φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๙: ดรอปเอาต์และแบตช์นอร์ม
เขียนเมื่อ 2018/09/08 10:16
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 15:54
>> ต่อจาก บทที่ ๘



ดรอปเอาต์ (dropout) และแบตช์นอร์ม (batch norm) เป็นชั้นที่มักถูกเสริมเข้ามาภายในโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ของโครงข่าย

รายละเอียดเรื่องดรอปเอาต์อ่านในโครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๗

ส่วนเรื่องแบตช์นอร์มอ่านในโครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๘

ใน pytorch ก็ได้เตรียมชั้นของดรอปเอาต์และแบตช์นอร์มไว้



ดรอปเอาต์

ชั้นของดรอปเอาต์คือ torch.nn.Dropout
do = torch.nn.Dropout()
print(do) # ได้ Dropout(p=0.5, inplace=False)
do = torch.nn.Dropout(0.2)
print(do) # ได้ Dropout(p=0.2, inplace=False)

p คือค่าที่กำหนดว่าจะดรอปไปเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ ถ้า p=0.2 แสดงว่าดรอปไป 0.2 เหลือ 0.8



แบตช์นอร์ม

ชั้นของแบตช์นอร์ม จะแยกใช้ขึ้นกับมิติของข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลทั่วไปใช้ torch.nn.BatchNorm1d แต่สำหรับโครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชันสองมิติ จะใช้ torch.nn.BatchNorm2d สามมิติจะใช้ torch.nn.BatchNorm3d แต่ไม่ว่าจะอันไหนก็มีลักษณะการทำงานโดยรวมเหมือนกัน ต่างกันที่มิติของข้อมูลที่ป้อนเข้ามา

BatchNorm1d มีค่าตัวเลือกที่สามารถใส่ได้ขณะสร้างคือ
- num_features จำนวนตัวแปรของข้อมูล
- eps ค่าเล็กๆที่ใช้บวกกับส่วนเบี่ยเบนมาตรฐานขณะหารเพื่อกันการหาร 0 ค่าตั้งต้นคือ 1e-5
- momentum โมเมนตัม ค่าตั้งต้นคือ 0.1
- affine กำหนดว่าจะมีการคำนวณเชิงเส้น โดยคูณ γ บวก β หรือไม่ ค่าตั้งต้นคือ True
- track_running_stats กำหนดว่าจะให้คำนวณค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนขณะวิ่งหรือไม่ ค่าตั้งต้นคือ True

ถ้า affine เป็น False (หรือ 0) ชั้นแบตช์นอร์มนี้ก็จะไม่มีพารามิเตอร์ที่ต้องทำการเรียนรู้
bn = torch.nn.BatchNorm1d(5)
print(bn) # ได้ BatchNorm1d(5, eps=1e-05, momentum=0.1, affine=True, track_running_stats=True)
print(bn.weight) # ได้ Parameter containing: tensor([1., 1., 1., 1., 1.], requires_grad=True)
print(bn.bias) # ได้ Parameter containing: tensor([0., 0., 0., 0., 0.], requires_grad=True)
bn = torch.nn.BatchNorm1d(5,affine=0)
print(bn) # ได้ BatchNorm1d(5, eps=1e-05, momentum=0.1, affine=0, track_running_stats=True)
print(bn.weight) # ได้ None
print(bn.bias) # ได้ None

โมเมนตัมในที่นี้ความหมายตรงกันข้ามกับในเนื้อหาโครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๘ กล่าวคือ
..(9.1)

เมื่อ m คือโมเมนตัม μR คือค่าเฉลี่ยขณะวิ่ง μB คือค่าใหม่ σR คือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานขณะวิ่ง σB คือค่าใหม่

แต่ใน chainer และ keras ต่างก็ใช้ในความหมายเดียวกันนี้ มีแต่ pytorch ที่ใช้ตรงกันข้าม ดังนั้นอาจต้องระวังตรงนี้ด้วย

ค่าตั้งต้นของโมเมนตัมในที่นี้คือ 0.1 ซึ่งตรงกันข้ามกับ chainer ที่เป็น 0.9 และ keras ที่เป็น 0.99 ดังนั้นต่อให้ไม่ได้ใส่ใจตั้งค่าตรงนี้ผลที่ได้ก็ไม่ต่างกันมาก

track_running_stats นั้นถ้ากำหนดให้เป็น False ไป จะไม่มีการคำนวณค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนขณะวิ่ง แล้วทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างฝึกและตรวจสอบ



การแยกกรณีระหว่างการฝึกและการตรวจสอบ

ทั้งดรอปเอาต์และแบตช์นอร์มมีสิ่งที่ต้องระวังเหมือนกันก็คือการที่วิธีการคำนวณในชั้นจะต่างกันไปในระหว่างการเรียนรู้กับการตรวจสอบใช้งาน ดังนั้นจึงต้องนำมาพูดถึงเป็นพิเศษ

ออบเจ็กต์คลาส Module จะมีเมธอดชื่อ .eval() กับ .train() เป็นตัวสำหรับปรับโหมดเพื่อแยกว่ากำลังฝึกอยู่หรือกำลังตรวจสอบ

ในขณะที่ฝึกอยู่ ให้ปรับโหมดเป็นโหมดฝึก โดยใช้ .train() แต่พอจะทดสอบให้ปรับเป็นโหมดตรวจสอบโดยใช้ .eval()

หากไม่ได้ไปทำอะไร ค่าตั้งต้นเริ่มแรกจะอยู่ที่โหมดฝึก

การจะดูว่าอยู่ในโหมดฝึกหรือเปล่าให้ดูที่ .training

ลองใช้ดู
do = torch.nn.Dropout()
print(do.training) # ได้ True
do.eval()
print(do.training) # ได้ False
do.train()
print(do.training) # ได้ True

.eval() กับ .train() นั้นไม่ได้มีอยู่แค่ในชั้นดรอปเอาต์กับแบตช์นอร์ม แต่เป็นเมธอดสำหรับออบเจ็กคลาส Module ทั้งหมด เพียงแต่สำหรับตัวอื่นใช้ไปก็ไม่มีผลอะไร

และถ้าหากใช้กับ Module ที่บรรจุ Module อื่นอยู่ ตัวข้างในก็จะได้ผลนั้นไปด้วย
seq = torch.nn.Sequential(torch.nn.Dropout(),torch.nn.BatchNorm1d(10))
print(seq[0].training,seq[1].training) # ได้ True True
seq.eval()
print(seq[0].training,seq[1].training) # ได้ False False

ดังนั้นเวลาใช้ เราแค่สั่ง .train() กับ .eval() ให้กับตัว Module ใหญ่สุดครั้งเดียวก็จะเป็นการเปลี่ยนโหมดของทั้งระบบ



การนำมาใช้จริง

ต่อไปเป็นตัวอย่างของการสร้างโครงข่ายประสาทที่มีการนำแบตช์นอร์มและดรอปเอาต์มาใช้

ยกตัวอย่างโดยสร้างข้อมูลแบบนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

np.random.seed(8)
z = np.arange(5).repeat(80)
r = np.random.normal(z+1,0.35)
t = np.random.normal(1,1,400)
x = r*np.cos(t)
y = r*np.sin(t)
X = np.array([x,y]).T

plt.scatter(x,y,c=z,edgecolor='k',cmap='rainbow')
plt.show()


ลองสร้างโครงข่ายแบบนี้
import torch
relu = torch.nn.ReLU()
ha_entropy = torch.nn.CrossEntropyLoss()

class Prasat(torch.nn.Sequential):
    def __init__(self,m,eta=0.01,dropout=0,bn=0):
        super(Prasat,self).__init__()
        nm = len(m)
        for i in range(1,nm):
            lin = torch.nn.Linear(m[i-1],m[i])
            torch.nn.init.kaiming_normal_(lin.weight)
            lin.bias.data.fill_(0)
            self.add_module('lin%d'%i,lin)
            if(i<nm-1):
                if(bn): # สร้างชั้นแบตช์นอร์ม
                    self.add_module('bano%d'%i,torch.nn.BatchNorm1d(m[i]))
                if(dropout): # สร้างชั้นดรอปเอาต์
                    self.add_module('droa%d'%i,torch.nn.Dropout(dropout))
                self.add_module('relu%d'%i,relu)
        self.opt = torch.optim.Adam(self.parameters(),lr=eta)
        
    def rianru(self,X,z,X_truat,z_truat,n_thamsam):
        X = torch.Tensor(X)
        z = torch.LongTensor(z)
        X_truat = torch.Tensor(X_truat)
        z_truat = torch.LongTensor(z_truat)
        self.entropy = []
        self.khanaen_fuek = []
        self.khanaen_truat = []
        for o in range(n_thamsam):
            self.train() # ปรับเป็นโหมดฝึก
            a = self(X)
            J = ha_entropy(a,z)
            J.backward()
            self.opt.step()
            self.opt.zero_grad()
            self.entropy.append(float(J)) # เอนโทรปี
            self.eval() # ปรับเป็นโหมดทดสอบ
            self.khanaen_fuek.append(self.ha_khanaen_(X,z)) # คะแนนทำนายชุดข้อมูลฝึก
            self.khanaen_truat.append(self.ha_khanaen_(X_truat,z_truat)) # คำแนนทำนายชุดข้อมูลตรวจสอบ
            
    def thamnai(self,X):
        X = torch.Tensor(X)
        return self.thamnai_(X).numpy()
    
    def thamnai_(self,X):
        return self(X).argmax(1)
    
    def ha_khanaen_(self,X,z):
        return (self.thamnai_(X)==z).numpy().mean()

เวลาสร้างจะเลือกได้ว่าจะให้มีดรอปเอาต์กับแบตช์นอร์มหรือไม่ ถ้ามีก็จะสร้างชั้นขึ้นมาแทรกระหว่าง lin กับ ReLU

ในขั้นตอนการฝึกจะเรียกใช้ .train() ก่อนทำการคำนวณไปข้างหน้าและแพร่ย้อนกลับเพื่อฝึก หลังจากนั้นใช้ .eval() เพื่อทำนายแล้วคำนวณคะแนนในแต่ละขั้น

ในที่นี้ทำเมธอดทำนายแยกไว้ ๒ ตัว .thamnai_() เอาไว้ใช้ด้านในตัวคลาสขณะฝึก ส่วน .thamnai() จะเอาไว้ใช้นอกคลาส โดยข้อมูลป้อนเข้าเป็นอาเรย์ก็ได้ ข้างในจะทำการแปลงเป็นเทนเซอร์แล้วเรียกใช้ .thamnai_() อีกที เสร็จแล้วก็แปลงกลับเป็นอาเรย์

ลองสร้างโครงข่ายสัก ๔ ชั้น เทียบกรณีที่มีและไม่มีดรอปเอาต์กับแบตช์นอร์ม
sumlueak = np.random.permutation(len(z))
X_fuek,X_truat = X[sumlueak[:320]],X[sumlueak[320:]]
z_fuek,z_truat = z[sumlueak[:320]],z[sumlueak[320:]]

plt.figure(figsize=(6,9))
ax1 = plt.subplot(311)
ax1.set_title(u'เอนโทรปีไขว้',family='Tahoma',size=12)
ax2 = plt.subplot(312)
ax2.set_title(u'ความแม่นในการทำนายชุดข้อมูลฝึก',family='Tahoma',size=12)
ax3 = plt.subplot(313)
ax3.set_title(u'ความแม่นในการทำนายชุดข้อมูลตรวจสอบ',family='Tahoma',size=12)
for dropout in [0,1]:
    for bn in [0,1]:
        prasat = Prasat([2,300,300,300,5],eta=0.005,dropout=dropout*0.2,bn=bn)
        prasat.rianru(X_fuek,z_fuek,X_truat,z_truat,200)
        
        ls = ['--','-'][bn]
        si = ['#55aa66','#aa5588'][dropout]
        ax1.plot(prasat.entropy,si,ls=ls)
        ax2.plot(prasat.khanaen_fuek,si,ls=ls)
        ax3.plot(prasat.khanaen_truat,si,ls=ls)
ax1.legend([u'ไม่มี batchnorm, dropout=0',
            u'มี batchnorm, dropout=0',
            u'ไม่มี batchnorm, dropout=0.2',
            u'มี batchnorm, dropout=0.2'],
    prop={'family':'Tahoma','size':15})
plt.tight_layout()
plt.show()

plt.figure()
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(x.min(),x.max(),200),np.linspace(y.min(),y.max(),200))
mX = torch.Tensor(np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T)
mz = prasat.thamnai(mX).reshape(200,200)
plt.xlim(x.min(),x.max())
plt.ylim(y.min(),y.max())

plt.scatter(x,y,c=z,edgecolor='k',cmap='rainbow')
plt.contourf(mx,my,mz,alpha=0.2,cmap='rainbow')
plt.show()



จะเห็นว่าแบตช์นอร์มทำให้การเรียนรู้คืบหน้าไปเร็วกว่ามาก ไม่ว่าจะกรณีที่มีดรอปเอาต์หรือไม่ก็ตาม



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๐


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文