φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ตอนที่ ๓: ส่วนจัดแสดงพิเศษ หมู่ถ้ำตุนหวง
เขียนเมื่อ 2017/08/07 03:53
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:16
# อาทิตย์ 9 ก.ค. 2017

หลังจากที่ตอนที่แล้วชมส่วนจัดแสดงชั้นใต้ดินของโถงวิทยาศาสตร์ชีวภาพจบไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170805

ตอนนี้ต่อด้วยส่วนจัดแสดงพิเศษตุนหวง

ตุนหวงเป็นชื่อเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ของจีน ที่นั่นมีการค้นพบหมู่ถ้ำที่ถูกขุดโดยคนในสมัยก่อน อายุเก่าแก่กว่าพันปี ที่เก่าแก่สุดเริ่มในช่วงยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น (五胡十六国, ปี 304-439) แต่มีการสร้างเพิ่มไปเรื่อยๆเป็นเวลาหลายร้อยปี ท้ายที่สุดคือช่วงสมัยราชวงศ์หยวน (元朝, ปี  1271-1368)

ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในตุนหวงคือถ้ำมั่วเกา (莫高窟) ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 1987

เนื่องจากเอกสารโบราณและสมบัติต่างๆที่พบในตุนหวงนั้นมีมากมายทำให้ต้องใช้เวลาศึกษาวิจัยกันอย่างยาวนาน มีนักวิจัยจากที่ประเทศต่างๆให้ความสนใจ ไม่เพียงแค่คนจีน

การศึกษาเกี่ยวกับมรดกต่างๆที่อยู่ภายในหมู่ถ้ำที่ตุนหวงนี้ถูกตั้งเป็นชื่อวิชา เรียกว่า ตุนหวงวิทยา (敦煌學, 敦煌学)

ส่วนจัดแสดงพิเศษนี้ได้สร้างจำลองบรรยากาศของตุนหวงไว้ในห้องจัดแสดงขนาดใหญ่ห้องหนึ่ง แล้วก็มีอีกห้องหนึ่งใช้สื่ออิเล็กทรอนิก ส่วนนี้เล็กนิดเดียว

ทั้งสองห้องซื้อตั๋วแยกกัน ห้องใหญ่ ๑๘๐ ห้องเล็ก ๕๐

หัวข้อเรื่องตุนหวงนี้เป็นเรื่องที่ออกแนวประวัติศาสตร์ ไม่ได้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หรือธรรมชาตินักจึงแปลกใจที่มาจัดที่นี่ แต่ถึงอย่างนั้นหมู่ถ้ำตุนหวงก็เป็นสิ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาและวิทยาการของจีนโบราณ

ช่วงจัดแสดงคือตั้งแต่ 26 เม.ษ. ถึง 1 ต.ค. 2017



ทางเข้า เป็นรูปด้านหน้าทางเข้าถ้ำมั่วเกา



ในส่วนแรกจะอธิบายให้ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับที่นี่





ส่วนต่อมามีภาพและรูปปั้นที่จำลองจากของที่อยู่ในถ้ำมาแสดงให้ดู







ส่วนถัดมาอีกเป็นถ้ำที่สร้างจำลองขึ้นโดยข้างในไม่มีไฟแต่ให้คนที่จะชมเป็นคนถือไฟฉายส่องเอง ได้บรรยากาศเหมือนกำลังสำรวจถ้ำอยู่เองจริงๆ






ตรงนี้จำลองถ้ำส่วนที่มีการค้นพบเอกสารโบราณ




ป้ายถ้ำมั่วเกาที่มีเป็นภาษาต่างๆมากมายสลักอยู่



สีผสมต่างๆที่ใช้ในการวาดภาพฝาผนัง



จำลองห้องทำงานของคนที่ทำงานซ่อมบำรุงถ้ำตุนหวง



แล้วก็ปิดท้ายด้วยส่วนที่ขายของที่ระลึก







เดินเสร็จห้องหลักไปแล้วต่อมาก็มาดูห้องเล็กที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิก

ระหว่างทางเราเดินผ่านห้องที่มีจัดแสดงพิเศษอีกห้องซึ่งเป็นเรื่องของวิวัฒนาการของสัตว์ตระกูลช้าง ซึ่งเราไม่ได้แวะไปดูกัน



ทางเข้าห้องอีกห้อง



นี่เป็นห้องเล็ก ภายในก็มีอยู่แค่นี้



ส่วนตรงนี้เป็นที่ให้ลองเวอร์ชวลเรียลิตี (VR) จำลองการสำรวจถ้ำ



หน้าจอตรงนี้มีให้ลองวาดเล่นบนรูป เราก็ลองวาดดู




ลองระบายสีทับทั้งหน้าแล้วเขียนคำว่า "ตุนหวง" เป็นภาษาไทยลงไป



ส่วนอันนี้เป็นรูปม้า





เท่านี้ก็เดินจบส่วนจัดแสดงพิเศษ ตอนต่อไปจะไปชมในส่วนของโถงวัฒนธรรมมนุษย์ https://phyblas.hinaboshi.com/20170809



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถจง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ