φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



numpy & matplotlib เบื้องต้น บทที่ ๒๖: การปรับแต่งแถบสี
เขียนเมื่อ 2016/06/12 10:52
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในสองบทที่ผ่านมาเราได้มีการใส่แถบสีเข้าไปด้านข้างเพื่อเป็นตัวอธิบายประกอบแผนภาพไล่สี

โดยทั่วไปแล้วแถบสีจะถูกสร้างขึ้นมาโดยกินพื้นที่แคบๆทางด้านขวาถ้าหากเราไม่ได้ระบุค่าอะไรต่างๆไว้

แต่จริงๆแล้วแถบสีสามารถปรับแต่งอะไรได้อีกมากมายเพื่อให้ได้รูปแบบตามที่ต้องการ



การตั้งค่าต่างๆใน plt.colorbar
แถบสีสามารถปรับแต่งอะไรต่างๆได้ด้วยการเติมคีย์เวิร์ดเข้าไปตอนที่ใช้ plt.colorbar เพื่อสร้าง เช่น
orientation ระบุว่าจะให้อยู่แนวไหน แนวตั้ง vertical แนวนอน horizontal ค่าตั้งต้นคือแนวตั้ง
fraction ขนาดของแถบสีเป็นสัดส่วนกับพื้นที่กราฟทั้งหมด หน่วยเป็นสัดส่วนเต็ม 1 ค่าตั้งต้นคือ 0.15
pad ระยะห่างระหว่างแถบสีกับกราฟ หน่วยเป็นสัดส่วนเต็ม 1 ถ้าหากไม่ใส่จะเป็น 0.05 สำหรับแนวตั้ง 0.15 สำหรับแนวนอน
aspect สัดส่วนระหว่างด้านยาวกับด้านกว้าง
shrink ขนาดของแถบสี ว่าจะให้ย่อลงแค่ไหน หน่วยเป็นสัดส่วนเต็ม 1 ใส่ค่าที่ต่ำกว่า 1 ยิ่งน้อยก็ยิ่งเล็ก
label ข้อความอธิบาย
ticks ค่าที่จะให้มีขีดและตัวเลขบอก
extend ทำแถบสีให้มีปลายแหลม ถ้าต้องการให้ฝั่งค่ามากเป็นแหลมก็ใส่ว่า max ถ้าฝั่งค่าน้อยเป็น min ถ้าต้องการให้แหลมสองฝั่งใส่ both

ตัวอย่าง ลองสร้างแถบสีแนวนอน
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-20,20,101),np.linspace(-10,10,101))
z = np.cos(x/5)**2+np.cos(y/5)**2
plt.pcolor(x,y,z,cmap='terrain')
plt.colorbar(orientation='horizontal')
plt.show()



สามารถปรับให้แถบสีมาอยู่ติดกับตัวกราฟได้โดยใส่ pad=0
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-10,10,101),np.linspace(-10,10,101))
z = np.cos(x)+np.cos(y)
plt.pcolor(x,y,z,cmap='terrain')
plt.colorbar(pad=0)
plt.show()



ค่าบางอย่างไม่สามารถปรับได้โดยใส่คีย์เวิร์ดตอนสร้าง แต่สามารถเอาตัวแปรมารับค่าเพื่อใช้เมธอดมาตั้งปรับค่า เช่นตั้งข้อความที่ขีดบอกค่า ใช้ set_ticklabels

สามารถเปลี่ยนข้อความที่เส้นขีดได้ เช่นใช้ตัวอักษรเป็นขีดบอก
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-10,10,101),np.linspace(-10,10,101))
z = (np.cos(x)**2+np.cos(y)**2)*(x**2+y**2)
plt.pcolor(x,y,z,cmap='terrain')
cb = plt.colorbar(ticks=[50,150,250,350])
cb.set_ticklabels(['a','b','c','d'])
plt.show()



ลองทำให้แถบสีเป็นหัวแหลมชี้ด้านบน แล้วก็ปรับขนาดให้กว้างดู
x,y = np.meshgrid(np.linspace(10,20,101),np.linspace(10,20,101))
z = 1/x+1/y
plt.pcolor(x,y,z,cmap='terrain')
cb = plt.colorbar(aspect=3,fraction=0.3,extend='min')
plt.show()



นอกจากนี้ก็ยังปรับอะไรได้อีกมาก ลองไปปรับแต่งกันดูได้



สร้าง axes ขึ้นมาเพื่อใส่แถบสีโดยเฉพาะ
จากตัวอย่างที่ผ่านๆมาจะเห็นว่าพอสร้างแถบสีขึ้นด้วย plt.colorbar มันจะถูกวางโดยไปเบียดเข้ากับแกนเดิมที่มีอยู่ จัดสันปันส่วนตามค่าที่เรากำหนด

แต่มีอีกวิธีหนึ่งในการจัดวางแถบสีคือการสร้าง axes เฉพาะขึ้นมาเพื่อจัดวางแถบสีลงไป

เราสามารถทำได้โดยการใส่คีย์เวิร์ด cax ลงใน plt.colorbar ค่าที่ใส่ก็คือออบเจ็กต์แทน axes ที่ต้องการใช้เป็นแถบสี

วิธีที่อาจทำได้ง่ายๆก็คืออาจใช้ subplot เพื่อสร้างกราฟย่อยมาสองอัน แล้วให้อันนึงเป็นแถบสีไปเลย เช่น
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-20,20,101),np.linspace(-10,10,101))
z = np.cos(x/5)**2+np.cos(y/5)**2
plt.subplot(2,1,1)
plt.pcolor(x,y,z,cmap='rainbow')
ax_cb = plt.subplot(2,1,2)
plt.colorbar(cax=ax_cb,orientation='horizontal')
plt.show()



พอทำแบบนี้แล้ว subplot ด้านล่างก็จะกลายเป็นสีไป

หรืออาจใช้ฟังก์ชัน plt.axes เพื่อกำหนดขนาดปันส่วนอย่างอิสระ เช่น
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-20,20,101),np.linspace(-10,10,101))
z = np.cos(x**2/5)**2+np.cos(y**2/5)**2
plt.axes([0.05,0.05,0.8,0.9])
plt.pcolor(x,y,z,cmap='cubehelix')
ax_cb = plt.axes([0.86,0.05,0.07,0.9])
plt.colorbar(cax=ax_cb)
plt.show()





การสร้างให้กราฟย่อยหลายอันใช้แถบสีร่วมกัน
บางครั้งเราอาจต้องการวาดแผนภาพไล่สีหลายๆอันแล้วเอามารวมกัน แต่ว่าแถบสีจะจำเพาะต่อกราฟอันเดียวเท่านั้น เพราะแถบสีจะถูกสร้างขึ้นคู่กับกราฟที่เพิ่งสร้างมาตัวล่าสุด

หากเราสร้างกราฟย่อยและต้องการให้แต่ละอันมีแถบสีก็ทำได้โดย
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-10,10,201),np.linspace(-4,4,201))
z1 = np.sin(x**2+y**2)
z2 = np.sin(x**2+y**2)**2
plt.subplot(2,1,1)
plt.pcolor(x,y,z1,cmap='CMRmap')
plt.colorbar()
plt.subplot(2,1,2)
plt.pcolor(x,y,z2,cmap='CMRmap')
plt.colorbar()
plt.show()



ทำแบบนี้จะได้แถบสีมาสองอัน ซึ่งมีมาตราส่วนต่างกัน หากเราต้องการเปรียบเทียบแผนภาพทั้งสองนี้ก็คงจะทำได้ยาก

ตรงนี้เราก็อาจแก้ปัญหาด้วยการแค่ใส่ vmin vmax ลงไปให้แผนภาพทั้งสองเท่ากัน แบบนี้แผนภาพไล่สีทั้งสองก็จะเป็นมาตราส่วนเดียวกัน และแถบสีก็จะออกมาเหมือนกันด้วย

ซึ่งพอทำแบบนี้แล้วเราก็คงไม่จำเป็นจะต้องอุตส่าห์สร้างแถบสีขึ้นมาถึงสองอันแล้ว เพราะยังไงก็เหมือนกัน

แต่หากเราตัด plt.colorbar() ออกไปอันนึงดื้อๆเลย ผลที่ได้ก็จะออกมาประหลาด เช่นแบบนี้
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-10,10,201),np.linspace(-4,4,201))
z1 = np.sin(x**2+y**2)
z2 = np.sin(x**2+y**2)**2
plt.subplot(2,1,1)
plt.pcolor(x,y,z1,cmap='CMRmap',vmin=-1,vmax=1)
plt.subplot(2,1,2)
plt.pcolor(x,y,z2,cmap='CMRmap',vmin=-1,vmax=1)
plt.colorbar()
plt.show()



นั่นเพราะแถบสีจะไปผูกติดกับแผนภาพอันที่สองซึ่งสร้างมาทีหลัง

ดังนั้นกรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องสร้าง axes สำหรับวางแถบสี โดยจัดสรรปันส่วนพื้นที่เอาเอง วิธีการก็มีหลากหลาย ในที่นี้จะลองใช้ plt.subplot2grid
x,y = np.meshgrid(np.linspace(-10,10,201),np.linspace(-4,4,201))
z1 = np.sin(x**2+y**2)
z2 = np.sin(x**2+y**2)**2
plt.subplot2grid((6,11),(0,0),rowspan=3,colspan=10)
plt.pcolor(x,y,z1,cmap='CMRmap',vmin=-1,vmax=1)
plt.subplot2grid((6,11),(3,0),rowspan=3,colspan=10)
plt.pcolor(x,y,z2,cmap='CMRmap',vmin=-1,vmax=1)
ax_cb = plt.subplot2grid((6,11),(0,10),rowspan=6,colspan=1)
plt.colorbar(cax=ax_cb)
plt.subplots_adjust(0.05,0.05,0.92,0.95,0.4,0.4)
plt.show()



เกี่ยวกับ plt.subplot2grid และ plt.axes หากใครยังไม่ค่อยเข้าใจอาจต้องลองไปอ่านบทที่ ๑๐



อ้างอิง


<< บทที่แล้ว     บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文