเดือนตุลาคมกองทัพปลดแอกก็สามารถยึดเมืองจิ่นโจวมาได้ ฟ่านฮ่านเจี๋ยและทหารจำนวนมากถูกจับเป็นเชลย

ส่วนทางเมืองฉางชุนนั้นกองทัพปลดแอกได้ปิดล้อมเมืองมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว จนถึงเดือนตุลาคมก็ผ่านมาแล้ว ๕ เดือน เนื่องจากเริ่มขาดแคลนเสบียงและอาวุธ ขวัญกำลังใจของทหารก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ ในที่สุดจึงประกาศยอมแพ้ เจิ้งต้งกั๋ว (郑洞国) รองผู้บัญชาการอีกคนก็ยอมจำนนแล้วแปรพักตร์ ทำให้ทางกองทัพปลดแอกจึงยึดเมืองฉางชุนได้สำเร็จ ศึกนี้เรียกว่าศึกปิดล้อมฉางชุน (长春围困战)

สถานการณ์เริ่มเป็นลางหายนะของฝ่ายก๊กมินตั่ง แต่เจียงไคเชกก็ยังคงไม่ตัดใจ สั่งให้เลี่ยวเย่าเซียงพยายามตีเอาเมืองจิ่นโจวคืนมาให้ได้ แต่กองทัพของเลี่ยวเย่าเซียงก็ถูกซุ่มโจมตีแถวเฮย์ซาน (黑山) จนแตกพ่าย เลี่ยวเย่าเซียงถูกจับเป็นเชลย ศึกนี้เรียกว่าศึกซุ่มโจมตีที่เฮย์ซาน (黑山阻击战)

ปลายเดือนตุลาคมกองทัพปลดแอกก็เข้าปิดล้อมเสิ่นหยาง เว่ย์ลี่หวงได้ขึ้นเครื่องบินหนีออกจากเสิ่นหยางไปในระหว่างนี้ จากนั้นพอเข้าเดือนพฤศจิกายนกองทัพปลดแอกก็ยึดเสิ่นหยางได้สำเร็จ เท่ากับว่าหัวเมืองหลักทั้ง ๓ แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือถูกตีมาได้ทั้งหมด ปิดฉากยุทธการเหลียวเสิ่นลง

ชัยชนะในยุทธการเหลียวเสิ่นนี้ทำให้กองทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์สามารถยึดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนได้ทั้งหมด ส่วนทางก๊กมินตั๋งต้องสูญเสียทรัพยากรในบริเวณนี้ไปทั้งหมด และเป็นจุดเริ่มที่กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มมีกำลังเหนือพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นมาเป็นครั้งแรก

หลังจากนั้นเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์รบชนะในยุทธการหวยไห่และยุทธการผิงจินที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยตามกันมาติดๆ ก็ทำให้กลายเป็นฝ่ายที่มีกำลังเหนือกว่าขึ้นมาอย่างท่วมท้น และนำไปสู่การรวมประเทศได้ในที่สุด



เพื่อเป็นที่ระลึกสงครามนี้จึงมีการสร้างหออนุสรณ์ยุทธการเหลียวเสิ่นขึ้นในปี 1959 ที่เมืองจิ่นโจวซึ่งเป็นเมืองจุดเริ่มต้นของยุทธการนี้ โดยสร้างไว้ที่ข้างๆวัดกว่างจี้ (广济寺) ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมือง แต่ว่าในปี 1985 ได้มีการสร้างที่ใหม่ขึ้นและสร้างเสร็จในปี 1988 จึงย้ายไปอยู่ที่นั่น ซึ่งก็คือสถานที่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟจิ่นโจว

จากตอนที่แล้วเราทานข้าวเที่ยงที่หน้าสถานีรถไฟจิ่นโจวเสร็จ จากนั้นก็เดินตามถนนด้านหน้าสถานีรถไฟคือถนนหยานอาน (延安路) ไปทางตะวันออกเรื่อยๆ



จนมาถึงถนนใหญ่เส้นหนึ่งคือถนนหยวินเฟย์ (云飞街) ก็เลี้ยวซ้ายไปทางทิศเหนือ



ลอดผ่านอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟไป



พอผ่านอุโมงค์ออกมาก็จะเริ่มมองเห็นทางเข้าอยู่โดดเด่นมาแต่ไกล





เดินเข้ามาด้านใน



ก่อนอื่นดูแผนที่ จะเห็นว่าถ้าเดินตรงเข้าไปเรื่อยๆก็จะเจออนุสาวรีย์และหอจัดแสดง



เดินตรงเข้ามาเรื่อยๆเจออนุสาวรีย์ มีคนเต็มเลยน่าจะมาเที่ยวกันเป็นหมู่คณะ




ข้างๆอนุสาวรีย์มีแผ่นป้ายเขียนบันทึก ลงวันที่ปี 1957



เดินมายื่นพาสปอร์ตเพื่อรับบัตรเข้าชมฟรีตรงนี้ แล้วก็ต้องฝากกระเป๋าด้วย



หออนุสรณ์



เข้ามาด้านในอาคาร



เริ่มเข้าสู่ห้องแรกซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945



รายละเอียดในนี้เยอะมาก คงไม่อาจเล่าได้ไหว คงได้แต่ยกมาคร่าวๆบางส่วน



เส้นทางเดินในช่วงต้นของสงคราม ปี 1945 ของทหารแปดวิถี ปาลู่จวิน (八路军) กองกำลังที่สำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์



รูปพวกผู้นำคนสำคัญของกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ ที่สำคัญสุดคือคนซ้ายบนสุด หลินเปียว



สงครามที่ซื่อผิงครั้งที่ ๒ ในปี 1946



แผนที่แสดงพื้นที่ที่ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ยึดมาได้ในช่วงปี 1946 ก่อนที่สงครามเต็มรูปแบบจะเริ่มเปิดฉากขึ้น



ในนี้ยังมีจัดแสดงข้าวของต่างๆมากมายที่ใช้ในสมัยนั้น





หนังสือตำราเรียนและหลักฐานแสดงการจบการศึกษาของโรงเรียนทหาร แล้วก็เหรียญตรา



ยุทธการหลินเจียง (临江战役) ในปี 1946 - 1947 เกิดขึ้นที่หลินเจียง (临江) มณฑลจี๋หลินในปัจจุบัน



ในปี 1947 กองทัพปลดปล่อยได้ทำการบุกโจมตีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ ครั้งใน ๓ ฤดู ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ยึดเขตแดนมาได้มากมาย





ปืนกลที่ใช้ในการบุกโจมตีฤดูร้อน



ผลจากศึกที่ผ่านมาทำให้พอขึ้นปี 1948 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ตกเป็นของฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ นี่เป็นการปูทางก่อนเริ่มยุทธการเหลียวเสิ่น



หลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นส่วนเท้าความ พอมาถึงส่วนนี้ก็เข้าสู่เรื่องราวของยุทธการเหลียวเสิ่น



รถถังรุ่นกงเฉิน (功臣号坦克) เป็นรถถังที่สร้างขึ้นภายในโรงงานของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในเสิ่นหยาง หลังญี่ปุ่นแพ้สงครามแล้วถอยทัพออกไปรถถังนี้ก็ได้ตกเป็นของกองทัพปลดปล่อยพรรคคอมมิวนิสต์



ข้างๆมีปืนตั้งอยู่จำนวนมากมาย



และปืนใหญ่



แบบจำลองแสดงเส้นทางการบุกโจมตีจิ่นโจว



ในสมรภูมิรบที่ถ่าซาน (塔山) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองจิ่นโจวมีการปะทะกันอย่างดุเดือดจนเละ จากที่ต้นไม้ขึ้นเยอะแยะในบริเวณนั้นก็เหลือแต่ซากไม้แห้ง



การบุกเข้ายึดจิ่นโจว



ศึกที่เฮย์ซานและต้าหู่ซาน



การบุกเข้ายึดเสิ่นหยาง เป็นการปิดท้ายยุทธการนี้




ชาวเมืองฉลองชัยชนะ



ตรงนี้เขียนถึงสถิติสรุปผลของศึกนี้ และผลกระทบที่เกิดขึ้น



อุปกรณ์ เครื่องใช้ และอาวุธต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรบในช่วงนี้วางจัดแสดงอยู่มากมาย





ธงที่เขียนว่า 打到南京去,活捉蒋介石 "ตีหนานจิงให้แตก แล้วจับเป็นเจียงไคเชก"





จบบริเวณที่เล่าประวัติศาสตร์แล้ว จากนั้นเดินถัดไปเป็นส่วนที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนจากประชาชน เพราะการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์จะไม่อาจสำเร็จได้ถ้าขาดประชาชน






ถัดมาเดินลงไปข้างล่างเป็นหอจัดแสดงเกี่ยวกับวีรบุรุษในสงครามนี้



ในนี้มีภาพและรูปปั้นของบุคคลต่างๆมากมาย



เหรียญตราต่างๆ



ถัดมาเป็นร้านขายของที่ระลึก




และส่วนสุดท้ายคือห้องแสดงภาพพาโนรามา



ในนี้เป็นห้องครึ่งทรงกลม รอบๆรายล้อมด้วยแบบจำลองและภาพวาดจำลองเหตุการณ์ทั้ง ๓๖๐ องศา



ดูแล้วสมจริงมาก ห้องแบบนี้ว่าไปแล้วคล้ายกับที่หออนุสรณ์ต้านอเมริกาหนุนเกาหลีเหนือ (抗美援朝纪念馆) ที่เมืองตานตง (丹东) ซึ่งไปมาก่อนหน้านี้เลย https://phyblas.hinaboshi.com/20141001



เสร็จจากตรงนี้ไปก็เป็นทางออก พอออกมาจากอาคารก็มาโผล่แถวใกล้ประตูหลังของที่นี่



ที่ประตูหลังมีป้ายชี้ทางไปยังสถานบัญชาการแนวหน้ายุทธการเหลียวเสิ่น (辽沈战役前线指挥所) ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๒๒ กม. นั่นก็เป็นสถานที่เที่ยวอีกแห่งแต่อยู่ไกลออกไปมากไปและไม่ได้มีอะไรมากมายจึงไม่ได้อยู่ในแผน



ใกล้ๆตรงนั้นยังมีสวนที่จัดแสดงเครื่องบินรบจำนวนหนึ่งที่ใช้โดยกองทัพปลดปล่อย






จบแล้ว ในนี้ใหญ่และมีรายละเอียดมากพอสมควรถ้าใครที่สนใจเกี่ยวกับสงครามคงชอบใจอยู่ไม่น้อย แต่ว่าสำหรับเราแล้วสนใจประวัติศาสตร์โดยรวมๆมากกว่าที่จะอยากเจาะลึกเกี่ยวกับสงครามจึงไม่ได้เก็บรายละเอียดมากเท่าไหร่ แค่อยากรู้คร่าวๆว่าสงครามเกิดขึ้นอย่างไร มีผลลงเอยเป็นยังไง มีผลกระทบอะไรต่อมาบ้าง

ภายในบริเวณของอนุสรณ์สถานแห่งนี้นอกจากจะจัดแสดงเกี่ยวกับสงครามแล้วก็ยังมีพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินจิ่นโจว (锦州古生物博物馆) ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าทางเข้าด้วย ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แม้จะขนาดเล็กแต่ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น่าพลาดอีกแห่ง ตรงส่วนนี้จะพูดถึงในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20150726



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> เหลียวหนิง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ