หออนุสรณ์จงเจิ้ง (เจียงไคเชก)
เขียนเมื่อ 2017/07/22 05:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 5 ก.ค. 2017ต่อจากตอนที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20170720หลังจากที่ชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์เมืองไทเปกันจนถึงเย็นเพื่อไม่ให้เสียเวลาเราจึงรีบออกเดินทางไปยังที่เที่ยวอีกแห่งที่สำคัญ นั่นคือหออนุสรณ์จงเจิ้ง (中正紀念堂, 中正纪念堂)หออนุสรณ์แห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญสำหรับรำลึกถึงบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของโลกท่านหนึ่ง นั่นคือ "เจี่ยงเจี้ยสือ" (蔣介石, 蒋介石) หรือที่คนไทยนิคมเรียกว่า "เจียงไคเชก"เจี่ยงเจี้ยสือมีอีกชื่อหนึ่งว่าเจี่ยงจงเจิ้ง (蔣中正, 蒋中正) ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่เขาเปลี่ยนมาใช้ในตอนหลัง ดังนั้นจึงจะใช้ในโอกาสที่เป็นทางการมากกว่า ดังนั้นหออนุสรณ์นี้จึงใช้ชื่อว่า "จงเจิ้ง" แต่คนทั่วไปยังคงนิยมเรียกเขาด้วยชื่อเดิม ก็คือ "เจี่ยงเจี้ยสือ"นอกจากนี้ในไต้หวันมีถนนที่ตั้งตามชื่อเขา คือถนนจงเจิ้ง (中正路) มีถนนชื่อนี้อยู่เป็นจำนวนมากหลายแห่งตามเมืองต่างๆ เช่นเดียวกับถนนจงซาน (中山路) ซึ่งมาจากชื่อของซุนจงซานประวัติของเขาเคยเล่าถึงไปแล้วในบล็อกนี้ตอนที่เที่ยวที่ตำบลซีโข่ว บ้านเกิดของเขา ดังนั้นจะไม่กล่าวถึงซ้ำ แต่ให้ไปอ่านในนั้น https://phyblas.hinaboshi.com/20120323เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่ ในบทความหน้านี้จะใช้ชื่อเรียกเขาว่า "เจี่ยงจงเจิ้ง"ปี 1949 เจี่ยงจงเจิ้งแพ้สงครามกลางเมือง เสียแผ่นดินใหญ่ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้ต้องหนีมาอยู่ไต้หวัน และตั้งแต่นั้นมาเขาก็ปกครองไต้หวันมาตลอดจนเสียชีวิตในปี 1975 โดยที่ไม่เคยออกนอกเกาะไต้หวันเลยแม้แต่ครั้งเดียวปี 1976 ได้เริ่มมีแผนการที่จะสร้างหออนุสรณ์ขึ้นเพื่อระลึกถึงเขา การก่อสร้างเริ่มในปี 1977 และเสร็จในปี 1980 ในวันที่ระลึกครบรอบ ๕ ปีหลังการตายของเขาตั้งแต่เขาตายไปเขาก็มีสถานะเป็นเหมือนเทพเจ้า เทียบเท่ากับบิดาแห่งชาติอย่างซุนจงซาน (ซุนยัดเซน)แต่เรื่องที่ว่าเขามีคุณงามความดีมากขนาดที่คนควรจะต้องระลึกถึงหรือเปล่านั้นเป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยในระยะหลังๆมาเขาเป็นคนที่ปกครองไต้หวันให้พ้นจากเงื้อมมือของคอมมิวนิสต์ ทำให้คนไต้หวันอยู่สุขสบายในยุคที่คนจีนแผ่นดินใหญ่ต้องลำบากอดตายหลายสิบล้านจากการปกครองของเหมาเจ๋อตงแต่ว่าการปกครองของเขาเป็นแบบเผด็จการ มีการกำจัดคนบริสุทธิ์ที่ต่อต้านไปจำนวนมาก เขาดำเนินนโยบายทุกอย่างก็เพื่อที่จะยึดแผ่นดินใหญ่กลับคืนมาให้ได้ สิ่งที่เขามองจริงๆไม่ใช่เกาะไต้หวัน แต่เป็นแผ่นดินใหญ่พรรคก๊กมินตั๋งยังคงเป็นรัฐบาลอยู่ตลอดจนถึงปี 2000 พอพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (民進黨, 民进党, หมินจิ้นต่าง) นำโดยเฉินสุยเปี่ยน (陳水扁, 陈水扁) ชนะการเลือกตั้งแล้วได้เข้ามาเป็นรัฐบาลแทน ความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเจี่ยงจงเจิ้งจึงชัดเจนยิ่งขึ้น ความเคลื่อนไหวที่ในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า "ชวี่เจี่ยงฮว่า" (去蔣化, 去蒋化)ความเคลื่อนไหวที่มีก็อย่างเช่น ทำลายรูปปั้นของเขา ลดสถานะเขาลง เลิกใช้คำเรียกอย่างยกย่องเวลาพูดชื่อเขา อย่างเช่น เมื่อก่อนต้องเรียกเขาว่า "เจี่ยงกง" (蔣公, 蒋公) ปกติแล้ว "กง" จะใช้เรียกบุคคลที่เป็นที่เคารพอีกทั้งชื่อสถานที่ต่างๆที่มีคำว่า "จงเจิ้ง" ก็โดนแก้เปลี่ยนเป็นชื่ออื่นกันมากมายหออนุสรณ์จงเจิ้งเองก็โดนหางเลขไปด้วยเช่นกัน โดยในปี 2007 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "หออนุสรณ์ประชาธิปไตยไต้หวันแห่งชาติ" (國立台灣民主紀念館, 国立台湾民初纪念馆) พวกป้ายต่างๆ รวมถึงลักษณะการใช้สถานที่ก็เปลี่ยนตามแต่ปี 2008 พรรคก๊กมินตั๋งชนะการเลือกตั้ง ได้กลับมาเป็นรัฐบาลใหม่อีกครั้ง แล้วหออนุสรณ์แห่งนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาในปี 2009เจี่ยงจงเจิ้งเป็นบุคคลที่น่ายกย่องหรือเปล่านั้น ก็เป็นประเด็นที่คนไต้หวันถกกันไม่รู้จักจบสิ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม หออนุสรณ์จงเจิ้งก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของไต้หวัน เพราะไต้หวันไม่มีพวกโบราณสถานอะไรที่โดดเด่น เพียงแต่ว่ายุคหลังๆมานี้อาจถูกตึกไทเป 101 แย่งความเด่นไปแทนหากเทียบกับสถานที่ชื่อดังอื่นๆเช่นพิพิธภัณฑ์กู้กง, ตึกไทเป 101, หออนุสรณ์จงซาน, ฯลฯ แล้ว ที่นี่ถือว่าตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองกว่ามาก เดินทางได้สะดวก อยู่ตรงจุดเปลี่ยนรถไฟฟ้า อีกทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการชม จึงเป็นที่ที่คนมาเที่ยวไต้หวันมักไม่พลาดที่จะเข้าชมรถไฟฟ้าหออนุสรณ์จงเจิ้ง (中正紀念堂站, 中正纪念堂站, จงเจิ้งจี้เนี่ยนถานจ้าน) เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสายสีแดงและสีเขียวพวกเรานั่งรถไฟฟ้ามาลงที่นี่ เดินเข้ามาก็จะเห็นลานกว้างที่สุดทางมีประตูที่เขียนว่า "ลานกว้างอิสระ" (自由廣場, 自由广场, จื้อโหยวกว๋างฉ่าง)ป้ายบนประตูนี้นี้เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ตอนปี 2007 ตอนที่เปลี่ยนชื่อเรียกหออนุสรณ์แห่งนี้ โดยตอนแรกจะเขียนว่า "ต้าจงจื้อเจิ้ง" (大中至正) ซึ่งเป็นสำนวนว่ายุติธรรมซื่อตรงไม่ลำเอียง แต่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อ "จงเจิ้ง" ดังนั้นจึงมักถูกใช้
เพียงแต่ว่าปี 2009 ตอนที่หออนุสรณ์ถูกเปลี่ยนชื่อกลับ ป้ายชื่อตรงนี้ไม่ได้ถูกแก้กลับด้วย ยังคงเป็นลานกว้างอิสระอยู่ต่อไปตัวประตูตั้งอยู่ทางตะวันตกของลานกว้าง ส่วนด้านตรงข้ามคือทางตะวันออกก็คือหออนุสรณ์ อาคารขาวหลังคนฟ้าที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ส่วนลานกว้างเปิดให้เข้ามาเดินได้ทั้งวัน แต่ตัวอาคารเปิดให้เข้าชมได้แค่เวลา 9:00 - 18:00 ตอนที่พวกเรามาถึงนั้นเวลาห้าโมงครึ่งแล้ว ดังนั้นจึงต้องรีบ ไม่มีเวลามากเดินขึ้นบันไดมาด้านบนก็เป็นห้องโถงใหญ่ที่มีรูปปั้นของเจี่ยงจงเจิ้ง และเพดานก็ประดับอย่างสวยงามส่วนใต้ของอาคารเป็นส่วนจัดแสดงแบบจำลองขนาดย่อของที่นี่ทางนี้จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติของเจี่ยงจงเจิ้ง และสิ่งที่เกี่ยวข้องเป็นที่น่าเสียดายว่าเวลาน้อยมาก จึงได้แต่เดินผ่านๆ ไม่อาจเก็บรายละเอียดอะไรได้ จึงขอแค่นำภาพมาลงให้ดูกันที่สะดุดตาอย่างหนึ่งก็คือ รูปที่เขาพบผู้นำต่างๆ ซึ่งมีในหลวง ร.๙ อยู่ด้วย ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 1963ตรงนี้เป็นห้องที่มีหุ่นจำลองซึ่งเหมือนตัวจริงมากอยู่ด้วยเมื่อถึงหกโมงเย็นเขาก็ประกาศเรียกให้ผู้เข้าชมออกไปจากสถานที่ พวกเราก็ออกไปกัน พอออกมาแล้วหันไปดูก็พบว่าประตูใหญ่ด้านบนปิดแล้วที่ลานกว้างอิสระมีเสาธงชาติตั้งอยู่ เราออกมาในจังหวะที่เขากำลังเชิญธงชาติลงจากเสาพอดีการเชิญธงลงจากเสาของที่นี่ดูแล้วมีพิธีรีตองเยอะจนดูเหมือนเป็นการแสดง พอคิดแบบนี้แล้ว ทหารก็เหมือนเป็นดารานักแสดงดีๆนี่เองเลยหลังพับธงเสร็จแล้วก็เดินไปยังที่เก็บ คนถือธงมีแค่คนเดียว แต่ต้องไปพร้อมกันเป็นแถวเสร็จแล้วเราก็เดินออกจากที่นี่โดยผ่านทางประตูลานกว้างอิสระ ก่อนจากก็ถ่ายรูปหออนุสรณ์ทะลุผ่านประตูสักภาพเราไม่ได้กลับไปยังสถานีเดิมที่จากมา แต่เดินต่อไปนิดหน่อยเพื่อไปยังป้อมประตูเมืองเก่าทางตะวันออก เรียกว่าตงเหมิน (東門, 东门) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าจิ่งฝูเหมิน (景福門, 景福们)ที่นี่เป็นป้อมประตูเก่าสมัยราชวงศ์ชิง มีทั้งหมด ๕ แห่ง ช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองได้รื้อกำแพงเมืองทิ้งเพื่อสร้างทางรถไฟ พร้อมทั้งรื้อประตูตะวันตก ซีเหมิน (西門, 西门) ต่อมาปี 1966 มีการรื้อประตูใต้ หนานเหมิน ซีเหมิน (南門, 南门) สุดท้ายจึงเหลือไว้เพียงป้อมประตู ๓ แห่งตงเหมินยังเป็นชื่อของสถานีรถไฟฟ้าด้วย แต่สถานีตงเหมินไม่ได้อยู่ตรงประตูนี้ แต่อยู่ห่างออกไปทางตะวันออกอีกระยะหนึ่งทางตะวันตกของประตูเป็นถนนไขต๋าเก๋อหลาน (凱達格蘭大道, 凯达格兰大道) ชื่อถนนนี้มาจากชื่อชนพื้นเมืองเดิมในไต้หวันที่เคยมีถิ่นอยู่ในบริเวณไทเปถนนสายนี้เองก็เป็นหนึ่งในเส้นที่ถูกเปลี่ยนชื่อจากความเคลื่อนไหวต่อต้านเจี่ยง โดยเดิมทีชื่อถนนเจี้ยโซ่ว (介壽, 介寿) ซึ่ง "เจี้ย" ในที่นี้มีที่มาจากชื่อเจี่ยงเจี้ยสือเดินไปถามถนนนี้แล้วก็จะต้องผ่านสวนสาธารณะเจี้ยโซ่ว (介壽公園, 介寿公园) ชื่อสวนสาธารณะนี้ไม่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อไปตามชื่อถนนที่นี่มีรูปปั้นของหลินเซิน (林森, 1868-1943) นักการเมืองซึ่งเคยใช้ชีวิตในไต้หวันช่วยปลายยุคราชวงศ์ชิงก่อนที่ไต้หวันจะตกเป็นของญี่ปุ่นแล้วก็มีแผ่นป้ายที่ระลึกถึงผู้เคราะห์ร้ายจากความสยองขวัญสีขาว (白色恐怖) ซึ่งหมายถึงคนบริสุทธิ์ที่โดนเล่นงานในช่วงที่เจี่ยงจงเจิ้งปกครองเผด็จการอยู่เดินไปสุดถนนก็จะถึงถนนฉงชิ่งหนานช่วงที่หนึ่ง (重慶南路一段, 重庆南路一段, ฉงชิ่งหนานลู่อีตว้าน) และเห็นทำเนียบประธานาธิบดี (總統府, 总统府, จ๋งถงฝู่) อยู่ที่สุดทางเมื่อก่อนเคยเดินมาแถวนี้แล้วครั้งหนึ่งตอนมาไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว โดยได้เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160423เป้าหมายที่เดินมาถึงตรงนี้ในครั้งนี้ก็เหมือนกับครั้งนั้น คือมาเดินซื้อหนังสือที่ถนนสายนี้สำหรับทำเนียบรัฐบาลไต้หวันนี้ ทั้งวันนั้นและวันนี้ก็ได้แค่มาผ่าน ไม่ได้ทำอะไร แต่จริงๆแล้วเป็นสถานที่ที่เปิดให้เข้าชมได้ด้วยเราได้กลับมาเที่ยวที่นี่อีกในวันต่อไป อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170724
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ