φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



maya python เบื้องต้น บทที่ ๒๘: การใช้ดิกชันนารี
เขียนเมื่อ 2016/03/11 16:38
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทที่ ๗ ได้กล่าวถึงการใช้ลิสต์และทูเพิลไปแล้ว แต่นอกจากสองอย่างนั้นแล้วก็ยังมีข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถเก็บรายการ ของตัวแปรหลายๆอันได้ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าดิกชันนารี

ดิกชันนารี จะต่างจากลิสต์กับทูเพิลซึ่งจัดเรียงตัวแปรโดยนำมาวางเรียงไปเรื่อยๆทีละตัว แต่จะต้องประกอบไปด้วยสองส่วนคือ "คีย์" กับ "ค่า" ซึ่งเป็นคู่อันดับกัน

การสร้างดิกชันนารีทำได้โดยพิมพ์วงเล็บปีกกา {} แล้วภายในใส่คีย์กับค่าทีละคู่โดยระหว่างคีย์กับค่ากั้นด้วยจุดคู่ : และระหว่างแต่ละคู่กั้นด้วยลูกน้ำ ,

ตัวอย่าง สร้างดิกชันนารีเก็บรัศมีในหน่วยกิโลเมตรของดาวเคราะห์ ๖ ดวงขึ้นมา
ratsami = {'daophut':2440,
'daosuk':6052,
'lok':6378,
'daoangkhan':3397,
'daopharuehat':71492,
'daosao':60268}

ถ้า
print(ratsami)

จะได้ผลออกมาเป็น
{'daosao': 60268, 'daosuk': 6052, 'daoangkhan': 3397, 'lok': 6378, 'daopharuehat': 71492, 'daophut': 2440}

จะเห็นว่าลำดับถูกจัดเรียงใหม่ ไม่ได้เรียงตามลำดับที่ใส่ไปตอนแรก ซึ่งต่างจากลิสต์ซึ่งจะเรียงตามที่เราใส่ลงไป

การเข้าถึงค่าทำได้โดยการพิมพ์คีย์ลงไปใน [] หลังชื่อดิกชันนารี
print(ratsami['daosao'])

ก็จะได้ ค่า 60268 ออกมา

ถ้าลองพิมพ์
mc.polySphere(r=ratsami['lok']/1000.,n='lok')

ก็จะได้ทรงกลมขนาดรัศมี 6.378 หน่วย (ขอย่อลงพันเท่าไม่เช่นนั้นจะใหญ่เกินไป)





เราอาจเพิ่มสมาชิกลงในดิกชันนารีที่มีอยู่แล้วได้โดยการพิมพ์ชื่อคีย์ใหม่ที่ยังไม่มีเข้าไป เช่น
ratsami['daouranus'] = 25559

แต่ถ้าคีย์ที่ใส่มีอยู่แล้วก็จะกลายเป็นการแก้ค่าแทน

หากพิมพ์ต่อท้ายชื่อดิกชันนารีด้วย .keys() ก็จะคืนลิสต์ของคีย์ทั้งหมดกลับมา เช่น
ratsami.keys() # ได้ ['daouranus','daosao', 'daosuk', 'daoangkhan', 'lok', 'daopharuehat', 'daophut']

หากพิมพต่อท้ายด้วย .values() จะได้ลิสต์ของค่าทั้งหมดออกมา
ratsami.values() # ได้ [25559, 60268, 6052, 3397, 6378, 71492, 2440]

หากใช้ for กับดิกชันนารี จะเป็นการไล่ทำซ้ำตามลำดับคีย์ โดยตัวแปรที่ตามหลัง for นั้นจะรับค่าของคีย์ เช่น
for dao in ratsami:
    mc.polySphere(r=ratsami[dao]/1000.,n=dao)

แบบนี้จะได้ทรงกลมที่มีชื่อตามคีย์และมีรัศมีตามค่า (อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดซ้อนทับกันอยู่)





จะเห็นว่าดิกชันนารีมีข้อดีตรงที่ใช้คีย์เป็นข้อความได้ แทนที่จะใช้เป็นตัวเลขอย่างเดียวแบบลิสต์ ซึ่งทำให้ชัดเจนกว่า เช่นถ้าเราอยากได้รัศมีของดาวเคราะห์ดวงไหนก็ใส่ชื่อลงไปเลย ไม่ต้องจำว่าอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ ซึ่งในบางกรณีก็สะดวกกว่า

อีกตัวอย่างการใช้ เช่น บางครั้งคนเราก็ไม่สะดวกที่จะบอกอะไรเป็นตัวเลข อาจบอกแค่ว่า เล็ก กลาง ใหญ่ เป็นต้น

ถ้าใครเคยเล่นเกม pharaoh ของค่าย sierra มาก่อนละก็ ในเกมนั้นมีให้สร้างพีรามิดแบบต่างๆ ซึ่งพีรามิดที่สร้างก็มีขนาดกำหนดตายตัว

ลองใช้ดิกชันนารีกำหนดขนาดของพีรามิดขั้นบันไดที่จะสร้างขึ้น โดยมี ๔ ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ มหึมาแต่ละขนาดก็มีจำนวนขั้นบันไดไม่เท่ากัน
khan = {'lek':4,'klang':7,'yai':10,'mahuema':15}
k = khan['yai']
mc.polyCube(w=k*20,h=10,d=k*20,n='pyramidkhanbandai')
mc.move(0,5,0)
mc.select('.f[1]')
for i in range(k-1):
    mc.polyExtrudeFacet(off=10)
    mc.polyExtrudeFacet(ty=10)

แบบนี้ก็จะได้พีรามิดขนาดใหญ่ คือมี ๑๐ ขั้น ถ้าแก้ k เป็น khan['mahuema'] ก็จะได้ ๑๕ ชั้น



ค่าในดิกชันนารีอาจจะเป็นข้อมูลชนิดไหนก็ได้ และก็ไม่จำเป็นต้องซ้ำกันด้วย อาจใช้เป็นลิสต์ก็เป็นได้

เช่น ลองสร้างดิกชันนารีเก็บพิกัดสีต่างๆที่ต้องการ ซึ่งพิกัดสีต้องประกอบไปด้วยค่าแม่สีสามสี แดง เขียว น้ำเงิน
si = {'thao_on':[0.36,0.36,0.36],
    'thao_khem':[0.11,0.11,0.11],
    'khiao_on':[0.18,0.92,0.52],
    'khiao_khem':[0.01,0.05,0.03],
    'daeng_on':[0.81,0.29,0.3],
    'daeng_khem':[0.33,0.05,0.07],
    'som':[0.62,0.24,0.09],
    'namtan':[0.14,0.04,0.02],
    'namngoen':[0.04,0.09,0.22],
    'fa':[0.26,0.58,0.87]}

เวลาอ้างอิงถึงค่าข้างในก็เช่น
si['saeng_on'][2]

ก็จะได้ 0.3 เป็นต้น

หรืออาจสร้างในรูปดิกชันนารีของดิกชันนารีก็ได้
si = {'thao_on':{'d':0.36,'k':0.36,'n':0.36},
    'thao_khem':{'d':0.11,'k':0.11,'n':0.11},
    'khiao_on':{'d':0.18,'k':0.92,'n':0.52},
    'khiao_khem':{'d':0.01,'k':0.05,'n':0.03},
    'daeng_on':{'d':0.81,'k':0.29,'n':0.3},
    'daeng_khem':{'d':0.33,'k':0.05,'n':0.07},
    'som':{'d':0.62,'k':0.24,'n':0.09},
    'namtan':{'d':0.14,'k':0.04,'n':0.02},
    'namngoen':{'d':0.04,'k':0.09,'n':0.22},
    'fa':{'d':0.26,'k':0.58,'n':0.87}}

เวลาอ้างอิงถึงค่าข้างในก็เช่น
si['daeng_khem']['k']

ก็จะได้ค่าสีเขียนภายในสีแดงเข้ม คือ 0.05 เป็นต้น

ลองเอามาใช้สร้างวัสดุสีต่างๆขึ้นมา
for s in si:
    mc.shadingNode('blinn',asShader=1,n='si_'+s)
    mc.setAttr(('si_'+s+'.c'),si[s]['d'],si[s]['k'],si[s]['n'],typ='double3')

เปิดไฮเพอร์เชดเพื่อดูผลที่ได้





เนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับดิกชันนารีในภาษาไพธอนอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/tsuchinoko14

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文