φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



opencv-python เบื้องต้น บทที่ ๑๖: การแบ่งเขตภาพโดยพิจารณาส่วนที่เชื่อมต่อกัน
เขียนเมื่อ 2020/06/28 19:15
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 10:23

ต่อจาก บทที่ ๑๕

นอกจากการตีกรอบโดยใช้เส้นเค้าโครงดังที่ได้เขียนถึงไปใน ๓ บทที่ผ่านมาแล้ว อีกวิธีที่ใช้ในการแบ่งเขตของภาพก็คือการติดป้ายหมายเลขบอกว่าจุดไหนคือส่วนของเขตไหน ซึ่งเป็นวิธีที่จะแนะนำในบทนี้




การแบ่งกลุ่มก้อนในภาพโดยแสดงเป็นหมายเลข

ใน opencv มีฟังก์ชัน cv2.connectedComponents() ซึ่งเอาไว้แบ่งเขตของภาพแล้วแปลงออกมาเป็นตัวเลขที่แสดงบอกว่าตรงจุดไหนเป็นส่วนของหมายเลขที่เท่าไหร่

วิธีใช้ใกล้เคียงกับ cv2.findContours() คือใช้กับภาพที่เป็นขาวดำ โดยฟังก์ชันนี้จะถือว่าค่า 0 (สีดำ) เป็นฉากหลัง และที่เหลือเป็นวัตถุ

ค่าที่ต้องใส่ในฟังก์ชันนี้มีแค่ตัวอาเรย์รูปภาพเท่านั้น จึงใช้ค่อนข้างง่าย

ค่าคืนกลับของฟังก์ชันนี้มี ๒ ตัว ตัวแรกคือจำนวนเขตที่แบ่งได้ ส่วนตัวหลังคือค่าตัวเลขที่แสดงว่าส่วนไหนเป็นของหมายเลขอะไร

ลองดูตัวอย่างการใช้ โดยเอาภาพมาตัดค่าเป็นขาวดำด้วย cv2.threshold() แล้วจึงใช้ cv2.connectedComponents() จากนั้นวาดผลลัพธ์ที่ได้ดู


rin16c01.jpg
import cv2
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

rin = cv2.imread('rin16c01.jpg') # อ่านภาพสี
# คัดแยกส่วนฉากหลัง
_,thresh = cv2.threshold(cv2.cvtColor(rin,cv2.COLOR_BGR2GRAY),10,255,0)
# ทำการแบ่งส่วน
n,lek = cv2.connectedComponents(thresh)
# แสดงผลการแบ่งส่วน
plt.imshow(lek,cmap='rainbow')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.show()


จะได้ค่าตัวเลขไล่ตั้งแต่ 0 ถึง 8 โดยฉากหลังจะเป็นค่า 0 แล้วก็ไล่ 1,2,3,... ไปตามลำดับ เรียงตามตำแหน่งที่เริ่มปรากฏ




การแบ่งกลุ่มก้อนพร้อมเอาข้อมูลของแต่ละกลุ่ม

ฟังก์ชัน cv2.connectedComponents() นั้นจะให้ข้อมูลแค่ว่าตำแหน่งไหนเป็นหมายเลขอะไร แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ไปในขณะเดียวกันก็อาจใช้ฟังก์ชัน cv2.connectedComponentsWithStats()

วิธีใช้เหมือนกันกับ cv2.connectedComponents() แต่จะคืนค่าออกมา ๔​ ตัว โดย ๒ ตัวแรกจะเหมือนกับใน cv2.connectedComponents() แต่เพิ่มมาอีก ๒ ตัวคือ

ตัวที่ ๓​ เป็นข้อมูลที่บอกตำแหน่งขอบเขตของกลุ่ม โดยเขียนเป็น [x ซ้ายสุด, y บนสุด, ความกว้าง, ความสูง, พื้นที่รวม]

ตัวที่ ๔ แสดงตำแหน่ง x,y ของจุดเซ็นทรอยด์ของกลุ่ม

ตัวอย่าง ลองทำเหมือนภาพที่แล้ว แค่เปลี่ยนเป็นใช้ฟังก์ชัน cv2.connectedComponentsWithStats() แทน


gumi16c01.jpg
gumi = cv2.imread('gumi16c01.jpg')
_,thresh = cv2.threshold(cv2.cvtColor(gumi,cv2.COLOR_BGR2GRAY),15,255,0)
n,lek,stat,centroid = cv2.connectedComponentsWithStats(thresh)
print(stat)
print(centroid)

ได้
[[     0      0    600    450 209571]
 [   115      2    303    318  28451]
 [    38    105     79    167   7211]
 [   431    158    125     94   7038]
 [   143    226     60     88   3000]
 [   134    330    105     83   3980]
 [   300    331    112    110   6120]
 [   442    344    101     74   4629]]
[[304.95781859 224.22485458]
 [255.3485642  147.80011247]
 [ 72.01941478 204.67799196]
 [491.31713555 210.42909918]
 [173.482      273.263     ]
 [192.         372.67060302]
 [352.22957516 388.49803922]
 [490.88139987 384.82458414]]

ลองวาดภาพแสดงผลที่ได้พร้อมแสดงตำแหน่งเซ็นทรอยด์
plt.imshow(lek,cmap='rainbow')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.scatter(centroid[:,0],centroid[:,1],c='k')
plt.show()


เอาตำแหน่งขอบเขตของภาพที่ได้ใช้ตีกรอบสี่เหลี่ยมล้อม พร้อมทั้งแสดงค่าพื้นที่ไว้ที่จุดเซ็นทรอยด์
ax = plt.axes()
plt.imshow(lek,cmap='rainbow')
for (x,y,w,h,a),(cx,cy) in zip(stat,centroid):
    ax.add_patch(plt.Rectangle((x,y),w,h,fill=False,ec='k',lw=2,ls=':'))
    plt.text(cx,cy,a,ha='center',color='k')
plt.tight_layout()
plt.show()





การหาความลึกของแต่ละส่วนในภาพ

นอกจากแบ่งเขตของภาพเพื่อแยกเอาตัววัตถุแล้ว ข้อมูลอีกอย่างที่สำคัญซึ่งอาจใช้บ่อยก็คือจุดไหนลึกเข้ามาในตัววัตถุมากแค่ไหน

ฟังก์ชัน cv2.distanceTransform() จะคำนวณหาความลึก (ระยะห่างต่ำสุดจากขอบนอก) ของแต่ละจุดภายในวัตถุในภาพ

ค่าที่ต้องใส่ในฟังก์ชันนี้คือ src, distanceType, markSize ตามลำดับ

distanceType คือชนิดวิธีวัดระยะห่าง ใส่เป็นแฟล็ก โดยทั่วไปจะใช้ cv2.DIST_L2 คือระยะทางแบบยุคลิดธรรมดา

ส่วน markSize อาจใส่เป็น 0, 3 หรือ 5

ตัวอย่างการใช้


teto16c01.jpg
teto = cv2.imread('teto16c01.jpg')
_,thresh = cv2.threshold(cv2.cvtColor(teto,cv2.COLOR_BGR2GRAY),5,255,0)
n,lek = cv2.connectedComponents(thresh)
dist = cv2.distanceTransform(thresh,cv2.DIST_L2,0)
plt.figure(figsize=[6,8.5])
plt.subplot(211)
plt.imshow(lek>0,cmap='copper')
plt.subplot(212)
plt.imshow(dist,cmap='jet')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.show()





แบ่งเขตภาพด้วยวิธีการแบ่งสันปันน้ำ

ต่อไปจะแนะนำการใช้ฟังก์ชัน cv2.watershed() ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการแบ่งเขตกลุ่มก้อนภายในภาพ

watershed แปลว่า "สันปันน้ำ" คือส่วนสันส่วนยอดของเทือกเขาที่เวลาฝนตกน้ำจะไหลแยกไปคนละฟากของเทือกเขาโดยมีสันตรงนี้เป็นจุดแบ่ง สันปันน้ำมักถูกใช้เป็นตัวแบ่งชายแดนระหว่างเขตหรือประเทศ

ภาพประกอบคือแนวสันปันน้ำบนเทือกเขาพนมดงรักบริเวณเขาพระวิหาร เส้นสีแดงคือสันปันน้ำ ลูกศรชี้ทิศทางการไหลของน้ำเมื่อฝนตกบนนี้ ด้านบนคือเขตประเทศไทย ด้านล่างคือกัมพูชา ตัวปราสาทอยู่ฝั่งไทยเมื่อแบ่งด้วยสันปันน้ำ


(ที่มาของภาพ)

แนวคิดตรงนี้เป็นที่มาของอัลกอริธึมสำหรับแบ่งเขตภาพ โดยใช้แนวคิดของสันปันน้ำในลักษณะเช่นนี้

ขอเริ่มอธิบายจากการยกตัวอย่างภาพที่เป็นปัญหาที่อาจต้องใช้ เช่นมีภาพแบบนี้ แล้วต้องการแบ่งบริเวณเพื่อแยกของชิ้นต่างๆออกจากกัน แต่ปัญหาคือมีบางส่วนที่เชื่อมติดกันอยู่


miku16c01.jpg

เอามาแบ่งด้วย cv2.connectedComponents() ดูเหมือนตัวอย่างอื่นๆข้างบน
miku = cv2.imread('miku16c01.jpg')
_,thresh = cv2.threshold(cv2.cvtColor(miku,cv2.COLOR_BGR2GRAY),10,255,0)
n,lek = cv2.connectedComponents(thresh)
plt.imshow(lek,cmap='rainbow')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.show()


ผลที่ได้จะเห็นว่าแบ่งแล่้วได้เป็นบริเวณเดียวกันไปหมด เนื่องจากว่าแต่ละส่วนมีบริเวณที่เชื่อมติดกันอยู่เล็กน้อย

เพื่อที่จะกำจัดส่วนที่เชื่อมกัน อาจใช้ cv2.distanceTransform() เพื่อดูว่าส่วนไหนลึกจากขอบแค่ไหน
khwamluek = cv2.distanceTransform(thresh,cv2.DIST_L2,0)
plt.imshow(khwamluek,cmap='plasma')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.show()


จากนั้นก็คัดเอาเฉพาะส่วนที่ห่างจากขอบมากพอเพื่อถือว่าเป็นส่วนที่แน่นอนว่าเป็นวัตถุ ในที่นี้กำหนดให้เป็น 0.16 เท่าของค่าสูงสุด (แต่ค่าที่เหมาะจริงๆควรจะเป็นเท่าไหร่อาจไม่มีคำตอบตายตัว ต้องลองผิดลองถูกดู)
watthu = np.where(khwamluek>khwamluek.max()*0.16,1,0)
plt.imshow(watthu,cmap='gray')
plt.tight_layout()
plt.show()


ทีนี้ก็จะได้แต่ละส่วนแยกกันทั้งหมด แต่สูญเสียส่วนขอบไปมาก ส่วนขอบที่เสียไปนี้จะไปเรียกกลับมาอีกทีภายหลังด้วย cv2.watershed()

ต่อมาแยกเอาส่วนที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นฉากหลัง คือส่วนที่ได้ความลึกเป็น 0 จากนั้นเอามารวมกับส่วนที่เป็นวัตถุแน่นอน ให้มีค่าไปด้วย จะเหลือบริเวณรอยต่อสีดำตรงกลางแบ่งแยกบริเวณวัตถุกับฉากหลัง
chaklang = np.where(khwamluek==0,1,0)
nae = ((watthu+chaklang)!=0).astype(np.uint8)
plt.imshow(nae,cmap='gray')
plt.tight_layout()
plt.show()


จากนั้นใช้ cv2.connectedComponents() ดูก็จะได้บริเวณของวัตถุและฉากหลังแยกกันทั้งหมด
n,lek = cv2.connectedComponents(nae)
plt.imshow(lek,cmap='rainbow')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.show()


เพียงแต่ส่วนฉากหลังเองก็ถูกแยกย่อยออกมาหมดเช่นกัน ให้ทำการเปลี่ยนกลับเป็นค่าเลขเดียวกันโดยถมด้วยเลข 1 ไป

ส่วนบริเวณที่เป็นรอยต่อให้ทำเป็น -1

แต่ก่อนอื่นเอาทั้งหมดมา +2 ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าทุกตัวมีค่า 2 ขึ้นไป ก่อนที่จะกำหนดให้ส่วนฉากหลังเป็น 1 และรอยต่อเป็น -1

นอกจากนี้ก็จัดเรียงตัวเลขใหม่ให้ไล่ตั้งแต่ 2 ไปโดยไม่เว้นค่าไหนไป เสร็จแล้วก็จะได้แบบนี้
lek += 2
lek[chaklang==1] = 1
lek[nae==0] = -1
for i,n in enumerate(np.unique(lek)[1:],1):
    lek[lek==n] = i

plt.imshow(lek,cmap='rainbow')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.show()


การที่เตรียมรอยต่อให้เป็น -1 และส่วนอื่นให้เห็น 1 ขึ้นไปนั้นเป็นการเตรียมการเพื่อจะใช้ cv2.watershed() นั่นเอง หน้าที่ของฟังก์ชันนี้ก็คือจะช่วยขยายพื้นที่ส่วนที่เป็นหมายเลข 1 ขึ้นไปให้ไปคลุมทับบริเวณรอยแบ่งซึ่งมีค่าเป็น -1

คราวนี้ได้เวลาใช้ cv2.watershed() แล้ว ค่าที่ต้องใส่ก็คือตัวรูปภาพเดิมที่เป็นภาพสีก่อนแปลง กับข้อมูลหมายเลขที่เตรียมไว้นี้ ตัวภาพเดิมจะเป็นตัวตัดสินว่าบริเวณหมายเลขใดจะไปท่วมส่วนไหน
lek = cv2.watershed(miku,lek)
plt.imshow(lek,cmap='rainbow')
plt.colorbar(pad=0.01)
plt.tight_layout()
plt.show()


ผลที่ได้จะเป็นภาพที่บริเวณส่วนต่างๆถูกขยายไปจนทับส่วนรอยแบ่งจนเต็มเกือบหมด เหลือเพียงเส้นกั้นบางๆ จะเห็นว่าคราวนี้แต่ละสีครอบคลุมพื้นที่วัตถุแต่ละอันแยกกันหมด

สุดท้ายลองวาดเส้นเค้าโครงของแต่ละตัวทีละตัวแยกกัน
contour = []
for i in range(2,lek.max()+1):
    c,_ = cv2.findContours((lek==i).astype(np.uint8),cv2.RETR_EXTERNAL,cv2.CHAIN_APPROX_SIMPLE)
    contour.append(c[0])

n_contour = len(contour)
si = plt.get_cmap('rainbow')(np.arange(n_contour)/(n_contour-1))[:,[2,1,0]]*255
for i in range(n_contour):
    miku = cv2.drawContours(miku,contour,i,si[i],2)

cv2.imwrite('miku16c09.jpg',miku)


เท่านี้ก็สามารถแบ่งวัตถุที่มีส่วนติดกันอยู่ออกจากกันได้สำเร็จ อาจมีส่วนที่ดูไม่สมบูรณ์อยู่บ้าง สามารถลองปรับค่าต่างๆแล้วลองใหม่หรือเพิ่มขั้นตอนอื่นๆเช่นการแปลงสัณฐาน อาจได้ผลที่ดีขึ้นได้



อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๗



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> opencv
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文