φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pytorch เบื้องต้น บทที่ ๘: การกำหนดค่าพารามิเตอร์ตั้งต้น
เขียนเมื่อ 2018/09/08 10:14
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 15:44
>> ต่อจาก บทที่ ๗



การกำหนดค่าพารามิเตอร์ตั้งต้นให้เหมาะสมถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างโครงข่ายประสาทเทียม

ในเนื้อหาโครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้นบทที่ ๑๓ เรื่องการกำหนดค่าพารามิเตอร์ตั้งต้น ได้กล่าวถึงไปแล้วว่าโดยทั่วไปถ้าใช้ฟังก์ชันซิกมอยด์เป็นฟังก์ชันกระตุ้นควรใช้ค่าตั้งต้นแบบซาวีเย (Xavier) แต่ถ้าใช้ ReLU ให้ใช้ค่าตั้งต้นแบบเหอ ไข่หมิง (何恺明, Hé Kǎimíng)

แต่ค่าตั้งต้นของพารามิเตอร์ใน pytorch ได้ถูกกำหนดให้แจกแจงสม่ำเสมอในช่วง -1/√m,1/√m โดยที่ m คือจำนวนตัวแปรขาเข้า

หากต้องการค่าตั้งต้นแบบอื่นก็ต้องกำหนดใหม่เอง

แต่ใน pytorch เองก็ได้เตรียมคำสั่งสำหรับตั้งพารามิเตอร์ตั้งต้นในรูปแบบนั้นให้ อยู่ในมอดูลย่อย torch.nn.init

ค่าตั้งต้นแบ่งเป็น ๒​ แบบคืโครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้นบทที่ ๑๓ เรื่องการกำหนดค่าพารามิเตอร์ตั้งต้นอแบบสม่ำเสมอกับแบบปกติ

แบบสม่ำเสมอแบบซาวีเยคือ torch.nn.init.xavier_uniform_()

ค่าจะกระจายสม่ำเสมอในช่วง
..(8.1)

โดย m0 คือจำนวนตัวแปรขาเข้า m1 คือจำนวนตัวแปรขาออก

ส่วนแบบเหอ ไข่หมิงคือ torch.nn.init.kaiming_uniform_()

ค่ากระจายในช่วง
..(8.2)

โดยที่ a เป็นค่าที่เราต้องกำหนดใส่ลงไปเอง จะเป็น 0 ถ้าใช้ ReLU แต่ถ้าใช้ LReLU ค่านี้จะใส่ตามความชันฝั่งลบ

ตัวอย่าง
import torch
lin = torch.nn.Linear(800,1600)
torch.nn.init.xavier_uniform_(lin.weight)
print(lin.weight.min()) # ได้ tensor(-0.0500, grad_fn<=MinBackward1>)
lin = torch.nn.Linear(577,100)
torch.nn.init.kaiming_uniform_(lin.weight,a=0.2)
print(lin.weight.max()) # ได้ tensor(0.1000, grad_fn<=MaxBackward1>)


ส่วนกระจายแบบปกติ แบบซาวีเยคือ torch.nn.init.xavier_normal_()
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ
..(8.3)

แบบเหอ ไข่หมิง torch.nn.init.kaiming_normal_()
..(8.4)



ตัวอย่างการสร้างโครงข่ายประสาทแบบใช้ ReLU หรือ LReLU เป็นฟังก์ชันกระตุ้นระหว่างชั้น (กำหนดโดยค่า a) และให้ใช้ค่าตั้งต้นกระจายแบบปกติแบบเหอ ไข่หมิง
ha_entropy = torch.nn.CrossEntropyLoss()

class Prasat(torch.nn.Sequential):
    def __init__(self,m,eta=0.01,a=0):
        super(Prasat,self).__init__()
        nm = len(m)
        for i in range(1,nm):
            lin = torch.nn.Linear(m[i-1],m[i])
            torch.nn.init.kaiming_normal_(lin.weight,a) # ค่าตั้งต้นน้ำหนัแจกแจงปกติแบบเหอ ไข่หมิง
            lin.bias.data.fill_(0) # ไบแอสให้ตั้งต้นเป็น 0
            self.add_module('lin%d'%i,lin)
            if(i<nm-1): # ใส่ฟังก์ชันกระตุ้นยกเว้นชั้นสุดท้าย
                if(a): # ถ้า a>0 ใช้ LReLU
                    self.add_module('lrelu%d'%i,torch.nn.LeakyReLU(a))
                else: # ถ้า a เป็น 0 ใช้ ReLU ธรรมดา
                    self.add_module('relu%d'%i,torch.nn.ReLU())
        self.opt = torch.optim.Adam(self.parameters(),lr=eta)
        
    def rianru(self,X,z,n_thamsam):
        X = torch.Tensor(X)
        z = torch.LongTensor(z)
        for o in range(n_thamsam):
            a = self(X)
            J = ha_entropy(a,z)
            J.backward()
            self.opt.step()
            self.opt.zero_grad()
            
    def thamnai(self,X):
        X = torch.Tensor(X)
        return self(X).argmax(1).numpy()


คลาสนี้เวลาใช้ต้องป้อนขนาดขาเข้าและขาออกของแต่ชะชั้นแล้วก็จะสร้างชั้นตามลำดับนั้นให้

เวลาจะทำการฝึกแบบจำลองก็ใช้เมธอด .rianru() ค่าที่ป้อนเข้าใช้เป็นอาเรย์ธรรมดาได้ จะถูกเปลี่ยนเป็นเทนเซอร์เอง

ส่วนเวลานำมาทำนายผลใช้เมธอด .thamnai() ค่าที่ป้อนเข้ามาจะถูกเปลี่ยนเป็นเทนเซอร์เพื่อทำการคำนวณแล้วก็แปลงกลับเป็นอาเรย์

ลองนำมาใช้สร้างโครงข่ายเพื่อจำแนกข้อมูล ๕ กลุ่ม
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

z = np.arange(5).repeat(50)
r = np.random.normal(z+1,0.28)
t = np.random.uniform(-np.pi,0,250)
x = r*np.cos(t)
y = r*np.sin(t)
X = np.array([x,y]).T

prasat = Prasat([2,32,32,32,5],eta=0.1,a=0.2) # โครงข่าย 4 ชั้น โดยใช้ LReLU ที่มีความชันส่วนลบเป็น 0.2
prasat.rianru(X,z,100)

mx,my = np.meshgrid(np.linspace(x.min(),x.max(),200),np.linspace(y.min(),y.max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mz = prasat.thamnai(mX)
mz = mz.reshape(200,200)

plt.xlim(x.min(),x.max())
plt.ylim(y.min(),y.max())
plt.scatter(x,y,100,c=z,marker='*',edgecolor='k',cmap='Spectral')
plt.contourf(mx,my,mz,alpha=0.2,cmap='Spectral')
plt.show()





>> อ่านต่อ บทที่ ๙


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文