φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ตอนที่ ๔: ประวัติศาสตร์และวิทยาการจีนโบราณ
เขียนเมื่อ 2017/08/09 14:11
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:15

# อาทิตย์ 9 ก.ค. 2017

หลังจากที่ตอนที่แล้วชมพิพิธภัณฑ์ในส่วนจัดแสดงพิเศษตุนหวงเสร็จไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170807

เราเหลือเวลาเพียงชั่วโมงนิดๆก่อนที่พิพิธภัณฑ์ปิดจึงรีบมาดูในส่วนต่อไป นั่นคือส่วนของโถงวัฒนธรรมมนุษย์ เป็นส่วนที่ตั้งอยู่ตรงกลาง หรือก็คือทางมุมตะวันตกเฉียงใต้ของอาคารหลัก

เมื่อมาถึง สิ่งที่ตั้งอยู่โดดเด่นที่สุดตรงนี้ก็คือ หอลูกทรงกลมท้องฟ้าพลังน้ำ (水運儀象台, 水运仪象台, สุ่ยยวิ่นอี๋เซี่ยงไถ)



เกี่ยวกับเครื่องมือนี้มีพูดถึงไปแล้วในบันทึกเรื่องหอดูดาวโบราณปักกิ่ง https://phyblas.hinaboshi.com/20170204

มีการจำลองเครื่องมีนี้หลายอันอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ แต่นี่เป็นอันเดียวที่มีการจำลองขึ้นมาในขนาดเท่าของจริง คือสูง ๑๒ เมตร กว้าง ๗ เมตร



ตรงนี้อธิบายแนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือนี้คร่าวๆ



เนื่องจากสูง ดูแค่ชั้นล่างไม่อาจดูทั่วถึง แต่เขาออกแบบสถานที่มาอย่างดีให้สามารถขึ้นมาดูด้านบนไปด้วยได้ โดยมีมุมที่จัดไว้สำหรับให้ดู







กลับลงมาชั้นล่าง ตรงนี้มีส่วนจัดแสดงอยู่ ๓ ส่วน คือ
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน (中國的科學與技術, 中国的科学与技术)
- การแพทย์จีน (中國醫藥, 中国医药)
- นิเวศวิทยาเกษตรกรรม (農業生態, 农业生态)

พวกเราดูกันแค่สองส่วนแรก ส่วนเรื่องการเกษตรนั้นไม่มีเวลาดู

เริ่มจากส่วนแรก แผ่นป้ายยาวๆนี้แสดงถึงสิ่งประดิษฐ์ของจีนในยุคต่างๆ



นี่เป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างซึ่งมีชื่อเรียกว่าโต๋วก่ง (斗栱) เอาไว้ใช้ค้ำยันส่วนด้านบนที่กว้างกว่าฐานข้างล่าง มักใช้ในสิ่งก่อสร้างตั้งแต่สมัยโบราณของจีน



นี่คือแบบจำลองของแผนที่ดาวสลักหินซูโจว (蘇州時刻天文圖, 苏州石刻天文图) เป็นแผนที่ดาวที่โดดเด่นมากที่สุดของจีน สลักขึ้นเมื่อปี 1247 มีสลักดาวไว้ ๑๔๓๔ ดวง ของจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แผ่นป้ายแกะสลักซูโจว



แบบจำลองม้าลากรถ ขนาด 1/2



เครื่องทอผ้า



สะพานอานจี้ (安濟橋, 安济桥) หรือสะพานเจ้าโจว (趙州橋, 赵州桥) ที่มณฑลเหอเป่ย์ เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคราชวงศ์สุย (隋朝, ปี 581-619) สร้างขึ้นในปี 610 ปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดี



นี่เป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาที่ถูกใช้ฝังพร้อมศพคนตาย ถูกทำเป็นรูปอาคาร



อุปกรณ์ดาราศาสตร์ เจี่ยนอี๋ (簡儀, 简仪) วงล้อทรงกลมท้องฟ้าอย่างง่าย สร้างโดยกัวโส่วจิ้ง (郭守敬) นักดาราศาสตร์ชื่อดังของจีน



ซากเรือเก่าแก่ที่ถูกสร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ถูกพบในปี 1974 ที่เมืองเฉวียนโจว (泉州) ของจริงยาว ๓๔ เมตร กว้าง ๑๑ เมตร นี่เป็นแบบจำลองขนาด 1/10



เรือจีนแบบโบราณที่เรียกว่าฉวานซา (沙船) แปลว่า "เรือทราย" ที่เรียกแบบนี้เพราะใช้แล่นในบริเวณที่มีน้ำตื้นได้ดี



เครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบโบราณซึ่งถูกประดิษฐ์โดนจางเหิง (張衡, 张衡, ปี 78-139) ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก



นาฬิกาแดดโบราณยุคราชวงศ์ฮั่น



อุปกรณ์คิดเลขสมัยราชวงศ์ฮั่น



รถลากที่เรียกว่าจื่อหนานเชอ (指南車, 指南车) แปลว่า "รถชี้ใต้" ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ



ส่วนตรงนี้แสดงพัฒนาการของเครื่องปั้นเครื่องเคลือบดินเผา



ตรงนี้เป็นพวกเครื่องเขิน



เครื่องสำริด



ระฆังหมู่ เป็นเครื่องดนตรีสมัยโบราณ





ต่อมาเข้าชมห้องที่จัดแสดงเรื่องการแพทย์จีน



ถงเหรินถาง (同仁堂) ร้านยาเก่าแก่ของจีน ก่อตั้งที่ปักกิ่งตั้งแน่ปี 1669



เรื่องของการฝังเข็ม



รูปสัตว์ แสดงจุดต่างๆที่สำคัญ





และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งไม่มีเวลาดูอย่างละเอียด






ส่วนตรงนี้เป็นส่วนของเกษตรกรรม ซึ่งเราไม่มีเวลาดูเช่นกัน





ต่อมาขึ้นไปชั้น ๒ เริ่มแรกลองออกมาเดินที่ระเบียงสักหน่อย



ตรงนี้มองลงไปเป็นลานกว้างที่อยู่ตรงกลางตึกซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนรี



จากนั้นมาดูส่วนจัดแสดง ซึ่งประกอบไปด้วย ๓ ส่วน
- คนจีนสมัยโบราณ (古代的中國人, 古代的中国人)
- ชีวิตจิตวิญญาณของชาวฮั่น (漢人的心靈生活, 汉人的心灵生活)
- ชนเผ่าออสโตรนีเซียในไต้หวัน (台灣南島語族, 台湾南岛语族)

เริ่มจากหัวข้อคนจีนสมัยโบราณ ตรงส่วนนี้เริ่มต้นจากอธิบายแผนที่ผืนแผ่นดินจีนในแง่ต่างๆ



ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ แผนที่นี้รวมดินแดนส่วนที่เป็นมองโกเลียในปัจจุบันไว้ด้วย เพราะรัฐบาลสาธารณรัฐจีนของไต้หวันถือว่าดินแดนมองโกลเป็นของจีนมาตั้งแต่โบรารและไม่ยอมรับว่ามองโกเลียเป็นประเทศเอกราช



กระโหลกของมนุษย์โบราณในจีน



ต่อมาเข้ามาด้านในจะมืดๆ จำลองบรรยากาศเหมือนถ้ำ



อุปกรณ์เครื่องใช้ของมนุษย์ยุคหินที่ขุดเจอ



จำลองการใช้ชีวิต



จำลองหมู่บ้านป้านพัว (半坡) มณฑลส่านซี แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ประมาณ 5000-3000 ปีก่อน ค.ศ.



จำลองหมู่บ้านเหอหมู่ตู้ (河姆渡) ในมณฑลเจ้อเจียง แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ประมาณ 5000-4000 ปีก่อน ค.ศ.



ยิ่งเดินถัดไปก็เป็นยุคถัดไปเรื่อยๆ



วัฒนธรรมหลงซาน (龍山文化, 龙山文化) 3000-2000 ปีก่อน ค.ศ.



บ้านที่มีโครงสร้างดูคล่้ายกับจะเป็นวังในยุคแรก พบร่องรอยที่เอ้อร์หลี่โถว (二里頭, 二里头) ยุคราชวงศ์เซี่ย (夏朝, 21 - 17 ศตวรรษก่อน ค.ศ.)



สุสานกษัตริย์ราชวงศ์ซาง (商朝, 17 - 11 ศตวรรษก่อน ค.ศ.)



เครื่องสำริดในยุคราชวงศ์ซาง



เนื้อหาจัดแสดงจบอยู่ตรงที่สิ้นสุดราชวงศ์ซางแค่นี้



ต่อมาดูส่วนของชีวิตจิตวิญญาณชาวจีน



ในบริเวณปกคลุมด้วยหลังคาใหญ่ที่เป็นศิลปะแบบจีน มีความสวยงามโดดเด่นมาก





ภายในบริเวณแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆของชาวจีนฮั่นที่มีมาแต่โบราณ









การสร้างปฏิทินคำนวณฤดูมีมาแต่โบราณ การรู้ฤดูมีความสำคัญเพราะสังคมจีนเป็นสังคมเกษตร พึ่งพาการเพาะปลูก ดังนั้นดาราศาสตร์จึงถูกพัฒนาขึ้นมา



นี่คือแบบจำลองของหอดูดาวเติงเฟิง (登封觀象台, 登封观象台) กุบไลข่านสั่งให้กัวโส่วจิ้งสร้างมาในปี 1276 เป็นหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในจีนที่ยังเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน





จากนั้นก็เหลือเพียงส่วนสุดท้าย คือเรื่องของชนเผ่าออสโตรนีเซียในไต้หวัน ซึ่งเล่าถึงในตอนถัดไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170811




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถจง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文