φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ตอนที่ ๕: ชนเผ่าออสโตรนีเซียในไต้หวัน
เขียนเมื่อ 2017/08/11 08:51
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:14

# อาทิตย์ 9 ก.ค. 2017

หลังจากที่ชมเรื่องวิทยาการของชาวจีนกันมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20170809

จากนี้ไปจะเป็นส่วนสุดท้ายสำหรับการเข้าชมในวันนี้ นั่นคือเรื่องของชนเผ่าออสโตรนีเซียในไต้หวัน



เกาะใต้หวันนั้นชนพื้นเดิมไม่ใช่ชาวจีนฮั่น แต่เป็นชนเผ่าที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับที่อยู่ในอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์และหมู่เกาะบางส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ประชากรมีจำนวนแค่เล็กน้อย หลังจากที่ชาวจีนเริ่มอพยพมาไต้หวันก็ได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ ส่วนชนเผ่าดั้งเดิมก็เหลืออาศัยอยู่ตามหุบเขา

บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมของชนเผ่าดั้งเดิมถูกหยิบยกมาในฐานะเอกลักษณ์ของไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ชนเผ่าเหล่านี้มีแค่ 2% ของประชากรเท่านั้น ที่เหลือ 97% เป็นชาวฮั่น ดังนั้นจริงๆแล้วสัดส่วนชาวฮั่นบนไต้หวันสูงกว่าจีนแผ่นดินใหญ่เสียอีก

การกระจายของชนเผ่าต่างๆในไต้หวัน จะเห็นว่ากระจุกอยู่ยนเขาซะมาก มีอยู่มากมายจนไม่อาจจะพูดถึงได้หมด ในส่วนจัดแสดงตรงนี้เองก็ยกมาแค่ชนเผ่าหลักๆที่สำคัญเท่านั้น



ชนเผ่าอาจแบ่งใหญ่ๆออกเป็น ๒ กลุ่มคือ เกาซาน (高山族) กับ ผิงผู่ (平埔族) โดยมากเกาซานจะอยู่บนเขา ส่วนผิงผู่จะอยู่จะอยู่บนที่ราบ

แต่ว่ารัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ได้จะเรียกชนพื้นเมืองในไต้หวันทั้งหมดรวมๆว่าเผ่าเกาซาน



ที่ตั้งเด่นอยู่ตรงนี้คือเรือที่เรียกว่า พินป่านโจว (拼板舟) เรือประมงของชาวหยาเหม่ย์ (雅美族, Yami) หรือเรียกอีกชื่อว่าชาวต๋าอู้ (達悟族, 达悟族, Tao) ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะหลานหยวี่ (蘭嶼, 兰屿) เล็กๆทางตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวัน เป็นชนเผ่าเดียวในไต้หวันที่เน้นอาชีพประมง ดังนั้นเรือจึงมีความสำคัญ



รายละเอียดเกี่ยวกับเรือนี้ได้เขียนไว้แล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170810

แบบจำลองพื้นที่อาศัยของเผ่าโจว (鄒族, 邹族, Tsou) อาศัยอยู่ในแถบเขาอาหลี่ซานกลางเกาะไต้หวัน



ส่วนตรงนี้เป็นแบบจำลองบ้านซึ่งสามารถดูภายในได้



โดยจะมีปุ่มให้กดเพื่อเปิดหลังคา เพียงแต่ว่าปุ่มนี้ถ้ากดไปทีนึงแล้วต้องรออีก ๓ นาทีจึงจะกดครั้งต่อไปได้ คงเพื่อป้องกันไม่ให้ใครมากดเล่น เพราะตอนที่มาก็มีเด็กมาด้วย เด็กก็กดปุ่มรัวๆ




ต่อมาเป็นชุมชนของเผ่าหลูไข่ (魯凱族, 鲁凯族, Rukai) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ๆของเกาะไต้หวัน



บ้านที่พักอาศัย



สามารถเปิดดูข้างในได้เช่นกัน



จากนั้นก็เป็นชุมชนของเผ่าหยาเหม่ย์ (ต๋าอู้)



บ้าน




ตรงนี้จำลองสภาพบ้านขนาดเท่าของจริง




ของต่างๆตามประเพณีและความเชื่อของชนเผ่า



เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย





เดินจบตรงนี้ก็พอแค่นี้ ยังเหลือบริเวณอีกมากมายที่ยังไม่ได้เดิน แต่ไว้คราวหน้าหากมีโอกาสคงมาอีก ที่นี่มีอะไรน่าสนใจมากมายเกินกว่าที่จะดูหมดได้ในวันเดียวจริงๆ

## 2022/06/05 หลังจากผ่านไป ๕ ปี ในที่สุดก็ได้แวะกลับมาเที่ยวที่นี่อีก เขียนบันทึกไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20220605


ที่จริงด้านตรงข้ามถนนยังมีส่วนของสวนพฤกษศาสตร์และเรือนกระจกอีกด้วย ซึ่งก็ไม่มีเวลาแวะไปเช่นกัน



จากนั้นก็มาขึ้นรถเมล์เพื่อกลับ



เรากลับไปที่สถานีรถไฟ แต่พอจะซื้อตั๋วก็พบว่าไม่มีที่นั่งในรอบใกล้ๆเลย หากอยากนั่งต้องรอถึงดึก



ดังนั้นจึงตัดสินใจนั่งรถบัสกลับแทน สถานีขนส่งอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟ เดินไปนิดเดียวก็ถึง



ซื้อตั๋วตรงนี้ จากไถจงไปเจียอี้ราคา ๑๙๐



เหลือเวลาเล็กน้อยให้รอ ก็แวะเดินดูของด้านใน ที่นี่กว้างพอดูเหมือนกัน





มีโรงอาหารด้วย แต่เราไม่มีเวลากิน ตั้งใจจะกลับไปถึงเจียอี้ค่อยกิน



ร้านสะดวกซื้อ




ได้ซื้อขนมพระอาทิตย์ ไท่หยางปิ่ง (太陽餅, 太阳饼) ขนมขึ้นชื่อของไถจงติดไม้ติดมือไปเป็นของฝาก



จากนั้นก็ขึ้นรถ



ตั๋วรถ พอขึ้นรถเขาก็ฉีกมุมออกไปเป็นแบบนี้ ไม่น่าดูเท่าไหร่



รถออก 18:20 ใช้เวลา ๒ ชั่วโมงกว่าจึงถึง ถือว่าใช้กว่ารถไฟพอสมควร ที่ช้าเพราะมีแวะรับคนตามจุดต่างๆในเมืองอีกหลายจุดมาก กว่าจะออกจากตัวเมืองก็เกือบชั่วโมงไปแล้ว

กลับมาถึงก็สองทุ่มกว่าจะสามทุ่มแล้ว แวะกินข้าวเย็นที่ร้านข้างๆโรงแรม




จบการเที่ยวไถจงในวันนี้แต่เพียงเท่านี้ หลังจากหมดเวลาไปกับพิพิธภัณฑ์ทั้งวัน เขียนเล่ายาวถึง ๕ ตอน




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถจง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文