φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



maya python เบื้องต้น บทที่ ๒๙: การสร้างไอคอนบนเชลฟ์
เขียนเมื่อ 2016/03/11 17:02
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ที่ผ่านมาเราสามารถเขียนโค้ดเพื่อทำอะไรต่างๆได้มากมาย แต่ว่าทุกครั้งที่จะใช้ก็ต้องเปิดสคริปต์อีดิเตอร์ขึ้นมาพิมพ์แล้วรันโค้ด ใหม่ตลอด หากต้องการรันโค้ดซ้ำๆหลายครั้งก็ตอ้งทำแบบนี้เรื่อยๆอาจรู้สึกว่าไม่สะดวก

เพื่อ ความสะดวกเราสามารถนำโค้ดที่เราเขียนมาสร้างเป็นไอคอนแล้ววางอยู่บนเชลฟ์ได้ เวลาที่จะเรียกใช้ก็แค่กดไอคอนเท่านั้นก็จะเป็นการรันโค้ดทันที

เชลฟ์ ก็คือแถบเมนูที่ประกอบไปด้วยรูปภาพไอคอนต่างๆมากมาย เชลฟ์มีหลายอันให้เลือกเปลี่ยนไปเรื่อยๆโดยกดเปลี่ยนที่แถบด้านบนที่เขียน ชื่อเชลฟ์ เช่นในภาพนี้กำลังเลือกเชลฟ์ polygon (ポリゴン) อยู่

เราสามารถนำโค้ดของเรามาสร้างเป็นไอคอนใหม่ลงในเชลฟ์ไหนก็ได้ อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้ปะปนกับไอคอนที่มีอยู่แล้วควรจะสร้างเชลฟ์ใหม่ขึ้น มาเลยดีกว่า

การสร้างเชลฟ์ใหม่ให้กดที่รูปฟันเฟืองทางด้านซ้ายแล้วเลือก New shelf (新しいシェルフ) จากนั้นก็ตั้งชื่อ



ชื่อเชลฟ์นั้นจำเป็นต้องเป็นอักษรโรมัน ๒๖ ตัวหลักและขีดล่างเท่านั้น ใช้อักษรไทยไม่ได้



เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วก็จะได้เชลฟ์เปล่าๆที่ไม่มีอะไรเลย ซึ่งนี่จะเป็นที่ที่เราเอาโค้ดของเรามาใส่

อย่างไรก็ตาม เริ่มมาจะมีเชลฟ์ที่ชื่อว่า Custom (カストム) ให้อยู่แล้ว จะเอาสคริปต์ของเรามาใส่ไว้ในนี้ก็ได้ ครั้งนี้จะขอใช้เชลฟ์อันนี้ดูเลย



ขอใช้โค้ดนี้เป็นตัวอย่าง นี่เป็นโค้ดที่จะสุ่มสร้างทรงกลมขนาด r ∈ [0.5,2] ขึ้นมาในตำแหน่ง x,y,z ∈ [-10,10] โดยสุ่มสี (อย่าลืมกด 6 เพื่อให้แสดงสีได้)
import maya.cmds as mc
import random
a = mc.shadingNode('blinn',asShader=1)
mc.setAttr(a+'.c',random.random(),random.random(),random.random(),typ='double3')
mc.polySphere(r=random.uniform(0.5,2))
mc.hyperShade(a=a)
mc.move(random.uniform(-10,10),random.uniform(-10,10),random.uniform(-10,10))

พิมพ์ตามนี้ในสคริปต์อีดิเตอร์ จากนั้นดูที่เมนูด้านบนของสคริปต์อีดิเตอร์ เลือก File (ファイル) เลือก Save script to Shelf (スクリプトをシェルフに保存)



จากนั้นก็ตั้งชื่อ ตรงนี้สามารถตั้งเป็นภาษาไทยได้ด้วย



แล้วก็จะมีไอคอนโผล่ขึ้นมาที่เชลฟ์ พอกดทีนึงก็จะมีบอลสีโผล่มาลูกนึง กดไปเรื่อยๆก็จะโผล่มาเต็มไปหมด



หากต้องการลบก็คลิกขวาที่ไอคอนแล้วเลือก Delete (削除)



หากต้องการแก้ก็คลิกขวาแล้วเลือก Edit (編集) จะมาโผล่ที่เชลฟ์อีดิเตอร์ (シェルフ エディタ, shelf editor)



ถ้าพิมพ์แก้อะไรไปในนี้จะเป็นการแก้ในทันทีโดยไม่ต้องกดเซฟ

ในแถบเมนูด้านบนเลือกที่ Shelf (シェルフ) จะเห็นรายการไอคอนภายในเชลฟ์นี้อยู่ทางขวา ส่วนทางซ้ายเป็นส่วนสำหรับเลือกเชลฟ์



Icon Label (アイコンのラベル) คือชื่อของไอคอนที่เราตั้งไว้

ส่วน Tooltip (ツールヒント) คือข้อความที่จะขึ้นมาเมื่อเราเอาเมาส์ไปวางค้างไว้ ถ้ายังไม่ได้แก้อะไรละก็เริ่มต้นมันจะเป็นโค้ดทั้งหมดที่เราพิมพ์ไป เราสามารถเปลี่ยนเป็นข้อความอธิบายสั้นๆได้



ส่วน Icon Name (アイコン名) คือรูปของไอคอน สามารถเลือกรูปที่ต้องการได้โดยกดที่รูปโฟลเดอร์ทางขวา หรือจะกดที่รูปสัญลักษณ์มายาทางขวาเพื่อเลือกรูปที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้อยู่ แล้ว

นอกจากนี้ก็สามารถปรับแต่งอะไรได้อีกหลายอย่าง ลองทำดูกันได้

สามารถกดที่ปุ่มรูปสี่เหลี่ยมที่มีเครื่องหมายบวกวางซ้อนก็จะเป็นการสร้างไอคอนขึ้นมาใหม่



เมื่อสร้างขึ้นมาใหม่จะยังว่างเปล่า ต้องไปเลือกที่ Command (コマンド) ทางแถบด้านบน แล้วเลือก Python จากนั้นก็ใส่โค้ดลงไป ผลที่ได้จะเหมือนกับการเซฟจากสคริปต์อีดิเตอร์



เมื่อการรันโค้ดกลายมาเป็นแค่การกดไอคอนง่ายๆไปแล้วก็สามารถทำอะไรได้สะดวกขึ้นตามมา



อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文