φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ เก็บตกส่วนที่เหลือ
เขียนเมื่อ 2022/06/05 11:31
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:12
# เสาร์ 4 มิ.ย. 2022

หลังจากที่เมื่อปี 2017 ได้เคยไปเที่ยวไถจง (台中) แล้วก็แวะ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (國立自然科學博物館) มา แต่ยังเดินไม่ทั่วเพราะกว้างเกินไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170803

เมื่อวานนี้พอดีมีธุระแวะไปหาเพื่อนที่ไถจงอีก ก็เลยถือโอกาสแวะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์นี้อีกครั้งเพื่อเก็บส่วนที่เหลือ

ในการเดินทางไปนั้น มีรถเมล์ให้บริการจากหน้ามหาวิทยาลัยชิงหัว ไปถึงสถานีรถไฟไถจง

พอมาถึงไถจงก็พบว่าฝนตกอยู่ แต่ก็ตกๆหยุดๆเป็นช่วงๆ อากาศแปรปรวนนัก



เรามาลงแถวสถานีไถจง (台中站) ซึ่งนัดเจอเพื่อนเอาไว้




ระหว่างนั้นเป็นช่วงฝนหยุดตกพอดี ฟ้ากำลังสวยเลย



เพื่อนกะพาไปกินร้านอาหารเซี่ยงไฮ้ที่อยู่แถวสถานี แต่คนแน่นเกินก็เลยเปลี่ยนแผน



ก็เลยเข้ามากินในตัวสถานีไถจง มีศูนย์อาหารอยู่



หลังจากกินข้าวมื้อเที่ยงและคุยกับเพื่อนเสร็จแล้วเราก็แยกย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์ที่เป็นเป้าหมายถัดไป โดยขึ้นรถเมล์



แล้วก็มาถึง



เริ่มเข้าชมหอวิทยาศาสตร์ชีวิต (生命科學廳)



เมื่อเข้ามาสิ่งที่ตั้งโดดเด่นอยู่ตรงนี้ก็คือแบบจำลองซากช้างโบราณ Palaeoloxodon (古菱齒象) สูง ๓.๗ เมตร ยาว ๗.๘ เมตร สร้างจำลองมาจากฟอสซิลช้างโบราณที่ขุดพบที่เกาะเผิงหู (澎湖) ของไต้หวัน



จากนั้นก็เข้าชมไปทีละส่วน เริ่มจากส่วนแสดงโลกของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อยู่ในชั้น ๑






ขึ้นมาที่ชั้น ๒ เป็นส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับมนุษย์ ทั้งเรื่องของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย






ชีวิตหลังความตายของอียิปต์โบราณ



ถัดมาจัดแสดงวิวัฒนาการมนุษย์




แล้วก็เรื่องของวิวัฒนาการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีแบบจำลองหัวกระโหลกช้างแมมมอธ



แบบจำลองสมมุติว่าถ้าช้างตัวเล็กนิดเดียวแต่แมลงมีขนาดยักษ์



แผนผังแสดงวิวัฒนาการของสัตว์ ว่าชนิดไหนกำเนิดขึ้นและสูญพันธุ์ไปเมื่อไหร่



ถัดมาเป็นส่วนจัดแสดงไดโนเสาร์







ที่โดดเด่นที่สุดก็คือไดโนเสาร์ตัวใหญ่กลางห้อง ซึ่งเขาทำมาให้มันเคลื่อนไหวได้ด้วย



มีบริเวณด้านนอกเป็นสวนให้เดินชมด้วย




ส่วนตรงนี้เป็นเรื่องของวิวัฒนาการสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์




จบจากส่วนจัดแสดงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแค่นี้ ถัดมาดูตรงที่จัดแสดงพิเศษ ซึ่งตอนครั้งที่แล้วที่มานั้นจัดแสดงเรื่องถ้ำตุนหวง https://phyblas.hinaboshi.com/20170807

แต่คราวนี้มีจัดแสดงเกี่ยวกับเชื้อรา








แล้วก็จัดแสดงอำพัน








ก็เดินจบลงแต่เพียงเท่านี้ คราวนี้ไม่ได้ไปเดินในส่วนของศูนย์วิทยาศาสตร์เพราะว่าครั้งก่อนได้เคยเดินมาแล้ว



หลังจากนั้นตอนเย็นก็เดินออกจากที่นี่ไปเพื่อเดินทางกลับ แต่ว่าระหว่างทางกลับยังมีเรื่องเล่าต่ออีกหน่อย ซึ่งจะแยกไปเล่าต่อในอีกตอน https://phyblas.hinaboshi.com/20220606



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถจง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文