φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



maya python เบื้องต้น บทที่ ๑๙: ความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ลูก
เขียนเมื่อ 2016/03/11 01:59
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทที่แล้วพูด ถึงการนำวัตถุหลายๆชิ้นมารวมกลุ่มกันเพื่อให้สามารถควบคุมไปพร้อมๆกันได้ไป แล้ว ซึ่งในบทที่แล้วใช้คำสั่ง group() แต่ในบทนี้จะแนะนำอีกคำสั่งหนึ่งที่สามารถใช้ในการรวมกลุ่มวัตถุได้เช่นกัน แต่มีความต่างออกไป นั่นคือ parent()

parent() เป็นคำสั่งสำหรับรวมกลุ่มวัตถุโดยมีการกำหนดให้วัตถุอันหนึ่งเป็นตัวหลัก วัตถุที่ถูกตั้งให้เป็นตัวหลักนั้นจะถูกเรียกว่าเป็นพ่อแม่ (親, parent) ส่วนวัตถุอันอื่นๆจะเรียกว่าเป็นลูก (子, child) โดยระหว่างวัตถุที่เป็นพ่อแม่กับที่เป็นลูกนั้นจะมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ เรียกว่าความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ลูก

เมื่อสร้างความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ ลูกแล้ว เวลาที่เคลื่อนวัตถุที่เป็นตัวพ่อแม่แล้ววัตถุที่เป็นลูกก็จะเคลื่อนที่ตาม ไปด้วย แต่ถ้าเคลื่อนวัตถุที่เป็นลุกไปวัตถุที่เป็นพ่อแม่จะไม่เคลื่อนตามไป

ซึ่ง จะเห็นว่าการรวมกลุ่มในลักษณะเช่นนี้ต่างจาก group() ซึ่งทุกตัวจะมีฐานะเท่าเทียมกันหมด แต่การใช้ parent() นั้นวัตถุจะมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน คือจะมีตัวหนึ่งที่เป็นตัวหลักเสมอ

การใช้ฟังก์ชัน parent() คือให้ใส่อาร์กิวเมนต์เป็นชื่อวัตถุทั้งหมดที่ต้องการรวม โดยให้ตัวที่ต้องการให้เป็นพ่อแม่อยู่ลำดับท้ายสุด

ปกติ ถ้าหากว่ามีวัตถุชิ้นหนึ่งเป็นหลักใหญ่สำคัญกว่าชิ้นอื่น แล้วชิ้นอื่นมักต้องเคลื่อนที่ตามมัน กรณีแบบนี้มักจะใช้ความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ลูกมากกว่าที่จะเป็นแบบรวมกลุ่มกัน ธรรมดา

ตัวอย่าง ลองสร้างเต่ากระดองหกเหลี่ยมแบบง่ายๆขึ้นมาสักตัวโดยประกอบด้วย หัว, หาง, ขาทั้งสี่ ทั้งหมด ๖ ชิ้นนี้สร้างขึ้นมาแล้วเอาไปผูกติดกับกระดอง จากนั้นสร้างลูกตาสองอันแล้วมาผูกติดกับส่วนหัวอีกที
mc.polySphere(r=13,sx=6,sy=3,n='kradong') # ส่วนกระดอง
mc.scale(1,0.5,1)
huahangkha = ['hua','khanasai','khalangsai','hang','khalangkhwa','khanakhwa'] # ลิสต์เก็บชื่อของส่วนประกอบหัวหางขา
for i in range(6):
    mc.polySphere(r=3,n=huahangkha[i])
    if(i==0):
        mc.scale(1.4,0.8,2.4) # สำหรับส่วนหัว
    elif(i==3):
        mc.scale(1,0.5,3) # สำหรับส่วนหาง
    else:
        mc.scale(1,0.3,2) # สำหรับขาทั้ง ๔
    mc.move(0,0,10)
    mc.rotate(0,60*i,0,p=[0,0,0]) # หมุนไปไว้คนละมุม
mc.polySphere(r=0.8,n='tasai') # ตาซ้าย
mc.move(1.8,0,16)
mc.polySphere(r=0.8,n='takhwa') # ตาขวา
mc.move(-1.8,0,16)

ทำแบบนี้แล้วก็จะได้เต่ามาตัวหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ชิ้นส่วนยังแยกกันอยู่ ยังไม่ได้ทำการผูกติดสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ



จากนั้นลอง
mc.parent('takhwa','tasai','hua')

แบบนี้ตาซ้ายและตาขวาก็จะมาผูกติดกับหัว

ดูภายนอกแล้วอาจเห็นว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปแต่ถ้าดูในเอาต์ไลเนอร์ก็จะเห็นว่าโหนดของตาซ้ายและขวาเข้าไปอยู่ด้านล่างส่วนหัว



ถ้ากดที่ส่วนหัวดู mc.select('hua') ส่วนตาทั้งสองข้างก็จะถูกเลือกไปด้วย

และนอกจากนี้หากดูที่แชนเนลบ็อกซ์จะเห็นความเปลี่ยนแปลง โดยที่มาตราส่วนกลายเป็น (0.714,1.25,0.417) ทั้งๆที่ตอนแรกไม่ได้มีการไปปรับมาตราส่วนตรงส่วนตาเลย



ที่เป็นแบบ นี้เพราะว่าวัตถุที่เป็นลูกจะถูกปรับค่าให้เป็นสัมพัทธ์เทียบกับวัตถุที่ เป็นพ่อแม่ ในที่นี้ส่วนหัวอยู่ในสภาวะที่ถูกปรับมาตราส่วนเป็น (1.4,0.8,2.4) มาตั้งแต่แรก ดังนั้นตาทั้งสองข้างก็เลยถูกปรับมาตราส่วนให้เป็นไปในทางตรงกันข้ามเพื่อ ให้สัมพันธ์กัน จะเห็นว่าเอา 1 มาหาร (0.714,1.25,0.417) ก็จะได้ (1.4,0.8,2.4)

ตำแหน่งก็ถูกเปลี่ยนให้สัมพันธ์เช่นกัน โดยตอนแรกตาซ้ายถูกวางไว้ที่ (1.8,0,16) แต่ตอนนี้กลายเป็น (1.286,0,2.5) โดยจะเห็นว่าตำแหน่งในแกน x คือ 1.286 นั้นได้จากการเอาตำแหน่งเดิม 1.8 หารด้วยมาตราส่วน 1.4 ส่วน ตำแหน่งในแกน z คือ 2.5 นั้นได้จากการเอาตำแหน่งเดิม 16 ลบด้วยตำแหน่งของส่วนหัว 10 แล้วหารด้วยมาตราส่วน 2.4

โดยปกติแล้วการใช้ parent() จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เสมอ แต่หากใส่แฟล็ก r (relative) ลงไปเป็น r=1 จะให้ผลที่ตรงกันข้ามกัน นั่นคือค่ามาตราส่วนและตำแหน่งที่อ่านได้จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปรากฏแทน เพราะค่าตรงนั้นกลายเป็นค่าสัมพัทธ์เทียบกับวัตถุพ่อแม่ไปตรงๆทั้งๆที่ไม่มี การปรับ

หลังจากที่รวมตาเข้ากับหัวแล้ว จากนั้นต่อไปก็จะรวมส่วนหัวรวมทั้งส่วนขาและหางเข้ากับกระดอง คราวนี้ในอาร์กิวเมนต์ใส่ลิสต์ที่เก็บชื่อของทั้ง ๖ ส่วน ซึ่งถูกสร้างไว้แต่แรกแล้ว ตามด้วยกระดอง
mc.parent(huahangkha,'kradong')

เท่านี้วัตถุทั้งหมดก็ถูกผูกรวมเข้าด้วยกันโดยมีกระดองเป็นส่วนหลักแล้ว

ถ้าหากกดเลือกที่ตัวกระดอง
mc.select('kradong')

ชิ้นส่วนอื่นก็จะถูกเลือกไปพร้อมกัน และถ้าหากเลื่อนตำแหน่งกระดองไปส่วนอื่นก็จะเลื่อนตาม ถ้าหมุนก็หมุนตาม ถ้าขยายก็ขยายตาม หรือถ้าลบก็จะหายไปหมด ในขณะที่ถ้าเลือกส่วนอื่นก็จะไปแค่ตัวนั้น กระดองหรือส่วนอื่นไม่เลื่อนตาม



ตอนที่เลื่อนตำแหน่งกระดองไปแล้วส่วนอื่นก็เลื่อนตามไปด้วยนั้น ค่าความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นแค่ที่ตัวกระดอง เช่นลองเลื่อนกระดองขึ้นไปด้านบน แล้วหมุน แล้วก็ขยาย
mc.move(0,20,0,'kradong')
mc.rotate(0,45,0,'kradong')
mc.scale(3,3,3,'kradong',r=1)
จะพบว่าส่วนต่างๆเปลี่ยนขนาดหรือตำแหน่งไปตามกระดองแต่พอดูค่าองค์ประกอบต่างๆในตัววัตถุที่เป็นลูกจะเห็นว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจริงๆ



การยกเลิกความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ลูกสามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน parent() โดยใส่อาร์กิวเมนต์เป็นวัตถุที่ต้องการแยกตัวออก แล้วใส่แฟล็ก w (world)

เช่น ลองแยกส่วนหัวออกจากกระดอง
mc.parent('hua','kradong',w=1)

พอลองแยกดูแล้วจะพบว่าค่าองค์ประกอบทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงไปจะถูกคำนวณแล้วใส่ลงในวัตถุส่วนหัว



การสร้างความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ลูกนั้นใช้ประโยชน์ได้ดีเวลาทำภาพเคลื่อนไหว เช่นถ้ามีวัตถุหนึ่งเป็นหลักแล้วของอย่างอื่นเคลื่อนตามไปด้วย

เช่นถ้านำเต่าที่สร้างขึ้นมานี้ไปยืนบนอะไรที่เคลื่อนที่อยู่ มันก็ควรจะต้องเคลื่อนที่ตามนั้น

ขอยกตัวอย่างโดยนำเต่าไปวางบนเมฆวิเศษซึ่งกำลังเคลื่อนที่

เมฆวิเศษ (筋斗雲, kintoun) เป็นอุปกรณ์พิเศษจากการ์ตูนเรื่องดรากอนบอล เป็นเมฆเล็กๆที่คนสามารถขึ้นไปขี่และควบคุมได้ แต่คนที่จะขี่ได้ต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้นผู้เฒ่าเต่าจึงขี่ไม่ได้

ลองสมมุติ สถานการณ์ว่าเต่าของเรากำลังขี่เมฆวิเศษอยู่ เมฆเคลื่อนไปข้างหน้าเรื่อยๆ แต่อยู่ดีๆก็เกิดคิดอะไรอกุศลขึ้นมาทำให้ใจไม่บริสุทธิ์ก็เลยร่วงตกจากเมฆ

ปกติ แล้ววัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่จะมีความเฉื่อย ดังนั้นแม้ว่าจะร่วงตกจากวัตถุที่เคลื่อนที่ไปแล้ววัตถุที่ร่วงก็ยังคง เคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็วเท่าเดิม เพียงแต่มีความเร็วในแนวดิ่งเพิ่มขึ้นมาเท่านั้น ในกรณีแบบนี้ก็สามารถใช้ parent() เพื่อช่วยให้ง่ายได้
import math
mc.polySphere(r=15,n='mekwiset') # สร้างเมฆวิเศษก้อนตรงกลาง
mc.scale(1,0.4,1) # บี้ให้แบน
for i in range(6):
    mc.polySphere(r=8,n='mek%d'%(i+1)) # สร้างเมฆ ๖ ก้อนรอบๆ
    mc.move(0,0,15) # ย้ายไปให้ห่างจากใจกลาง
    mc.scale(1,0.7,1) # บี้ให้แบน
    mc.rotate(0,60*i,0,p=[0,0,0]) # หมุนไปคนละมุม
mc.parent(['mek%d'%(i+1) for i in range(6)],['mekwiset']) # นำมาผูกรวมกับก้อนกลาง
# สร้างเต่า
mc.polySphere(r=13,sx=6,sy=3,n='kradong')
mc.scale(1,0.5,1)
huahangkha = ['hua','khanasai','khalangsai','hang','khalangkhwa','khanakhwa']
for i in range(6):
    mc.polySphere(r=3,n=huahangkha[i])
    if(i==0):
        mc.scale(1.4,0.8,2.4)
    elif(i==3):
        mc.scale(1,0.5,3)
    else:
        mc.scale(1,0.3,2)
    mc.move(0,0,10)
    mc.rotate(0,60*i,0,p=[0,0,0])
mc.polySphere(r=0.8,n='tasai')
mc.move(1.8,0,16)
mc.polySphere(r=0.8,n='takhwa')
mc.move(-1.8,0,16)
mc.parent('takhwa','tasai','hua')
mc.parent(huahangkha,'kradong')
mc.parent('kradong','mekwiset')
# ตั้งเอ็กซ์เพรชชัน
mc.expression(o='mekwiset',s='tz=30*time') # เมฆเคลื่อนไปข้างหน้า
mc.expression(o='khanasai',s='rx=40*sin(time*%d)'%math.pi) # ขาทั้ง ๔ ขยับไปเรื่อยๆ
mc.expression(o='khalangsai',s='rx=40*cos(time*%d)'%math.pi)
mc.expression(o='khalangkhwa',s='rx=-40*sin(time*%d)'%math.pi)
mc.expression(o='khanakhwa',s='rx=-40*cos(time*%d)'%math.pi)
mc.expression(o='hua',s='tz=5+5*sin(time*%d/5)'%math.pi) # ส่วนหัวก็ขยับ
mc.expression(o='kradong',s='if(time>2.5) ty=16-pow(time-2.5,2)*20; else ty=16') # พอถึงเวลา 2.5 เต่าเริ่มร่วงจากเมฆ





นอกจากนี้ parent() ยังอาจใช้แทน group() โดยแทนที่จะสร้างกลุ่มขึ้นมาเราก็นำวัตถุทั้งหมดไปผูกติดไว้กับอะไรสักอย่าง แทน ซึ่งอาจจะสะดวกกว่าการรวมกลุ่มเฉยๆตรงที่กลุ่มไม่ใช่วัตถุที่มองเห็นได้ เวลาจะเลือกต้องมาเลือกใน outliner ซึ่งบางทีอาจไม่สะดวก

ดังนั้นเราอาจใช้วิธีนำวัตถุมาผูกติดกับวัตถุชนิดหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้ในฉาก แต่ไม่มีตัวตนอยู่จริง เป็นเพียงเสมือนเครื่องทำสัญลักษณ์เท่านั้น วัตถุนั้นเรียกว่าโลเคเตอร์ (locator) สามารถสร้างขึ้นมาได้โดยฟังก์ชัน  spaceLocator()

การสร้างให้ใส่ตำแหน่งพิกัดที่ต้องการให้ตั้งอยู่ลงในแฟล็ก p (position) และก็สามารถตั้งชื่อด้วยแฟล็ก n (name)
for i in range(6):
    mc.polySphere(r=5,sx=18,sy=18,n='luk%d'%(i+1))
    mc.move(10,0,0)
    mc.rotate(0,60*i,0,p=[0,0,0])
mc.spaceLocator(p=[0,0,0],n='spl')
mc.parent(['luk%d'%(i+1) for i in range(6)]+['spl'])
mc.expression(s='spl.ry=180*time')
mc.expression(o='spl',s='sx=(3.-time)/3; sy=sx; sz=sx')
mc.expression(s='spl.ty=12*time')
mc.setAttr('splShape.lsx',20)
mc.setAttr('splShape.lsy',20)
mc.setAttr('splShape.lsz',20)



๓ บรรทัดสุดท้ายเป็นการปรับขนาดปรากฏของโลเคเตอร์ เพราะขนาดเดิมอาจเล็กไปทำให้สังเกตได้ยาก โดยสามารถไปปรับได้ที่ค่าองค์ประกอบที่อยู่ภายในโหนดที่มีชื่อเป็นชื่อโลเค เตอร์ที่ตั้งบวกด้วย Shape

ค่าขนาดกำหนดโดย lsx (localScaleX) lsy (localScaleY) lsz (localScaleZ)

อีกอย่างที่อาจปรับได้ก็คือตำแหน่ง กำหนดโดย lpx (localPositionX) lpy (localPositionY) lpz (localPositionZ)

ทั้งการปรับขนาดและการเลื่อนแบบนี้จะไม่มีผลต่อวัตถุที่อยู่ภายในเพราะเป็นเพียงองค์ประกอบภายในของตัวโลเคเตอร์เอง

ไม่ว่าโลเคเตอร์จะมีขนาดใหญ่แค่ไหนหรืออยู่ตรงไหนก็ตามเวลาที่เรนเดอร์ภาพออกมาก็จะมองไม่เห็น เพราะเป็นแค่วัตถุสมมุติเท่านั้น

จะใช้ spaceLocator() คู่กับ parent() หรือจะใช้ group() ก็แล้วแต่ความสะดวก


อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

各月日志

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

找更早以前的日志