φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



หอระฆังและหอกลองปักกิ่ง สัญญาณบอกเวลาในอดีต
เขียนเมื่อ 2015/06/18 21:26
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 8 มิ.ย. 2015

ใจกลางเมืองสมัยก่อนในจีนมักจะประกอบไปด้วยหอระฆัง (钟楼) และหอกลอง (鼓楼) ซึ่งมีหน้าที่เอาไว้ใช้บอกเวลา โดยในตอนเช้าจะมีการตีระฆัง และตอนเย็นจะมีการตีกลอง ดังนั้นจึงมีคำพูดที่ว่าเฉินจงมู่กู่ (晨钟暮鼓) หมายถึงรุ่งสางระฆังพลบค่ำกลอง

นอกจากนี้ตามวัดหรือวังก็มักมีหอระฆังและหอกลองขนาดเล็กอยู่ด้วยซึ่งนอกจากจะใช้บอกเวลาแล้วก็ยังใช้ในการประกอบพิธิต่างๆด้วย ดังที่พบได้ในหลายๆวัดที่เคยไปเยือนมาแล้ว

หอกลองและหอระฆังในปักกิ่งเริ่มแรกสร้างขึ้นเมื่อปี 1272 ต้นยุคราชวงศ์หยวน (元朝, ปี 1271 - 1368) เป็นศูนย์กลางในการบอกเวลามาโดยตลอดตั้งแต่ยุคราชวงศ์หยวนมาจนถึงราชวงศ์ชิง

อย่างไรก็ตามหลังจากที่สร้างเสร็จตอนแรกสุดก็มีการพังเสียหายจนต้องสร้างใหม่หลายครั้ง หอกลองที่เห็นในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นในปี 1539 ยุคราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644) ส่วนหอระฆังสร้างในปี 1745 ยุคราชวงศ์ชิง (清朝, ปี 1644 - 1912)

หอกลองสูง ๔๖.๗ เมตร หอระฆังสูง ๔๗.๙ เมตร ภายในหอกลองมีกลอง ภายในหอระฆังแขวนระฆัง หอระฆังตั้งอยู่ทางเหนือ หอกลองตั้งอยู่ทางใต้

การจัดวางแบบนี้ไม่ได้เป็นเรื่องปกตินักเพราะในเมืองส่านใหญ่แล้วจะวางหอกลองไว้ทางตะวันตก หอระฆังไว้ตะวันออก นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหอกลองและหอระฆังของบางเมืองตั้งอยู่ร่วมกันในอาคารเดียวกัน เช่นที่เทียนจิน https://phyblas.hinaboshi.com/20111214

หากดูแผนที่จะเห็นว่าหอกลองปักกิ่งไม่ได้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองแต่ค่อนไปทางเหนือหน่อย นั่นเป็นเพราะผังเมืองสมัยราชวงศ์หยวนนั้นใจกลางเมืองค่อนไปทางเหนือของปัจจุบันซึ่งมีใจกลางอยู่ที่หอระฆังและหอกลอง แต่ในยุคราชวงศ์หมิงจึงมีการย้ายใจกลางเมืองลงมาทางใต้ โดยหอระฆังและหอกลองยังอยู่ที่เดิม

เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองและใกล้ย่านโบราณชื่อดังอย่างสือช่าไห่ (什刹海) ทำให้เป็นสถานที่เที่ยวหนึ่งที่ผู้คนนิยมแวะเวียนมาเที่ยว



หอกลองและหอระฆังตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้าสถานีสือช่าไห่ (什刹海站) ถ้านั่งรถไฟฟ้ามาพอเดินออกมาก็จะเห็นหอกลองตั้งเด่นอยู่แต่ไกล เราเคยมาที่นี่หลายครั้งเพื่อเดินเล่นในสือช่าไห่แต่ก็ไม่ได้แวะเข้าไปในหอกลองสักที ครั้งนี้มาเพื่อชมหอกลองและหอระฆังโดยเฉพาะ ไม่ได้แวะสือช่าไห่

ภาพหอกลองจากฝั่งตรงข้ามถนน




ตอนที่มาในครั้งนี้พบว่าระหว่างทางเข้าไปยังหอกลองกำลังก่อสร้างอยู่ทำให้เดินลำบาก ตอนแรกก็แอบกลัวว่าหอกลองปิดหรือเปล่าแต่ก็ไม่ปิด แค่มีการซ่อมทางเฉยๆ อย่างไรก็ตามตอนที่ซื้อตั๋วคนขายเขาก็บอกว่าหอระฆังกำลังซ่อมแซมอยู่อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการชม



เริ่มจากชมหอกลองก่อน ตรงนี้คือด้านหน้าหอกลอง ช่องขายตั๋วอยู่ตรงนี้ ตั๋วเข้าชมหอกลองและหอระฆังราคา ๒๐ หยวนทั้งคู่ แต่ถ้าซื้อพร้อมกันรวมเป็นใบเดียวเพื่อชมทั้งสองที่ก็จะราคา ๓๐



แผ่นป้ายแนะนำหอกลอง



ทางเข้าไปยังลานหน้าหอกลอง การเดินเข้าไปต้องผ่านจุดตรวจกระเป๋า



บริเวณด้านหน้าหอกลอง




ช่องตรวจตั๋วเพื่อขึ้น



บันไดทางขึ้นนี้ตรงขึ้นไปยังด้านบนโดยตรง



เมื่อขึ้นมาถึงขึ้นบนมีกลองเต็มไปหมด



ตอนที่มานั้นมีคนกำลังตีกลองอยู่ด้วย เห็นว่าเป็นการซ้อมโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ถ้ามาตรงจังหวะก็จะได้เห็น ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะมีการจัดแสดงซ้อมตีกลองให้คนได้เห็นทุกชั่วโมง แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นไม่มีกำหนดแน่นอน



นอกจากนี้ก็จัดแสดงพวกอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการระบุเวลาในสมัยก่อน คนที่นี่จำเป็นจะต้องรู้เวลาที่แน่ชัดเพื่อจะตีกลองให้ตรงเวลา




นาฬิกาน้ำโบราณของจีนที่เรียกว่าเค่อโล่ว (刻漏) ทำงานโดยใส่น้ำลงในถังที่มีเจาะรูให้น้ำไหลออกได้ น้ำจะไหลออกจากรูไปเรื่อยๆตามเวลา สามารถดูระดับน้ำเพื่อบอกว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหนได้



สามารถเดินออกมาที่ระเบียงได้ ระเบียงทางนี้หันไปทางทิศใต้



มองออกไปเห็นใจกลางเมืองทางทิศใต้



ตรงนั้นเป็นสวนสาธารณะจิ่งซาน (景山公园) ตั้งเด่นอยู่ใจกลาง https://phyblas.hinaboshi.com/20120527



เจดีย์ขาวของสวนสาธารณะเป๋ย์ไห่ (北海公园) https://phyblas.hinaboshi.com/20111203



มองไปทางขวาเป็นทิศตะวันตก เห็นตัวเมืองและภูเขาเบื้องหลัง



สามารถมองเห็นหอคอยโทรทัศน์กลาง (中央电视塔) ที่เพิ่งไปมาวันก่อนได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20150612



ตึกแถวซีจื๋อเหมิน (西直门) และสถานีเหนือปักกิ่ง (北京北站)



มองไปทางซ้ายเป็นทิศตะวันออก



หมดแค่นี้ ได้เวลาเดินลงไปจากหอกลอง



มองไปยังหอระฆังซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ



เดินผ่านเข้าไป




ที่ตรวจตั๋ว



บันไดทางตรงขึ้นไป



เมื่อขึ้นมาถึงก็พบว่าบริเวณระฆังกำลังซ่อมอยู่ แต่ก็สามารถเห็นระฆังได้ตามปกติแม้ว่าอาจจะยังดูไม่ค่อยเรียบร้อยนัก ระฆังที่เห็นนี้คือระฆังโบราณที่ใหญ่ที่สุดในจีน สูง ๗.๐๒ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐาน ๓.๔ เมตร ถูกเรียกว่าราชาแห่งระฆังโบราณ (古钟之王, กู่จงจือหวาง) ถูกสร้างในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเล่อ (永乐, ปี 1403 - 1424)



มองออกไปนอกระเบียงทางทิศใต้ เห็นหอกลองที่เพิ่งเดินขึ้นไปชมมาเมื่อครู่





ภายในหอระฆังก็มีอยู่แค่นี้ ไม่ได้มีส่วนจัดแสดงอะไรเหมือนอย่างหอกลอง แค่ขึ้นมาเพื่อดูระฆังขนาดใหญ่เท่านั้น

ทั้งหอกลองและหอระฆังเดินทั้งหมดรวมแล้วใช้เวลาแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ไม่ได้กินเวลาสักเท่าไหร่นักในการชม หากใครมาเที่ยวสือช่าไห่ก็อาจจะแวะมาเที่ยวที่นี่ด้วยได้

นอกจากนี้แล้วไม่ไกลจากที่นี่มากนักยังมีสถานที่น่าสนใจอีกแห่งที่หากใครสนใจประวัติศาสตร์ก็อาจลองแวะไปได้ อยู่ห่างจากที่นี่ไปทางตะวันออกเฉียงใต้อีกหน่อย นั่นคือศาลเจ้าเหวินเทียนเสียง (文天祥祠) ซึ่งเป็นสถานที่ระลึกถึงเหวินเทียนเสียง วีรบุรุษแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ เราเดินต่อเพื่อไปชมที่นั่นต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20150620



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文