φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ตามรอยเคย์องที่โรงเรียนประถมโทโยซาโตะจังหวัดชิงะ
เขียนเมื่อ 2013/02/23 00:43
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 20 ม.ค. 2013

หลังจากที่ไปเที่ยวย่านโบราณในชนบทอย่างโกกาโชวคนโดวมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20130221

เราก็นั่งรถไฟมายังเป้าหมายถัดไปซึ่งยังคงอยู่ในชนบทเช่นกัน นั่นคือเมืองโทโยซาโตะ (豊郷町)

ตำแหน่งเมืองโทโยซาโตะ สีเหลืองเข้มเล็กๆในแผนที่




นี่ก็เป็นอีกที่ซึ่งนักท่องเที่ยวทั่วไปคงไม่ได้สนใจจะมา แต่สำหรับคนที่ชอบอนิเมะแล้วที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวชั้นยอดอยู่

นั่นคืออาคารเก่าของโรงเรียนประถมโทโยซาโตะ (豊郷小学校) ซึ่งถูกใช้เป็นฉากโรงเรียนในอนิเมะเรื่อง k-on!



อาคารที่ถูกใช้เป็นฉากในเรื่องนี้เป็นอาคารเก่าซึ่งเลิกใช้เป็นอาคารเรียนไปแล้ว และปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์แทน ซึ่งตัวอาคารเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ฟรี

อาคารหลังนี้มีความโดดเด่นเพราะถูกออกแบบโดยวิลเลียม แมเรลล์ วอรีซ์ (ウィリアム・メレル・ヴォーリズ, William Merrell Vories) สถาปนิกชื่อดังชาวอเมริกาที่ออกแบบสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่หลายแห่งในภูมิภาคคันไซ

โดยถูกสร้างขึ้นมาในปี 1937 โดยสร้างขึ้นจากคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าหายากที่อาคารเรียนจะสร้างแบบนั้น



ก่อนที่จะให้ดูรูปที่ถ่ายในตัวอาคารขอเล่าถึงการเดินทางกว่าจะไปถึงก่อน เพื่อให้เป็นไปตามลำดับ

เราเดินทางโดยรถไฟมาจากสถานีโกกาโชวซึ่งห่างไปเพียงสองสถานี ค่าโดยสารคือ ๒๙๐ เยน



ถึงสถานีโทโยซาโตะ (豊郷駅) แล้ว



มาถึงก็สังเกตเห็นเลยว่าที่เมืองนี้สำหรับคนชอบอนิเมะจริงๆ เพราะป้ายต่างๆที่สถานีก็มีรูปอนิเมะเยอะแยะ



อาคารตัวสถานีเป็นอาคารเล็กๆ



ถนนด้านหน้าสถานี เดินตรงไปเรื่อยๆจนสุดทางแล้วเลี้ยวขวาก็จะไปถึงโรงเรียนประถมโทโยซาโตะได้



ตามทางจะเห็นป้ายสีชมพูที่เขียนว่า 聖地へようこそ "ขอต้อนรับสู่แดนศักดิ์สิทธิ์" ติดอยู่เต็มไปหมดเหมือนคอยนำทางให้



แล้วตามทางก็มีพวกตัวละครจากเรื่องเคย์องมาคอยทำหน้าที่เป็นโทบิดาชิโบวยะ (飛び出し坊や) หมายถึงป้ายรูปเด็กที่เอาไว้เป็นสัญลักษณ์เตือนคนขับรถบนถนนให้ระวังมีคนเดินถนนผ่าน



ร้านตามทางก็มีโปสเตอร์เคย์องอยู่ประปราย




สภาพบ้านเมืองตามทางดูเงียบสงบ น่าอยู่ดี








อาคารที่ว่าการของเมืองโทโยซาโตะ ด้านหน้ามีโทบิดาชิโบวยะเป็นรูปโนโดกะ




ศาลเจ้าฮาจิมัง



แล้วเราก็มาถึงทางเข้าตัวโรงเรียน



เสาตรงประตูรั้วหน้าโรงเรียน มีเขียนป้ายชื่อโรงเรียน



ถ่ายจากด้านนอก เห็นรถมาจอดเต็มเลย



เข้ามาดูใกล้ๆก็เห็นพวกรถที่ประดับเป็นลายตัวละครอนิเมะเต็มเลย รถแบบนี้เขาเรียว่าอิตาชะ (痛車) แปลตรงๆว่ารถเจ็บ เพิ่งเคยได้มาเห็นกับตาเป็นครั้งแรกนี่แหละ





มีอยู่คันหนึ่งวิ่งออกไปตอนที่เรามาพอดี ถ่ายเกือบไม่ทัน



ภาพสวยๆจากตรงด้านหน้าโรงเรียน





เมื่อเข้ามาในโรงเรียนแล้วภาพต่อจากนี้ไปนี้ก็ได้เวลาลงภาพเปรียบเทียบ

เนื่องจากว่าไม่ใช่เปิดภาพเทียบตอนเดินถ่าย แต่เป็นการถ่ายสุ่มๆเยอะๆไว้แล้วค่อยกลับมาเทียบกันทีหลัง ดังนั้นส่วนใหญ่มุมของภาพที่ถ่ายจะไม่ค่อยตรง แค่เทียบให้เห็นได้ว่าเป็นสถานที่เดียวกันก็ใช้ได้แล้ว

ขอเรียงตามลำดับที่ปรากฏในเรื่อง ที่จริงแต่ละฉากปรากฏซ้ำๆหลายครั้ง แต่ขอเรียงตามที่เราเปิดเจอและสะดวกเอามาลง





ตอนที่ ๑ : ฉากตอนเปิดเทอมใหม่ ด้านหน้าโรงเรียน ภาพนี้ดูจะเป็นภาพที่ถ่ายได้มุมที่ตรงกับในอนิเมะที่สุดแล้ว





ตอนที่ ๑ : ฉากชั้นสองของอาคารเรียน เสียดายที่ถ่ายกลับด้าน ต้องมองกลับซ้ายขวาจึงพอจะเห็นว่าเหมือน





ตอนที่ ๑ : ทางขึ้นบันไดจากบริเวณชั้น ๑ ซึ่งหัวบันไดมีรูปปั้นกระต่ายกับเต่า





ตอนที่ ๑ : ห้องดนตรีและห้องเตรียมตัวซึ่งอยู่ชั้น ๓ แต่สังเกตดูแล้วโครงสร้างห้องมันต่างออกไปพอสมควร แต่โดยรวมแล้วไม่ผิดแน่นอน โครงร้างของอาคารนี้ชั้นสามจะมีอยู่แค่บริเวณนี้เล็กนิดเดียวและมีแค่สองห้องคือห้องห้องดนตรีและห้องเตรียมตัวอย่างที่เห็น





ตอนที่ ๑ : ห้องดนตรี ของจริงตอนที่ไปกำลังมีคอนเสิร์ตอยู่พอดี





ตอนที่ ๑ : บันไดขึ้นชั้น ๓ หัวบันไดมีรูปปั้นเต่าอยู่





ตอนที่ ๑ : ในห้องเตรียมตัว นี่เป็นห้องที่พวกยุยใช้นั่งดื่มชาและทำกิจกรรมอะไรต่างๆ ของจริงกลายเป็นห้องที่จัดแสดงของต่างๆเต็มไปหมด แต่กลองยังถูกวางไว้ที่เดิม





ตอนที่ ๑ : กระดานในห้องเตรียมตัว ตอนที่ถ่ายไปเล็งถ่ายที่กระดานเต็มที่เลยไม่ได้เห็นส่วนอื่น แต่จำได้ว่าถ้ามองไกลๆก็จะเห็นรอบๆเป็นตามภาพในอนิเมะไม่ผิดแน่





ตอนที่ ๒ : ห้องเรียน ของจริงตอนนี้แต่ละห้องถูกใช้ต่างกันไป บางห้องก็โล่งๆอย่างในภาพ แต่บางห้องก็กลายเป็นห้องเก็บของ ส่วนบางห้องยังมีโตีะเก้าอี้วางเรียงอยู่เหมือนสมัยที่มีการเรียน





ตอนที่ ๒ : โต๊ะน้ำชาในห้องเตรียมตัว ของจริงมุมนี้มีจัดแสดงของวางอยู่เต็มไปหมด โต๊ะน้ำชาก็มีอุปกรณ์ดื่มชาวางอยู่จริงๆด้วย





ตอนที่ ๓ : ป้ายห้องเตรียมตัว แต่ดูแล้วตำแหน่งป้ายไม่เหมือนกันเลย





ตอนที่ ๕ : บันได มองจากมุมด้านบน เพียงแต่กลับด้านกันอยู่ น่าจะเป็นบันไดคนละส่วนกัน





ตอนที่ ๕ : ชั้นหนึ่งของอาคาร ภาพนี้ก็กลับด้านเหมือนกัน





ตอนที่ ๖ : ห้องประชุมใหญ่ ในเรื่องเป็นสถานที่ที่พวกยุยจัดคอนเสิร์ต





ตอนที่ ๖ : อาคารฝั่งที่มีห้องประชุมใหญ่ ก็ต่อเนื่องมาจากอาคารส่วนหลัก แต่เชื่อมกันด้วยทางเดินชั้นล่าง





ตอนที่ ๖ : ตัวอาคารจากมุมใกล้ๆ





เพลงเปิด : รูปปั้นของฟุรุกาวะ เท็ตสึจิโรว (古川 鉄治郎) ผู้สั่งให้สร้างอาคารเรียนเก่านี้ขึ้น ปรากฏอยู่ในเพลงเปิดเพียงแว้บเดียวเท่านั้นแทบมองไม่เห็นถ้าไม่สังเกตดีๆ แต่นอกจากฉากนี้ก็ยังมีเห็นปรากฏบ่อยๆในเรื่องตามโอกาส

ต่อไปเป็นภาพส่วนอื่นๆในอาคารซึ่งยังไม่ได้หยิบมาเปรียบเทียบ



หน้าประตูทางเข้าตัวอาคาร



เมื่อเข้ามาแล้วทุกคนต้องถอดรองเท้าแล้วเปลี่ยนเป็นรองเท้าแตะ อย่างที่เคยเห็นในอนิเมะจะรู้ว่าโรงเรียนทุกแห่งในญี่ปุ่นเป็นแบบนี้หมด



ชั้นหนึ่งมีจัดแสดงผลงานศิลปะของเด็กๆเรียงไว้เต็ม



ขึ้นมาชั้นสองจะมีห้องเรียนต่างๆ



ป้ายห้องเรียน



ในห้องเรียนนั้นเขาไม่ให้เข้า แต่หน้าต่างเปิดอยู่สามารถมองเข้าไปแล้วถ่ายรูปได้ ภายในห้องเรียนบางห้องมีวางโต๊ะเก้าอี้ไว้พร้อมเหมือนตอนที่เรียนหนังสือ



แต่บางห้องก็เหมือนจะกลายเป็นห้องเก็บของไปแล้ว



ก๊อกน้ำตรงใกล้บันได



มองทิวทัศน์ด้านนอกจากหน้าต่างชั้นสอง



กลับมาที่ชั้นหนึ่ง มีร้านขายขนมที่ระลึกอยู่ มีโปสเตอร์เคย์องติดอยู่เต็มเลย



บันไดที่อยู่ข้างๆก็มีโปสเตอร์อนิเมะติดเต็มเช่นกัน



ตรงนี้ก็มี



นี่คงเป็นห้องทำงานที่ยังใช้จริงๆอยู่ แต่ไม่เห็นคนอยู่ข้างในเลย ก็เลยถ่ายภาพด้านในผ่านประตูซึ่งเป็นกระจกใส



ดังที่เห็นในรูป ชั้น ๓ มีอยู่แค่ ๒ ห้องคือห้องเตรียมตัวกับห้องดนตรี และตอนนี้ห้องดนตรีก็กำลังจัดคอนเสิร์ตอยู่





เรามีถ่ายวีดีโอช่วงหนึ่งของการแสดงไว้ด้วย ใส่ไว้ในยูทูบ กดลิงก์เข้าไปดูกันได้

http://www.youtube.com/watch?v=vJlxREJXshY

ข้างๆห้องดนตรีก็คือห้องเตรียมตัว มีจัดแสดงอะไรเต็มไปหมด






มีลักกีสตาร์ด้วย



เมื่อดูเสร็จเราก็อยู่ได้ไม่นานก็ได้เวลาต้องกลับไปที่สถานีรถไฟแล้ว

ขากลับเราเจออิตาชะโผล่มาอีกคันจอดอยู่ที่ที่จอดรถ





เนื่องจากรถไฟแล่นผ่านทางสายนี้แค่เพียงชั่วโมงละคันเท่านั้น ทำให้เราต้องกะเวลาให้ใช้เวลาที่นี่หนึ่งชั่วโมงพอดี รถไฟที่เรานั่งมาถึงที่นี่ตอน 13:32 และพอตอน 14:32 รถไฟขบวนถัดไปก็มาถึง ซึ่งเราต้องนั่งขบวนนั้นเพื่อไปยังเป้าหมายต่อไป

เราพยายามทำเวลาให้ดี ก็เลยกลับมาถึงสถานีก่อนที่รถไฟจะออกถึงสิบนาที เวลาเที่ยวเพียง ๕๐ นาทีสำหรับที่นี่ถือว่าเหลือเฟือ เพราะใช้เวลาเดินไปไม่ไกลมาก และตัวอาคารก็ไม่ได้ใหญ่นัก เดินไม่นานก็ทั่ว

หลังจากรออยู่สักพัก รถไฟก็มาตรงเวลา ซึ่งจะพาเราไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งสุดท้ายของวัน https://phyblas.hinaboshi.com/20130225



ถ้าอยากเห็นคนที่ไปเดินถ่ายแล้วเปรียบเทียบมาแบบเจาะลึกลองอ่านได้ในเว็บนี้ ดูเหมือนจะเขียนโดยคนไต้หวัน
http://blueapple48.pixnet.net/blog/post/25268287

ที่จริงแล้วนอกจากตัวอาคารเรียน ฉากอื่นๆในเรื่องเคย์องอยู่ที่เกียวโตทั้งหมด ซึ่งเราก็ได้ไปเดินดูมาเช่นกัน เช่นที่ถนนย่านร้านค้าซันโจว https://phyblas.hinaboshi.com/20130201

และยังมีที่อื่นๆที่ได้ไปซึ่งจะเขียนถึงในภายหลัง

ในบทความนี้มีการนำภาพจากอนิเมะ "k-on!" มาใช้อ้างอิงเพื่อการวิจัยศึกษาภาพเปรียบเทียบ ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของผู้จัดทำ "k-on!"
この記事では、比較研究を目的としてアニメ「けいおん!」の画像を引用しています。画像の著作権はすべて「けいおん!」の製作者に帰属します。



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ชิงะ
-- ท่องเที่ยว >> ตามรอย
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文