φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
พิพิธภัณฑ์เมืองหลวง
เขียนเมื่อ 2016/12/11 21:45
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 9 มิ.ย. 2015
พิพิธภัณฑ์เมืองหลวง (首都博物馆)
เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่อีกแห่งในปักกิ่ง ภายในจัดแสดงสมบัติทางวัฒนธรรมต่างๆของปักกิ่ง ส่วนหลักจัดแสดงประวัติศาสตร์ของปักกิ่งตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน
หากเปรียบเทียบแล้วอาจคล้ายกับ
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน (中国国家博物馆)
ซึ่งเคยเล่าถึงไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20161130
แต่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีนจะจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจีนทั้งชาติ ในขณะที่พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงจะเน้นเฉพาะปักกิ่ง (ซึ่งเป็นเมืองหลวง)
พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงเปิดขึ้นครั้งแรกในปี 1981 โดยเดิมทีสถานที่ตั้งอยู่ที่วัดขงจื๊อซึ่งเคยเล่าไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20150610
แต่ว่าต่อมาในปี 2006 ได้ถูกย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบัน เป็นอาคารขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนฉางอาน (长安街) ทางตะวันตกของถนนไป๋หยวิน (白云路)
บันทึกนี้เป็นเรื่องของการไปเที่ยวในช่วงกลางปี 2015 ซึ่งพยายามเที่ยวเก็บตกสถานที่เที่ยวมากมายก่อนจะลาจากปักกิ่งกลับบ้าน
ตอนนั้นไปกับเพื่อนคนอีกคนซึ่งเป็นคนที่เคยไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีนมาด้วยกัน เขามาเยี่ยมปักกิ่งอีกครั้งหลังจากเว้นไป ๒ เดือน
ที่นี่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าในสาย 1
สถานีมู่ซีตี้ (木樨地站)
นั่งมาลงได้ทันทีแล้วก็จะเจออาคารพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่นี้ตั้งตระหง่านอยู่
ที่นี่ไม่มีค่าเข้าชม แต่จำกัดจำนวนเข้าชมต่อวัน การเข้าชมที่นี่ควรจะจองเอาไว้ก่อนผ่านเว็บ
http://www.capitalmuseum.org.cn/zjsb/pwfw.htm
แต่หากวันไหนที่คนจองไม่เยอะต่อให้ไม่จองเอาไว้ก็สามารถเข้าได้เลยเหมือนกัน
รอบๆอาคารล้อมด้วยต้นไม้ ดูร่มรื่น
เข้ามาด้านในเจอห้องโถงใหญ่ตรงกลาง
ดูกว้างใหญ่โอ่โถงมาก และที่เห็นเป็นเสานั่นเป็นหอคอยที่ถูกสร้างอยู่ภายในอาคาร ในนั้นมีห้องจัดแสดงอยู่ด้วยตั้งแต่ส่วนชั้น ๒ ขึ้นไป
ส่วนภายในหอคอยชั้นแรกเป็นห้องชมสื่อหลายแบบ (多媒体视听室) ข้างในมีอะไรฉายให้ดูเป็นเวลา
ภายใน
อันนี้ฉายวีดิทัศน์แนะนำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สั้นๆ
ขึ้นมาที่ชั้น ๒ จะเจอกับส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมปักกิ่งเมืองหลวงเก่าแก่ (古都北京·历史文化篇)
ห้องนี้เปรียบได้กับห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์จีนของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน แต่สำหรับพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงจะเน้นแค่ประวัติศาสตร์ของปักกิ่งเท่านั้น
เรื่องราวเริ่มตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการขุดพบพวกเครื่องปั้นดินเผาซึ่งเก่าแก่หลายพันปี แสดงให้เห็นร่องรอยว่ามีคนอาศัยอยู่แถวปักกิ่งมานานแล้ว อันนี้ขุดเจอในเขตผิงกู่ (平谷) ทางตะวันออกของปักกิ่ง
ส่วนตรงนี้เป็นของที่ใหม่ขึ้นมาหน่อย เป็นในช่วงประมาณ 16-14 ศตวรรษก่อน ค.ศ. ซึ่งอยู่ในยุคราชวงศ์ซาง ขุดเจอในเขตผิงกู่
ของแต่ละชิ้นจะมีป้ายอธิบายพร้อมรูปประกอบ ดูแล้วเข้าใจได้ง่าย
ในยุคราชวงศ์โจวตะวันตก บริเวณปักกิ่งได้เป็นเมืองหลวงของ
แคว้นจี้ (蓟国, จี้กั๋ว)
และ
แคว้นยาน (燕国, ยานกั๋ว)
ซึ่งเป็นแคว้นที่ตั้งอยู่ติดกัน
รายละเอียดกว่านั้นได้เขียนไว้ในบันทึกการเที่ยว
โบราณสถานหลิวหลีเหอ (琉璃河遗址)
ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของปักกิ่ง
https://phyblas.hinaboshi.com/20150622
วัตถุโบราณจำนวนหนึ่งในสมัยนั้นได้เก็บไว้ใน
พิพิธภัณฑ์โบราณสถานกรุงยานยุคราชวงศ์โจวตะวันตก (西周燕都遗址博物馆)
ซึ่งตั้งอยู่ตรงโบราณสถานหลิวหลีเหอตรงนั้น แต่ส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงแห่งนี้
พวกนี้เป็นอุปกรณ์สำหรับรถม้า
ภาชนะสองอันนี้ก็ขุดเจอจากที่นั่น มีจารึกข้อความไว้ด้วย เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงเรื่องราวในยุคนั้นของแคว้นยาน
อันนี้เป็นภาชนะขนาดใหญ่ที่ขุดเจอจากที่เดียวกันนั้น
ต่อมาเข้าสู่ยุคจ้านกั๋ว แคว้นต่างๆแตกแยกกันยานตีแคว้นจี้แตกแล้วผนวกรวมเข้าด้วยกัน
ภาชนะโบราณช่วงยุคจ้านกั๋วที่ขุดพบในบริเวณปักกิ่ง
พอเข้ายุคราชวงศ์ฉิน จิ๋นซีฮ่องเต้ได้ทำการรวมประเทศและแบ่งเขตการปกครองใหม่ซึ่งใช้ต่อมาจนถึงยุคราชวงศ์ฮั่น การปกครองแบ่งเป็นมณฑล บริเวณปักกิ่งได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมณฑล
โยวโจว (幽州)
แคว้นยานได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโยวโจว โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
แคว้นกว่างหยาง (广阳郡)
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ในบันทึกที่เขียนถึง
สุสานยุคราชวงศ์ฮั่นต้าเป่าไถ (大葆台汉墓)
สุสานของหลิวเจี้ยน (刘建) ผู้ครองแคว้นกว่างหยาง ใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20150628
นี่เป็นของส่วนหนึ่งที่ขุดพบที่สุสานต้าเป่าไถ
รูปปั้นดินเผาที่ทำเป็นรูปอาคารบ้าน เป็นของที่ฝังคู่กับหลุมศพในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
รูปปั้นดินเผารูปวัวลากเกวียนสมัยราชวงศ์จิ้นที่พบในปักกิ่ง
มังกรและวัวสำริดในยุคราชวงศ์ถัง
ภาชนะระบายสามสีในยุคราชวงศ์ถัง
ต่อมาพอสิ้นสุดยุคราชวงศ์เหลียว ปักกิ่งได้ถูกตั้งเป็น ๑ ใน ๕ เมืองหลวงของราชวงศ์เหลียว ใช้ชื่อว่าหนานจิง (南京) และได้เริ่มมีความสำคัญขึ้นมาอย่างแท้จริง
รายละเอียดได้เล่าไว้ในบันทึกที่ไปเที่ยว
พิพิธภัณฑ์กำแพงเมืองเหลียวจิน (辽金城垣博物馆)
https://phyblas.hinaboshi.com/20150501
เครื่องสำริดและเครื่องแก้วยุคราชวงศ์เหลียว
เก้าอี้ไม้ยุคราชวงศ์เหลียว
ต่อมาราชวงศ์จินโค่นล้มราชวงศ์เหลียวและปกครองตอนเหนือของจีนแทน ปักกิ่งก็ได้กลายเป็นเมืองหลวงหลักของราชวงศ์จิน
ศิลาจารึกที่หลุมศพในยุคราชวงศ์จิน
เงินตราที่ใช้ในยุคราชวงศ์จิน
ต่อมาถึงยุคราชวงศ์หยวนปักกิ่งก็ยังคงถูกใช้เป็นเมืองหลวงตลอดทั้งยุค
ในส่วนนี้เป็นห้องเล็กๆห้องหนึ่งที่มีการจำลองย่านค้าขายริมน้ำโดยมีแบบจำลองเรือและมีภาพวาดเป็นฉากหลัง ในยุคราชวงศ์หยวนได้มีการปรับปรุงคลองใหญ่
ต้ายวิ่นเหอ (大运河)
เพื่อเชื่อมหางโจวและปักกิ่ง สินค้าถูกส่งตามคลองจากทางใต้มาทำให้การค้าขายทางน้ำรุ่งเรือง
แผ่นศิลาจารึกบนหลังเต่าที่ขุดพบภายในบริเวณตัวเมืองปักกิ่ง
พอเข้ายุคราชวงศ์หมิงในปี 1368 เมืองหลวงก็ได้ถูกย้ายไปหนานจิงอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็เปลี่ยนกลับมาใช้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงอีกครั้งในปี 1421 มีการสร้างพระราชวังขึ้นใหญ่โตในปักกิ่ง ซึ่งรู้จักกันทุกวันนี้ในชื่อว่า
พระราชวังต้องห้าม (紫禁城)
นอกจากนี้ยังไม่ได้สร้างกำแพงเมืองและป้อมประตูเมืองโดยปรับปรุงจากของเดิมที่สร้างในสมัยราชวงศ์หยวนขึ้น ปัจจุบันป้อมบางส่วนก็ยังคงหลงเหลืออยู่เช่น
เต๋อเซิ่งเหมิน (德胜门)
ดังที่เล่าไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20150411
ในนี้มีการทำแบบจำลองเสมือนว่าเรายืนอยู่บนกำแพงเมืองปักกิ่งแล้วมองออกไปเห็นหอธนูป้อมเต๋อเซิิ่งเหมินที่ยื่นออกมาเพื่อใช้รับศึกศัตรู และฉากหลังเป็นภาพการบุกของทหารมองโกลจากนอกกำแพงเมือง
เหตุการณ์ที่จำลองในภาพคือศึกในปี 1449 รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ในบันทึกเรื่อง
สุสานจิ่งไท่ (景泰陵)
ที่เขียนใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20150419
ในนั้นยังมีแสดงอาวุธและกระสุนเหล็กที่ใช้ที่ป้อมประตูด้วย
ส่วนผนังในห้องนี้ มีการนำเหตุการณ์สำคัญของฝั่งยุโรปมาเทียบเพื่อให้เห็นวิวัฒนาการตามเวลาด้วย เส้นเวลาจะสัมพันธ์กัน เช่นปลายยุคราชวงศ์หมิงจะตรงกับช่วงที่ชาวยุโรปเริ่มออกสำรวจทะเล เช่น วัชกู ดา กามา (Vasco da Gama) เฟร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan)
จากนั้นเข้าสู่ยุคราชวงศ์ชิง ซึ่งในยุคนี้เมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่งตลอดไม่มีการย้ายไปไหน
พระสูตรและมงกุฎที่พบที่
วัดเมี่ยวอิ้ง (妙应寺)
วัดเจดีย์ขาวซึ่งเล่าไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20161122
ปลายยุคราชวงศ์ชิงเริ่มเข้าสู่สมัยใหม่
แล้วก็เริ่มเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐจีน ช่วง 1912 หลังจากโค่นล้มราชวงศ์ชิงได้ ปักกิ่งยังคงเป็นเมืองหลวงไปจนถึงปี 1928 จึงถูกย้ายไปที่หนานจิง และอยู่ไปจนถึงปี 1937 เจอสงครามกับญี่ปุ่นจึงย้ายเมืองหลวงไปที่ฉงชิ่ง จบศึกในปี 1945 ย้ายกลับมาหนานจิงอีก
แต่พอถึงปี 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนได้สำเร็จ เมืองหลวงก็ถูกย้ายกลับมาอยู่ปักกิ่งอีกครั้ง และอยู่มาถึงปัจจุบัน
ในช่วงปี 1928-1949 ซึ่งปักกิ่งไม่ได้เป็นเมืองหลวงอยู่นั่นปักกิ่งได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเป่ย์ผิง (北平) ก่อนที่จะเปลี่ยนกลับมาอีกที
เรื่องราวช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่จีนรบกับญี่ปุ่นในปี 1937-1945 ปักกิ่งเป็นสมรภูมิรบที่สำคัญซึ่งถูกญี่ปุ่นยึดได้แต่ก็ได้คืนตอนญี่ปุ่นแพ้สงคราม
ตามมาด้วยการเข้ายึดเมืองปักกิ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามกลางเมืองในปี 1949 ทางรัฐบาลจีนเรียกว่าเป็นการปลดปล่อยปักกิ่ง เพราะเป็นการปล่อยจากอำนาจการปกครองของรัฐบาลก๊กมินตั๋งของเจียงไคเชก หลังเหตุการณ์ครั้งนั้นจีนก็เข้าสู่ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน
ส่วนจัดแสดงของห้องนี้ก็สิ้นสุดลงที่ตรงนี้
ส่วนตรงนี้เป็นที่ขายของฝาก
จบแล้วขึ้นมาที่ชั้น ๓ ก็พบว่าวันนั้นชั้นนี้ปิดอยู่ จึงต่อไปยังชั้น ๔
ในชั้น ๔ ประกอบไปด้วย ๓ ห้อง
ห้องแรกเป็นห้องจัดแสดงงานศิลปะพระพุทธรูปโบราณ
ถัดมาเป็นห้องจัดแสดงงานศิลปะเครื่องกระเบื้องเคลือบโบราณ
แบบจำลองแสดงการทำเครื่องกระเบื้อง
สุดท้ายเป็นห้องแสดงสมบัติทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับอุปรากรจีน
ต่อมาขึ้นมายังชั้น ๕ ตรงส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวพื้นบ้านของปักกิ่งในสมัยโบราณ
ดูจบชั้น ๕ แล้ว ในอาคารส่วนหลักมีอยู่แค่นี้
แต่ว่ายังเหลือในส่วนของหอคอยที่ยังไม่ได้ดู
ส่วนของหอคอยก็มีอยู่หลายชั้น แต่วันที่ไปดูเหมือนว่าชั้น ๒ และ ๓ จะปิดอยู่จึงขึ้นไปเริ่มดูจากชั้น ๕
ชั้น ๕ เป็นส่วนจัดแสดงงานศิลปะเครื่องหยก
ส่วนของ
หอคอยมี ๖ ชั้น สามารถเดินขึ้นไปชั้น ๖ ได้โดยผ่านชั้น ๕ ชั้นนี้ไม่มีในส่วนเชื่อมกับอาคารส่วนหลักโดยตรง
ชั้น ๖ เป็นส่วนแสดงหอคอยโบราณ
แนะนำหอคอยต่างๆในปักกิ่ง
ตำแหน่งหอคอยต่างๆในบริเวณปักกิ่ง
บรรยากาศภายในนี้ทำเป็นสวนร่มรื่น
ภายในมีป้ายแนะนำหอคอยแห่งต่างๆหายในปักกิ่ง พร้อมกับสมบัติบางส่วนที่พบจากในนั้น
เช่นอันนี้เป็นเจดีย์ขาวของ
วัดเมี่ยวอิ้ง (妙应寺)
ซึ่งเคยเขียนถึงไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20161122
นี่เป็นสมบัติที่เจอภายในเจดีย์ขาว ถูกนำมาเก็บไว้ที่นี่ เป็นของที่ใส่เข้าไปตอนที่ซ่อมแซมเจดีย์ในปี 1753 สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง
จากนั้นลงมาดูในส่วนชั้น ๔ เป็นส่วนแสดงงานศิลปะเครื่องสำริด
การเดินเที่ยวที่นี่จบลงเพียงเท่านี้ คิดว่าคุ้มค่าทีเดียวที่ได้มา มีของโบราณให้ดูมากมาย แม้ว่าจะไม่มากเท่าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีนก็ตาม เพราะของจากทั้งประเทศกับของจากแค่ปักกิ่งขอบเขตมันก็แตกต่างกันมาก แต่ถึงอย่างนั้นปักกิ่งก็ถือว่ามีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีสมบัติทางวัฒนธรรมเยอะมาก
เที่ยวเสร็จก็พากันเดินไปกินข้าวที่ร้านเนื้อย่างเกาหลีที่ตั้งอยู่ใกล้ๆพิพิธภัณฑ์ ชื่อร้าน
เกาหลีอู (高丽屋)
อยู่บนฝั่งตรงข้ามของถนนไป๋หยวินข้ามจากฝั่งพิพิธภัณฑ์ไปทางตะวันออก
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
พิพิธภัณฑ์
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文