φυβλαςのβλογ
phyblas的博客
ทวีต
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ตอนที่ ๑: ห้องฉายดาวและศูนย์วิทยาศาสตร์
เขียนเมื่อ 2017/08/03 21:20
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:15
# อาทิตย์ 9 ก.ค. 2017
หลังจากที่ได้เที่ยวสถานที่ทางดาราศาสตร์ในเจียอี้และไถหนานเสร็จไปแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20170801
วันนี้ก็ยังคงจะต่อกันด้วยสถานที่เที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่หมายต่อมาคือ
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (國立自然科學博物館, 国立自然科学博物馆)
ซึ่งอยู่ที่เมืองไถจง
ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน นอกจากจะแค่จัดแสดงของแล้วยังประกอบไปด้วยห้องฉายหนัง, ห้องฉายดาว และสวนพฤกษศาสตร์ด้วย
ที่นี่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1986 เวลาที่เข้าชมได้คือ 9:00-17:00 หยุดทุกวันจันทร์
เนื้อหาที่จัดแสดงภายในมีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆหลายด้าน บริเวณแบ่งหลักๆเป็น ๖ ส่วนดังนี้
- โถงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (生命科學廳, 生命科学厅)
- โถงวัฒนธรรมมนุษย์ (人類文化廳, 人类文化厅)
- โถงสิ่งแวดล้อมโลก (全球環境廳, 全球环境厅)
- โรงละครอวกาศ (空間劇院, 空间剧院)
- ศูนย์วิทยาศาตร์ (科學中心, 科学中心)
- สวนพฤกษศาสตร์ (植物園, 植物园)
โถงทั้ง ๓ จะอยู่ในส่วนอาคารหลัก มีขนาดใหญ่สุด ส่วนโรงละครกับศูนย์วิทยาศาตร์อยู่ในส่วนของตึกที่ยื่นยาวออกมาด้านข้าง และสวนพฤกษศาสตร์จะแยกอยู่ห่างจากส่วนอื่น โดยมีถนนกั้นอยู่อีกที
เนื่องจากที่นี่กว้างมากการจะเดินเที่ยวหมดภายในวันเดียวแทบเป็นไปไม่ได้ ครั้งนี้เราจึงตัดสินใจเลือกชมเฉพาะส่วนที่สนใจเป็นหลัก
นอกจากนี้ที่นี่ยังมีส่วนจัดแสดงพิเศษที่เปลี่ยนไปตามเวลา ซึ่งช่วงที่ไปนั้นหัวข้อที่จัดแสดงอยู่ก็คือเรื่องของตุนหวง (敦煌)
ในการเล่าเรื่องเที่ยวครั้งนี้จะแบ่งเป็น ๕ ตอน โดยตอนแรกคือตอนนี้จะเล่าช่วงต้นซึ่งเราดูส่วนของห้องฉายดาวและศูนย์วิทยาศาตร์
จากนั้นตอนถัดไปจะเป็นส่วนของโถงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แล้วก็ตามด้วยเรื่องของตุนหวง และสองตอนสุดท้ายดูในส่วนของโถงวัฒนธรรมมนุษย์
ในการเดินทางนั้นเนื่องจากเราพักอยู่เจียอี้ การจะไปถึงไถจงต้องนั่งรถไฟเป็นชั่วโมง จึงต้องออกตั้งแต่เช้ามาก
เพื่อให้แน่ใจว่ามีที่นั่งเราจึงได้จองตั๋วสำหรับเที่ยวไปนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว รถไฟจื้อเฉียงรอบ 7:32 ไปถึง 8:50
ถึงสถานีไถจง
จากนั้นก็รีบไปขึ้นรถเมล์ ซึ่งมีอยู่หลายสายที่ไปได้ ตรวจสอบได้จาก google ในมือถือ แต่ละสายก็มีจุดขึ้นอยู่คนละจุด เราเลือกวิธีไปสักทางนึง
ป้ายที่เรามาขึ้นเป็นแถวฝั่งตะวันออกของสถานี
รถเมล์สาย 51
ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาทีก็นั่งรถมาถึง แล้วก็เดินมาที่หน้าอาคารหลัก
ซื้อตั๋วตรงหน้าทางเข้า
สำหรับค่าเข้าชมนั้น ส่วนจัดแสดงหลักซึ่งรวมส่วนของโถงทั้ง ๓ ค่าเข้าชม ๑๐๐ ในขณะที่ส่วนแสดงพิเศาตุนหวงมีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนแรก ๑๘๐ อีกส่วนคือ ๕๐ ส่วนศูนย์วิทยาศาสตร์ไม่มีค่าเข้าชม
นอกจากนี้พวกหนังต้องซื้อตั๋วเพิ่ม โรงหนังอวกาศ (ห้องฉายดาว) ๑๐๐ โรงหนังสามมิติ ๗๐ เราได้ลองเข้าชมแค่โรงหนังอวกาศ
โดยรวมแล้วที่พวกเราเข้าก็คือ ส่วนจัดแสดงหลัก ๑๐๐ + โรงหนังอวกาศ ๑๐๐ + ส่วนจัดแสดงพิเศษสองห้อง ๑๘๐+๕๐
ตั๋วหนังที่ซื้อไว้เป็นรอบ 11 โมง แต่เวลาขณะนั้นตอนที่เรามาถึงคือ 10 โมง จึงมีเวลาเดินดูในส่วนจัดแสดงหลักสักพักก่อนระหว่างรอหนังเริ่ม
ตอนที่เข้ามาด้านในทีแรกก็รู้สึกสับสนกับห้องต่างๆของที่นี่ซึ่งมีมากมาย กว้างใหญ่มาก
เริ่มแรกเราลงมาที่ชั้นใต้ดินในฝั่งของโถงสิ่งแวดล้อมโลก เจอห้องฉายหนังสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเปิดรอบฉายทุกชั่วโมง ดูได้ฟรีทั้งหมด มี ๓ เรื่องวนสลับกันไป เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
แต่ตอนที่เราไปนั้นเลยเวลาฉายมาหน่อยจึงไม่ได้เข้าชม เลยได้แต่เดินดูโถงหน้าห้องไปก่อน
ที่โถงด้านหน้าตรงนี้มีฉายหนังแนะนำหอดูดาวที่ราบสูงทิเบต (青藏高原天文台) ซึ่งทางไต้หวันมีความร่วมมือกับทางจีนแผ่นดินใหญ่อยู่
เรารีบออกไปยังอาคารที่ฉายหนังล่วงหน้าก่อนเวลาเนื่องจากกลัวจะหาไม่เจอ แต่ก็มาถึงได้ไม่ยาก ข้างหน้านี้คืออาคารฝั่งที่ฉายหนัง ส่วนทางซ้ายเป็นส่วนของศูนย์วิทยาศาตร์
ไปถึงก่อนเวลาเยอะไปหน่อยเลยกะจะเข้าชมศูนย์วิทยาศาสตร์ซึ่งอยู่ข้างๆกัน อาคารนี้ประกอบไปด้วย ๕ ชั้น และชั้นใต้ดินอีกชั้น รวมแล้วใหญ่พอสมควร
ชั้นแรกเป็นโรงอาหารกับร้านขายของฝาก
เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะเริ่มชมจริงๆ จึงได้แค่ลองเดินดูของที่ร้านขายของฝากที่อยู่ชั้นล่าง แต่ก็ไม่ได้ซื้ออะไร
เวลา 10:40 ก่อนหนังเริ่มฉายสัก ๒๐ นาทีก็พบว่าเริ่มมีคนมาเข้าแถวรอเข้าอยู่แล้ว
เมื่อถึงเวลาก็เข้าไปในห้องฉายดาว
การฉายเริ่มจากแสดงจำลองท้องฟ้าในค่ำคืนนี้ให้ดู แล้วจากนั้นก็เริ่มฉายหนัง ซึ่งรอบที่เราเลือกดูมีเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาชีวิตในต่างดาว
โดยรวมแล้วทั้งหมดยาว ๕๐ นาที ขณะฉายหนังห้ามถ่ายรูป ดังนั้นจึงไม่ขอพูดถึงรายละเอียด
เมื่อดูหนังเสร็จก็มาเดินในส่วนของศูนย์วิทยาศาสตร์
เริ่มจากชั้น ๒ เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำ
ชั้น ๓ เป็นเรื่องราวของจักรวาล
การเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกตามยุคสมัย
ส่วนตรงนี้เกี่ยวกับเรื่องการติดต่อกับมนุษย์ต่างดาว มีอธิบายภาพจากข้อความอาเรซีโบ
>>
https://th.wikipedia.org/wiki/ข้อความอาเรซีโบ
แผ่นเสียงทองคำที่ถูกส่งไปกับยานวอยเอเจอร์ในปี 1977
ภายในแผ่นนั้นมีคำทักทายเป็นภาษาต่างๆมากมาย มีภาษาไทยด้วย พูดว่า "สวัสดีค่ะ สหายในธรณีโพ้น พวกเราในธรณีนี้ขอส่งมิตรจิตมาถึงท่านทุกคน" เราสามารถฟังได้จากเครื่องตรงนี้ บางภาษาก็พูดสั้นๆ แต่ของไทยนี่ค่อนข้างยาว
อธิบายสเป็กโตรสโกปี
แร่บางอย่างดูดกลืนคลื่นในช่วงรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วปลดปล่อยแสงในช่วงที่ตามองเห็น ทำให้เราเห็นแสงเรืองที่ดูน่าพิศวงได้
นี่คือเครื่องฉายดาวอันเก่าที่เคยใช้ฉายที่นี่ในปี 1986-2015 เป็นเวลา ๒๙ ปี แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เครื่องฉายแบบดิจิทัลแทนแล้ว ท้องฟ้าจำลองที่ไทยเองก็เคยใช้เครื่องฉายดาวลักษณะแบบนี้ก่อนที่จะเพิ่งเปลี่ยนเป็นดิจิทัลเหมือนกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ชั้น ๔ มีพวกเครื่องมือทดลองทางฟิสิกส์มากมายให้เล่น
อุปกรณ์สำหรับลองสร้างคลื่นขึ้นในขดสปริง
อุปกรณ์แสดงการสั่นของลูกตุ้ม ซึ่งมีคาบการสั่นต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับความยาว ตามสมการ T ≈ 2π(l/g)^0.5
อุปกรณ์แสดงการหักเหและสะท้อนแสงผ่านกระจกและเลนส์ เส้นทางเดินแสงเห็นได้ด้วยหมอกจากน้ำแข็งแห้ง
ตรงนี้เป็นหน้าจอแสดงภาพที่มองเห็นโดยใช้ช่วงคลื่นต่างๆส่อง โดยซ้ายสุดคือช่วงแสงที่ตามองเห็น ส่วนอันกลางคืออินฟราเรดช่วงคลื่นกลาง อันขวาคืออินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น
อุปกรณ์สร้างพายุทอร์นาโด
ส่วนชั้น ๕ เป็นชั้นดาดฟ้า เป็นส่วนจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก
ลงมาชั้นใต้ดิน เป็นส่วนที่เรียกว่าแดนเวทมนตร์ของต๋าต๋า (達達的魔法樂園)
ลูกโลกนี้โดนขูดซะจนน่ากลัว บริเวณที่เป็นเกาะไต้หวันแหว่งหายไปเลย ส่วนเกาะไหหลำซึ่งอยู่ข้างๆเองก็โดนไปด้วย
จบการเข้าชมในส่วนของศูนย์วิทยาศาสตร์แต่เพียงเท่านี้ ต่อไปเราจะกลับไปยังส่วนโถงหลัก
https://phyblas.hinaboshi.com/20170805
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ดาราศาสตร์
--
ประเทศจีน
>>
ไต้หวัน
>>
ไถจง
--
ท่องเที่ยว
>>
พิพิธภัณฑ์
>>
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自我介绍 ~
目录
从日本来的名言
python
模块
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志
按类别分日志
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
查看日志
最近
เดินเล่นริมฝั่งทะเลเบปปุยามเช้า มีหาดทรายนิดหน่อย
ปราสาทคิฟุเนะ จุดชมทิวทัศน์ยุเกมุริ เบปปุทาวเวอร์
เบปปุจิโงกุเมงุริ เที่ยวชมอนเซงบ่อนรกที่มีสีสันสวยงามแปลกตาทั้ง ๗ แห่งในเบปปุ
ขึ้นรถกระเช้าเบปปุไปยังยอดเขาทสึรุมิสูง ๑๓๗๕ เมตร มองเห็นเมืองเบปปุริมฝั่งทะเลจากมุมสูง
เดินไปตามถนนยุโนะทสึโบะ ชมยุฟุอิงฟลอรัลวิลเลจ แวะกินตามข้างทางไปเรื่อย
推荐日志
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
各月日志
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
找更早以前的日志
ไทย
日本語
中文