φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



ปราสาททางะ ป้อมโจวซากุโบราณสมัยนาระแห่งแคว้นมุตสึภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขียนเมื่อ 2024/02/21 13:11
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 11:11
# เสาร์ 17 ก.พ. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่ได้เดินทางไปแวะเปลี่ยนรถไฟที่เมืองมัตสึชิมะ https://phyblas.hinaboshi.com/20240220

เราก็เดินทางมาถึงสถานีโคกุฟุทางาโจว (国府多賀城駅こくふたがじょうえき) ในเมืองทางาโจว (多賀城市たがじょうし) ซึ่งเป็นที่หมาย โดยที่แวะมาที่นี่ก็เพื่อจะไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ นั่นคือ ปราสาททางะ (多賀城たがじょう)

ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทโบราณที่ถูกสร้างขึ้นในปี 724 ซึ่งเป็นช่วงยุคนาระ (ปี 710-794) ถือเป็นปราสาทยุคโบราณกว่าปราสาทญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักส่วนใหญ่ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยหลังจากนั้น ปราสาทแบบนี้เรียกว่า โจวซากุ (城柵じょうさく)

ที่ผ่านมาก็ได้ไปเที่ยวปราสาทมาแล้วหลายแห่งในญี่ปุ่น แต่ว่าแห่งนีถือว่าเก่าที่สุดในบรรดาปราสาทที่ไปมาทั้งหมดแล้ว

ในภูมิภาคโทวโฮกุมีโจวซากุแบบนี้อยู่หลายแห่ง ก่อนหน้านี้ก็ได้ไปเที่ยวโจวซากุมาอีกแห่งแล้วคือปราสาทอากิตะ เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230816

ปราสาททางะเป็นศูนย์กลางการปกครองของแคว้นมุตสึ (陸奥国むつのくに) ซึ่งกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคโทวโฮกุของญี่ปุ่นในช่วงยุคนาระ จึงมีความสำคัญมากทีเดียว

บริเวณตัวปราสาทนั้นยังหลงเหลือเค้าโครงร่องรอยให้สามารถเข้าไปชมได้ และยังมีแผ่นหินศิลาจารึกปราสาททางะ (多賀城碑たがじょうひ) ซึ่งได้ชื่อว่าหนึ่งในสามศิลาจารึกโบราณของญี่ปุ่น (日本三古碑にほんさんこひ) ถูกสร้างขึ้นในปี 762 บอกเล่าเรื่องราวของปราสาททางะ ถือเป็นโบราณวัตถุและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมาก

นอกจากนี้แล้วใกล้ๆกันนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โทวโฮกุ (東北歴史博物館とうほくれきしはくぶつかん) ซึ่งตั้งอยู่ข้างๆสถานีโคกุฟุทางาโจวเลย ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคโทวโฮกุทั้งแต่ยุคโบราณ เปิดตั้งแต่ปี 1999 ภายในมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับปราสาททางะโดยเฉพาะด้วย



เรานั่งรถไฟมาถึงสถานีโคกุฟุทางาโจวเวลา 14:07



จากในชานชลา มองออกไปก็เห็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โทวโฮกุได้ทันที แต่ว่าเรายังไม่เข้าตอนนี้ เพราะก่อนอื่นเป้าหมายหลักคือปราสาททางะ ซึ่งต้องเดินไปไกลนิดหน่อย



มองจากด้านบนอาคารสถานีไปยังทางตะวันออกซึ่งเป็นทิศที่จะต้องเดินไปเพื่อมุ่งหน้าไปยังปราสาททางะ



เดินลงแล้วออกจากสถานีไป



เดินไปตามทาง



ระหว่างทางก็มีบ้านเมืองอยู่ประปราย แต่ก็ค่อนข้างโล่ง






แล้วก็มาถึงเนินที่เป็นที่ตั้งของประตูใต้ส่วนนอกของปราสาททางะ



จากตรงนี้เดินขึ้นเนินไป



จากบนเนินมองเห็นวัดเกียวกุเซง (玉川寺ぎょくせんじ) เป็นวัดเล็กๆที่อยู่ในบริเวณนี้



แต่พอขึ้นเนินมาก็พบว่าที่นี่กำลังก่อสร้างอยู่ จริงๆแล้วประตูใต้ส่วนนอกของปราสาททางะนี้กำลังอยู่ในแผนสร้างจำลองใหม่ ซึ่งน่าจะเสร็จภายในปี 2004 ดังนั้นหากมาช้ากว่านี้สักหน่อยก็คงได้เห็นในสภาพสมบูรณ์



นี่คือสภาพตัวหอประตูใต้ตอนนี้ ยังอยู่ในสภาพก่อสร้างค้างอยู่ เข้าไปชมไม่ได้



และเดินลงจากเนินมาก็เจอกับศิลาจารึกปราสาททางะ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประตูใต้ หน้าทางที่จะมุ่งหน้าไปสู่ตัวปราสาททางะ



ตัวศิลาจารึกได้ถูกสร้างศาลาล้อม แต่ก็สามารถมองผ่านช่องเห็นด้านในได้ ใช้กล้องมือถือถ่ายผ่านรู



ด้านหลัง



จากนั้นก็เดินต่อไป เข้าใกล้ตัวปราสาทไปอีก



ตรงนี้มีเนินซึ่งมีอาคารส่วนหน้าหน้าปราสาท



แต่ว่าที่นี่ก็กำลังก่อสร้างอยู่ จึงยังไม่มีอะไร




เดินลงจากเนินมาแล้วไปต่อ ตรงนี้เป็นถนนหลักที่ใช้เดินมุ่งหน้าไปยังปราสาท



ป้ายอธิบายปราสาทระหว่างทาง



จากนั้นก็เป็นบันไดดินขึ้นไป



มีแบบจำลองตัวปราสาขนาด ๑/๒๐๐ เท่าด้วย



แล้วก็มาถึงบริเวณซากปราสาท สามารถเดินดูรอบบริเวณได้ ภายในบริเวณนี้เหลือแค่ส่วนฐาน ไม่ได้มีการสร้างอาคารขึ้นมาจำลองของเก่า แต่ก็ได้เห็นร่องรอย ให้รู้ว่าตรงนี้เคยเป็นปราสาทที่สวยงามมาก่อน







เดินมาเรื่อยๆก็สุดทางเท่านี้



จากนั้นเดินลงมา โดยออกทางถนนทางตะวันตก



ระหว่างทางยังผ่านศาลเจ้าคิฟุเนะ (貴船神社きふねじんじゃ) เป็นศาลเจ้าเล็กๆ




เข้ามาดูด้านใน



ในนี้เล็กนิดเดียว มีอยู่แค่นี้



แล้วก็เดินย้อนกลับ ระหว่าทางก็เดินมาแวะผ่านวัดเกียวกุเซง ซึ่งได้มองดูตั้งแต่เมื่อกี้ตอนที่อยู่บนเนิน



ที่ข้างๆวัดนั้นเป็นสุสาน



แล้วก็เดินย้อนกลับไปยังทางสถานีโคกุฟุทางาโจว




ข้ามรางรถไฟไปยังฝั่งใต้ เพื่อไปเข้าชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โทวโฮกุ



ทางเข้าบริเวณพิพิธภัณฑ์



เดินไปยังทางเข้าอาคารหลัก




หน้าทางเข้า



แต่ว่าพอเข้าไปแล้วตั้งใจจะซื้อตั๋วก็พบว่าเขากำลังปิดปรับปรุงอยู่ โดยจะปิดไปจนถึง 31 มีนาคม จึงไม่สามารถเข้าชมได้ น่าเสียดายมาก แต่อย่างน้อยมาเที่ยวนี้เราก็ได้ชมปราสาททางะไปแล้ว ก็ไม่ถึงกับเสียเที่ยวที่มา



ร้านขายของในพิพิธภัณฑ์ก็ปิดเหมือนกัน



ที่ปิดไปนั้นคือส่วนจัดแสดงหลัก แต่เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าที่ชั้น ๓ มีส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์เด็ด สามารถเข้าชมได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย



เราก็เลยลองขึ้นมาดู ไหนๆก็มาแล้ว



ภายในส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์เด็ก ดูแล้วก็ไม่ได้มีอะไรมาก เข้ามาเดินดูแป๊บเดียวก็เสร็จ









นอกจากนั้นชั้น ๓ ก็ยังมีส่วนอื่น



เช่นตรงนี้เป็นห้องสมุด



หลังจากนั้นก็เดินลงกลับลงมาด้านล่าง นี่เป็นภาพห้องโถงชั้น ๑ ที่ถ่ายจากชั้นลอย



ลองเดินออกจากอาคารพิพิธภัณฑ์มาอีกด้าน



ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ ถ่ายจากอีกด้าน



จากนั้นก็เดินย้อนกลับมาในบริเวณพิพิธภัณฑ์ยังมีอีกส่วนที่เข้าชมได้ นั่นคือบ้านตระกูลอิมาโนะ (今野家住宅いまのけじゅうたく) เป็นบ้านแบบโบราณที่สร้างขึ้นในปี 1769 เดิมทีตั้งอยู่ในเมืองอิชิโนโมริ แต่ถูกย้ายมาปลูกใหม่ที่นี่




ป้ายอธิบายเกี่ยวกับที่นี่



อาคารประกอบไปด้วย ๒ หลัง คือส่วนอาคารที่อยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นประตูเดินทะลุผ่านได้



ภายในอาคารประตูหน้า เป็นที่เก็บพวกอุปกรณ์เครื่องมือ



จากนั้นลองเข้าไปดูในส่วนอาคารด้านใน



ภายในเป็นบ้านที่อยู่อาศัย เดินชมในนี้ได้ แต่บนพื้นไม้ต้องถอดรองเท้า






และด้านหลังเป็นสวนเล็กๆ



หลังจากชมเสร็จก็ได้เวลาเดินทางกลับ โดยเดินขึ้นสถานีจากทางนี้



แต่ว่ารถไฟรอบต่อไปสำหรับกลับคือเวลา 15:42 ต้องรอสักพัก และในตัวอาคารสถานีกลับไม่มีทีให้นั่งรอรถไฟ เลยมานั่งที่ม้านั่งตรงป้ายรถเมล์หน้าสถานี ระหว่างนั้นก็เห็นมีรถเมล์ผ่านมาจอดด้วย จากตรงนี้สามารถนั่งรถเมล์ไปลงที่ต่างๆภายในเมืองนี้และเมืองข้างเคียงได้



พอใกล้เวลาก็ขึ้นมาที่สถานี แตะบัตรเข้าไปในชานชลา




แล้วก็นั่งรถไฟกลับเซนได ถึงเซนไดเวลา 15:56 จบการเดินทางในวันนี้ลงเท่านี้



ก็ถือเป็นอีกวันที่ได้แวะไปเที่ยวหลายเมืองเลยทีเดียว การนั่งรถไฟเที่ยวชมเมืองตามสายรถไฟแบบนี้ก็ถือว่าสนุกไม่เลวเลย

สรุปเวลาเดินทางและค่าโดยสารรถไฟในวันนี้

สถานี เวลา ราคา
(เยน)
ต้นทาง ปลายทาง ขึ้น ลง
เซนได อิชิโนมากิ 8:20 9:21 1170
อิชิโนมากิ โอนางาวะ 9:33 9:59
โอนางาวะ อิชิโนมากิ 11:08 11:34 590
อิชิโนมากิ โนบิรุ 11:55 12:15
โนบิรุ ทากางิมาจิ 13:12 13:28 199
มัตสึชิมะ โคกุฟุทางาโจว 13:57 14:07 242
โคกุฟุทางาโจว เซนได 15:42 15:56 242
รวม 2443

สถานที่เที่ยววันนี้ไม่ได้เสียค่าเข้าชม ไม่ได้แวะกินข้าว และไม่ได้ซื้อของฝากด้วย ค่าโดยสารรถไฟจึงเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดของวันนี้

ได้ไปเที่ยวโน่นนี่มากมายด้วยค่าใช้จ่ายเท่านี้ถือว่าคุ้มไม่น้อยเลย



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ