φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หออนุสรณ์จงเจิ้ง (เจียงไคเชก)
เขียนเมื่อ 2017/07/22 05:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 5 ก.ค. 2017

ต่อจากตอนที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20170720

หลังจากที่ชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์เมืองไทเปกันจนถึงเย็น

เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราจึงรีบออกเดินทางไปยังที่เที่ยวอีกแห่งที่สำคัญ นั่นคือหออนุสรณ์จงเจิ้ง (中正紀念堂, 中正纪念堂)

หออนุสรณ์แห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญสำหรับรำลึกถึงบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของโลกท่านหนึ่ง นั่นคือ "เจี่ยงเจี้ยสือ" (蔣介石, 蒋介石) หรือที่คนไทยนิคมเรียกว่า "เจียงไคเชก"

เจี่ยงเจี้ยสือมีอีกชื่อหนึ่งว่าเจี่ยงจงเจิ้ง (蔣中正, 蒋中正) ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่เขาเปลี่ยนมาใช้ในตอนหลัง ดังนั้นจึงจะใช้ในโอกาสที่เป็นทางการมากกว่า ดังนั้นหออนุสรณ์นี้จึงใช้ชื่อว่า "จงเจิ้ง" แต่คนทั่วไปยังคงนิยมเรียกเขาด้วยชื่อเดิม ก็คือ "เจี่ยงเจี้ยสือ"

นอกจากนี้ในไต้หวันมีถนนที่ตั้งตามชื่อเขา คือถนนจงเจิ้ง (中正路) มีถนนชื่อนี้อยู่เป็นจำนวนมากหลายแห่งตามเมืองต่างๆ เช่นเดียวกับถนนจงซาน (中山路) ซึ่งมาจากชื่อของซุนจงซาน

ประวัติของเขาเคยเล่าถึงไปแล้วในบล็อกนี้ตอนที่เที่ยวที่ตำบลซีโข่ว บ้านเกิดของเขา ดังนั้นจะไม่กล่าวถึงซ้ำ แต่ให้ไปอ่านในนั้น https://phyblas.hinaboshi.com/20120323

เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่ ในบทความหน้านี้จะใช้ชื่อเรียกเขาว่า "เจี่ยงจงเจิ้ง"



ปี 1949 เจี่ยงจงเจิ้งแพ้สงครามกลางเมือง เสียแผ่นดินใหญ่ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้ต้องหนีมาอยู่ไต้หวัน และตั้งแต่นั้นมาเขาก็ปกครองไต้หวันมาตลอดจนเสียชีวิตในปี 1975 โดยที่ไม่เคยออกนอกเกาะไต้หวันเลยแม้แต่ครั้งเดียว

ปี 1976 ได้เริ่มมีแผนการที่จะสร้างหออนุสรณ์ขึ้นเพื่อระลึกถึงเขา การก่อสร้างเริ่มในปี 1977 และเสร็จในปี 1980 ในวันที่ระลึกครบรอบ ๕ ปีหลังการตายของเขา

ตั้งแต่เขาตายไปเขาก็มีสถานะเป็นเหมือนเทพเจ้า เทียบเท่ากับบิดาแห่งชาติอย่างซุนจงซาน (ซุนยัดเซน)

แต่เรื่องที่ว่าเขามีคุณงามความดีมากขนาดที่คนควรจะต้องระลึกถึงหรือเปล่านั้นเป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยในระยะหลังๆมา

เขาเป็นคนที่ปกครองไต้หวันให้พ้นจากเงื้อมมือของคอมมิวนิสต์ ทำให้คนไต้หวันอยู่สุขสบายในยุคที่คนจีนแผ่นดินใหญ่ต้องลำบากอดตายหลายสิบล้านจากการปกครองของเหมาเจ๋อตง

แต่ว่าการปกครองของเขาเป็นแบบเผด็จการ มีการกำจัดคนบริสุทธิ์ที่ต่อต้านไปจำนวนมาก เขาดำเนินนโยบายทุกอย่างก็เพื่อที่จะยึดแผ่นดินใหญ่กลับคืนมาให้ได้ สิ่งที่เขามองจริงๆไม่ใช่เกาะไต้หวัน แต่เป็นแผ่นดินใหญ่

พรรคก๊กมินตั๋งยังคงเป็นรัฐบาลอยู่ตลอดจนถึงปี 2000 พอพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (民進黨, 民进党, หมินจิ้นต่าง) นำโดยเฉินสุยเปี่ยน (陳水扁, 陈水扁) ชนะการเลือกตั้งแล้วได้เข้ามาเป็นรัฐบาลแทน ความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเจี่ยงจงเจิ้งจึงชัดเจนยิ่งขึ้น ความเคลื่อนไหวที่ในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า "ชวี่เจี่ยงฮว่า" (去蔣化, 去蒋化)

ความเคลื่อนไหวที่มีก็อย่างเช่น ทำลายรูปปั้นของเขา ลดสถานะเขาลง เลิกใช้คำเรียกอย่างยกย่องเวลาพูดชื่อเขา อย่างเช่น เมื่อก่อนต้องเรียกเขาว่า "เจี่ยงกง" (蔣公, 蒋) ปกติแล้ว "กง" จะใช้เรียกบุคคลที่เป็นที่เคารพ

อีกทั้งชื่อสถานที่ต่างๆที่มีคำว่า "จงเจิ้ง" ก็โดนแก้เปลี่ยนเป็นชื่ออื่นกันมากมาย

หออนุสรณ์จงเจิ้งเองก็โดนหางเลขไปด้วยเช่นกัน โดยในปี 2007 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "หออนุสรณ์ประชาธิปไตยไต้หวันแห่งชาติ" (國立台灣民主紀念館, 国立台湾民初纪念馆) พวกป้ายต่างๆ รวมถึงลักษณะการใช้สถานที่ก็เปลี่ยนตาม

แต่ปี 2008 พรรคก๊กมินตั๋งชนะการเลือกตั้ง ได้กลับมาเป็นรัฐบาลใหม่อีกครั้ง แล้วหออนุสรณ์แห่งนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาในปี 2009

เจี่ยงจงเจิ้งเป็นบุคคลที่น่ายกย่องหรือเปล่านั้น ก็เป็นประเด็นที่คนไต้หวันถกกันไม่รู้จักจบสิ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม หออนุสรณ์จงเจิ้งก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของไต้หวัน เพราะไต้หวันไม่มีพวกโบราณสถานอะไรที่โดดเด่น เพียงแต่ว่ายุคหลังๆมานี้อาจถูกตึกไทเป 101 แย่งความเด่นไปแทน

หากเทียบกับสถานที่ชื่อดังอื่นๆเช่นพิพิธภัณฑ์กู้กง, ตึกไทเป 101, หออนุสรณ์จงซาน, ฯลฯ แล้ว ที่นี่ถือว่าตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองกว่ามาก เดินทางได้สะดวก อยู่ตรงจุดเปลี่ยนรถไฟฟ้า อีกทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการชม จึงเป็นที่ที่คนมาเที่ยวไต้หวันมักไม่พลาดที่จะเข้าชม



รถไฟฟ้าหออนุสรณ์จงเจิ้ง (中正紀念堂站, 中正纪念堂站, จงเจิ้งจี้เนี่ยนถานจ้าน) เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสายสีแดงและสีเขียว

พวกเรานั่งรถไฟฟ้ามาลงที่นี่ เดินเข้ามาก็จะเห็นลานกว้างที่สุดทางมีประตูที่เขียนว่า "ลานกว้างอิสระ" (自由廣場, 自由广场, จื้อโหยวกว๋างฉ่าง)



ป้ายบนประตูนี้นี้เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ตอนปี 2007 ตอนที่เปลี่ยนชื่อเรียกหออนุสรณ์แห่งนี้ โดยตอนแรกจะเขียนว่า "ต้าจงจื้อเจิ้ง" (大中至正) ซึ่งเป็นสำนวนว่ายุติธรรมซื่อตรงไม่ลำเอียง แต่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อ "จงเจิ้ง" ดังนั้นจึงมักถูกใช้

เพียงแต่ว่าปี 2009 ตอนที่หออนุสรณ์ถูกเปลี่ยนชื่อกลับ ป้ายชื่อตรงนี้ไม่ได้ถูกแก้กลับด้วย ยังคงเป็นลานกว้างอิสระอยู่ต่อไป


ตัวประตูตั้งอยู่ทางตะวันตกของลานกว้าง ส่วนด้านตรงข้ามคือทางตะวันออกก็คือหออนุสรณ์ อาคารขาวหลังคนฟ้าที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์



ส่วนลานกว้างเปิดให้เข้ามาเดินได้ทั้งวัน แต่ตัวอาคารเปิดให้เข้าชมได้แค่เวลา 9:00 - 18:00 ตอนที่พวกเรามาถึงนั้นเวลาห้าโมงครึ่งแล้ว ดังนั้นจึงต้องรีบ ไม่มีเวลามาก

เดินขึ้นบันไดมาด้านบนก็เป็นห้องโถงใหญ่ที่มีรูปปั้นของเจี่ยงจงเจิ้ง และเพดานก็ประดับอย่างสวยงาม



ส่วนใต้ของอาคารเป็นส่วนจัดแสดง

แบบจำลองขนาดย่อของที่นี่



ทางนี้จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติของเจี่ยงจงเจิ้ง และสิ่งที่เกี่ยวข้อง



เป็นที่น่าเสียดายว่าเวลาน้อยมาก จึงได้แต่เดินผ่านๆ ไม่อาจเก็บรายละเอียดอะไรได้ จึงขอแค่นำภาพมาลงให้ดูกัน








ที่สะดุดตาอย่างหนึ่งก็คือ รูปที่เขาพบผู้นำต่างๆ ซึ่งมีในหลวง ร.๙ อยู่ด้วย ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 1963



ตรงนี้เป็นห้องที่มีหุ่นจำลองซึ่งเหมือนตัวจริงมากอยู่ด้วย



เมื่อถึงหกโมงเย็นเขาก็ประกาศเรียกให้ผู้เข้าชมออกไปจากสถานที่ พวกเราก็ออกไปกัน พอออกมาแล้วหันไปดูก็พบว่าประตูใหญ่ด้านบนปิดแล้ว



ที่ลานกว้างอิสระมีเสาธงชาติตั้งอยู่ เราออกมาในจังหวะที่เขากำลังเชิญธงชาติลงจากเสาพอดี



การเชิญธงลงจากเสาของที่นี่ดูแล้วมีพิธีรีตองเยอะจนดูเหมือนเป็นการแสดง พอคิดแบบนี้แล้ว ทหารก็เหมือนเป็นดารานักแสดงดีๆนี่เองเลย



หลังพับธงเสร็จแล้วก็เดินไปยังที่เก็บ คนถือธงมีแค่คนเดียว แต่ต้องไปพร้อมกันเป็นแถว



เสร็จแล้วเราก็เดินออกจากที่นี่โดยผ่านทางประตูลานกว้างอิสระ ก่อนจากก็ถ่ายรูปหออนุสรณ์ทะลุผ่านประตูสักภาพ





เราไม่ได้กลับไปยังสถานีเดิมที่จากมา แต่เดินต่อไปนิดหน่อยเพื่อไปยังป้อมประตูเมืองเก่าทางตะวันออก เรียกว่าตงเหมิน (東門, 东门) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าจิ่งฝูเหมิน (景福門, 景福们)



ที่นี่เป็นป้อมประตูเก่าสมัยราชวงศ์ชิง มีทั้งหมด ๕ แห่ง ช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองได้รื้อกำแพงเมืองทิ้งเพื่อสร้างทางรถไฟ พร้อมทั้งรื้อประตูตะวันตก ซีเหมิน (西門, 西门) ต่อมาปี 1966 มีการรื้อประตูใต้ หนานเหมิน ซีเหมิน (南門, 南门) สุดท้ายจึงเหลือไว้เพียงป้อมประตู ๓ แห่ง

ตงเหมินยังเป็นชื่อของสถานีรถไฟฟ้าด้วย แต่สถานีตงเหมินไม่ได้อยู่ตรงประตูนี้ แต่อยู่ห่างออกไปทางตะวันออกอีกระยะหนึ่ง

ทางตะวันตกของประตูเป็นถนนไขต๋าเก๋อหลาน (凱達格蘭大道, 凯达格兰大道) ชื่อถนนนี้มาจากชื่อชนพื้นเมืองเดิมในไต้หวันที่เคยมีถิ่นอยู่ในบริเวณไทเป

ถนนสายนี้เองก็เป็นหนึ่งในเส้นที่ถูกเปลี่ยนชื่อจากความเคลื่อนไหวต่อต้านเจี่ยง โดยเดิมทีชื่อถนนเจี้ยโซ่ว (介壽, 介寿) ซึ่ง "เจี้ย" ในที่นี้มีที่มาจากชื่อเจี่ยงเจี้ยสือ

เดินไปถามถนนนี้แล้วก็จะต้องผ่านสวนสาธารณะเจี้ยโซ่ว (介壽公園, 介寿公园) ชื่อสวนสาธารณะนี้ไม่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อไปตามชื่อถนน



ที่นี่มีรูปปั้นของหลินเซิน (林森, 1868-1943) นักการเมืองซึ่งเคยใช้ชีวิตในไต้หวันช่วยปลายยุคราชวงศ์ชิงก่อนที่ไต้หวันจะตกเป็นของญี่ปุ่น



แล้วก็มีแผ่นป้ายที่ระลึกถึงผู้เคราะห์ร้ายจากความสยองขวัญสีขาว (白色恐怖) ซึ่งหมายถึงคนบริสุทธิ์ที่โดนเล่นงานในช่วงที่เจี่ยงจงเจิ้งปกครองเผด็จการอยู่



เดินไปสุดถนนก็จะถึงถนนฉงชิ่งหนานช่วงที่หนึ่ง (重慶南路一段, 重庆南路一段, ฉงชิ่งหนานลู่อีตว้าน) และเห็นทำเนียบประธานาธิบดี (總統府, 总统府, จ๋งถงฝู่) อยู่ที่สุดทาง



เมื่อก่อนเคยเดินมาแถวนี้แล้วครั้งหนึ่งตอนมาไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว โดยได้เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160423

เป้าหมายที่เดินมาถึงตรงนี้ในครั้งนี้ก็เหมือนกับครั้งนั้น คือมาเดินซื้อหนังสือที่ถนนสายนี้

สำหรับทำเนียบรัฐบาลไต้หวันนี้ ทั้งวันนั้นและวันนี้ก็ได้แค่มาผ่าน ไม่ได้ทำอะไร แต่จริงๆแล้วเป็นสถานที่ที่เปิดให้เข้าชมได้ด้วย

เราได้กลับมาเที่ยวที่นี่อีกในวันต่อไป อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170724



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไทเป

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文