φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
หอคอยหรานเติง สุดปลายเหนือแห่งคลองใหญ่
เขียนเมื่อ 2015/05/03 01:29
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 21 เม.ย. 2015
เมื่อ ๓ ปีก่อนเรามีโอกาสได้ไปอยู่เมืองหางโจวมาช่วงหนึ่งและมีโอกาสได้ชมคลองใหญ่
ต้ายวิ่นเหอ (大运河)
ซึ่งเป็นคลองขนส่งขนาดใหญ่ที่ลากเชื่อมระหว่างเมืองปักกิ่งกับหางโจว เป็นโครงการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับกำแพงเมืองจีน
ต้ายวิ่นเหอเร่ิมถูกขุดตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย (隋朝, ปี 581 - 619) โดยขุดเพื่อเชื่อมเมือง
ลั่วหยาง (洛阳)
เข้ากับหางโจวในปัจจุบันซึ่งอยู่ทางใต้ และเชื่อมกับบริเวณที่เป็นปักกิ่งในปัจจุบันซึ่งอยู่ทางเหนือ
ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งเริ่มใช้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงจึงเริ่มมีการปรับปรุงขุดคลองใหม่อีกโดยเชื่อมปักกิ่งกับหางโจวโดยตรงโดยไม่ต้องไปอ้อมผ่านลั่วหยางซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกไกล
สำหรับในหลายเมืองเช่นเมืองหางโจวแล้วคลองต้ายวิ่นเหอนั้นลากผ่านใจกลางเมืองจึงเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญและเป็นสถานที่แล่นเรือท่องเที่ยวด้วย แต่ในปักกิ่งต้ายวิ่นเหอไม่ได้ลากผ่านส่วนสำคัญแต่ค่อนไปทางตะวันออกจึงไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก
ส่วนต้นสุดของต้ายวิ่นเหอในปักกิ่งนั้นเรียกว่า
ทงฮุ่ยเหอ (通惠河)
มีต้นสายอยู่ที่นอกกำแพงเมืองส่วนในของปักกิ่งแถวๆ
ตงเปี้ยนเหมิน (东便门)
ทงฮุ่ยเหอทอดตัวจากตะวันตกไปทางตะวันออกบรรจบกับแม่น้ำ
เวินหยวีเหอ (温榆河)
ซึ่งไหลมาจากทางเหนือ ส่วนที่อยู่ต่อจากตรงนั้นจะเรียกว่า
เป่ย์ยวิ่นเหอ (北运河)
ซึ่งลากลงไปทางใต้
คำว่าเป่ย์ (北) แปลว่าทิศเหนือ ชื่อนี้จึงแปลว่าคลองทางเหนือ นั่นเพราะเป่ย์ยวิ่นเหอคือส่วนที่ถือว่าเป็นปลายเหนือสุดของต้ายวิ่นเหอ ก่อนที่จะเลี้ยวไปทางตะวันตกเพื่อเข้าถึงตัวเมืองปักกิ่ง
หากเดินทางโดยคลองใหญ่จากปักกิ่งไปหางโจวนั้นก็จะต้องเริ่มจากทงฮุ่ยเหอไปทางตะวันออกแล้วผ่านเป่ย์ยวิ่นเหอลงไปทางใต้เพื่อผ่านไปยังเมือง
เทียนจิน (天津)
ไปบรรจบกับแม่น้ำ
ไห่เหอ (海河)
แล้วก็ลงใต้ต่อไปอีกเรื่อยๆ
ณ จุดรอยต่อระหว่างเป่ย์ยวิ่นเหอกับทงฮุ่ยเหอมีหอคอยเก่าแก่อันหนึ่งตั้งอยู่โดดเด่นเป็นสง่าเป็นสัญลักษณ์บอกนักเดินเรือที่แล่นมาจากทางใต้ให้รู้ว่าที่นี่คือขอบปลายเหนือสุดของคลองแล้ว นั่นคือ
หอคอยหรานเติง (燃灯塔, หรานเติงถ่า)
หอคอยหรานเติงสูง ๔๕ เมตร เป็นหอคอยที่เก่าแก่มาก ไม่มีบันทึกปีที่สร้างขึ้นแน่นอนแต่มีบางบันทึกบอกว่าเป็นสิ่งก่อสร้างยุคราชวงศ์เหลียว (辽朝, ปี 916 - 1125) แต่ในปี 1679 เนื่องจากแผ่นดินไหวทำให้หอคอยนี้ล้มลง จากนั้นจึงสร้างใหม่ในปี 1696 และจากนั้นปี 1976 ก็เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ถางซาน หอคอยนี้ได้รับผลกระทบไปด้วยโดยแม้จะไม่พังลงมาแต่ก็เกิดรอยร้าวขึ้นจึงต้องมีการบูรณะใหม่อีกครั้งในปี 1985
หอคอยนี้ตั้งอยู่ใน
เขตทงโจว (通州区)
ซึ่งเป็นเขตทางตะวันออกเฉียงใต้ของปักกิ่ง หอคอยนี้บางทีจึงถูกเรียกว่า
หอคอยทงโจวหรานเติง (通州燃灯塔)
หรือบางทีก็เรียกสั้นๆเป็น
หอคอยทงโจว (通州塔)
เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของเขตทงโจว
ปัจจุบันหอคอยนี้ตั้งอยู่ในบริเวณ
วัดซานเจี้ยว (三教庙)
ซึ่งเป็นวัดขงจื๊อที่เก่าแก่ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1298 ยุคราชวงศ์หยวน (元朝, ปี 1271 - 1368) ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงวัฒนธรรมของเขตทงโจว
เนื่องจากอยู่ในเขตทงโจวซึ่งไกลจากใจกลางเมืองปักกิ่งมากดังนั้นการมาจึงต้องใช้เวลาเดินทางนานพอสมควร แต่ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าวิ่งมาถึงดังนั้นจึงถือว่าสะดวก สถานีที่อยู่ใกล้วัดนี้ที่สุดคือ
สถานีทงโจวเป่ย์กวาน (通州北关站)
ซึ่งอยู่สาย ๖ เพิ่งเปิดใหม่เมื่อ 28 ธ.ค. 2014
ครั้งนี้เรานั่งรถไฟฟ้าเพื่อมาลงที่สถานีนี้เพื่อที่จะเดินไปหอคอยหรานเติง แต่เมื่อมาถึงก็กลับพบว่ามีสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิดเอาไว้เลย นั่นคือแถวนี้กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างย่านเมืองใหม่ซึ่งเรียกว่า
ทงโจวซินเฉิง (通州新城)
พอเดินออกมาจากสถานีปุ๊บ ภาพที่เห็นนั้นน่าตกใจ เพราะเต็มไปด้วยแผงกั้นก่อสร้าง และจักรยานที่จอดอยู่เต็มไปหมด
เส้นทางที่น่าจะเดินไปยังหอคอยหรานเติงได้นั้นถูกปิดกั้นอยู่ ต้องเดินอ้อมไปทางเหนือซึ่งเต็มไปด้วยแผงกั้นสีฟ้า ระหว่างทางก็มีคนและจักรยานมากมายเดินสวน เราพอจะเข้าใจสถานการณ์ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น สถานีนี้แม้ว่าจะเปิดทำการตามปกติแต่ว่าบริเวณรอบๆนี้อยู่ในระหว่างก่อสร้าง ผู้คนที่อยู่แถวนี้อาศัยจักรยานขี่มาจอดหน้าสถานีเพื่อเดินทาง
เดินไปทางเหนือเรื่อยๆในที่สุดก็ออกจากย่านที่เป็นแผงกั้นสีฟ้า จากนั้นเลี้ยวไปทางตะวันออกก็เจอกับแม่น้ำ นี่คือแม่น้ำเวินหยวีเหอซึ่งเป็นต้นสายของเป่ย์ยวิ่นเหอนั่นเอง ทิวทัศน์ริมแม่น้ำตรงนี้ดูไม่สวยเอาซะเลย
จากตรงนี้เองที่เราเริ่มเห็นหอคอยหรานเติงตั้งเด่นอยู่ทางโน้นเป็นครั้งแรก แต่ก็ถูกบังด้วยย่านก่อสร้าง
เดินเลียบริมแม่น้ำลงมาเรื่อยๆทางใต้
สะพานที่อยู่ตรงหน้านี้คือสะพานซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดเชื่อมระหว่างเป่ย์ยวิ่นเหอกับทงฮุ่ยเหอ เป็นจุดสิ้นสุดของเวินหยวีเหอและเป็นจุดเริ่มต้นของเป่ย์ยวิ่นเหอ
เดินผ่านสะพานที่ข้ามทงฮุ่ยเหอ
ถ่ายจากบนสะพาน ซึ่งเห็นเส้นทางทงฮุ่ยเหออยู่ตรงกลาง ซึ่งรายรอบไปด้วยเขตก่อสร้าง และทางซ้ายสุดคือหอคอยหรานเติง
เมื่อข้ามสะพานมาแล้ว หอคอยหรานเติงก็อยู่ตรงหน้าใกล้ๆนี้แล้ว หากเดินผ่านตรงนี้ไปก็ควรจะถึงได้ แต่ปรากฏว่ายามกั้นไว้ไม่ให้เข้าเพราะกำลังก่อสร้างอยู่ เราเริ่มรู้สึกลางไม่ดีแล้วว่าแบบนี้สงสัยท่าทางเจดีย์ก็คงจะปิดอยู่เข้าไม่ได้ไปด้วยหรือเปล่า
ยามแนะนำว่าให้เดินดุ่มๆผ่านทะลุเขตก่อสร้างไปเลย น่าจะพอทะลุอ้อมไปเข้าอีกทางได้ แต่ถนนตรงนี้ห้ามเข้าเพราะปิดอยู่
เราก็บ้าจี้ลองเดินไปตามที่เข้าบอก เข้าไปในย่านก่อสร้างดู เพราะถ้าไม่ไปทางนี้ก็ไปไหนไม่ได้ มีแต่ต้องเดินข้ามสะพานกลับแล้วอ้อมกลับไปยังสถานีรถไฟฟ้าด้วยเส้นทางเดิมซึ่งมันไกลมาก
ลองเดินเข้าไปดูก็พบว่าผ่านเข้าไปได้ไม่มีใครห้ามจริงๆ
แต่สภาพมันไม่น่าดูเลย ทางขวาคือคลองทงฮุ่ยเหอซึ่งเต็มไปด้วยเศษจากการก่อสร้าง เดินๆอยู่มีเหยียบโคลนจนเขรอะทำให้ต้องล้างรองเท้าหลังจากที่กลับไปด้วย
ระหว่างเดินฝ่าย่านก่อสร้างไปเรื่อยๆก็หามุมที่เห็นหอคอยได้เป็นช่วงๆ ทำให้คิดว่าต่อให้ไม่สามารถเข้าไปใกล้หอคอยได้อย่างน้อยก็ได้ถ่ายภาพจากตรงนี้ก็ยังดี ถือว่าไม่เสียเที่ยวแล้ว
เดินเข้ามาเรื่อยๆปรากฏว่าเจอทางตัน เขากั้นเอาไว้ ไม่สามารถเดินผ่านทางนี้เพื่อเข้าใกล้หอคอยได้
ในขณะที่กังวลว่าจะต้องย้อนกลับแค่นี้แล้วหรือเปล่า ก็ลองไปถามคนงานที่เดินผ่านตรงนั้น เขาก็ชี้ทางให้ไปต่อได้ ปรากฏว่ามีทางไปต่อจริงๆ แต่ยิ่งเดินก็ยิ่งรู้สึกว่ามันต้องอ้อมไกลมากขึ้นทุกที
และแล้วในที่สุดก็ทะลุย่านที่เป็นบริเวณก่อสร้าง มาสู่บริเวณที่เป็นย่านชุมชนธรรมดาสักที พอมาถึงนี่ได้ก็โล่งใจลงเปราะหนึ่ง
จากตรงนี้สามารถเดินเข้าไปโดยทะลุ
สวนสาธารณะซีไหจื่อ (西海子公园)
นี่เป็นประตูตะวันตก
ที่นี่ก็เป็นสวนสาธารณะธรรมดาแห่งหนึ่ง
มีทะเลสาบซึ่งคนมาแล่นเรือเล่น ดูสงบดี
ออกประตูตะวันออกของสวนสาธารณะ เดินทะลุออกตรงนี้ไป
ก็มาโผล่ย่านชุมชนเล็กๆ มีโรงหนังด้วย
เดินผ่านย่านชุมชนตรงนี้ไป ระหว่างทางก็เห็นแผงกั้นเขตก่อสร้างอยู่ตลอดแนว แผงกั้นตรงนี้แปะรูปภาพของต้ายวิ่นเหอด้วย
ตรงนี้เขียนข้อความดีๆ 尊重历史 造福今天 开创未来 แปลว่า เคารพประวัติศาสตร์ นำความสุขให้วันนี้ เปิดทางสู่อนาคต
และแล้วหลังจากที่เดินอ้อมไกลมาก มาถึงทางเข้าวานซานเจี้ยวจนได้ในที่สุด วัดนี้เห็นป้ายด้านหน้าติดว่าเสียค่าเข้า ๑๐ หยวน แต่ตอนนี้กลับไม่มีคนเก็บ สามารถเดินเข้าไปในวัดได้เลย
พอเข้ามาแล้วสภาพภายในวัดก็ดูไม่ค่อยสมบูรณ์ ดูร้างๆและหลายส่วนกำลังก่อสร้างอยู่
อาคารทางซ้ายที่เห็นทันทีเมื่อเข้าไปถึงเป็นห้องเล็กๆที่มีแผ่นป้ายติดอธิบายประวัติศาสตร์ของเขตทงโจว ตำแหน่ง ความสำคัญของเขตนี้
กลางวัดมีรูปปั้นขงจื๊อ
ห้องนี้แสดงพวกมรดกทางวัฒนธรรมในเขตทงโจว
ถัดมาเป็นอาคารต้าเฉิงเตี้ยน เป็นอาคารหลักที่สำคัญที่สุดของวัดนี้
ภายใน
ผ่านตรงนี้มาก็เริ่มเห็นหอคอยชัดมากแล้ว เหลือแค่กำแพงกั้นอยู่นิดเดียว
เดินผ่านตรงนี้เข้าไป
ก็พบบริเวณวัดที่มีคนเดินอยู่ค่อนข้างมาก ไม่เงียบเหงาอย่างที่คิด ดูแล้วแต่ละคนน่าจะเป็นคนแถวนี้ จนระหว่างเดินเราก็กลัวว่าเรากำลังรบกวนเขาอยู่หรือเปล่า ก็เลยพยายามเดินเงียบๆ ยังไงวัดก็เป็นสถานที่ที่ต้องการความสงบ
จากบริเวณนี้มองไปยังหอคอยก็ได้ภาพสวยทีเดียว
แล้วก็หาทางที่เดินทะลุเข้ามาถึงฐานหอคอยได้สำเร็จ
บริเวณนี้เห็นคนเยอะเหมือนเขากำลังเตรียมจะจัดงานอะไรอยู่
มุมทางโน้นมีอาคารวัดอยู่อีกหลัง
และจากตรงนี้ในที่สุดก็ได้เจอมุมถ่ายภาพหอคอยที่คิดว่าสวยที่สุด
พอได้ชมหอคอยเสร็จแล้วก็เดินกลับมายังสวนสาธารณะซีไหจื่ออีกทีเพื่อจะหาทางเดินไปยังป้ายรถเมล์ เราจะไม่กลับไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่มาลงตอนแรกอีกแล้วเพราะรู้ว่าต้องอ้อมไกลมาก แต่จะเดินลงไปทิศใต้เพื่อขึ้นรถเมล์ไปยังที่เที่ยวถัดไป
ระหว่างเดินอยู่ริมบึงกลางสวนสาธารณะก็ยังสามารถถ่ายภาพหอคอยเหนือน้ำได้
เรากะว่าจะเดินออกทางประตูทิศใต้ของสวนสาธารณะ แต่ก็พบว่ามันปิดอยู่ และสิ่งก่อสร้างที่อยู่ด้านหลังก็ดูเหมือนกำลังก่อสร้างอยู่เช่นกัน ก็เลยต้องเดินอ้อมไปออกทางประตูตะวันตกที่เข้ามาตอนแรก
เมื่อเดินออกจากสวนสาธารณะแล้วก็เดินลงมาทางใต้เรื่อยๆในที่สุดก็เจอป้ายรถเมล์ ตรงนี้มีรถเมล์ผ่านหลายสายมาก เห็นรถเมล์สายต่างๆวิ่งผ่านอยู่ตลอดไม่ขาดสาย
เป้าหมายต่อไปที่จะไปนั้นคือสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับคลองใหญ่ต้ายวิ่นเหอเช่นกัน นั่นคือ
สะพานปาหลี่ (八里桥, ปาหลี่เฉียว)
อยู่ใกล้ที่นี่ มีรถเมล์หลายสายไปถึงได้
รอแค่แป๊บเดียวรถเมล์สาย 666 ก็มา เลขสวยดี จากตรงนี้สามารถนั่งสายนี้เพื่อไปลงที่สะพานปาหลี่ได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20150505
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
--
ท่องเที่ยว
>>
ทะเลสาบ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文