φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โอวมิฮาจิมัง ย่านเมืองเก่าริมฝั่งคลอง
เขียนเมื่อ 2013/03/01 01:09
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 21 ม.ค. 2013

จากตอนที่แล้วซึ่งไปเที่ยวปราสาทอาซึจิ https://phyblas.hinaboshi.com/20130227

ตอนนี้ยังคงเป็นการเที่ยวในจังหวัดชิงะ (滋賀県)

เรามาถึงสถานีโอวมิฮาจิมัง (近江八幡駅) ซึ่งเป็นสถานีหลักของเมืองโอวมิฮาจิมัง (近江八幡)  ตอน 10:57




แผนที่จังหวัดชิงะ แสดงตำแหน่งเมืองโอวมิฮาจิมังสีชมพูเข้ม




ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคือย่านเมืองเก่าที่สวยงามอยู่ริมคลองซึ่งได้รับการตั้งให้เป็นพื้นที่อนุรักษณ์กลุ่มสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมที่สำคัญ (重要伝統的建造物群保存地区)

ใกล้ๆยังมีซากปราสาทฮาจิมันยามะ (八幡山城) ซึ่งเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในปี 1585 หลังจากที่โอดะ โนบุนางะ (織田信長) เสียชีวิตลงในปี 1582 และปราสาทอาซึจิ (安土城) ได้ถูกทิ้งร้างลง

โดยปราสาทนี้ถูกสร้างให้เป็นที่ประทับของโทโยโตมิ ฮิเดตสึงุ (豊臣秀次) ซึ่งเป็นหลานของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (豊臣秀吉)  โดยถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากปราสาทอาซึจินัก มีส่วนประกอบของปราสาทอาซึจิหลายส่วนถูกย้ายมาสร้างใหม่ที่นี่ด้วย

ต่อมาในปี 1590 ฮิเดตสึงุต้องย้ายไปประจำที่ปราสาทคิโยสึ (清洲城) ในแคว้นโอวาริ (尾張国) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเมืองคิโยสึ (清須市) จังหวัดไอจิ (愛知県)

ปราสาทนี้จึงให้เคียวโงกุ ทากัตสึงุ (京極高次) ดูแลต่อแทน หลังจากนั้นในปี 1595 ฮิเดตสึงุถูกสั่งให้คว้านท้องตายไปปราสาทนี้ก็ถูกทิ้งร้างลง ปัจจุบันก็เหลือให้เห็นเพียงแค่ซากฐานหินเท่านั้น



เมื่อมาถึงแล้วสามารถไปขอรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวได้จากศูนย์แนะนำการท่องเที่ยวซึ่งอยู่ข้างๆสถานี สามารถหยิบแผนที่มาดูได้



แผนที่ในตัวเมือง บริเวณย่านโบราณคือส่วนที่ถูกระบายสีเข้ม โดยหลักๆจะอยู่แถวๆคลอง



แผนที่บริเวณรอบๆ แสดงตำแหน่งตัวเมือง



ย่านเมืองเก่าของโอวมิฮาจิมังอยู่ค่อนข้างไกลจากสถานีรถไฟ เป็นระยะที่เดินไปได้แต่เพราะขากำลังแย่อยู่เลยตัดสินใจนั่งรถเมล์ไปดีกว่า ค่ารถเมล์ ๒๑๐ เยน

รถเมล์มาลงที่ป้ายโอสึงิโจว (大杉町) ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารนี้



อาคารนี้ชื่อว่าฮากุอุงกัง (白雲館) สมัยก่อนใช้เป็นโรงเรียน แต่ปัจจุบันเป็นศูนย์แนะนำการท่องเที่ยว



ชั้นสองเป็นที่จัดแสดงภาพถ่าย แต่ก็ไม่มีอะไรมาก



ฝั่งตรงข้ามของอาคารนี้จะเห็นซุ้มประตูเสาโทริอิ นี่เป็นทางเข้าสู่บริเวณย่านโบราณริมคลอง



เข้ามาจะเห็นคลองฮาจิมัง (八幡堀, ฮาจิมัมโบริ) ซึ่งป็นคลองสายเล็กๆที่เชื่อมต่อกับทะเลสาบบิวะ ยาวประมาณ ๖ ก.ม. เป็นคลองที่หล่อเลี้ยงคนในย่านนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ



สามารถลงบันไดเข้ามาเดินเลียบคลองได้

 

จากตรงนี้จะเห็นบ้านเมืองริมฝั่งคลองสวยงาม

 

เดินไปไม่ไกลก็สุดทาง มีป้ายห้ามไม่ให้เดินต่อไปแล้ว



แต่มีทางให้ข้ามไปเดินฝั่งตรงข้ามได้ ไม่ต้องย้อนกลับไปทางเดิม



จะเห็นว่ามีเรือจอดอยู่ สามารถนั่งเรือชมย่านโบราณได้ ค่านั่ง ๑๐๐๐ เยน ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที




พอข้ามคลองไปอีกฝั่งแล้วก็เดินขึ้นบันไดไป



ก็จะเจอพิพิธภัณฑ์เครื่องกระเบื้อง แต่ว่าตัวอาคารปิดอยู่เพราะเป็นวันจันทร์





ผ่านตรงนั้นมาก็ยังเป็นชุมชนริมฝั่งคลองสวยงาม







จากนั้นก็เดินตามทางต่อมาทางตะวันตก







ก็จะเจอถนนที่มีรถจอดอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก็คือทางไปสู่ทางเดินขึ้นเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทฮาจิมันยามะ



ตรงทางขึ้นเขามีบริการรถกระเช้า ค่านั่งกระเช้าไปกลับ ๘๐๐ เยน



แผนที่บริเวณด้านบนเขา



แต่ว่าเราไม่ได้ขึ้นไปเพราะคิดว่าถึงขึ้นไปก็ดูเหมือนจะไม่ได้มีอะไรมากเท่าปราสาทอาซึจิ แถมขาตอนนั้นก็เริ่มไม่ไหวไม่อยากปีนอะไรมาก แม้จะขึ้นกระเช้าไปถึงข้างบนแต่ก็ยังต้องเดินอีกอยู่ดีกลัวจะไม่ไหว ที่สำคัญคือเวลาเริ่มจะบีบเข้ามาแล้วกลัวจะไปต่อที่อื่นตามแผนไม่ทัน

ข้างๆทางขึ้นกระเช้ามีศาลเจ้าฮิมุตสึเรฮาจิมังงู (日牟禮八幡宮) ศาลเจ้าเก่าแก่ของที่นี่



ภายในศาลเจ้า









ต่อมาเดินเลียบคลองไปทางตะวันตกก็ยังคงเป็นย่านโบราณริมฝั่งคลองที่สวยงาม







ป้ายนี้เตือนว่าให้ระวังตัวหนอน มันกำลังชุกชุม 「毛虫が発生しています。ご注意ください。」



ร้านอาหารตั้งอยู่ริมน้ำ



แต่เห็นราคาแล้วถอยทันที



ทางเดินเลียบคลองยังคงต่อไปเรื่อยๆ







คลองยังคงลากยาวต่อจากตรงนี้ไปเรื่อยๆและจะยาวไปถึงทะเลสาบบิวะ แต่ย่านโบราณก็สิ้นสุดลงตรงนี้จึงเดินถึงแค่นี้พอ



แถวๆนั้นมีพวกร้านอาหารอยู่ แต่ดูแล้วราคาค่อนข้างแพงเลยไม่ได้แวะเลย





หลังจากนั้นเราก็เดินห่างออกจากบริเวณคลองออกมาทางใต้เพื่อเดินกลับไปยังสถานี ระหว่างทางบริเวณนั้นก็ยังต้องเดินผ่านย่านโบราณ แม้จะไม่ใช่ริมคลองแล้วแต่ก็สวยงามเหมือนกัน









เดินไปสักพักย่านโบราณก็สิ้นสุดลง เป็นบ้านเมืองสมัยใหม่ธรรมดา ซึ่งก็ยังต้องเดินอีกไกลพอสมควรกว่าจะถึงสถานี

ระหว่างทางก็เจอร้านอาหารอีก เวลาตอนนั้นก็บ่ายโมงกว่าไปแล้วก็เห็นสมควรว่ายังไงก็ควรต้องหาอะไรทานให้ได้จึงได้แวะ



อาหารที่นี่ก็ยังคงแพงอยู่ดี ข้าวหน้าไข่ซึ่งเรียกว่าทามาโงะดง (玉子丼) ก็มีแค่ข้าวกับไข่เท่านั้น แต่ราคาก็ ๕๗๘ เยน แต่ก็เป็นของที่ถูกสุดในร้านแล้ว



แล้วเราก็เดินกลับมาถึงสถานีรถไฟตอน 13:31 เพื่อนั่งรถไฟไปเที่ยวสถานที่ต่อไป



ตอนต่อไปจะยังคงเป็นการเที่ยวเรื่อยเปื่อยในจังหวัดชิงะต่อ ติดตามอ่านกันต่อได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20130303



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ชิงะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文