φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วัดขงจื๊อและกั๋วจื่อเจียน ศูนย์กลางทางวิชาการตั้งแต่ยุคราชวงศ์หยวน
เขียนเมื่อ 2015/06/10 01:17
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 6 มิ.ย.

หลังจากที่ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมทิเบตมา https://phyblas.hinaboshi.com/20150608

เราได้ถือโอกาสแวะสถานที่เที่ยวอีกแห่งซึ่งอยู่ใกล้กัน นั่นคือ วัดขงจื๊อ (孔庙) และ กั๋วจื่อเจียน (国子监)

สถานที่ ๒ แห่งนี้อยู่ติดกันและในปัจจุบันจัดเป็นสถานที่เที่ยวแห่งเดียว รวมกันเรียกว่าพิพิธภัณฑ์วัดขงจื๊อและกั๋วจื่อเจียนปักกิ่ง (北京孔庙和国子监博物馆)

วัดขงจื๊อ เป็นสถานที่สำหรับจัดพิธีบูชาขงจื๊อ วัดขงจื๊อปักกิ่งเริ่มสร้างขึ้นในปี 1302 และสร้างเสร็จในปี 1306 ซึ่งเป็นช่วงยุคราชวงศ์หยวน จากนั้นก็มีการก่อสร้างและซ่อมแซมเพิ่มเติมอีกในยุคราชวงศ์หมิงและชิง

ในปี 1928 วัดขงจื๊อได้ถูกเปิดเป็นสถานที่เที่ยวให้คนทั่วไปเข้าชม ต่อมาในปี 1981 ได้ถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองหลวง (首都博物馆) แต่หลังจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ย้ายไปยังถนนฉางอานแทน กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงในปัจจุบัน https://phyblas.hinaboshi.com/20161211



กั๋วจื่อเจียนเป็นสถาบันการศึกษาสูงสุดตั้งแต่ยุคราชวงศ์สุย (隋朝, ปี 581 - 619) ปกติจะถูกสร้างขึ้นในเมืองหลวง สำหรับกั๋วจื่อเจียนในปักกิ่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1306 สมัยราชวงศ์หยวน

พอถึงยุคราชวงศ์หมิงในช่วงต้นเมืองหลวงตั้งอยู่ที่หนานจิงดังนั้นจึงมีการสร้างกั๋วจื่อเจียนขึ้นที่หนานจิงแทน จากนั้นพอย้ายเมืองหลวงมาที่ปักกิ่งก็ได้กลับมาใช้ที่นี่โดยได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมจากสมัยราชวงศ์หยวน สิ่งก่อสร้างในนี้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่สร้างในช่วงราชวงศ์หมิง

ปี 1949 ที่นี่ถูกใช้เป็นหอสมุด จากนั้นในปี 2003 ก็ได้ย้ายออกไปและเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แทน

ปัจจุบันวัดขงจื๊อและกั๋วจื่อเจียนเป็นสถานที่เที่ยวแห่งเดียวกัน เวลาจะเข้าชมก็ต้องซื้อบัตรเข้าชมทั้งคู่พร้อมกัน



การเดินทางมานั้นสามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงสถานียงเหอกง (雍和宫站) วัดลามะยงเหอกงคือวัดทิเบตซึ่งที่จริงแล้วเป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงมากกว่า คนมักจะแวะมาเที่ยวยงเหอกงกันแล้วอาจมีบางคนที่แวะมาเที่ยววัดขงจื๊อต่อ

ยงเหอกงเราเคยเที่ยวไปแล้วและเล่าถึงไปแล้วดังนั้นครั้งนี้จึงไม่ได้แวะไปอีก https://phyblas.hinaboshi.com/20111209

ข้างๆยงเหอกงนั้นยังมีวัดเล็กๆอีกแห่งคือวัดไป่หลิน (柏林寺) เป็นวัดเก่าแก่ที่เริ่มสร้างในยุคราชวงศ์หยวน เราตั้งใจจะถือโอกาสแวะมาเที่ยววัดนี้ด้วย

วัดนี้อยู่ในซอยเล็กๆข้างๆยงเหอกง



แต่พอเข้ามาแล้วก็พบว่ามันปิดซ่อมอยู่ น่าเสียดาย ไม่สามารถเข้าชมได้




จากนั้นจึงออกจากซอยมาแล้วก็ข้ามถนนไปฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงนั่นคือวัดขงจื๊อ



เดินเข้าถนนกั๋วจื่อเจียน (国子监街) ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดขงจื๊อ



บรรยากาศในนี้ร่มรื่นดี แต่ว่าคนเยอะสมกับที่เป็นที่เที่ยว



ถึงหน้าทางเข้าวัดขงจื๊อแล้ว ซื้อบัตรเข้าชม ปกติราคา ๓๐ หยวน แต่สำหรับนักเรียนลดครึ่งราคาเป็น ๑๕ หยวน



แผนที่วัดขงจื๊อ



เข้ามาถึงก็เจอขงจื๊อ ส่วนด้านหลังนี้คือประตูชื่อต้าเฉิงเหมิน (大成门)



ทางซ้ายมีศาลาแผ่นหินอยู่ ๒ หลัง ส่วนประตูทางโน้นเชื่อมไปสู่บริเวณกั๋วจื่อเจียน แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างเราไม่ได้ข้ามไปดูที่นั่น เดินชมอยู่แค่ในส่วนของวัดขงจื๊อ



ภายในศาลาแต่ละหลังมีเต่าปี้ซี่ (赑屃) แบกแผ่นหินจารึก



ส่วนนี่คือแผ่นหินที่สลักรายชื่อของจิ้นซื่อในยุคราชวงศ์หยวน



ส่วนฝั่งขวาทางนี้เป็นแผ่นหินสลักรายชื่อของจิ้นซือในยุคราชวงศ์ชิง



กลองหินเฉียนหลง (乾隆石鼓)



ผ่านเข้ามาด้านใน ด้านหน้าคือต้าเฉิงเตี้ยน (大成殿) อาคารหลักของที่นี่




ภายในอาคาร



บริเวณลานด้านหน้าอาคารนี้มีต้นไม้โบราณสวยๆมากมาย




และมีศาลาแผ่นหินเป็นจำนวนมาก แต่ละหลังก็มีเต่าแบกแผ่นหินบันทึกเรื่องราวต่างๆ



อาคารที่ขนาบด้านข้างซ้ายขวาเป็นส่วนจัดแสดง ทางขวาแสดงชีวประวัติของขงจื๊อ



คิดว่าทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าขงจื๊อเป็นใคร ดังนั้นขอไม่พูดถึงในส่วนนี้ก็แล้วกัน



จากนั้นส่วนอาคารฝั่งซ้ายแสดงเกี่ยวกับลัทธิขงจื๊อ





มีพูดถึงลัทธิขงจื๊อในต่างประเทศด้วย อันนี้พูดถึงอิตาลี มีชาวอิตาลีคนสำคัญอยู่ ๒ คนที่มาอยู่จีนเป็นเวลานานและมีชื่อเสียงมากคือมาร์โค โปโล (Marco Polo) และมัตเตโอ ริชชี (Matteo ricci) มาร์โคโปโลได้นำคำสอนของขงจื๊อไปเผยแพร่ในยุโรป ส่วนมัตเตโอ ริชชีได้ช่วยแปลสารานุกรมขงจื๊อ เขามีความสัมพันธ์อันดีกับสวีกวางฉี่ (徐光启) นักวิชาการคนสำคัญแห่งราชวงศ์หมิง



นอกจากนี้ปรัชญาขงจื๊อยังได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย



และห้องที่อยู่ข้างๆกันนั้นเป็นร้านขายของ




เดินถัดเข้ามาต่อไป



ทางนี้เป็นอาคารที่เก็บแผ่นหินจารึก



ภายในเต็มไปด้วยแผ่นหินที่สลักข้อความจารึกมากมาย



เดินต่อมาผ่านประตูฉงเซิ่งเหมิน (崇圣门)



เข้ามาส่วนด้านในสุด อาคารที่เห็นด้านในสุดนั้นคือฉงเซิ่งฉือ (崇圣祠)



ภายใน



หมดแค่นี้แล้วสำหรับวัดขงจื๊อ ที่นี่ไม่ได้ใหญ่มาก จากนั้นเราก็รีบออกไปและเดินทางกลับ ครั้งนี้ถือว่าค่อนข้างจะรีบๆไม่ได้เที่ยวละเอียดแล้วก็ดูไม่ค่อยทั่วสักเท่าไหร่



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文