φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
ปราสาทอาซึจิ ซากปรักแห่งความรุ่งเรืองในยุคอาซึจิโมโมยามะ
เขียนเมื่อ 2013/02/27 01:09
แก้ไขล่าสุด 2022/10/20 05:38
#จันทร์ 21 ม.ค. 2013
เข้าสู่เช้าวันที่ ๕ ของการเที่ยวญี่ปุ่น หลังจากที่จบการเที่ยวในวันที่ ๔ ไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20130225
เช้านี้เรายังคงตื่นแต่เช้ามาขึ้นรถเมล์ตอน 6:13 เพื่อจะไปให้ถึงสถานีรถไฟตอน 6:45 เช่นเคย
การเที่ยววันนี้ก็ยังคงอยู่ใน
จังหวัดชิงะ (滋賀県)
รถไฟขบวนที่ขึ้นวันนี้เหมือนเมื่อวานเป๊ะ คือนั่งรถไฟ
สายบิวาโกะ (琵琶湖線)
เหมือนเดิม แต่รถวันนี้ออกเร็วกว่านิดหน่อยคือออกตอน 6:53 จากที่เมื่อวานเป็น 6:56 เนื่องจากวันนี้เป็นวันจันทร์ เมื่อวานเป็นวันอาทิตย์ รอบรถมีความแตกต่างกันเล็กน้อย
เพียงแต่เป้าหมายต่างจากเมื่อวาน ครั้งนี้ไม่ได้นั่งไปถึงสุดสายที่
สถานีไมบาระ (米原駅)
แต่จะนั่งไปลงที่
สถานีอาซึจิ (安土駅)
ใน
เมืองอาซึจิ (安土町)
สถานที่แรกที่จะไปในวันนี้คือ
ปราสาทอาซึจิ (安土城)
ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่ซากปรัก แต่ว่ามีคุณค่ามากในทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นซากปรักแห่งความรุ่งเรืองใน
ยุคอาซึจิโมโมยามะ (安土桃山時代)
ถ้าจะพูดถึงประวัติของปราสาทนี้คงต้องพูดย้อนยาวไปถึงประวัติศาสตร์
ยุคเซงโงกุ (戦国時代)
ยุคสมัยช่วงปี 1336-1573 ที่ญี่ปุ่นเรียกว่าเป็น
ยุคมุโรมาจิ (室町時代)
เป็นสมัยที่บ้านเมืองถูกปกครองโดยรัฐบาล
โชกุนอาชิกางะ (足利将軍家)
แต่ช่วงปลายๆยุคการปกครองของรัฐบาลโชกุนได้เสื่อมอำนาจลง ทำให้บรรดาแคว้นต่างๆพากันตั้งตัวเป็นใหญ่ บ้านเมืองเลยตกอยู่ภายใต้ภาวะสงคราม ช่วงยุคนั้นจึงเรียกว่ายุคเซงโงกุ โดยกินเวลาในช่วงท้ายของยุคมุโรมาจิ คือช่วงปี 1467-1573
หนึ่งในบรรดาแคว้นเหล่านั้นก็คือ
แคว้นโอวาริ (尾張国)
ซึ่งก็คือบริเวณ
เมืองนาโงยะ (名古屋市)
ในปัจจุบัน ปกครองโดย
โอดะ โนบุนางะ (織田信長)
โนบุนางะได้ใช้ความสามารถในการปราบแคว้นอื่นๆเพื่อสร้างฐานอำนาจที่มั่นคง และในปี 1568 ก็ได้บุกเข้าสู่เมืองหลวงเกียวโตซึ่งเป็นศูนย์กลางที่โชกุนปกครองอยู่และเข้ายึดอำนาจการปกครองจากโชกุน
โนบุนางะได้ถอดโชกุนคนเก่าออกแล้วแต่งตั้งให้
อาชิกางะ โยชิเทรุ (足利義昭)
เป็นโชกุนคนต่อไปในฐานะหุ่นเชิดของตัวเอง แต่โยชิเทรุก็พยายามขัดขืนอยู่ตลอด จนสุดท้ายในปี 1573 โนบุนางะจึงบังคับให้โยชิเทรุลงจากตำแหน่ง และไล่ออกจากเกียวโต ถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคมุโรมาจิและยุคเซงโงกุ
หลังจากนั้นในปี 1576 โนบุนางะได้สั่งให้สร้างปราสาทอาซึจิขึ้น โดยสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตสวยงามหรูหรา นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่ปฏิวัติสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นไปเลย
ปราสาทเสร็จสมบูรณ์ในปี 1579 และโนบุนางะก็ได้ย้ายมาอยู่ ยุคนั้นจึงเรียกว่า
ยุคอาซึจิ (安土時代)
แต่ต่อมาโนบุนางะได้ถูก
อาเกจิ มิตสึฮิเดะ (明智光秀)
ซึ่งเป็นทหารคนสนิทหักหลังและเสียชีวิตลงในปี 1582 หลังจากนั้นปราสาทอาซึจิก็ได้ถูกไฟไหม้จากภัยสงครามไปด้วย จึงเป็นการปิดฉากปราสาทที่ยิ่งใหญ่นี้ลงทั้งที่เพิ่งสร้างเสร็จและใช้งานเพียง ๓ ปีเท่านั้น
ต่อมา
โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (豊臣秀吉)
ก็ได้ล้างแค้นให้กับโนบุนางะโดยการกำจัดมิตสึฮิเดะลงได้สำเร็จ ตอนหลังก็ได้ตั้งตัวเองเป็นโชกุนคนใหม่และสร้าง
ปราสาทฟุชิมิ (伏見城)
ขึ้นที่เกียวโต ซึ่งต่อมาในยุคเอโดะปราสาทนี้ก็ถูกทิ้งร้างและเปลี่ยนชื่อเป็น
โมโมยามะ (桃山)
ดังนั้นในสมัยหลังยุคที่ฮิเดโยชิปกครองอยู่นี้จึงถูกเรียกว่ายุคโมโมยามะ
โดยรวมแล้วช่วงยุค 1573 -1603 จึงถูกเรียกว่า
ยุคอาซึจิโมโมยามะ (安土桃山時代)
ที่มาของชื่อยุคก็มาจากชื่อปราสาทสองแห่งนี้เอง
ปัจจุบันปราสาทอาซึจิตั้งอยู่ใน
เมืองอาซึจิ (安土町)
จังหวัดชิงะ แต่ว่าในปี 2010 เมืองอาซึจิได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ
เมืองโอวมิฮาจิมัง (近江八幡市)
ตำแหน่งเมืองอาซึจิ
สีเหลืองเข้มในแผนที่
ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโอวมิฮาจิมัง นี่ก็คืออาณาเขตของเมืองโอวมิฮาจิมังปัจจุบันหลังผนวกเมืองอาซึจิเข้าไป แสดงเป็นพื้นที่สีชมพูเข้ม
ในแผนที่
ในตัวเมืองอาซึจินั้นได้มีการสร้างสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มากมาย มีพิพิธภัณฑ์อยู่หลายแห่ง
เรานั่งรถไฟมาถึงสถานีอาซึจิตอน 7:41
ทางออกที่ตรวจตั๋วมีเขียนว่า
歴史と文化のまち安土 "เมืองแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อาซึจิ"
ด้านนอกตัวสถานีก็มีเขียน
หน้าสถานีมีรูปปั้นโอดะ โนบุนางะ ผู้สั่งให้สร้างปราสาทอาซึจิขึ้น
อาคารนี้ตั้งอยู่ข้างๆสถานี ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าเอาไว้ทำอะไร มารู้เอาตอนหลังว่าเป็นแค่อาคารครอบอุโมงค์ใต้ดินสำหรับเดินลอดใต้ทางรถไฟ
แต่เนื่องจากไม่รู้เราก็เลยเดินอ้อมไกลไปลอดใต้อุโมงค์อีกแห่งซึ่งต้องเดินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือไกลนิดหน่อย
เมื่อลอดผ่านมาอีกด้านแล้วก็เห็นตัวชานชลาชัด เขาไม่ได้กั้นสูงนัก
ความจริงแล้วตัวปราสาทอาซึจินั้นอยู่ในฝั่งเดียวกับทางออกสถานี คือฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทางรถไฟ เราไม่จำเป็นต้องลอดอุโมงค์ข้ามฝั่งมาก็ได้
แต่ว่านอกจากเป้าหมายหลักคือตัวปราสาทอาซึจิแล้ว ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเราถือโอกาสแวะมาด้วย ซึ่งมันอยู่ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทางรถไฟก็เลยต้องลอดข้ามมา แต่ก็อยู่ไม่ไกลเลยเลือกที่จะแวะมาก่อน
สถานที่ที่ว่านั้นก็คือ
คฤหาสน์เก่าของตระกูลอิบะ (旧伊庭家住宅)
ซึ่งถูกใช้เป็นฉากในอนิเมะเรื่อง
中二病でも恋がしたい!
(chuunibyou demo koi ga shitai)
หรือเรียกย่อๆว่า
จูนิเบียว
โดยที่อนิเมะเรื่องนี้ใช้ฉากส่วนใหญ่อยู่ใน
เมืองโอตสึ (大津市)
ซึ่งอยู่ในจังหวะชิงะเช่นเดียวกับที่นี่ แต่ฉากบางส่วนก็มีการใช้ฉากในเมืองอื่นบ้าง เช่นโรงเรียนของพวกตัวเอกก็ใช้ฉากโรงเรียนใน
เมืองฮิโนะ (日野町)
ซึ่งอยู่ในจังหวัดชิงะเช่นกัน
ส่วนคฤหาสน์เก่าของตระกูลอิบะนี้ถูกใช้เป็นฉากบ้านปู่ย่าของริกกะ ซึ่งปรากฏในตอน ๗ และตอน ๑๒
แต่ที่น่าแปลกคือฉากสถานีซึ่งอยู่ใกล้กับที่นี่ซึ่งพวกตัวเอกใช้เดินทางมากลับเป็น
สถานีฮิงาชิมิฮามะ (東美浜駅)
ซึ่งอยู่ในจังหวัดฟุกุอิ แถมในเรื่อง ไม่ไกลจากบ้านยังมีชายหาดด้วย ทั้งที่จังหวัดชิงะไม่ได้ติดกับทะเลเลย และฉากของทะเลนั่นก็อยู่ในจังหวัดฟุกุอิ
ระหว่างทางเดินไปนั้นเต็มไปด้วยบ้านแบบเก่าสวยๆมากมาย บรรยากาศก็เงียบๆน่าเดิน
แล้วก็มาถึงคฤหาสน์เก่าของตระกูลอิบะ
ตึกนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1913 ออกแบบโดย
วิลเลียม แมเรลล์ วอรีซ (ウイリアム・メレル・ヴォーリズ, William Merrell Vories)
เช่นเดียวกับอาคารเก่าของ
โรงเรียนประถมโทโยซาโตะ (豊郷小学校)
ซึ่งเคยเล่าถึงไปก่อนหน้า
https://phyblas.hinaboshi.com/20130223
ปัจจุบันถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้เข้าชมได้ในบางช่วง แต่ช่วงที่ไปเป็นช่วงที่ปิดฤดูหนาวอยู่ก็เลยเข้าชมไม่ได้ ซึ่งก็น่าเสียดายเพราะว่าข้างในก็ถูกใช้เป็นฉากในอนิเมะเช่นกัน
มองอีกมุมจากด้านข้าง
ที่มีรถจอดอยู่เยอะเป็นเพราะอาคารนี้ตั้งอยู่ข้างๆ
สถานรับเลี้ยงเด็กอาซึจิ (安土保育園, อาซึจิโฮอิกุเอง)
นั่นเอง
ต่อไปมาดูภาพเปรียบเทียบ
==Ⓐ==
ตอนที่ ๗ : ด้านหน้าบ้าน
==Ⓑ==
ตอนที่ ๗ : ประตูด้านหน้า ไม่ได้ถ่ายมุมเดียวกันไว้แต่จะเห็นว่าลักษณะบันไดและประตูเหมือนกัน
==Ⓒ==
ตอนที่ ๗ : ด้านหลังอาคาร ในเรื่องเป็นพุ่มไม้ แต่ของจริงมีแต่รั้ว
==Ⓓ==
ตอนที่ ๑๒ : อีกภาพหลังบ้าน ภาพถ่ายเป็นภาพเดิม
หลังจากนั้นเดินกลับไปยังสถานีรถไฟ ตรงใกล้ๆกับด้านหลังสถานีรถไฟก็พบอาคารหลังนี้
ซึ่งก็คืออาคาร
พิพิธภัณฑ์เค้าโครงปราสาทอาซึจิ (安土城郭資料館)
ซึ่งภายในมีแบบจำลองปราสาทอาซึจิขนาด 1/20 อยู่ด้วย ซึ่งแบบจำลองนี้เป็นแค่สิ่งที่สร้างขึ้นจากจินตนาการโดยได้จากการรวบรวมหลักฐาน ไม่มีใครรู้รูปร่างที่แท้จริงของปราสาทอาซึจิอย่างชัดเจนเพราะถูกทำลายไปนานกว่า ๔๐๐ ปีแล้ว
แต่เราเจอปัญหาว่าวันนี้เป็นวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันหยุดพิพิธภัณฑ์ของสากลโลก พิพิธภัณฑ์หลายแห่งในญี่ปุ่นก็ปิดวันจันทร์ ที่นี่เองก็เช่นกัน ดังนั้นจึงน่าเสียดายที่เข้าไปไม่ได้
ความจริงแผนเดิมควรจะได้มาที่นี่ในวันอาทิตย์ซึ่งจะไม่มีปัญหาอะไร แต่พอเปลี่ยนแผนโดยแทรกแผนเที่ยวจังหวัดฟุกุอิไว้วันเสาร์ แผนเที่ยวอาซึจิก็เลยเลื่อนมาวันจันทร์ เลยเจอปัญหาดังนี้เลย แต่มองในแง่ดีคือประหยัดค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ไป เพราะดูแล้วข้างในก็ไม่ได้ใหญ่อะไรมาก
ถึงอย่างนั้นก็สามารถถ่ายภาพภายในอาคารได้จากด้านนอก ก็พอเห็นบางส่วน
แล้วป้ายด้านหน้าสถานีก็มีรูปแบบจำลองปราสาทอาซึจิตั้งแสดงไว้ด้วย ไม่ต้องเข้าไปชมของจริงข้างในได้เห็นแค่นี้ก็ยังดี
ข้างๆกันนั้นมี
ป้อมซูโม่ (相撲やぐら)
ข้างๆมีป้ายอธิบายว่าเมืองอาซึจินี้เป็นต้นกำเนิดของซูโม่สมัยใหม่ ดังนั้นจึงได้สร้างป้อมนี้ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงประเพณีนี้
ได้เวลาลอดอุโมงค์กลับไปยังฝั่งด้านหน้าสถานีเพื่อเดินต่อไปยังปราสาทอาซึจิแล้ว
ปราสาทอาซึจินั้นอยู่ไกลจากสถานีรถไฟพอสมควร ต้องใช้เวลาเดินประมาณครึ่งชั่วโมงเลยกว่าจะถึง แต่ก็ยังถือว่าเป็นระยะที่เดินได้อยู่ ยังไงก็ต้องเดินเท่านั้นเพราะที่นั่นรถเมล์น้อย ที่สถานีสามารถหยิบแผนที่ได้ ก็เดินตามแผนที่ไปเรื่อยๆ
จะเช่าจักรยานไปก็ได้ แต่ก็คงไม่สะดวกเพราะอยากค่อยๆเดินไปถ่ายรูปไปมากกว่า
ระหว่างทางเดินไป
ตรงนี้คือบริเวณที่เป็นซากสิ่งก่อสร้างของพวกชาวตะวันตกที่มาเผยแพร่ศาสนาซึ่งเคยมาพักอยู่ที่นี่เป็นจำนวนมาก แต่หลังจากที่ปราสาทอาซึจิถูกทำลาย ที่นี่เองก็ได้ถูกทำลายไปด้วย ปัจจุบันก็เป็นสวนสาธารณะอย่างที่เห็น
พอเดินผ่านตรงนี้ไปบ้านคนก็ยิ่งเบาบางลง เห็นเป็นทุ่งโล่งๆมากขึ้น
ผ่านตรงนี้มาก็เริ่มเห็นภูเขาที่ปราสาทอาซึจิตั้งอยู่
ป้ายเขียนว่า
ซากปราสาทอาซึจิ (安土城址)
ทางเข้าภูเขา
แผนที่บริเวณ
ทางเข้าบริเวณ จะเข้าไปต้องจ่ายค่าเข้า ๕๐๐ เยน
แล้วเขาก็จะให้แผ่นพับซึ่งมีแผนที่พร้อมกับข้อมูลของตัวสถานที่มา
พอเข้าไปก็ต้องปีนบันไดขึ้นไปเรื่อยๆ ทางเดินเป็นบันไดหินซึ่งถูกทำอย่างดีเลยไม่ลำบากมาก แต่ปัญหาคือเรากำลังเจ็บเท้าอยู่อย่างมากจากการเดินเที่ยวมาหลายวัน ก็เลยลำบากไม่น้อยในการเดินขึ้นครั้งนี้
ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆพอหันกลับลงไปมองข้างล่างก็เห็นว่าเราปีนขึ้นมาไม่น้อยแล้ว
ขึ้นมาถึงจุดหนึ่งก็จะเจอทางแยก ทางหนึ่งเป็นทางลง อีกทางหนึ่งไปยังบริเวณอาคารหลักของปราสาท
ซึ่งมันก็เป็นทางเดินขึ้นไปเรื่อยๆต่ออีก แต่ไม่ชันมากไหวอยู่
แล้วก็ขึ้นมาถึงส่วนหอหลักของปราสาท ซึ่งจะเห็นว่ามีแต่ซาก
ตรงนี้เขียนเกี่ยวกับโครงสร้างของอาคารไว้
จากตรงนี้เห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้สวยงาม
ข้างๆหอหลักเป็นวัดที่โทโยโตมิ ฮิเดโยชิมาสร้างขึ้นภายหลังจากที่ปราสาทอาซึจิถูกทำลายไปแล้ว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงโอดะ โนบุนางะ
เมื่อชมบริเวณหอหลักเสร็จก็เดินย้อนกลับออกไปแล้วเดินไปตามทางแยกอีกทางเพื่อไปยังทางออก
ระหว่างทางตรงนี้ก็เจอซากสิ่งก่อสร้างอีก นั่นคือ
วัดโซวเคง (摠見寺)
ซึ่งเป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นมาบนภูเขานี้ตั้งแต่ก่อนที่จะมีปราสาทอาซึจิ และก็ถูกไฟไหม้เสียหายไปก่อนนานแล้ว
แต่ยังคงเหลือเจดีย์ ๓ ชั้นไว้อยู่ ปัจจุบันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
แถวนี้ยังเห็นหิมะตกค้างอยู่เลย ถ้ามาสักไม่กี่วันก่อนคงจะได้เห็นเต็มไปด้วยหิมะปกคลุมสวยกว่านี้ ตอนนี้เหลือแค่ตุ๊กตาหิมะที่ไม่รู้ใครมาปั้นทิ้งเอาไว้
จากตรงนี้มองทิวทัศน์ข้างล่างก็สวย
งามมาก
ทะเลสาบที่เห็นนี้คือ
ทะเลสาบนิชิ (西の湖)
เป็นทะเลสาบที่อยู่ทางทิศตะวันตกของปราสาทอาซึจิ
ถัดไประหว่างทางลงยังเจอซุ้ม
ประตูนิโอว (仁王門)
ประตูซึ่งมีเทพยักษ์เฝ้าอยู่ ซึ่งก็เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญเช่นกัน ประตูที่มีเทพยักษ์ในลักษณะอย่างนี้ยังพบตามวัดต่างๆได้อีกหลายแห่งในญี่ปุ่น
แล้วก็เดินกลับลงไปจนถึงทางเข้า เวลานั้นก็ประมาณสิบโมงแล้ว จากนั้นก็ใช้เวลาอีกประมาณครึ่งชั่วโมงกลับถึงสถานีรถไฟราวๆสิบโมงครึ่ง
ที่สถานีมีร้านขายของที่ระลึก แต่ว่าแพงก็เลยไม่ได้ซื้ออะไรเลยเช่นเคย
แล้วเราก็ขึ้นรถไฟเพื่อไปยังเป้าหมายต่อไปคือ
สถานีโอวมิฮาจิมัง (近江八幡駅)
ซึ่งอยู่สถานีข้างๆกันนี้เอง
แต่จังหวะที่ไปถึงสถานีนั้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่ สถานีนี้มีรถไฟผ่านประมาณครึ่งชั่วโมงต่อคัน แต่ตอนที่ไปถึงรถไฟเพิ่งออกไปไม่นาน จึงต้องรอนาน แต่ว่ารถที่ไปในทิศตรงกันข้ามกันกลับเพิ่งมาพอดีจังหวะนั้นเลยนั่งรถไฟเล่นย้อนไปลงที่สถานีข้างๆซึ่งอยู่ทิศตรงกันข้ามนั่นคือ
สถานีโนโตงาวะ (能登川駅)
จากนั้นค่อยรถรถไฟอยู่ที่นั่นแทน เป็นการนั่งรถไฟเล่นที่ไม่มีอะไร แต่ก็ไม่ได้ทำให้เสียเวลา สุดท้ายก็ไปถึงสถานีโอวมิฮาจิมังตอน 10:57 ติดตามอ่านกันต่อได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20130301
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
ชิงะ
--
ท่องเที่ยว
>>
ตามรอย
--
ท่องเที่ยว
>>
ปราสาท☑
>>
ปราสาทญี่ปุ่น
--
ท่องเที่ยว
>>
ภูเขา
--
ท่องเที่ยว
>>
รถไฟ
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
--
ท่องเที่ยว
>>
ทะเลสาบ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文