φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ทำเนียบประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
เขียนเมื่อ 2017/07/24 01:00
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พฤหัส 6 ก.ค. 2017

จากตอนที่แล้วที่เล่าถึงหออนุสรณ์จงเจิ้งไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170722

ซึ่งปิดท้ายด้วยภาพทำเนียบประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (中華民國總統府, 中华民国总统府) ตอนหัวค่ำ แต่ไม่ได้เข้าชม

แต่เราได้กลับมาที่นี่อีกทีในเช้าวันต่อไป ครั้งนี้มาเพื่อที่จะเข้าชมด้านใน



สาธารณรัฐจีน (中華民國, 中华民国) ในที่นี้หมายถึงใต้หวัน ไม่ใช่หมายถึงจีนแผ่นดินใหญ่ (=สาธารณรัฐประชาชนจีน, 中华人民共和国)

แต่ไหนแต่ไรไม่เคยมีประเทศที่ชื่อว่าไต้หวัน ไต้หวันเป็นแค่ชื่อเกาะที่ถูกปกครองโดยสาธารณรัฐจีน เพียงแต่หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนสูญเสียจีนแผ่นดินใหญ่ไปโดยสงครามกลางเมืองในปี 1949 พื้นที่จึงเหลือแค่เกาะไต้หวันกับเกาะเล็กๆรอบๆ ที่ทำการรัฐบาลก็ย้ายมาที่เกาะไต้หวัน ตั้งแต่นั้นมาคนจึงเรียกสาธารณรัฐจีนว่าไต้หวัน แต่ก็ไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการ

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีคนสับสนกันมาก ถ้าจะให้ขยายความโดยละเอียดก็จะต้องเขียนอธิบายยาว ไว้โอกาสหน้าจะมาพูดถึง ตอนนี้ขอสรุปสั้นๆว่าในภาษาพูดทั่วไปที่ไม่ใช่ทางการอาจสามารถถือว่า "สาธารณรัฐจีน" = "ไต้หวัน"

ดังนั้นที่นี่จึงเรียกว่า "ทำเนียบประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน" แต่ในภาษาพูดก็อาจเรียกว่าเป็น "ทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวัน" ได้




ทำเนียบรัฐบาลที่นี่นั้น เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่ง ดังนั้นแล้วนอกจากจะใช้เป็นสถานที่ทำงานแล้วก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปในตัวด้วย

อาคารถูกสร้างในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองอยู่ เริ่มสร้างในปี 1912 สร้างเสร็จในปี 1919 อาคารเป็นแบบเรอเนซ็องส์

ในช่วงแรกใช้เป็นทำเนียบผู้ว่าการไต้หวัน (台灣總督府, 台湾总督府) จนถึงปี 1945 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาคารถูกการโจมตีทางอากาศเสียหายหนักจนใช้การไม่ได้ แล้วหลังจากนั้นญี่ปุ่นก็แพ้สงคราม คืนไต้หวันให้จีน

พอถึงปี 1948 จึงเริ่มทำการซ่อมแซมอาคาร พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นอาคารเจี้ยโซ่ว (介壽館, 介寿馆, เจี้ยโซ่วกว่าน)

พอปี 1949 ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนพ่ายแพ้ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์แล้วย้ายหนีมายังไต้หวัน ก็ได้เริ่มใช้อาคารเจี้ยโซ่วนี้เป็นทำเนียบประธานาธิบดี

ปี 2006 ได้ยกเลือกชื่ออาคารเจี้ยโซ่ว เปลี่ยนมาเรียกชื่อว่าเป็นทำเนียบประธานาธิบดี (總統府, 总统府) เฉยๆ



อาคารที่ถูกสร้างสมัยญี่ปุ่นปกครองมีอีกจำนวนมากที่ถูกตั้งให้เป็นโบราณสถานสำคัญ อนุรักษ์ไว้อย่างดี ได้รับการให้ความสำคัญ ถือว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

เกาหลีเองก็เคยถูกปกครองโดยญี่ปุ่นเช่นเดียวกับไต้หวัน แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับร่องรอยอดีตตรงนี้มากเท่า เพราะถือว่าเป็นอดีตที่ไม่อยากจำ มีอาคารจำนวนมากถูกรื้อทิ้งไป ทำเนียบผู้ว่าการเกาหลีเองก็ถูกรื้อทิ้ง ต่างจากของไต้หวันที่ถูกเก็บไว้อย่างดีจนถึงทุกวันนี้แล้วก็ได้ใช้เป็นทั้งที่ทำงานและสถานที่ท่องเที่ยว


ทำเนียบแห่งนี้ได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้ตั้งแต่ปี 1995 การเข้าชมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

สำหรับวันธรรมดาเปิดตั้งแต่ 9:00-11:30 โดยแบ่งเป็นรอบๆ ทีละครึ่งชั่วโมง สามารถมาเมื่อไหร่ก็ได้ในช่วงเวลาที่เปิด หากคนน้อยไม่จำเป็นต้องจอง แต่หากมาเกิน ๑๕ คนขึ้นไปก็จะจำเป็นต้องจองล่วงหน้า

ส่วนวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดราชการนั้นจะเปิดให้เข้าชมได้ทั้งวัน และบริเวณที่ชมได้ก็จะกว้างกว่าด้วย

เนื่องจากวันเสาร์เราจะไม่อยู่ไทเปแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะมาได้สะดวกที่สุดก็คือวันนั้นซึ่งเป็นวันพฤหัสเท่านั้น ไม่เช่นนั้นก็คงจะรอวันเสาร์



เนื่องจากว่ามีเวลาน้อยเพราะมีงานประชุมที่ต้องเข้าให้ทันก่อน 11 โมง ดังนั้นจึงเลือกที่จะไปรอบเช้าที่สุด นั่นคือ 9 โมง

เรามาถึงก่อน 9 โมงเล็กน้อย ซึ่งตอนนั้นก็เริ่มเห็นมีคนมารออยู่ก่อนแล้วจำนวนหนึ่ง



พอถึงเวลาเขาก็ปล่อยให้เข้าไป ในนั้นเขาจะให้แสดงบัตรประชาชนพาสปอร์ต แล้วก็จะตรวจสัมภาระ ถ้าหากมีน้ำจะต้องดื่มให้เขาดูด้วย



แล้วเขาก็ปล่อยให้ผ่านเข้าไปถึงด้านใน




การเดินจะเดินเป็นกลุ่ม มีคนนำและคอยบรรยาย ไม่สามารถเดินตามใจชอบได้

เริ่มต้น คนบรรยายยืนอยู่ตรงหน้าแผ่นป้ายซึ่งแสดงผังของอาคารนี้ ลักษณะอาคารเป็นลักษณะเหมือนอักษร "รื่อ" 日 ซึ่งก็คือ "รื่อเปิ่น" 日本 หมายถึงญี่ปุ่นนั่นเอง



ทางนี้มีคลิปสั้นๆบรรยายประวัติศาสตร์ของที่นี่



ต่อมาตรงนี้เขาอธิบายแผนผังของที่นี่ว่าห้องไหนใช้ทำอะไรบ้าง



เดินต่อเข้ามาเจอส่วนที่สามารถเห็นสวนด้านในของอาคาร



ต่อมาเข้ามาที่ห้องแรก ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับโครงสร้างของตึก




ห้องถัดมาแสดงพวกเครื่องใช้ ชีวิตประจำวันในการทำงานที่นี่



ทางเดินระหว่างห้องมีอะไรจัดแสดงอยู่แล้วเขาก็หยุดเพื่อบรรยายบางอย่างเป็นช่วงๆ





ห้องต่อมาบรรยายถึงประธานาธิบดีแต่ละสมัย
เจี่ยงจงเจิ้ง (蔣中正, 蒋中正) ปี 1949-1975
หยานเจียก้าน (嚴家淦, 严家淦) ปี 1975-1978
เจี่ยงจิงกั๋ว (蔣經國, 蒋经国) ปี 1978-1988
หลี่เติงฮุย (李登輝, 李登辉) ปี 1988-2000
เฉินสุนเปี่ยน (陳水扁, 陈水扁) ปี 2000-2008
หม่าอิงจิ่ว (馬英九, 马英九) ปี 2008-2016
ไช่อิงเหวิน (蔡英文) ปี 2016 ถึงปัจจุบัน




แล้วก็ห้องถัดมาแสดงเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดจากประชาชนมาชุมนุมที่ลานหน้าทำเนียบเพื่อเรียกร้องอะไรต่างๆจากรัฐบาล



เดินต่อมาผ่านทางเดินยาว เขาก็อธิบายรูปวาดที่อยู่ระหว่างทางไปเรื่อยๆ



มีรูปหนึ่งที่เห็นแล้วน่าสนใจมาก แต่เขาก็ไม่ได้อธิบายอะไร นั่นคือภาพประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ไช่อิงเหวิน กับแมว กำลังนั่งทำงานอยู่โดยมีภาพของประธานาธิบดีคนก่อนๆอยู่เป็นฉากหลัง



ภาพวาดโดย เหวย์จงเฉิง (韋宗成, 韦宗成) เขามีวาดออกมาเป็นมังงะล้อเลียนเลยด้วย วาดได้ดูโมเอะดี เดี๋ยวนี้ไต้หวันกำลังเจริญรอยตามญี่ปุ่น คือไม่ว่าอะไรก็ทำออกมาให้โมเอะได้

ลองดูในทวิตเตอร์ดูก็ได้ https://twitter.com/hashtag/蔡英文賣萌

ต่อมาก็เป็นที่จัดแสดงพวกอาหารต่างๆของไต้หวัน ที่ปรากฏอยู่บนจานนี่เป็นภาพฉายที่พยายามทำให้ดูเหมือนจริง



สุดท้ายเป็นร้านขายของที่ระลึก



จากนั้นไปก็เป็นทางออกแล้ว



ที่หน้าทางออกมีฉากสำหรับให้ถ่ายรูป มีประนาธิบดีอยู่เป็นฉากหลัง



ก็จบการเข้าชมเพียงเท่านี้ เราเดินไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีเสี่ยวหนานเหมิน (小南門站, 小南门站)



ภารกิจการเที่ยวตอนเช้าก็ผ่านไปด้วยดี จากนั้นก็ได้เวลากลับไปยังศูนย์ประชุมนานาชาติเพื่อเข้างานประชุมต่อ



ครั้งนี้เที่ยวไปทำงานไป ทั้งเรื่องเที่ยวและเรื่องงานต่างก็สำคัญทั้งคู่ ก็เหมือนกับทำเนียบแห่งนี้ ซึ่งใช้เป็นทั้งที่เที่ยวและที่ทำงานในเวลาเดียวกัน



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไทเป

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文