φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
สุสานจิ่งไท่ จักรพรรดิลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์หมิง
เขียนเมื่อ 2015/04/19 08:55
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พุธ 8 เม.ย. 2015
หลายคนคงรู้จัก
สุสาน ๑๓ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง (明十三陵)
หรือที่เรียกสั้นๆว่า
สือซานหลิง (十三陵)
ซึ่งเป็นที่ฝังศพของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644) ทั้งหมด ๑๓ องค์ เป็นสถานที่เที่ยวขึ้นชื่อของปักกิ่ง
แต่วันนี้ที่จะแนะนำถึงไม่ใช่ที่นั่น เพราะเราเองก็ยังไม่เคยไปชมที่นั่นเหมือนกัน แน่นอนว่าอยากไปเหมือนกันแต่ว่ามันไกลและเดินทางลำบากพอสมควร
ที่จะพูดถึงต่อไปนี้คือสุสานของจักรพรรดิองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์หมิงที่ไม่ได้ถูกฝังรวมอยู่กับจักรพรรดิองค์อื่น แต่กลับถูกฝังอยู่เงียบๆ ณ ชานเมืองปักกิ่ง และไม่ค่อยจะมีใครรู้จัก
จักรพรรดิที่ว่านี้ก็คือ
จักรพรรดิจิ่งไท่ (景泰)
ซึ่งเป็นจักรพรรดิลำดับที่ ๗ ของราชวงศ์หมิง ครองราชย์ในช่วงปี 1449 - 1457
หากใครศึกษาประวัติศาสตร์จะรู้มาว่าราชวงศ์หมิงนั้นมีกษัตริย์อยู่ ๑๖ องค์ แต่ว่าที่ถูกฝังที่สือซานหลิงนั้นมีอยู่แค่ ๑๓ องค์ ดังนั้นขาดไป ๓
จักรพรรดิองค์แรกคือ
จักรพรรดิหงอู่ (洪武)
หรือชื่อเดิมว่า
จูหยวนจาง (朱元璋)
ซึ่งครองราชย์ในปี 1368 - 1398 นั้นมีสุสานอยู่ที่เมือง
หนานจิง (南京)
เนื่องจากสมัยเริ่มราชวงศ์หมิงนั้นเมืองหลวงตั้งอยู่ที่หนานจิงซึ่งขณะนั้นมีชื่อว่า
อิ้งเทียน (应天)
หลังจากนั้นในสมัยของ
จักรพรรดิหย่งเล่อ (永乐)
จักรพรรดิลำดับที่ ๓ ซึ่งครองราชย์ปี 1402 - 1424 จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ปักกิ่งและสร้างสุสานขึ้นที่นี่
ส่วนจักรพรรดิลำดับที่ ๒ คือ
จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน (建文)
ซึ่งครองราชย์ช่วงปี 1398 - 1402 นั้นเนื่องจากโดนรัฐประหารยึดอำนาจโดยจักรพรรดิหย่งเล่อจนต้องหนีลี้ภัยไปจากนั้นก็หายสาบสูญไปดังนั้นจึงไม่มีศพที่จะนำมาฝัง
และสุดท้ายคือจักรพรรดิจิ่งไท่ที่เราไปเยี่ยมหลุมศพมาครั้งนี้ ทำไมถึงไม่ได้ถูกฝังรวมในสุสานเดียวกับกษัตริย์องค์อื่นๆ เรื่องมีที่มายาวนิดหน่อย จากนี้ไปจะขอเล่าโดยย่อ
จักรพรรดิจิ่งไท่นั้นเกิดเมื่อปี 1428 เดิมมีชื่อว่า
จูฉียวี่ (朱祁鈺)
เป็นน้องชายของ
จักรพรรดิเจิ้งถ่ง (正统)
ซึ่งเป็นจักรพรรดิลำดับที่ ๖ ของราชวงศ์หมิง
จักรพรรดิเจิ้งถ่งเกิดเมื่อปี 1427 ขึ้นครองราชย์ในปี 1435 ขณะอายุได้เพียง ๘ ขวบเท่านั้น จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนคือขันทีชื่อ
หวางเจิ้น (王振)
ซึ่งจักรพรรดิเจิ้งถ่งก็นับถือเขาเป็นอาจารย์
ช่วงนั้นชาวมองโกลเผ่า
หว่าล่า (瓦剌)
เป็นรัฐบรรณาการของจีน โดยทางหว่าล่าต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้จีนทุกปี แล้วจีนก็จะส่งข้าวของเงินทองเป็นการตอบแทนกลับให้สมน้ำสมเนื้อกับเครื่องราชบรรณาการที่ได้มา ปริมาณเครื่องราชบรรณาการนั้นนับตามจำนวนผู้แทนในคณะทูตที่นำของมา
แต่ว่าช่วงหลังๆเผ่าหว่าล่าเติบโตเร็วและต้องการของตอบแทนจากทางจีนมากขึ้นจึงได้พยายามส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้เยอะมาก จากที่เดิมกำหนดว่าให้ส่งคณะทูตมา ๕๐ คนก็กลับส่งมาเป็นพันคน ซึ่งเป็นภาระของทางจีนที่จะต้องเตรียมข้าวของตอบแทนให้พอตามจำนวน แต่ตอนนั้นทางจีนกำลังอ่อนแอลงจึงได้แต่ตอบรับคำขอของทางหว่าล่าเพื่อรักษาสัมพันธ์ไว้
พอถึงปี 1449 เผ่าหว่าล่าส่งคณะทูตมาโดยรายงานว่ามี ๓๐๐๐ กว่าคน แต่พอตรวจสอบแล้วกลับพบว่าเป็นการรายงานจำนวนเกินความจริงไปมาก เมื่อเจอแบบนี้ทางจีนจึงส่งข้าวของตอบแทนให้แค่ ๑ ใน ๕ ของที่ทางหว่าล่าต้องการ ทำให้ทางหว่าล่าไม่พอใจและบุกเข้าโจมตีชายแดน กองทหารชายแดนของจีนไม่อาจทานทัพของหว่าล่าได้จึงรุกเข้ามาได้เรื่อยๆ
หวางเจิ้นยุยงให้จักรพรรดิเจิ้งถ่งนำทัพไปปราบเผ่าหว่าล่าด้วยตัวเอง โดยให้จูฉียวี่ (ซึ่งต่อมาเป็นจักรพรรดิจิ่งไท่) อยู่เฝ้าเมืองแทน และเมื่อกองทัพของจักรพรรดิเจิ้งถ่งปะทะกับกองทัพหว่าล่าก็กลับพ่ายแพ้ยับเยินด้วยความที่ทัพถูกบัญชาการอย่างห่วยแตกไม่เป็นระเบียบทั้งที่มีจำนวนมากกว่ามาก ผลก็คือหวางเจิ้นถูกฆ่าตาย ส่วนจักรพรรดิเจิ้งถ่งก็ถูกจับไปเป็นตัวประกันเพื่อเรียกค่าไถ่ เหตุการณืนี้เรียกว่า
การเปลี่ยนแปลงที่ป้อมถู่มู่ (土木堡之变, ถู่มู่เป่าจือเปี้ยน)
ทางพระราชวังซึ่งตอนนั้นนำโดยนายพล
หยวีเชียน (于谦)
ไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของทางหว่าล่าที่ต้องการเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับตัวจักรพรรดิเจิ้งถ่ง แต่กลับแต่งตั้งให้จูฉียวี่เป็นจักรพรรดิแทน ทำให้จูฉียวี่ได้กลายเป็นจักรพรรดิจิ่งไท่ตั้งแต่ตอนนั้น หลังจากนั้นทางหว่าล่าได้ส่งกองทัพมาบุกปักกิ่ง แต่หยวีเชียนก็ได้ตั้งรับอย่างดีจนพวกหว่าล่าพ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับไปและตอนหลังจึงได้ยอมปล่อยจักรพรรดิเจิ้งถ่งคืนมา
จักรพรรดิเจิ้งถ่งหลังจากถูกปล่อยตัวกลับมาก็เสียตำแหน่งจักรพรรดิไปเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงตำแหน่ง
ไท่ซ่างหวง (太上皇)
ซึ่งหมายถึงตำแหน่งของจักรพรรดิที่สละราชสมบัติ ไม่ได้มีอำนาจอะไรอีก แถมยังถูกจักรพรรดิจิ่งไท่สั่งขังเพราะกลัวว่าจะแย่งบัลลังก์คืน
หลังจากนั้นพอถึงปี 1457 จักรพรรดิจิ่งไท่ล้มป่วย เหล่าขุนนางและขันทีจึงประชุมหารือกันว่าจะทำยังไงกับตำแหน่งจักรพรรดิองค์ต่อไปดี สุดท้ายก็ได้ตกลงใจกันเชิญจักรพรรดิเจิ้งถ่งกลับคืนสู่บรรลังก์ จักรพรรดิเจิ้งถ่งจึงได้กลับมาครองราชย์ต่ออีกครั้งโดยใช้ชื่อรัชกาลใหม่ว่า
เทียนซุ่น (天顺)
ส่วนจักรพรรดิจิ่งไท่ซึ่งล้มป่วยอยู่ก็ได้เสียชีวิตลงหลังจากนั้นไม่นานในปีเดียวกัน โดยที่ยังเพิ่งอายุเพียง ๒๙ ปีเท่านั้น
จักรพรรดิเจิ้งถ่งเจิ้งถ่งไม่ยอมรับว่าจักรพรรดิจิ่งไท่เคยเป็นจักรพรรดิ แต่ถือว่าเป็นแค่ผู้ที่มารับตำแหน่งแทนชั่วคราวเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้เองเมื่อจักรพรรดิจิ่งไท่เสียชีวิตลงจึงไม่ได้นำศพไปฝังในสุสานแห่งราชวงศ์หมิงเหมือนอย่างจักรพรรดิองค์อื่น แต่กลับนำศพไปฝังไว้ที่ชานเมืองปักกิ่งแทน เป็นสุสานเล็กๆ
แต่หลังจากนั้นในรัชสมัยของจักรพรรดิเจียจิ้ง (嘉靖, ปี 1522 - 1566) จึงเริ่มมองเห็นว่าจักรพรรดิจิ่งไท่ควรได้รับการยกย่องเหมือนจักรพรรดิองค์อื่น จึงได้มีการคืนตำแหน่งจักรพรรดิให้จักรพรรดิจิ่งไท่ สุสานของจักรพรรดิจิ่งไท่จึงได้รับการแต่งเติมให้สมกับเป็นสุสานของจักรพรรดิ แม้จะยังคงอยู่ที่เดิมไม่ได้ย้ายไปรวมกับจักรพรรดิองค์อื่น และต่อมาหลังจากนั้นในสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆, ปี 1736 - 1795) แห่งราชวงศ์ชิงก็ยังได้มีการปรับปรุงที่นี่เพิ่มขึ้นอีก
แต่เวลาผ่านไปนานต่อมาสุสานแห่งนี้ก็เสื่อมไปตามเวลา ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ดั้งเดิมนั้นไม่อยู่แล้ว ที่ยังคงเหลืออยู่ตรงนี้มีเพียงแค่ศาลาแผ่นหิน (碑亭) ที่สร้างปรับปรุงสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง และอาคารหลิงเอินเตี้ยน (祾恩殿) ซึ่งเป็นประตูหน้าทางเข้าสู่ที่ฝังศพ
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็คือที่มาของสถานที่ที่ปัจจุบันเรียกว่า
สุสานจิ่งไท่ (景泰陵)
ซึ่งเราได้ไปเยี่ยมชมมา
ที่นี่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากใจกลางเมืองปักกิ่งมากนัก สามารถเดินทางไปได้ง่าย ต่างจากสุสาน ๑๓ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงซึ่งอยู่ไกลออกไปกว่านั้นจึงเดินทางลำบากกว่ามาก ดังนั้นแล้วการที่จักรพรรดิจิ่งไท่ได้ฝังที่นี่ก็อาจเป็นข้อดีว่าทำให้คนสามารถเข้าไปเยี่ยมหลุมศพได้ง่าย
สุสานจิ่งไท่ตั้งอยู่ใน
เขตไห่เตี้ยน (海淀区)
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปักกิ่ง โดยตั้งอยู่ในเส้นทางผ่านระหว่างเขา
เซียงซาน (香山)
และพระราชวังฤดูร้อน
อี๋เหอหยวน (颐和园)
ครั้งนี้เรากำลังจะเดินทางไปเที่ยวเซียงซาน เส้นทางต้องผ่านแถวนี้จึงถือโอกาสแวะชมสุสานของจักรพรรดิจิ่งไท่สักหน่อย ที่ตั้งของสุสานจิ่งไท่นั้นปัจจุบันกลายเป็นย่านที่เรียกว่า
เหนียงเนี่ยงฝู่ (娘娘府)
การมาที่นี่ให้นั่งรถเมล์มาลงที่ป้ายเหนียงเนี่ยงฝู่ รถเมล์หลายสายที่จะไปเซียงซานนั้นต้องผ่านแถวนี้
บรรยากาศตรงป้ายรถเมล์หลังลงจากรถมา แถวนี้เป็นชานเมืองจึงดูเงียบๆ
ทางเข้าอยู่ในซอยนี้ อยู่ทางขวาของป้ายรถเมล์
แต่เมื่อเรามาถึงก็ได้มาพบว่าย่านเหนียงเนี่ยงฝู่ที่ว่านี้ตอนนี้ถูกใช้เป็นก้านซิวสั่ว (干休所, ย่อมาจากคำว่าก้านปู้ซิวหยางสั่ว (干部休养所)) ซึ่งหมายถึงที่พักของทหารที่ปลดประจำการเนื่องจากเกษียรหรือทุพพลภาพ ดังนั้นจึงไม่เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปชมได้ แถมมีทหารเฝ้าตลอด เราลองพยายามต่อรองกับทหารยามที่เฝ้าประตูทางเข้าอยู่ว่าอุตส่าห์นั่งรถมาตั้งไกลขอเข้าไปดูแค่แป๊บเดียวเองแล้วจะรีบออก เขาก็ไม่ยอม
หลังจากรู้ว่าเขายังไงก็ไม่ยอมให้ผ่านจึงคิดว่าจะทำยังไงดี มาแล้วมีหรือจะยอมเสียเที่ยวง่ายๆ ในตอนนั้นเห็นทหารยามอีกคนหนึ่งซึ่งนั่งเฝ้าอยู่นอกประตู ดูท่าทางแล้วน่าจะใจดีก็ลองไปคุยถามเขาว่ามีทางเข้าทางอื่นมั้ย เขาก็คุยด้วยอย่างใจดีแล้วบอกว่าถ้าอยากเข้าไปละก็ให้ไปอ้อมเข้าด้านหลังได้ แล้วก็ให้เราเปิดแผนที่ในมือถือขึ้นมาแล้วเขาก็ชี้บอกทาง
เราเดินออกจากซอยแล้วเดินไปตามถนนต่อไปทางตะวันตกอีกเล็กน้อย
จากนั้นเลี้ยวเข้าซอยนี้ซึ่งอยู่ข้างๆ ซอยนี้อยู่ห่างจากซอยที่ถูกกั้นไม่ให้เข้าตอนแรกอยู่หนึ่งป้ายรถเมล์
เดินเข้ามาแล้วจะต้องผ่าน
โรงพยาบาล ๓๑๖ (三一六医院)
ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทหาร
เข้าไปในบริเวณโรงพยาบาลแล้วเลี้ยวขวา ตรงนี้มีทางเข้าไปสู่ย่านเหนียงเนี่ยงฝู่อยู่ เป็นประตูเล็กๆแต่สามารถเดินผ่านได้ ไม่มีคนเฝ้า (คนในรูปไม่ใช่คนเฝ้า เขามายืนเฉยๆ)
เมื่อเข้าไปแล้วในนี้เป็นหมู่บ้านที่เงียบๆ บรรยากาศดีใช้ได้
เราเดินไปชมดอกไม้ไปเรื่อยๆ ใช้แผนที่ในมือถือเป็นตัวนำทาง
แล้วก็มาถึงสวนสาธารณะเล็กๆที่อยู่กลางหมู่บ้านนี้
ในนี้บรรยากาศดี
เข้ามาในสวนแล้วเดินไปสักพักในที่สุดก็เริ่มเห็นสิ่งที่ตามหาอยู่ทางโน้น
นี่คือศาลาป้ายหน้าหลุมศพของจักรพรรดิจิ่งไท่ แผ่นหินนี้ถูกตั้งโดยจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงในปี 1769 นี่เป็นส่วนของสุสานที่ถูกรักษาไว้ในสภาพดีที่สุด
ที่กำแพงล้อมศาลามีชื่อป้ายเขียนว่าจิ่งไท่หลิง (景泰陵) โดยองค์กรอนุรักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของปักกิ่ง ที่นี่ถือเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ถูกรักษาเอาไว้อย่างดี
ป้ายคำอธิบายสั้นๆถึงสถานที่นี้
ที่กำแพงมีรูด้วย
ภายในเป็นแผ่นหินป้ายหลุมศพ
อีกด้าน
นอกจากศาลาแผ่นหินแล้วแล้วเดินไปด้านหลังยังมีอาคารเก่าอีกแห่ง คืออาคารหลิงเอินเตี้ยน ซึ่งเป็นทางเข้าไปสู่ที่ฝังศพ
ด้านในนั้นตอนนี้กลายเป็นสนามเกตบอล และปิดไม่ให้ใครผ่านไปได้ แต่ถึงจะเข้าไปก็ไม่มีอะไรให้ดูเพราะสิ่งก่อสร้างที่นี่ไม่เหลืออยู่แล้ว ที่ฝังศพจึงเป็นแค่เนินดิน
หมดแค่นี้ ที่นี่ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้แล้ว ที่จริงทหารยามที่กันไม่ให้เราเข้าตอนแรกก็มีบอกเหมือนกันว่าไม่เห็นจะมีอะไรเลย แต่เราก็รู้อยู่แล้วว่ามีแค่นี้แต่ยังไงก็ยังอยากจะมา
หลังดูของที่อยากดูเสร็จแล้วก็เดินเล่นต่อในบริเวณนั้นอีกหน่อย เท่าที่ดูก็ไม่มีอะไรแล้วจริงๆนอกจากเป็นหมู่บ้านเงียบๆ บรรยากาศร่มรื่นดี
เราเดินหาทางออกเดิมไม่เจอก็เลยลองเดินออกมาทางประตูที่เขากั้นไม่ให้เข้าตอนแรกดู
ระหว่างทางมองเห็นกลุ่มอาคารบนเขา
ยวี่เฉวียนซาน (玉泉山)
ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปชมด้านใน ภายในมีหอคอยสวยๆอยู่แต่ก็ได้แต่แหงนมองจากรอบนอก หากใครไปเที่ยวพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวนก็สามารถมองเห็นมันได้เช่นกัน
ตอนเดินใกล้ถึงทางออกก็เดินสวนทหารยามคนที่กันไม่ให้เราตั้งแต่ตอนแรก เราก็ตกใจ เขาถามเราว่าเข้ามาได้ไงเราก็ตอบไปว่าอ้อมเข้าจากทางโน้น เขาก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่แค่เตือนว่าอย่าทำตัวน่าสงสัยเดี๋ยวจะโดนจับ แล้วก็เดินจากไป
สุดท้ายเราก็ออกตรงประตูที่ถูกกั้นทีแรกไปได้อย่างง่ายดาย ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร
หมดเรื่องแล้วเราก็เดินออกมายังป้ายรถเมล์เพื่อจะนั่งรถเมล์ต่อไปยังเขาเซียงซานซึ่งเป็นเป้าหมายหลักจริงๆของเที่ยวนี้ หลังจากที่เสียเวลาไปกับการเดินอ้อมและเจรจากับทหารยามไปพอสมควรทำให้ตอนนี้ใกล้เที่ยงแล้ว
จากตรงนี้มีรถเมล์สาย 331 และ 563 ที่สามารถไปถึงเซียงซานได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20150421
ที่นี่อาจไม่ใช่สถานที่เที่ยวที่คนทั่วไปจะมากันสักเท่าไหร่นัก แต่มันก็ยังถือว่าเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อยู่ หากอ่านประวัติศาสตร์มามากจะทำให้รู้สึกว่าสถานที่เที่ยวที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีอะไรให้ดูก็กลับเป็นที่ที่น่าสนขึ้นมาได้ บางทีแม้แต่ก้อนหินก้อนเดียวคนก็อาจแห่กันมาชมได้ คุณค่าของสิ่งต่างๆบางทีก็อยู่ตรงที่ประวัติศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังมัน
เมื่อก่อนเคยมีไปเที่ยวที่ที่คล้ายๆกัน คือสุสานพระเจ้าตากสินที่
เถ่งไฮ่ (澄海, เฉิงไห่)
ที่ซัวเถา บ้านเกิดบรรพบุรุษ ซึ่งที่นั่นก็ไม่เป็นที่รู้จักและก็ไม่ค่อยมีอะไรให้ดูมากเช่นกัน
https://phyblas.hinaboshi.com/20120704
สำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์แล้วสุสานจิ่งไท่นี้ก็อาจจะถือว่าน่าลองมาเยี่ยมชมดูเหมือนกัน ยิ่งอยู่ระหว่างทางไปเขาเซียงซานด้วย หากใครจะไปเที่ยวเซียงซานละก็เสียเวลาแวะที่นี่ดูสักหน่อยก็อาจเป็นความคิดที่ไม่เลวก็เป็นได้
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
--
ท่องเที่ยว
>>
สุสาน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
แวะไปกินร้านชิจิฟุกุเตย์ราเมงที่ย่านมินามิคาตาเอะในเขตโจวนังแถวมหาวิทยาลัยฟุกุโอกะ
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文